ASTVผู้จัดการรายวัน - “ประพันธ์” ปูด“ฮุนเซน” ตบหน้า “มาร์ค” เตรียมปล่อย 2 คนไทยกลับบ้าน ก่อนเลือกตั้งใหญ่ดึงคะแนนให้ “เพื่อแม้ว” ด้าน“นพเหล่” เชื่อ “แม้ว” ใช้ความเป็นเพื่อนช่วยได้ ขณะที่“ส.ส.เจริญ” อ้าง“นายหัวชวน”แก้เกมถกกับ“เจ้านโรดมรณฤทธิ์” ขอให้ช่วยแล้ว “กษิต”จะเจรจาเขมรขออภัยโทษอีก ขณะที่“ฮอร์” ยันต้องจำคุก 2 ใน 3 ก่อน ด้านกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติร้องทุกข์ต่อองค์กรระหว่างประเทศ 5 แห่ง
วานนี้ (7 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น.นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวถึงกรณีที่นายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศกัมพูชาปฏิเสธปฏิเสธการขออภัยโทษนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ สองคนไทยที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก ว่า การที่ออกมาระบุว่าการที่จะขอพระราชทานอภัยโทษจะต้องติดคุก 2 ใน 3 ของโทษที่ได้รับเสียก่อน ตรงนี้ต่างจากกรณีของนายนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวในข้อจารกรรมข้อมูลการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างสิ้นเชิง โดยครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ดำเนินการจนนายศิวรักษ์ได้รับการขออภัยโทษอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นกรณีนี้รัฐบาลเหมือนถูกตบหน้าโดยรัฐบาลของกัมพูชาอย่างปฏิเสธไม่ได้ และคาดว่า ทั้งคู่จะได้รับการปล่อยตัวช่วงใกล้เลือกตั้งเพื่อช่วยเหลือพรรคเพื่อไทย
"มาร์ค”ไม่เชื่อเขมรปัดอภัยโทษ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องพยามต่อ เราเคยได้ยินมาก่อนแล้วว่ากฏระเบียบภายในของเขามีการรับโทษอะไรต่าง ๆ ซึ่งในอดีตก็เคยมีข้อยกเว้น ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ของนายฮอ นัมฮง ที่ให้ความเห็นต่อสื่อ
เมื่อถามว่า ทางญาติของนายวีระ ออกมาระบุว่า รัฐบาลไม่มีความคืบหน้า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จริง ได้คุยกันอยู่ เรื่องดูแลความเป็นอยู่อำนวยความสะดวกก็ช่วยกันอยู่ ความยากของเรื่องนี้ เพราะทั้งสองท่านมีข้อหาที่ต่างกับคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของการเข้าเมือง ซึ่งคนอื่นก็ได้รับอิสรภาพแล้ว แต่มันมีข้อหาเพิ่มขึ้นมาด้วย
เมื่อถามว่า ในการขออภัยโทษ ต้องให้นายวีระ-นางสาวราตรี ติดคุก 2ใน 3 ก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องกฎหมาย และกฎระเบียบภายในของเขา แต่ขณะเดียวกันเราก็เห็นว่าเคยมีประสบการณ์ที่ไม่เป็นอย่างนั้นมาแล้ว เมื่อถามว่า นายนายฮอ นัมฮง อ้างว่ากรณีนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ที่โดนข้อหาจารกรรมข้อมูลการบินนั้น ใช้หลักมนุษย์ธรรม ตรงนี้จะเข้าข่ายเดียวกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าถ้าเราคิดถึงหลักมนุษยธรรม ก็เข้าข่ายแน่นอนทั้งสองคน
**“กษิต”จะเจรจาขออภัยโทษอีก
นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่การขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายวีระ และน.ส.ราตรี ว่า เป็นท่าทีของกัมพูชา แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกครั้ง กระทรวงการต่างประเทศก็ยังยืนยันทำหน้าที่ชี้แจงในเรื่องนี้ โดยไม่อยากให้ประเด็นนายวีระและน.ส.ราตรี กลายเป็นความบาดหมางของสองประเทศ
**เหล่ เชื่อความเป็นเพื่อนแม้วช่วย
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมีรายงานข่าวว่า ทางการกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้พระราชทานอภัยโทษแก่ นายวีระและนางราตรี ตามที่ได้ยื่นเรื่องร้องขอไป โดยระบุว่า การปฏิเสธดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิเสธระหว่างทางการกัมพูชากับสถานทูตไทย ซึ่งต้องถือว่าเป็นคนละส่วนกัน หากทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประสานไป ซึ่งที่ผ่านมา กรณี นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ที่เคยถูกทางการกัมพูชา จับกุมตัวโดยตั้งข้อหาจารกรรมนั้นครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาให้แก่ สมเด็จฮุนเซน อยู่การประสานงาน เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องพระราชทานอภัยโทษ อาจจะทำได้สะดวกกว่าขณะนี้ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ลาออกจากการเป็นที่ปรึกษามาแล้ว
จากนี้ไปคงต้องรอดูว่าเรื่องที่ครอบครัวนายวีระ ยื่นถึง พ.ต.ท.ทักษิณ จะถึงเมื่อไหร่และการประสานงานกันจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่า ในสถานะความเป็นเพื่อนกันของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสมเด็จฮุนเซน น่าจะเป็นผลดีกับกรณีนี้ได้บ้าง แต่ไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า จะช่วยได้หรือไม่และเมื่อไหร่
