กรมสรรพสามิต เตรียมชงปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ให้ รมว.คลัง เคาะภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้ พร้อมตั้งเป้าจัดเก็บภาษี เป็น 1 ล้านล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้า ประกาศเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับ AEC
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้จัดทำผลศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงานเสร็จแล้ว คาดว่าภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้จะนำเสนอให้ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังพิจารณาได้
พร้อมกันนี้ จะนำเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ให้ ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ เบื้องต้นมีแนวทาง ว่า จะเสนอ 2 ส่วนคู่กัน คือ การปรับฐานภาษีบุหรี่ คิดจากราคาขายปลีกแทนราคาหน้าโรงงานและราคานำเข้า พร้อมทั้งเพิ่มการเก็บภาษีในอัตราเชิงปริมาณ หากประสบความสำเร็จ กรมจะนำโครงสร้างดังกล่าวมาใช้กับสินค้าสุราและเบียร์ต่อไป
“ขณะเดียวกัน กรมกำลังศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต แต่ละสินค้าให้มีความเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมกับการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกรมต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกรมศุลกากรจะยกเว้นภาษีเหลือ 0% หลังจากเปิดเสรีการค้าอาเซียน ขณะที่กรมสรรพากร ยังมีข้อจำกัดในด้านการจัดเก็บรายได้ เพราะไม่สามารถปรับเพิ่มภาษีเงินได้ เพราะต้องแข่งขันกันสูงมาก”
ปีนี้ กรมต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านหลัก คือ สัดส่วนรายได้ที่สูงขึ้นจากเดิมมีรายได้เพียง 15-16% ของรายได้ ขณะนี้เพิ่มเป็น 20% แล้ว และเชื่อว่า อนาคตจะสูงกว่านี้ ขณะที่การแข่งขันด้านการค้าการลงทุนจะรุนแรงมากขึ้นจากการเปิดเสรีและเออีซี ดังนั้น กรมจะต้องปรับปรุงระบบฐานภาษีอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อปกป้องให้นักลงทุนไม่ย้ายฐานการผลิตออกจากไทย ขณะเดียวกัน ต้องเก็บภาษีจากสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากรถยนต์ เป็นรายได้ที่สูงเป็นอันดับ 2 โดยในปีงบประมาณ 53 มีรายได้ทั้งสิ้น 77,200 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19% ของรายได้ กรมจัดเก็บได้ทั้งหมด และรายได้จากภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในเดือน ม.ค.-ต.ค.53 ขยายตัว 61.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ เออีซี จะมีบทบาทมากขึ้น หากไทยมีฐานภาษีที่สูงมากจนเกินไปจะทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางที่ทำให้ฐานภาษีของอาเซียนเท่าเทียมกัน
นายสุรพล สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวว่า ปัจจุบันกรมฯจัดเก็บภาษีกว่า 200,000 ล้านบาทในแต่ละปี แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนไป โดยผู้ประกอบการเติบโตในด้านธุรกิจมากขึ้น ทำให้คาดว่าในปี 55 การจัดเก็บรายได้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 400,000-500,000 ล้านบาท และต่อไปในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวของการเก็บภาษีเพิ่มจาก 6% เป็น 40% แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบัน รวมถึงต้องไม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีแต่ละประเภท
ขณะเดียวกัน กรมต้องเร่งปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้มีความชัดเจน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทั้งหน่วยงานต่างๆ และผู้ประกอบการมีความเท่าเทียมกัน โดยสถานะปัจจุบันภาษีหลัก 5 ตัว คือ น้ำมัน รถยนต์ เบียร์ สุรา และยาสูบ ซึ่งมีการบริโภคเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ในปี 54 นี้ กรมมีอายุ 79 ปี และได้วางวิสัยทัศน์ว่าจะมุ่งเน้นสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้ชัดเจนและมีมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ลดภาระของผู้เสียภาษีในการติดต่อกรมสรรพสามิต และสร้างความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมี 3 แผนงานหลัก คือ การปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความชัดเจนและรัดกุม เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และการให้บริการผู้เสียภาษี
