รัฐบาลมาร์ค หาเสียงนำร่องด้วยการประกาศตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก เล็งชง ครม.20 เม.ย.นี้ ลดภาษีสรรพสามิตดีเซล และ Vat รวม 5.70 บาทต่อลิตรประเมินกระทบรายได้รัฐที่จะหายไปช่วง 5 เดือน (พ.ค.-ก.ย.) ราว 4.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักวิชาการติงใช้เหตุผลการเมืองมากกว่าทางเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแถลงภายหลังการหารือร่วมกับ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เพื่อหามาตรการดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท ภายหลังเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเหลือวงเงินสุทธิในการดูแลเพียง 4,000 ล้านบาท วานนี้ (18 เม.ย.) ว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลราคาดีเซลขายปลีกไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไป โดยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 20 เม.ย.นี้จะเสนอให้มีการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5.30 บาทต่อลิตร และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 40 สตางค์ต่อลิตรรวมเป็น 5.70 บาทต่อลิตร มาช่วยเหลือในการดูแลราคาดีเซล
“จะนำเงินดังกล่าวโยกมาช่วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารซึ่งการที่รัฐไม่สามารถปล่อยให้ดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตรได้นั้น เพราะจะกระทบต่อราคาสินค้าและขนส่งที่จะมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้นประกอบกับขณะนี้มีปัญหาภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เศรษฐกิจโลกอาจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ และอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศลดน้อยลง ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่ต้องการที่จะเจอทั้งภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อในเวลาเดียวกัน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า คาดว่า รายได้ที่จะหายไปจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันในช่วง 5 เดือน (พ.ค.-ก.ย.) ที่เหลือของปีงบประมาณปี 2554 จะอยู่ที่ 44,380 ล้านบาท โดยมาจากเงินภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ประมาณ 42,480 ล้านบาท ซึ่งเป็นการคำนวณที่อัตราภาษี 5.31 บาทต่อลิตร บวกกับอัตราการใช้น้ำมันดีเซลในประเทศที่คาดว่าจะมีการใช้เดือนละประมาณ 1,600 ล้านบาท ส่วนอีก 1,900 ล้านบาท จะมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จะไม่กระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ เพราะในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังคาดว่าจะมีการจัดเก็บรายได้เกินกว่าเป้า โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2554 จะมีการขาดดุลงบประมาณที่ 4.1 แสนล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะขาดดุลงบประมาณที่ 4.2 แสนล้านบาท
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า กองทุนน้ำมันฯได้ชดเชยราคาดีเซลไปแล้ว 6.40 บาทต่อลิตร ดังนั้น วันที่ 19 เม.ย.นี้ อาจจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อปรับลดการชดเชยดีเซลลง 40 สตางค์ต่อลิตร เนื่องจากค่าการตลาดผู้ค้าอยู่ในอัตรา 1.40 บาทต่อลิตรรวมไปถึงภาษีเทศบาลและอื่นๆ อีก 30 สตางค์ต่อลิตรเพื่อให้กองทุนฯชดเชยดีเซลเหลือ 5.70 บาทต่อลิตร เมื่อโยกเงินการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล และ Vat 5.70 บาทต่อลิตรก็จะครอบคลุมทั้งหมดพอดี
สำหรับสถานะกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันมีเงินสดสุทธิประมาณ 34,251 ล้านบาท แต่มีหนี้สินสุทธิประมาณ 29,751 ล้านบาท ทำให้มีเงินเหลือประมาณ 4,500 ล้านบาท ขณะที่กองทุนน้ำมันมีเงินไหลเข้า หลักจากกลุ่มเบนซิน 2,400-2,500 ล้านบาทต่อเดือน แต่มีหนี้นำเข้าแอลพีจี 2,000 ล้านบาทต่อเดือน จึงเหลือเงินไหลเข้าต่อเดือนประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเงินกองทุนที่เหลือประมาณ 4,500 ล้านบาท รวมกับที่เหลือต่อเดือนอีก 500 ล้านบาท ก็ยังดูแลราคาขายปลีกดีเซลไม่ให้ขยับได้อีก 5 เดือนหากระดับราค้านำมันยังอยู่ในภาวะเช่นปัจจุบัน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลของการดูแลด้านเศรษฐกิจรัฐบาลจึงตัดสินใจแบบหน้ามืดด้วยการเทเงินหมดหน้าตักในการดูแลราคาดีเซลโดยไม่ได้คำนึงว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะงบประมาณที่จะนำมาแทนรวมถึงราคาดีเซลตลาดสิงคโปร์ คาดว่า ราคาเฉลี่ยจะสูงไม่ต่ำกว่า 120-125 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และสิ่งที่น่าวิตกคือเมื่อรัฐบาลนี้วางมาตรฐานดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไปรัฐบาลใหม่มาก็จะใช้วิธีประชาชนนิยมเช่นนี้อีก
