ASTVผู้จัดการรายวัน - ชงแผนจัดเก็บภาษีบุหรี่รูปแบบใหม่เข้าครม.วันนี้ กรมสรรพสามิตระบุเก็บตามราคาค้าปลีกแทนราคาหน้าโรงงาน คาดราคาขายปลีกขั้นต่ำเพิ่มอีกซองละ 5 บาทแน่ ส่วนภาษีรถยนต์รอหาข้อสรุปหลังสงกรานต์ก่อนเสนอเข้าครม.อีกรอบ
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดี กรมสรรพสามิตเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการปรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตว่า กรรมสรรพสามิตจะเสนอร่างแก้ไขพรบ.ยาสูบต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันที่ 12 เมษายนนี้ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานหรือซีไอเอฟเป็นราคาขายปลีก ส่วนการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตรถยนต์ คาดว่าจะเสนอครม.ได้หลังสงกรานต์ เนื่องจากต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนจากผู้ประกอบการก่อน ขณะที่ภาษีสรรพสามิตสุรานั้น จะเป็นการปรับปรุงภาพรวมทั้งหมดจึงคาดว่า ไม่น่าจะทันในรัฐบาลนี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังในฐานะกำกับดูแลโรงงานยาสูบกล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับโรงงานยาสูบเรียบร้อยแล้วเกี่ยวกับการแก้ไขพรบ.ยาสูบว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของโรงงานยาสูบอย่างไร จึงต้องปรับเปลี่ยนตัวให้ทันกับเหตุการณ์ ลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพ เพราะที่ผ่านมาโรงงานยาสูบเป็นผู้ผูกขาดในการผลิตบุหรี่อยู่แล้ว รวมถึงเตรียมกับการย้ายโรงงานใหม่ด้วย ทั้งนี้คาดว่าราคาขายปลีกบุหรี่โดยรวมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 บาทต่อซองหลังจากการปรับฐานการคิดภาษีใหม่
นายมั่น ธัทโนทัย รมช.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ยังไม่มีข้อสรุป เพราะต้องรอผลจากเอกชนก่อน เพราะการวัดระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะกำหนดในการจัดเก็บภาษีที่ 150-200 กรัม จะกระทบผู้ประกอบการรถยนต์ทุกราย จึงจะขยับเพิ่มเป็น 230-250 กรัม เพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนปรับตัวด้วย ส่วนร่างพรบ.ยาสูบนั้นจะพิจารณาในที่ประชุมครม.วันที่ 12 เมษายนนี้แน่นอน เดิมตั้งใจจะเป็นวาระจรตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน แต่นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเห็นว่าควรบรรจุเป็นวาระปกติดีกว่า
***จับมือมธ.แก้ภาษีสรรพสามิต 5 ฉบับ
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการค้าและโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ที่มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคของโลกการค้าไร้พรมแดนซึ่งระบบกฎหมายภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายภาษีสรรพสามิตถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้น เพื่อไม่ให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตในปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย และสอดรับตามแผนงานการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานกรมาสรรพสามิต กรมสรรพสามิตจึงมีนโยบายให้มีการศึกษาปัญหาและปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภาษีสรรพสามิตอย่างบูรณาการ
ทั้งนี้เพื่อให้การปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลสูงสุด สอดคล้องกับพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบัน และแผนงานการสร้างความโปร่งใสของกรมสรรพสามิต จึงเห็นควรปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภาษีสรรพสามิต 5 ฉบับอย่างบูรณาการ คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486 โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตฯ ให้ครอบคลุมใน 6 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้
1ความสะดวกและชัดเจนของกฎหมายโดยการรวบรวมกฎหมายภาษีสรรพสามิตมาจัดหมวดหมู่ เพื่อสร้างความชัดเจน ต่อผู้เสียภาษีสรรพสามิตและเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ 2ความเท่าเทียมและเป็นธรรมโดยการปรับระบบการจัดเก็บภาษีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3ความโปร่งใสโดยการลดดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และสร้างความชัดเจนของระบบประเมินตนเองในประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต 4การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นต่อการบริหารจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 5การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต และ 6การก้าวสู่ความเป็นสากลโดยการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้การสอดรับกับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการจัดทำโครงการจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตเป็นการพัฒนากฎหมายภาษีสรรพสามิตให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญและมีประสิทธิภาพทางการคลังของรัฐบาล รวมถึงสามารถส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยอย่างยั่งยืน กรมสรรพสามิตจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันของภาครัฐที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ในการเข้าร่วมดำเนินการโครงการจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ โดยจะมีระยะเวลาดำเนินการของโครงการฯ จำนวน 7 เดือน
“การศึกษาและปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตเป็นประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ จะทำให้กรมสรรพสามิตมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพสามิตให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานกฎหมายภาษีอากรที่ดี 3 ประการ คือ ความสะดวกง่ายดาย ความเท่าเทียมยุติธรรม และความโปร่งใส ให้เป็นที่ยอมรับต่อสากลและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางด้านการคลังของรัฐบาลและตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งการค้าและอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันระดับสากลอย่างยั่งยืนต่อไป” นายพงษ์ภาณุกล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดี กรมสรรพสามิตเปิดเผยถึงความคืบหน้าในการปรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตว่า กรรมสรรพสามิตจะเสนอร่างแก้ไขพรบ.ยาสูบต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในวันที่ 12 เมษายนนี้ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงฐานการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงานหรือซีไอเอฟเป็นราคาขายปลีก ส่วนการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตรถยนต์ คาดว่าจะเสนอครม.ได้หลังสงกรานต์ เนื่องจากต้องรอข้อสรุปที่ชัดเจนจากผู้ประกอบการก่อน ขณะที่ภาษีสรรพสามิตสุรานั้น จะเป็นการปรับปรุงภาพรวมทั้งหมดจึงคาดว่า ไม่น่าจะทันในรัฐบาลนี้
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลังในฐานะกำกับดูแลโรงงานยาสูบกล่าวว่า ได้ทำความเข้าใจกับโรงงานยาสูบเรียบร้อยแล้วเกี่ยวกับการแก้ไขพรบ.ยาสูบว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของโรงงานยาสูบอย่างไร จึงต้องปรับเปลี่ยนตัวให้ทันกับเหตุการณ์ ลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพ เพราะที่ผ่านมาโรงงานยาสูบเป็นผู้ผูกขาดในการผลิตบุหรี่อยู่แล้ว รวมถึงเตรียมกับการย้ายโรงงานใหม่ด้วย ทั้งนี้คาดว่าราคาขายปลีกบุหรี่โดยรวมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5 บาทต่อซองหลังจากการปรับฐานการคิดภาษีใหม่
นายมั่น ธัทโนทัย รมช.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้การปรับปรุงโครงสร้างภาษีรถยนต์ยังไม่มีข้อสรุป เพราะต้องรอผลจากเอกชนก่อน เพราะการวัดระดับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะกำหนดในการจัดเก็บภาษีที่ 150-200 กรัม จะกระทบผู้ประกอบการรถยนต์ทุกราย จึงจะขยับเพิ่มเป็น 230-250 กรัม เพื่อให้ผู้ประกอบการบางส่วนปรับตัวด้วย ส่วนร่างพรบ.ยาสูบนั้นจะพิจารณาในที่ประชุมครม.วันที่ 12 เมษายนนี้แน่นอน เดิมตั้งใจจะเป็นวาระจรตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน แต่นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังเห็นว่าควรบรรจุเป็นวาระปกติดีกว่า
***จับมือมธ.แก้ภาษีสรรพสามิต 5 ฉบับ
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบการค้าและโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ที่มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในยุคของโลกการค้าไร้พรมแดนซึ่งระบบกฎหมายภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายภาษีสรรพสามิตถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้น เพื่อไม่ให้กฎหมายภาษีสรรพสามิตในปัจจุบันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทย และสอดรับตามแผนงานการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานกรมาสรรพสามิต กรมสรรพสามิตจึงมีนโยบายให้มีการศึกษาปัญหาและปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภาษีสรรพสามิตอย่างบูรณาการ
ทั้งนี้เพื่อให้การปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลสูงสุด สอดคล้องกับพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบัน และแผนงานการสร้างความโปร่งใสของกรมสรรพสามิต จึงเห็นควรปรับปรุงโครงสร้างกฎหมายภาษีสรรพสามิต 5 ฉบับอย่างบูรณาการ คือ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486 โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตฯ ให้ครอบคลุมใน 6 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้
1ความสะดวกและชัดเจนของกฎหมายโดยการรวบรวมกฎหมายภาษีสรรพสามิตมาจัดหมวดหมู่ เพื่อสร้างความชัดเจน ต่อผู้เสียภาษีสรรพสามิตและเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติ 2ความเท่าเทียมและเป็นธรรมโดยการปรับระบบการจัดเก็บภาษีให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3ความโปร่งใสโดยการลดดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่และสร้างความชัดเจนของระบบประเมินตนเองในประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต 4การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตโดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นต่อการบริหารจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 5การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต และ 6การก้าวสู่ความเป็นสากลโดยการปรับแก้กฎหมายเพื่อให้การสอดรับกับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการจัดทำโครงการจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตเป็นการพัฒนากฎหมายภาษีสรรพสามิตให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญและมีประสิทธิภาพทางการคลังของรัฐบาล รวมถึงสามารถส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยอย่างยั่งยืน กรมสรรพสามิตจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันของภาครัฐที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ในการเข้าร่วมดำเนินการโครงการจัดทำประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ โดยจะมีระยะเวลาดำเนินการของโครงการฯ จำนวน 7 เดือน
“การศึกษาและปรับปรุงกฎหมายภาษีสรรพสามิตเป็นประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิตซึ่งได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ จะทำให้กรมสรรพสามิตมีการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายภาษีสรรพสามิตให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานกฎหมายภาษีอากรที่ดี 3 ประการ คือ ความสะดวกง่ายดาย ความเท่าเทียมยุติธรรม และความโปร่งใส ให้เป็นที่ยอมรับต่อสากลและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางด้านการคลังของรัฐบาลและตอบสนองต่อการพัฒนาทั้งการค้าและอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันระดับสากลอย่างยั่งยืนต่อไป” นายพงษ์ภาณุกล่าว