**“ปู่เจริญ” โอ๋อย่าด่าพ่อ“ฮุนเซน”
นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนรัฐสภาไทย แถลงว่าก่อนที่ตนจะไปร่วมประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซี่ยน(ไอป้า) นั้นตนได้ขอเข้าพบเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศกัมพูชา เพื่อจะขอไปเยี่ยมนายวีระ และน.ส.ราตรี แต่เอกอัครราชฑูตของไทยบอกว่าทั้ง 2 คน อยู่ที่กัมพูชา ทางการฑูตไทยได้ดูแลเป็นอย่างดี ไม่อยากให้ตนไปเยี่ยม เพราะเกรงว่าจะมีกลุ่มอื่นขอเข้าไปเยี่ยมด้วย ทั้งนี้ตนยังถามเอกอัครราชฑูตไทยอีกว่าการอภัยโทษ จะเป็นอย่างไรต่อไป ฑูตไทยบอกว่าความจริงไม่ต้องต่อสู้คดี แต่ขออภัยโทษจะต้องให้สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เซ็นให้ จะดีกว่า ซึ่งสถานฑูตไทยได้ทำเรื่องอภัยโทษไปแล้ว แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งถูกปฏิเสธการได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องของการเมือง มากกว่าปัญหาด้านข้อกฎหมาย และเขารู้ดีว่านายวีระ กับน.ส.ราตรี เป็นคนเสื้อเหลือง มันเหมือนไปด่าพ่อแม่ของเขา แต่สุดท้ายกลับไปขอยืมเงิน เป็นใครจะให้
**ส.ส.เขมรไม่พอใจเสื้อเหลือง
ทางการฑูตไทยไม่ค่อยสบายใจที่มีกลุ่มเสื้อเหลืองบางคนได้ไปยืนด่ากัมพูชา บริเวณที่นายวีระ และน.ส.ราตรี คุมขังอยู่ ซึ่งเป็นการรบกวนประชากรกัมพูชาที่เขาเดินเข้าเดินออกบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามในการประชุมไอป้าครั้งนี้ตนได้คุยกับส.ส.รัฐบาล ของกัมพูชา ในเรื่องดังกล่าว เขาก็แนะนำให้ตนเอาดอกไม้ไปเยี่ยมฮุนเซน เพราะเป็นวันเกิด แต่ตนก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ตนยังได้เล่าให้ส.ส.กัมพูชาฟังอีกว่าการที่มีคนไทยบางคนด่ากัมพูชา นั้นไม่ไช่ความคิดเห็นของคนไทยทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามตนอยากให้บรรยากาศทั้ง 2 ประเทศเพลาๆลงบ้าง เพราะเราจะย้ายประเทศหนีก็ไม่ได้ จะต้องแก้ไขกันอย่างสันติ
“อยู่ที่กัมพูชาเขาดูทีวี เอเอสทีวี ก็กล่าวหากัมพูชา บ่อยครั้งมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไรนัก ประเด็นคืออยากให้พันธมิตรยุติการปราศรัยโจมตีฮุนเซน และกัมพูชา ลงบ้าง”นายเจริญ กล่าว
**อ้าง“ชวน”ถกกับเจ้านโรดมแล้ว
นายเจริญ กล่าวว่า ตนได้คุยกับนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องดังกล่าวซึ่งนายชวน ก็ได้ติดต่อกับสมเด็จกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ แห่งราช อาณาจักรกัมพูชาถึงเรื่องนี้แล้ว
**เครือข่ายคนไทยฯยังหวังช่วย
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เปิดเผยว่า เครือข่ายฯจะยังเคลื่อนไหวเกาะติดการช่วยเหลือต่อไป โดยมีเป้าหมายเฉพาะหน้าคือการนำบุคคลทั้งสองกับสู่ประเทศไทยอย่างสมศักดิ์ศรี และจากการที่นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกฯกัมพูชา ออกมาระบุว่า ทั้งสองคนต้องรับโทษ 2 ใน 3 ของจำนวนโทษทั้งหมดก่อน ถึงจะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษได้นั้น เครือข่ายฯยืนยันมติเดิม ที่จะไม่ก้าวล่วงความเห็นของครอบครัวบุคคลทั้งคู่ เพราะเป็นเรื่องปกติที่จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับอิสรภาพ
ทั้งนี้ได้ดำเนินการร้องทุกข์ต่อองค์กรระหว่างประเทศ 5 แห่ง คือ 1.คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ยูเอ็นเอสซี) เพื่อให้ทบทวนมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา 2.คณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี) กรณีการจับกุมคุมขัง การสอบสวนฟ้องคดี และพิพากษาโดยรวบรัด ซึ่งขัดต่อธรรมนูญของไอซีอาร์ซีอย่างร้ายแรง 3.สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในเรื่องการจับกุมคุมขัง สอบสวน ฟ้องคดี พิพากษา ต่อคนไทยทั้ง 7 คนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ 4.องค์กรนิรโทษกรรมที่กรุงลอนดอน และสหรัฐอเมริกา ในความผิดเกี่ยวกับมนุษยชนที่กระทำต่อ 7 คนไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และ 5.องค์กรปกป้องการล้างเผ่าพันธุ์สากล เนื่องจากมีคนไทยเสียชีวิตที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา จากการที่ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มเปิดฉากยิงโจมตีเข้าฝ่ายไทย
ขณะที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในการช่วยเหลือนายวีระ และ น.ส.ราตรี นายกฯอภิสิทธิ์จะรับผิดชอบอย่างไร ตนจึงขอเรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์ยุบสภา และลาออก