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตได้จัดทำผลศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพลังงานเสร็จแล้ว คาดว่าภายในสิ้นเดือน ก.พ.นี้จะนำเสนอให้ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังพิจารณาได้
พร้อมกันนี้ จะนำเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ให้ ครม.พิจารณาเร็วๆ นี้ เบื้องต้นมีแนวทาง ว่า จะเสนอ 2 ส่วนคู่กัน คือ การปรับฐานภาษีบุหรี่ คิดจากราคาขายปลีกแทนราคาหน้าโรงงานและราคานำเข้า พร้อมทั้งเพิ่มการเก็บภาษีในอัตราเชิงปริมาณ หากประสบความสำเร็จ กรมจะนำโครงสร้างดังกล่าวมาใช้กับสินค้าสุราและเบียร์ต่อไป
“ขณะเดียวกัน กรมกำลังศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต แต่ละสินค้าให้มีความเหมาะสม เพื่อเตรียมความพร้อมกับการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกรมต้องมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากกรมศุลกากรจะยกเว้นภาษีเหลือ 0% หลังจากเปิดเสรีการค้าอาเซียน ขณะที่กรมสรรพากร ยังมีข้อจำกัดในด้านการจัดเก็บรายได้ เพราะไม่สามารถปรับเพิ่มภาษีเงินได้ เพราะต้องแข่งขันกันสูงมาก”
ปีนี้ กรมต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านหลัก คือ สัดส่วนรายได้ที่สูงขึ้นจากเดิมมีรายได้เพียง 15-16% ของรายได้ ขณะนี้เพิ่มเป็น 20% แล้ว และเชื่อว่า อนาคตจะสูงกว่านี้ ขณะที่การแข่งขันด้านการค้าการลงทุนจะรุนแรงมากขึ้นจากการเปิดเสรีและเออีซี ดังนั้น กรมจะต้องปรับปรุงระบบฐานภาษีอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพื่อปกป้องให้นักลงทุนไม่ย้ายฐานการผลิตออกจากไทย ขณะเดียวกัน ต้องเก็บภาษีจากสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ที่ผ่านมา รายได้ภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บจากรถยนต์ เป็นรายได้ที่สูงเป็นอันดับ 2 โดยในปีงบประมาณ 53 มีรายได้ทั้งสิ้น 77,200 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19% ของรายได้ กรมจัดเก็บได้ทั้งหมด และรายได้จากภาษีสรรพสามิตรถยนต์ในเดือน ม.ค.-ต.ค.53 ขยายตัว 61.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ เออีซี จะมีบทบาทมากขึ้น หากไทยมีฐานภาษีที่สูงมากจนเกินไปจะทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางที่ทำให้ฐานภาษีของอาเซียนเท่าเทียมกัน
นายสุรพล สุประดิษฐ์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี กรมสรรพสามิต กล่าวว่า ปัจจุบันกรมฯจัดเก็บภาษีกว่า 200,000 ล้านบาทในแต่ละปี แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนไป โดยผู้ประกอบการเติบโตในด้านธุรกิจมากขึ้น ทำให้คาดว่าในปี 55 การจัดเก็บรายได้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 400,000-500,000 ล้านบาท และต่อไปในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านล้านบาท จากการขยายตัวของการเก็บภาษีเพิ่มจาก 6% เป็น 40% แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบัน รวมถึงต้องไม่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีแต่ละประเภท
ขณะเดียวกัน กรมต้องเร่งปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีให้มีความชัดเจน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทั้งหน่วยงานต่างๆ และผู้ประกอบการมีความเท่าเทียมกัน โดยสถานะปัจจุบันภาษีหลัก 5 ตัว คือ น้ำมัน รถยนต์ เบียร์ สุรา และยาสูบ ซึ่งมีการบริโภคเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ในปี 54 นี้ กรมมีอายุ 79 ปี และได้วางวิสัยทัศน์ว่าจะมุ่งเน้นสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้ชัดเจนและมีมาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ลดภาระของผู้เสียภาษีในการติดต่อกรมสรรพสามิต และสร้างความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมี 3 แผนงานหลัก คือ การปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความชัดเจนและรัดกุม เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และการให้บริการผู้เสียภาษี