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงเป็นขาขึ้นสูงถึง 2 เดือน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแล้วควรจะต้องคำนึงว่าหากน้ำมันขึ้นอีกจะมีกลไกใดมาดูแลและเห็นว่ากองทุนน้ำมันฯจะต้องมีบทบาทในการดูแลน้ำมันต่อไปเพื่อไม่ให้ผู้ค้าน้ำมันจะต้องมาแบกรับภาระแทน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลดูแลราคาดีเซลต่อไปเนื่องจากจะเป็นการดูแลภาวะอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 3.8-4% ไม่ให้สูงอีกเพราะหากน้ำมันขึ้นจะมีผลต่อค่าครองชีพประชาชนและราคาสินค้าที่หลายรายการจะปรับขึ้นจะไปเร่งให้มีการปรับเร็วขึ้นอีก อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวก็ควรจะทำระยะสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้น ควรจะค่อยๆ ขึ้นราคาเพื่อให้สะท้อนกลไกที่แท้จริง
**ลดภาษีดีเซลเข้าที่ประชุม กนง.**
รายงานข่าวระบุว่า สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังประเมินผลกระทบของมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลว่าจะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอย่างไร โดย ธปท.คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังอยู่ในช่วงประมาณการเดิมของ ธปท.ที่ 2-3% แต่อาจจะต่ำกว่ากรณีฐาน ที่ ธปท.ประมาณการไว้เดิมว่าปีนี้เงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.5% แต่จะยังไม่หลุดจากประมาณการในด้านต่ำที่ไว้ที่ 2%
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จะนำประเด็นการปรับลดภาษีน้ำมันดังกล่าวเสนอให้ กนง.พิจารณาเพื่อตัดสินการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วย เพราะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ ขึ้นกับ กนง.จะประเมินผลกระทบจากรณีนี้ ว่า จะส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนทันทีหรือไม่ และจะมีผลต่องบประมาณ และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปอย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแถลงภายหลังการหารือร่วมกับ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง และ นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เพื่อหามาตรการดูแลราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท ภายหลังเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเหลือวงเงินสุทธิในการดูแลเพียง 4,000 ล้านบาท วานนี้ (18 เม.ย.) ว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลราคาดีเซลขายปลีกไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไป โดยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 20 เม.ย.นี้จะเสนอให้มีการยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล 5.30 บาทต่อลิตร และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 40 สตางค์ต่อลิตรรวมเป็น 5.70 บาทต่อลิตร มาช่วยเหลือในการดูแลราคาดีเซล
“จะนำเงินดังกล่าวโยกมาช่วยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารซึ่งการที่รัฐไม่สามารถปล่อยให้ดีเซลเกิน 30 บาทต่อลิตรได้นั้น เพราะจะกระทบต่อราคาสินค้าและขนส่งที่จะมีผลต่อค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้นประกอบกับขณะนี้มีปัญหาภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เศรษฐกิจโลกอาจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ และอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศลดน้อยลง ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่ต้องการที่จะเจอทั้งภาวะเงินฝืด และเงินเฟ้อในเวลาเดียวกัน” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายกรณ์ กล่าวว่า คาดว่า รายได้ที่จะหายไปจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันในช่วง 5 เดือน (พ.ค.-ก.ย.) ที่เหลือของปีงบประมาณปี 2554 จะอยู่ที่ 44,380 ล้านบาท โดยมาจากเงินภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ประมาณ 42,480 ล้านบาท ซึ่งเป็นการคำนวณที่อัตราภาษี 5.31 บาทต่อลิตร บวกกับอัตราการใช้น้ำมันดีเซลในประเทศที่คาดว่าจะมีการใช้เดือนละประมาณ 1,600 ล้านบาท ส่วนอีก 1,900 ล้านบาท จะมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จะไม่กระทบต่อสถานะการเงินของประเทศ เพราะในปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังคาดว่าจะมีการจัดเก็บรายได้เกินกว่าเป้า โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2554 จะมีการขาดดุลงบประมาณที่ 4.1 แสนล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะขาดดุลงบประมาณที่ 4.2 แสนล้านบาท