**ฮอร์ยันต้องจำคุก 2 ใน 3 ก่อน
นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยก่อนขึ้นเครื่อง นำคณะไปประชุมเจบีซี กับผู้แทนของไทยที่ประเทศอินโดนีเซีย ว่า ทางรัฐบาลได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องขอจากรัฐบาลไทย ที่พยายามจะขอให้ สมเด็จเจ้านโรดม สีหมุนี พระราชทานอภัยโทษให้กับ นายวีระ และ น.ส.ราตรี จากการทำความผิดพยายามรุกล้ำดินแดนและโจรกรรมข้อมูลทางการทหาร
โดย นายฮอร์ นัม ฮง ระบุว่า ตามกฎหมายของกัมพูชา ผู้ต้องหาที่ถูกศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว และมีความเกี่ยวข้องกับคดีด้านความมั่นคง จะต้องได้รับโทษอย่างน้อย 2 ใน 3 ก่อน จึงจะมีการพิจารณาเรื่องของการขอพระราชทานอภัยโทษได้ ซึ่งเท่ากับ นายวีระ จะต้องถูกคุมตัวในเรือนจำเพรย์ซอว์ อย่างน้อย 5 ปีก่อน ส่วน น.ส.ราตรี ประมาณ 4 ปี นั่นเอง เพราะถูกตัดสินจำคุก 8 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ
**เขมรปัดหนังสือขออภัยโทษ
บายนทีวีของกัมพูชา รายงานว่า ประมุขการทูตในรัฐบาลกัมพูชา รัฐมนตรี ฮอ นัมฮง ได้ประกาศให้ทราบว่ากัมพูชาปฏิเสธหนังสือขอให้มีการอภัยโทษผู้ถูกคุมขังชาวไทย 2 คน ที่ถูกจับกุมในข้อหาเข้าประเทศกัมพูชาโดยผิดกฎหมายเมื่อปลายปีที่แล้ว เขาระบุว่า ตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา ผู้ต้องโทษต้องรับโทษเป็นระยะเวลา 2 ใน 3 จึงจะสามารถขออภัยโทษได้
หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ วันที่ 7เม.ย.54 รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ว่า กระทรวงต่างประเทศ (กัมพูชา) ได้ส่งหนังสือขออภัยโทษของสองคนไทยไปยังสถานทูตไทยประจำกัมพูชาแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีใจความสำคัญที่กัมพูชายืนยันว่าการเสนอขออภัยโทษนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อสองนักโทษชาวไทยได้รับโทษแล้ว2ใน3
**เทือกอ้างไม่รู้เขมรปัดอภัยโทษ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ต้องรอให้กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้น เวลานี้ทางรัฐบาลคงทำอะไรมากไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยในกระบวนการทางศาลของกัมพูชา
ส่วนกรณีที่กัมพูชาปฏิเสธเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษนั้นก็ไม่ทราบ ได้แต่ติดตามข่าว กับครอบครัวของนายวีระก็ต้องรอให้ทุกอย่างยุติก่อน จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ ส่วนจะต้องรอจนกว่านายวีระและน.ส.ราตรี รับโทษก่อนหรือไม่ ต้องรอทางกระทรวงการต่างประเทศ สรุปมาให้ทราบอีกครั้ง เวลานี้ทุกคนที่สามารถพูดคุยช่วยเหลือได้ ก็พยายามช่วยเหลืออยู่
**ถกเจบีซีครั้งที่ 4ไร้อินโดแทรก
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นที่ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2554 ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ว่า การประชุมดังกล่าว จะประกอบด้วยนายอัษฎา ชัยนาม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ขณะที่ฝ่ายกัมพูชา มีนายวาร์ คิม ฮอง รัฐมนตรีอาวุโสด้านเขตแดนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการประชุมนี้จะไม่มีผู้แทนอินโดนีเซียเข้าร่วมสังเกตการณ์ประชุม เพื่อให้การประชุมเจบีซีเป็นการหารือทวิภาคีอย่างเต็มรูปแบบ เพียงแต่อาศัยสถานที่ของอินโดนีเซียจัดประชุมเท่านั้น
ทั้งนี้ การประชุมเจบีซีครั้งนี้ จะหารือถึงความคืบหน้าในเรื่องที่ค้างคากันอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมความพร้อม อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่ชุดสำรวจพื้นที่ตอนที่ 5 ระหว่างหลักเขตที่ 1-23 ส่วนการพิจารณาคัดเลือกบริษัทจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สามารถหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ ในระหว่างที่เอกสารบันทึกผลการประชุมทั้ง 3 ฉบับของไทยรอการพิจารณาของรัฐสภา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเกี่ยวข้อง คือการเปิดจุดผ่านแดนใหม่ระหว่างสองประเทศ ซึ่งต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ อาทิ ประตู ด่าน ที่อาจกระทบกับเรื่องเขตแดน จึงต้องเอารายละเอียดมาดูมาหารือกัน
