xs
xsm
sm
md
lg

รยส.เล็งจ้างญี่ปุ่นผลิต รับภาษีใหม่รายได้วูบ!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - โรงงานยาสูบปรับกลยุทธ์แข่งขันใต้กรอบการแข่งขันเสรีเตรียมรับจ้างเจแปนโทแบ็คโคผลิตบุหรี่ชดเชยรายได้ที่หายไป ขณะที่โรงงานแห่งใหม่ที่นิคมโรจนะเตรียมลงเสาเอกเม.ย.นี้คาด 3 ปี เปิดเดินหน้าผลิตได้ ระบุฐานภาษีสรรพสามิตใหม่ฉุดกำไรวูบบุหรี่ตลาดล่างราคาพุ่ง ส่วนบุหรี่นอกราคาปรับลดลง

นายอำนวย ปรีมนวงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงงานยาสูบ(รยส.) เปิดเผยว่า ภายใต้การแข่งขันในกรอบการค้าเสรีและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโรงงานยาสูบมีความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การดำเนินงานเนื่องจากมีแนวโมว่าภายใต้กฎเกณฑ์การค้ารูปแบบใหม่และการควบคุมจากภาครัฐที่เข้มงวดจะทำให้รายได้ของโรงงานยาสูบลดลงปีละ 20% จากรายได้รวม 6 หมื่นล้านบาทต่อปี
โดยในขณะนี้โรงงานยาสูบอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทเจแปนโทแบ็คโคเพื่อรับจ้างผลิตบุหรี่ซึ่งคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในเร็วๆ นี้ ทั้งนี้กำลังการผลิตของโรงงานยาสูบปัจจุบันใกล้เต็มแล้วจะมีการลงทุนเพิ่มเครื่องจักรบางส่วนเพื่อรองรับการรับจ้างผลิตในส่วนนี้ก่อนที่จะย้ายออกไปยังโรงงานแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
“กรอบการแข่งขันใหม่จะทำให้รายได้ของโรงงานยาสูบลดลงมากจึงต้องหาช่องทางในการหารายได้เพิ่มขึ้นดีลที่กำลังคุยกับเจแปนโทแบ็คโคนี้คงได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ ซึ่งหารเราลงทุนแล้วก็อยากให้เซ็นสัญญาระยะยาวโดยจะรับจ้างผลิตบุหรี่คนละกลุ่มกับที่เราผลิตอยู่แล้วและส่งขายไปต่างประเทศอย่างเดียว อีกทั้งในอนาคตก็จะเจรจากับรายอื่นเพื่อปรับตัวเป็นผู้รับจ้างผลิตในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น” นายอำนวยกล่าว
นายอำนวยกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโรงงานยาสูบแห่งใหม่นั้นได้เซ็นสัญญากับผู้รับเหมาแล้วโดยจะเข้าพื้นที่และเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายนที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี และในระหว่างก่อสร้างจะมีการประมูลเครื่องจักร 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ด้านใบยาวงเงิน 3.4 พันล้านบาทและส่วนที่ 2 เครื่องจักรสำหรับการมวนยาสูบและการบรรจุหีบห่อวงเงิน 3.2 พันล้านบาท ส่วนวงเงินก่อสร้างตัวโรงงาน 4.6 หมื่นล้านบาท
ด้านนายอำนาจ เพิ่มชาติ รองผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีจากคำนวณตามราคาหน้าโรงงาน(ซีไอเอฟ)เป็นเก็บจากเปอร์เซ็นต์ของราคาขายปลีกว่า วิธีการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อบุหรี่ที่โรงงานยาสูบผลิตและจำหน่ายในกลุ่มของตลาดล่างและตลาดล่าง โดยทำให้ต้องมีภาระภาษีเพิ่มและกระทบต่อยอดขายลดลง เนื่องจากเสียเปรียบในการแข่งขันกับบุหรี่จากต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อยอดขายและกำไรนำส่งรัฐตามมาจึงทำข้อมูลเสนอไปยังกระทรวงการคลังแล้วว่าโรงงานยาสูบจะได้รับผลกระทบใดบ้างเพื่อให้พิจารณาความเหมาะสมก่อนจะมีการประกาศใช้แนวทางการจัดเก็บต่อไป
ทั้งนี้ หากเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บใหม่จำให้บุหรี่จากต่างประเทศเนื่องจากไม่ต้องมีภาระที่ต้องจ่ายภาษีเงินได้ร้านค้าแทนตัวแทนจำหน่าย 3 ช่วง ซึ่งเป็นเงินประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี บวกกับภาษีที่จะเพิ่มอีก 400 ล้านบาทต่อปีรวมเป็น 1,100 ล้านบาท แล้วยังไม่จำเป็นต้องปรับราคาขายปลีกใหม่เพราะปัจจุบันบุหรี่ตลาดบนราคาแพงจะขายไม่เต็มราคาประกาศอยู่แล้ว และหากปรับอัตราภาษีใหม่เป็นกำหนดอัตราขั้นต่ำ 20% หรือมวนละ 1 บาท ก็จะกระทบเฉพาะบุหรี่ราคาถูกในตลาดล่างที่โรงงานยาสูบก็ผลิตหลายยี่ห้อมีสัดส่วนประมาณ 20-30%ในตลาด (เอสเอ็มเอส ชู้ต วันเดอร์) ทำให้อาจต้องมีการปรับราคาขายปลีกอีกซองละ 10-15 บาท จากราคาขายปัจจุบัน 42 บาท
รวมถึงบุหรี่ราคาถูกที่นำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องมีภาระภาษีเพิ่ม แต่บุหรี่ตลาดกลางและบนที่เสียภาษีในอัตรา 60% อยู่แล้วจะไม่กระทบ และยี่ห้อที่ครองตลาดบนอยู่ขณะนี้อาจจะมีภาระลดลงปีละ 80 ล้านบาทด้วยซ้ำ(มาร์โบโร) ส่วนบุหรี่ของโรงงานยาสูบที่ผลิตจำหน่ายและครองตลาด 45%(กรองทิพย์) ก็ไม่น่าจะได้รับผลกระทบถึงขั้นต้องปรับราคาขายปลีกจากปัจจุบันที่จำหน่าย 58 บาท.
กำลังโหลดความคิดเห็น