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า กองทุนน้ำมันฯได้ชดเชยราคาดีเซลไปแล้ว 6.40 บาทต่อลิตร ดังนั้น วันที่ 19 เม.ย.นี้ อาจจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เพื่อปรับลดการชดเชยดีเซลลง 40 สตางค์ต่อลิตร เนื่องจากค่าการตลาดผู้ค้าอยู่ในอัตรา 1.40 บาทต่อลิตรรวมไปถึงภาษีเทศบาลและอื่นๆ อีก 30 สตางค์ต่อลิตรเพื่อให้กองทุนฯชดเชยดีเซลเหลือ 5.70 บาทต่อลิตร เมื่อโยกเงินการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล และ Vat 5.70 บาทต่อลิตรก็จะครอบคลุมทั้งหมดพอดี
สำหรับสถานะกองทุนน้ำมันฯ ปัจจุบันมีเงินสดสุทธิประมาณ 34,251 ล้านบาท แต่มีหนี้สินสุทธิประมาณ 29,751 ล้านบาท ทำให้มีเงินเหลือประมาณ 4,500 ล้านบาท ขณะที่กองทุนน้ำมันมีเงินไหลเข้า หลักจากกลุ่มเบนซิน 2,400-2,500 ล้านบาทต่อเดือน แต่มีหนี้นำเข้าแอลพีจี 2,000 ล้านบาทต่อเดือน จึงเหลือเงินไหลเข้าต่อเดือนประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเงินกองทุนที่เหลือประมาณ 4,500 ล้านบาท รวมกับที่เหลือต่อเดือนอีก 500 ล้านบาท ก็ยังดูแลราคาขายปลีกดีเซลไม่ให้ขยับได้อีก 5 เดือนหากระดับราค้านำมันยังอยู่ในภาวะเช่นปัจจุบัน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลของการดูแลด้านเศรษฐกิจรัฐบาลจึงตัดสินใจแบบหน้ามืดด้วยการเทเงินหมดหน้าตักในการดูแลราคาดีเซลโดยไม่ได้คำนึงว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะงบประมาณที่จะนำมาแทนรวมถึงราคาดีเซลตลาดสิงคโปร์ คาดว่า ราคาเฉลี่ยจะสูงไม่ต่ำกว่า 120-125 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และสิ่งที่น่าวิตกคือเมื่อรัฐบาลนี้วางมาตรฐานดีเซลไว้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรต่อไปรัฐบาลใหม่มาก็จะใช้วิธีประชาชนนิยมเช่นนี้อีก
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า แนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงเป็นขาขึ้นสูงถึง 2 เดือน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันแล้วควรจะต้องคำนึงว่าหากน้ำมันขึ้นอีกจะมีกลไกใดมาดูแลและเห็นว่ากองทุนน้ำมันฯจะต้องมีบทบาทในการดูแลน้ำมันต่อไปเพื่อไม่ให้ผู้ค้าน้ำมันจะต้องมาแบกรับภาระแทน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลดูแลราคาดีเซลต่อไปเนื่องจากจะเป็นการดูแลภาวะอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 3.8-4% ไม่ให้สูงอีกเพราะหากน้ำมันขึ้นจะมีผลต่อค่าครองชีพประชาชนและราคาสินค้าที่หลายรายการจะปรับขึ้นจะไปเร่งให้มีการปรับเร็วขึ้นอีก อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวก็ควรจะทำระยะสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้น ควรจะค่อยๆ ขึ้นราคาเพื่อให้สะท้อนกลไกที่แท้จริง
**ลดภาษีดีเซลเข้าที่ประชุม กนง.**
รายงานข่าวระบุว่า สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังประเมินผลกระทบของมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลว่าจะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอย่างไร โดย ธปท.คาดว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังอยู่ในช่วงประมาณการเดิมของ ธปท.ที่ 2-3% แต่อาจจะต่ำกว่ากรณีฐาน ที่ ธปท.ประมาณการไว้เดิมว่าปีนี้เงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 2.5% แต่จะยังไม่หลุดจากประมาณการในด้านต่ำที่ไว้ที่ 2%
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จะนำประเด็นการปรับลดภาษีน้ำมันดังกล่าวเสนอให้ กนง.พิจารณาเพื่อตัดสินการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายด้วย เพราะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ ขึ้นกับ กนง.จะประเมินผลกระทบจากรณีนี้ ว่า จะส่งผลต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชนทันทีหรือไม่ และจะมีผลต่องบประมาณ และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปอย่างไร