**มาร์คบอกเจบีซีวันแรกเรียบร้อย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รับรายงานว่าการประชุมเจบีซีที่อินโดนีเซีย เรียบร้อยดี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะการประชุมเจบีซีเป็นไปตามระเบียบวาระที่เรียนไว้ ว่า หลักที่เราใช้คืออะไร เมื่อถามว่า หากบรรยากาศเหล่านี้ดีขึ้นแล้ว มีความจำเป็นหรือไม่ที่ผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียยังต้องเข้าพื้นที่อยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะพูดคุยกัน ซึ่งตอนนี้จะพิจารณารายละเอียดทางเทคนิคไปก่อน ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของเจบีซี หรือการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) เพราะเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีต่างประเทศคงจะคุย
** ชัย รอรายละเอียดศาลก่อนถกเจบีซี
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงที่กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องวินิจฉัยร่างบันทึกข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา 3 ฉบับ หรือ JBC ว่า ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ส่งคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการมาให้ หากส่งมาเมื่อไรนั้นก็ค่อยหารือการดำเนินการต่อไป
**ประวิตร"รับผิดชอบจีบีซีเอง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศต่อโทรศัพท์หารือถึงการประชุมเจบีซี ว่า นายกษิตโทรมาหารือถึงการประชุมเจบีซีว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตนได้ให้นายกษิตดำเนินการในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศไป ส่วนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา(จีบีซี)นั้นตนจะรับผิดชอบเอง ส่วนจะให้ผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาในบริเวณข้อพิพาทหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ ต้องถามกระทรวงการต่างประเทศเพราะเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อข้อถามที่ว่าพล.อ.ประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ให้กองกำลังต่างชาติเข้ามา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตามหลักของกฎหมายกองกำลังต่างชาติไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่อยู่แล้ว เมื่อถามว่า นายกษิตจะไปคุยกับต่างประเทศเพื่อนำผู้สังเกตการณ์เข้ามา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามนายกษิต คิดว่านายกษิตรู้อยู่แล้วว่าควรจะทำอะไร คงไม่ทำเรื่องผิดกฎหมาย ส่วนรายละเอียดเรื่องกฎหมายตามมาตรา 190 ตนไม่ทราบ กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบและจัดการเอง
**สับใช้พหุภาคีขู่ ส.ส.-ส.ว.ไม่ได้ผล
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า กรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่าหากประชุมร่วมรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (เจบีซี) ทั้ง 3 ฉบับ จะส่งผลให้ไม่สามารถเดินหน้าในการเจรจาในกรอบทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ และอาจจะขยายผลไปเป็นการเจรจาพหุภาคีได้ ว่า ในวันที่ 7 - 8 เม.ย.นี้ จะมีการประชุมเจบีซีที่ประเทศอินโดนีเซีย แม้จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตรงนี้จะพบว่าคำข่มขู่ของนายกฯไม่ได้เป็นความจริงอย่างที่กล่าว
ฉะนั้นส่วนนี้นายอภิสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง อีกทั้งการที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพออกมาระบุว่าไม่เห็นด้วย รวมถึงจะปล่อยให้มีการนำทหารอินโดนีเซียเข้ามาเพื่อสังเกตการณ์ในพื้นที่ประเทศไทยนั้น ทำให้พบว่าในขณะนี้ทางกองทัพไม่เห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล และรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวของนายอภิสิทธิ์ที่ไม่มองว่าเป็นการถูกแทรกแซงจากประเทศที่ 3 และเห็นดีด้วยที่จะมีผู้เข้ามาสังเกตการณ์เพื่อให้รู้ว่าฝ่ายไทยไม่ได้เป็นฝ่ายยิงก่อน
ประเด็นนี้ตนเห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดเริ่มยิงก่อนหลัง แต่เป็นปัญหา เพราะกัมพูชารุกรานเข้ามาประเทศอยู่ในขณะนี้ จึงจำเป็นที่ฝ่ายไทยจะต้องใช้กำลังทหาร หรือใช้มาตรการอื่นในการผลักดันทหารกัมพูชาออกไปจากประเทศไทย และถ้านำไปรวมกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่เวทีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ยืนยันในเส้นเขตแดนของตนเอง เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิ์กล่าวอ้างว่าทหารกัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยอยู่
“ถือเป็นคำพูดที่อ่อนหัดมากในทางการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นคำพูดที่ทำให้ไทยถลำลึกตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา และยิ่งฝ่ายทหารไม่เห็นด้วยขึ้นมาอีก ส่งผลให้อาเซียนเข้าใจผิดว่า ไทยเป็นพวกอันธพาลไม่ทำตามที่รับปาก ทั้งที่การรับปากเหล่านั้นทั้งรัฐบาลและกระทรวงต่างประเทศ ไม่เคยปรึกษาหารือกับทหารเลยแม้แต่น้อย” นายปานเทพ กล่าว
**อัดรายการค้านโนโหวตไม่เป็นปชต.
นายปานเทพ กล่าวว่า การที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 นำเสนอรายการเพื่อคัดค้านการรณรงค์ให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ถือเป็นการยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว และยังสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะพยายามใช้สื่อของตนเองเกลี้ยกล่อมประชาชนให้เชื่อตาม ทำให้เห็นธาตุแท้ว่า นักการเมืองในระบบไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ฉะนั้นพันธมิตรฯจะรณรงค์โหวตโนต่อไป รวมถึงหลังจากเทศกาลสงกรานต์จะมีองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ออกมาร่วมรณรงค์โหวตโนเพิ่มมากขึ้น
วานนี้ (7 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น.นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวถึงกรณีที่นายฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศกัมพูชาปฏิเสธปฏิเสธการขออภัยโทษนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ สองคนไทยที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก ว่า การที่ออกมาระบุว่าการที่จะขอพระราชทานอภัยโทษจะต้องติดคุก 2 ใน 3 ของโทษที่ได้รับเสียก่อน ตรงนี้ต่างจากกรณีของนายนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมตัวในข้อจารกรรมข้อมูลการบินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างสิ้นเชิง โดยครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ดำเนินการจนนายศิวรักษ์ได้รับการขออภัยโทษอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นกรณีนี้รัฐบาลเหมือนถูกตบหน้าโดยรัฐบาลของกัมพูชาอย่างปฏิเสธไม่ได้ และคาดว่า ทั้งคู่จะได้รับการปล่อยตัวช่วงใกล้เลือกตั้งเพื่อช่วยเหลือพรรคเพื่อไทย
"มาร์ค”ไม่เชื่อเขมรปัดอภัยโทษ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องพยามต่อ เราเคยได้ยินมาก่อนแล้วว่ากฏระเบียบภายในของเขามีการรับโทษอะไรต่าง ๆ ซึ่งในอดีตก็เคยมีข้อยกเว้น ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ของนายฮอ นัมฮง ที่ให้ความเห็นต่อสื่อ
เมื่อถามว่า ทางญาติของนายวีระ ออกมาระบุว่า รัฐบาลไม่มีความคืบหน้า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จริง ได้คุยกันอยู่ เรื่องดูแลความเป็นอยู่อำนวยความสะดวกก็ช่วยกันอยู่ ความยากของเรื่องนี้ เพราะทั้งสองท่านมีข้อหาที่ต่างกับคนอื่น ไม่ใช่เรื่องของการเข้าเมือง ซึ่งคนอื่นก็ได้รับอิสรภาพแล้ว แต่มันมีข้อหาเพิ่มขึ้นมาด้วย
เมื่อถามว่า ในการขออภัยโทษ ต้องให้นายวีระ-นางสาวราตรี ติดคุก 2ใน 3 ก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องกฎหมาย และกฎระเบียบภายในของเขา แต่ขณะเดียวกันเราก็เห็นว่าเคยมีประสบการณ์ที่ไม่เป็นอย่างนั้นมาแล้ว เมื่อถามว่า นายนายฮอ นัมฮง อ้างว่ากรณีนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรชาวไทย ที่โดนข้อหาจารกรรมข้อมูลการบินนั้น ใช้หลักมนุษย์ธรรม ตรงนี้จะเข้าข่ายเดียวกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าถ้าเราคิดถึงหลักมนุษยธรรม ก็เข้าข่ายแน่นอนทั้งสองคน
**“กษิต”จะเจรจาขออภัยโทษอีก
นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่การขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายวีระ และน.ส.ราตรี ว่า เป็นท่าทีของกัมพูชา แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกครั้ง กระทรวงการต่างประเทศก็ยังยืนยันทำหน้าที่ชี้แจงในเรื่องนี้ โดยไม่อยากให้ประเด็นนายวีระและน.ส.ราตรี กลายเป็นความบาดหมางของสองประเทศ
**เหล่ เชื่อความเป็นเพื่อนแม้วช่วย
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังมีรายงานข่าวว่า ทางการกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้พระราชทานอภัยโทษแก่ นายวีระและนางราตรี ตามที่ได้ยื่นเรื่องร้องขอไป โดยระบุว่า การปฏิเสธดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิเสธระหว่างทางการกัมพูชากับสถานทูตไทย ซึ่งต้องถือว่าเป็นคนละส่วนกัน หากทาง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประสานไป ซึ่งที่ผ่านมา กรณี นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ที่เคยถูกทางการกัมพูชา จับกุมตัวโดยตั้งข้อหาจารกรรมนั้นครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาให้แก่ สมเด็จฮุนเซน อยู่การประสานงาน เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องพระราชทานอภัยโทษ อาจจะทำได้สะดวกกว่าขณะนี้ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ลาออกจากการเป็นที่ปรึกษามาแล้ว
จากนี้ไปคงต้องรอดูว่าเรื่องที่ครอบครัวนายวีระ ยื่นถึง พ.ต.ท.ทักษิณ จะถึงเมื่อไหร่และการประสานงานกันจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่า ในสถานะความเป็นเพื่อนกันของ พ.ต.ท.ทักษิณ และสมเด็จฮุนเซน น่าจะเป็นผลดีกับกรณีนี้ได้บ้าง แต่ไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า จะช่วยได้หรือไม่และเมื่อไหร่
**“ปู่เจริญ” โอ๋อย่าด่าพ่อ“ฮุนเซน”
นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะตัวแทนรัฐสภาไทย แถลงว่าก่อนที่ตนจะไปร่วมประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซี่ยน(ไอป้า) นั้นตนได้ขอเข้าพบเอกอัครราชฑูตไทยประจำประเทศกัมพูชา เพื่อจะขอไปเยี่ยมนายวีระ และน.ส.ราตรี แต่เอกอัครราชฑูตของไทยบอกว่าทั้ง 2 คน อยู่ที่กัมพูชา ทางการฑูตไทยได้ดูแลเป็นอย่างดี ไม่อยากให้ตนไปเยี่ยม เพราะเกรงว่าจะมีกลุ่มอื่นขอเข้าไปเยี่ยมด้วย ทั้งนี้ตนยังถามเอกอัครราชฑูตไทยอีกว่าการอภัยโทษ จะเป็นอย่างไรต่อไป ฑูตไทยบอกว่าความจริงไม่ต้องต่อสู้คดี แต่ขออภัยโทษจะต้องให้สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เซ็นให้ จะดีกว่า ซึ่งสถานฑูตไทยได้ทำเรื่องอภัยโทษไปแล้ว แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งถูกปฏิเสธการได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องของการเมือง มากกว่าปัญหาด้านข้อกฎหมาย และเขารู้ดีว่านายวีระ กับน.ส.ราตรี เป็นคนเสื้อเหลือง มันเหมือนไปด่าพ่อแม่ของเขา แต่สุดท้ายกลับไปขอยืมเงิน เป็นใครจะให้
**ส.ส.เขมรไม่พอใจเสื้อเหลือง
ทางการฑูตไทยไม่ค่อยสบายใจที่มีกลุ่มเสื้อเหลืองบางคนได้ไปยืนด่ากัมพูชา บริเวณที่นายวีระ และน.ส.ราตรี คุมขังอยู่ ซึ่งเป็นการรบกวนประชากรกัมพูชาที่เขาเดินเข้าเดินออกบริเวณนั้น อย่างไรก็ตามในการประชุมไอป้าครั้งนี้ตนได้คุยกับส.ส.รัฐบาล ของกัมพูชา ในเรื่องดังกล่าว เขาก็แนะนำให้ตนเอาดอกไม้ไปเยี่ยมฮุนเซน เพราะเป็นวันเกิด แต่ตนก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม นอกจากนี้ตนยังได้เล่าให้ส.ส.กัมพูชาฟังอีกว่าการที่มีคนไทยบางคนด่ากัมพูชา นั้นไม่ไช่ความคิดเห็นของคนไทยทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามตนอยากให้บรรยากาศทั้ง 2 ประเทศเพลาๆลงบ้าง เพราะเราจะย้ายประเทศหนีก็ไม่ได้ จะต้องแก้ไขกันอย่างสันติ
“อยู่ที่กัมพูชาเขาดูทีวี เอเอสทีวี ก็กล่าวหากัมพูชา บ่อยครั้งมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเท่าไรนัก ประเด็นคืออยากให้พันธมิตรยุติการปราศรัยโจมตีฮุนเซน และกัมพูชา ลงบ้าง”นายเจริญ กล่าว
**อ้าง“ชวน”ถกกับเจ้านโรดมแล้ว
นายเจริญ กล่าวว่า ตนได้คุยกับนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในเรื่องดังกล่าวซึ่งนายชวน ก็ได้ติดต่อกับสมเด็จกรมพระนโรดมรณฤทธิ์ พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ แห่งราช อาณาจักรกัมพูชาถึงเรื่องนี้แล้ว
**เครือข่ายคนไทยฯยังหวังช่วย
นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ เปิดเผยว่า เครือข่ายฯจะยังเคลื่อนไหวเกาะติดการช่วยเหลือต่อไป โดยมีเป้าหมายเฉพาะหน้าคือการนำบุคคลทั้งสองกับสู่ประเทศไทยอย่างสมศักดิ์ศรี และจากการที่นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกฯกัมพูชา ออกมาระบุว่า ทั้งสองคนต้องรับโทษ 2 ใน 3 ของจำนวนโทษทั้งหมดก่อน ถึงจะดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษได้นั้น เครือข่ายฯยืนยันมติเดิม ที่จะไม่ก้าวล่วงความเห็นของครอบครัวบุคคลทั้งคู่ เพราะเป็นเรื่องปกติที่จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้รับอิสรภาพ
ทั้งนี้ได้ดำเนินการร้องทุกข์ต่อองค์กรระหว่างประเทศ 5 แห่ง คือ 1.คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ยูเอ็นเอสซี) เพื่อให้ทบทวนมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา 2.คณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี) กรณีการจับกุมคุมขัง การสอบสวนฟ้องคดี และพิพากษาโดยรวบรัด ซึ่งขัดต่อธรรมนูญของไอซีอาร์ซีอย่างร้ายแรง 3.สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในเรื่องการจับกุมคุมขัง สอบสวน ฟ้องคดี พิพากษา ต่อคนไทยทั้ง 7 คนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ 4.องค์กรนิรโทษกรรมที่กรุงลอนดอน และสหรัฐอเมริกา ในความผิดเกี่ยวกับมนุษยชนที่กระทำต่อ 7 คนไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และ 5.องค์กรปกป้องการล้างเผ่าพันธุ์สากล เนื่องจากมีคนไทยเสียชีวิตที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา จากการที่ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มเปิดฉากยิงโจมตีเข้าฝ่ายไทย
ขณะที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในการช่วยเหลือนายวีระ และ น.ส.ราตรี นายกฯอภิสิทธิ์จะรับผิดชอบอย่างไร ตนจึงขอเรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์ยุบสภา และลาออก
**ฮอร์ยันต้องจำคุก 2 ใน 3 ก่อน
นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยก่อนขึ้นเครื่อง นำคณะไปประชุมเจบีซี กับผู้แทนของไทยที่ประเทศอินโดนีเซีย ว่า ทางรัฐบาลได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องขอจากรัฐบาลไทย ที่พยายามจะขอให้ สมเด็จเจ้านโรดม สีหมุนี พระราชทานอภัยโทษให้กับ นายวีระ และ น.ส.ราตรี จากการทำความผิดพยายามรุกล้ำดินแดนและโจรกรรมข้อมูลทางการทหาร
โดย นายฮอร์ นัม ฮง ระบุว่า ตามกฎหมายของกัมพูชา ผู้ต้องหาที่ถูกศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว และมีความเกี่ยวข้องกับคดีด้านความมั่นคง จะต้องได้รับโทษอย่างน้อย 2 ใน 3 ก่อน จึงจะมีการพิจารณาเรื่องของการขอพระราชทานอภัยโทษได้ ซึ่งเท่ากับ นายวีระ จะต้องถูกคุมตัวในเรือนจำเพรย์ซอว์ อย่างน้อย 5 ปีก่อน ส่วน น.ส.ราตรี ประมาณ 4 ปี นั่นเอง เพราะถูกตัดสินจำคุก 8 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ
**เขมรปัดหนังสือขออภัยโทษ
บายนทีวีของกัมพูชา รายงานว่า ประมุขการทูตในรัฐบาลกัมพูชา รัฐมนตรี ฮอ นัมฮง ได้ประกาศให้ทราบว่ากัมพูชาปฏิเสธหนังสือขอให้มีการอภัยโทษผู้ถูกคุมขังชาวไทย 2 คน ที่ถูกจับกุมในข้อหาเข้าประเทศกัมพูชาโดยผิดกฎหมายเมื่อปลายปีที่แล้ว เขาระบุว่า ตามกฎหมายของประเทศกัมพูชา ผู้ต้องโทษต้องรับโทษเป็นระยะเวลา 2 ใน 3 จึงจะสามารถขออภัยโทษได้
หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ วันที่ 7เม.ย.54 รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ว่า กระทรวงต่างประเทศ (กัมพูชา) ได้ส่งหนังสือขออภัยโทษของสองคนไทยไปยังสถานทูตไทยประจำกัมพูชาแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีใจความสำคัญที่กัมพูชายืนยันว่าการเสนอขออภัยโทษนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อสองนักโทษชาวไทยได้รับโทษแล้ว2ใน3
**เทือกอ้างไม่รู้เขมรปัดอภัยโทษ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ต้องรอให้กระบวนการทุกอย่างเสร็จสิ้น เวลานี้ทางรัฐบาลคงทำอะไรมากไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยในกระบวนการทางศาลของกัมพูชา
ส่วนกรณีที่กัมพูชาปฏิเสธเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษนั้นก็ไม่ทราบ ได้แต่ติดตามข่าว กับครอบครัวของนายวีระก็ต้องรอให้ทุกอย่างยุติก่อน จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ ส่วนจะต้องรอจนกว่านายวีระและน.ส.ราตรี รับโทษก่อนหรือไม่ ต้องรอทางกระทรวงการต่างประเทศ สรุปมาให้ทราบอีกครั้ง เวลานี้ทุกคนที่สามารถพูดคุยช่วยเหลือได้ ก็พยายามช่วยเหลืออยู่
**ถกเจบีซีครั้งที่ 4ไร้อินโดแทรก
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นที่ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2554 ที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย ว่า การประชุมดังกล่าว จะประกอบด้วยนายอัษฎา ชัยนาม เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ขณะที่ฝ่ายกัมพูชา มีนายวาร์ คิม ฮอง รัฐมนตรีอาวุโสด้านเขตแดนเป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งการประชุมนี้จะไม่มีผู้แทนอินโดนีเซียเข้าร่วมสังเกตการณ์ประชุม เพื่อให้การประชุมเจบีซีเป็นการหารือทวิภาคีอย่างเต็มรูปแบบ เพียงแต่อาศัยสถานที่ของอินโดนีเซียจัดประชุมเท่านั้น
ทั้งนี้ การประชุมเจบีซีครั้งนี้ จะหารือถึงความคืบหน้าในเรื่องที่ค้างคากันอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการเตรียมความพร้อม อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่ชุดสำรวจพื้นที่ตอนที่ 5 ระหว่างหลักเขตที่ 1-23 ส่วนการพิจารณาคัดเลือกบริษัทจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สามารถหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ ในระหว่างที่เอกสารบันทึกผลการประชุมทั้ง 3 ฉบับของไทยรอการพิจารณาของรัฐสภา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเกี่ยวข้อง คือการเปิดจุดผ่านแดนใหม่ระหว่างสองประเทศ ซึ่งต้องมีการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ อาทิ ประตู ด่าน ที่อาจกระทบกับเรื่องเขตแดน จึงต้องเอารายละเอียดมาดูมาหารือกัน
**มาร์คบอกเจบีซีวันแรกเรียบร้อย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้รับรายงานว่าการประชุมเจบีซีที่อินโดนีเซีย เรียบร้อยดี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะการประชุมเจบีซีเป็นไปตามระเบียบวาระที่เรียนไว้ ว่า หลักที่เราใช้คืออะไร เมื่อถามว่า หากบรรยากาศเหล่านี้ดีขึ้นแล้ว มีความจำเป็นหรือไม่ที่ผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียยังต้องเข้าพื้นที่อยู่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตรงนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะพูดคุยกัน ซึ่งตอนนี้จะพิจารณารายละเอียดทางเทคนิคไปก่อน ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของเจบีซี หรือการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (จีบีซี) เพราะเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีต่างประเทศคงจะคุย
** ชัย รอรายละเอียดศาลก่อนถกเจบีซี
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงที่กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องวินิจฉัยร่างบันทึกข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา 3 ฉบับ หรือ JBC ว่า ขณะนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ส่งคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการมาให้ หากส่งมาเมื่อไรนั้นก็ค่อยหารือการดำเนินการต่อไป
**ประวิตร"รับผิดชอบจีบีซีเอง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศต่อโทรศัพท์หารือถึงการประชุมเจบีซี ว่า นายกษิตโทรมาหารือถึงการประชุมเจบีซีว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งตนได้ให้นายกษิตดำเนินการในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศไป ส่วนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา(จีบีซี)นั้นตนจะรับผิดชอบเอง ส่วนจะให้ผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียเข้ามาในบริเวณข้อพิพาทหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ ต้องถามกระทรวงการต่างประเทศเพราะเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อข้อถามที่ว่าพล.อ.ประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ให้กองกำลังต่างชาติเข้ามา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตามหลักของกฎหมายกองกำลังต่างชาติไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่อยู่แล้ว เมื่อถามว่า นายกษิตจะไปคุยกับต่างประเทศเพื่อนำผู้สังเกตการณ์เข้ามา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่ทราบ ต้องไปถามนายกษิต คิดว่านายกษิตรู้อยู่แล้วว่าควรจะทำอะไร คงไม่ทำเรื่องผิดกฎหมาย ส่วนรายละเอียดเรื่องกฎหมายตามมาตรา 190 ตนไม่ทราบ กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบและจัดการเอง
**สับใช้พหุภาคีขู่ ส.ส.-ส.ว.ไม่ได้ผล
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า กรณีที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เคยระบุว่าหากประชุมร่วมรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบผลบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (เจบีซี) ทั้ง 3 ฉบับ จะส่งผลให้ไม่สามารถเดินหน้าในการเจรจาในกรอบทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาได้ และอาจจะขยายผลไปเป็นการเจรจาพหุภาคีได้ ว่า ในวันที่ 7 - 8 เม.ย.นี้ จะมีการประชุมเจบีซีที่ประเทศอินโดนีเซีย แม้จะไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตรงนี้จะพบว่าคำข่มขู่ของนายกฯไม่ได้เป็นความจริงอย่างที่กล่าว
ฉะนั้นส่วนนี้นายอภิสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง อีกทั้งการที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพออกมาระบุว่าไม่เห็นด้วย รวมถึงจะปล่อยให้มีการนำทหารอินโดนีเซียเข้ามาเพื่อสังเกตการณ์ในพื้นที่ประเทศไทยนั้น ทำให้พบว่าในขณะนี้ทางกองทัพไม่เห็นด้วยกับฝ่ายรัฐบาล และรู้สึกอึดอัดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวของนายอภิสิทธิ์ที่ไม่มองว่าเป็นการถูกแทรกแซงจากประเทศที่ 3 และเห็นดีด้วยที่จะมีผู้เข้ามาสังเกตการณ์เพื่อให้รู้ว่าฝ่ายไทยไม่ได้เป็นฝ่ายยิงก่อน
ประเด็นนี้ตนเห็นว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายใดเริ่มยิงก่อนหลัง แต่เป็นปัญหา เพราะกัมพูชารุกรานเข้ามาประเทศอยู่ในขณะนี้ จึงจำเป็นที่ฝ่ายไทยจะต้องใช้กำลังทหาร หรือใช้มาตรการอื่นในการผลักดันทหารกัมพูชาออกไปจากประเทศไทย และถ้านำไปรวมกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่เวทีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ยืนยันในเส้นเขตแดนของตนเอง เป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิ์กล่าวอ้างว่าทหารกัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยอยู่
“ถือเป็นคำพูดที่อ่อนหัดมากในทางการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นคำพูดที่ทำให้ไทยถลำลึกตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา และยิ่งฝ่ายทหารไม่เห็นด้วยขึ้นมาอีก ส่งผลให้อาเซียนเข้าใจผิดว่า ไทยเป็นพวกอันธพาลไม่ทำตามที่รับปาก ทั้งที่การรับปากเหล่านั้นทั้งรัฐบาลและกระทรวงต่างประเทศ ไม่เคยปรึกษาหารือกับทหารเลยแม้แต่น้อย” นายปานเทพ กล่าว
**อัดรายการค้านโนโหวตไม่เป็นปชต.
นายปานเทพ กล่าวว่า การที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 นำเสนอรายการเพื่อคัดค้านการรณรงค์ให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ถือเป็นการยัดเยียดข้อมูลด้านเดียว และยังสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะพยายามใช้สื่อของตนเองเกลี้ยกล่อมประชาชนให้เชื่อตาม ทำให้เห็นธาตุแท้ว่า นักการเมืองในระบบไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ฉะนั้นพันธมิตรฯจะรณรงค์โหวตโนต่อไป รวมถึงหลังจากเทศกาลสงกรานต์จะมีองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ออกมาร่วมรณรงค์โหวตโนเพิ่มมากขึ้น