ASTVผู้จัดการรายวัน-พันธมิตรฯยื่นหนังสือเบรก “อินโดฯ" จุ้น!! ปัญหาไทย-แขมร์ ด้าน “สภากาชาดโลก” เหลืออดรัฐบาลไทย รับช่วย“วีระ สมความคิด”หลังพบป่วยหนักจริง “จำลอง”บอกขออภัยโทษ-ขอโอนนักโทษ ทำควบคู่กันไม่เสียหาย กลุ่มคนไทยฯยื่นศาลฎีกาขอตั้งผู้ไต่สวนเอาผิด“นายกฯ” ด้าน “บัวแก้ว”ประสานขอวีระ-ราตรี เซ็นขออภัยโทษวันนี้ ชาวบ้านกันทรลักษ์จ่อฟ้องศาลโลกเรียก 2.2 พันล้านจาก “ฮุน เซน”
วานนี้ (10 มี.ค.) เวลา 15.00 น. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางไปยังสถานทูตอินโดนีเซีย ถ.เพชรบุรี เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านผ่านนายโมฮัมหมัด ฮัตตา เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนิเซียประจำประเทศไทย เรื่อง”ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา”
โดยอ้างถึงสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศสในการบ่งชี้เขตแดนของไทย พร้อมกับคำพิพากษาศาลโลกที่ทางการไทยสงวนสิทธิ์ทวงคืนปราสาทพระวิหาร ขณะที่การที่กองกำลังทหารอินโดนิเซียจะเข้ามาปฏิบัติการตามผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์นั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารของต่างชาติที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงานของกองทัพไทยในการปกป้องแผ่นดินไทย ที่เข้าลักษณะการแทรกแซงการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดมารยาท ซึ่งมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทหาร
การเดินทางเข้ามาของกำลังทหารอินโดนิเซีย ต้องมีการทำเอกสารตกลงกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ (Term of Reference) แม้จะอ้างว่าเข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรายงานหรือตำบลที่ในการวางกำลังของทหารอินโดนิเซียทั้งในส่วนของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ล้วนแต่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของฝ่ายไทยหรือมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งสิ้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยและการทำประชาพิจารณ์ และในการปฏิบัติการของกำลังทหารอินโดนิเซียนั้น หากมีการกระทำที่ทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียดินแดนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งความสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
**จี้รัฐหนุน “โอนตัวผู้ต้องโทษ”
ก่อนหน้าเวลา 10.00 น. ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวถึงการให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชาว่า รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองมานานแล้ว ล่าสุดมีบทความของนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ชี้แนะช่องทางในการช่วยเหลือนายวีระ และ น.ส.ราตรี ผ่านการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษระหว่างกัน ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ.2527 ที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาลงนามไว้เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.52 โดยนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งเมื่อรัฐบาลไม่ปฏิบัติการใดๆ พันธมิตรฯจึงได้ประสานงานไปทางนายปรีชา สมความคิด น้องชายของนายวีระ เพื่อกดดันให้รัฐบาลใช้ช่องทางนี้ แต่จริงๆแล้วรัฐบาลควรเป็นฝ่ายที่หยิบยกช่องทางนี้มาใช้
**อัด“ธานี”ให้แจงกม.ไหนช่วยไมได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าสนธิสัญญาโอนนักโทษยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขระบุให้ต้องรับโทษ 1 ใน 3 ก่อนที่จะสามารถโอนย้ายได้ นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยกับกัมพูชามีการแลกตัวผู้ต้องโทษกันโดยตลอด โดยทางกัมพูชาได้ร้องขอจากฝ่ายไทยบ่อยครั้ง ซึ่งหากรัฐบาลไทยร้องขอบ้าง ทางกัมพูชาก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีสนธิสัญญานี้เข้ามา เพราะเข้าหลักเกณฑ์ทุกอย่าง การที่นายธานีออกมาให้ข้อมูลนั้น ตนต้องขอให้มีการอ้างอิงข้อมูล เพราะตามความเห็นของนายอนุรักษ์นั้นมีความชัดเจนว่าสามารถทำได้ และที่ผ่านมานายธานีมักให้ความเห็นบิดเบือนและให้ผลร้ายกับคนไทยมาโดยตลอด แม้กระทั่งการที่นายวีระป่วยหนัก นายธานีก็ออกมาบอกเพียงว่าเป็นหวัด ทั้งที่ไม่เคยไปเยี่ยมหรือพบนายวีระแต่อย่างใด จึงต้องดูว่าที่นายธานีออกมาระบุเช่นนั้นอ้างกฎหมายมาตราใด เพราะการโอนนักโทษนั้นก็เพียงเปลี่ยนมารับโทษในประเทศไทยต่อ
**จำลองบอกอภัยโทษ-ขอโอนไม่เสียหาย
ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ตอนนี้หลายฝ่ายจึงมีความเห็นว่า ควรนำตัวนายวีระ และ น.ส.ราตรี กลับประเทศมาก่อน ยิ่งเมื่อนายอนุรักษ์ กรณีสนธิสัญญาการโอนผู้ต้องโทษระหว่างไทยกับกัมพูชา ทำให้สามารถนำตัวทั้งคู่กลับมารับโทษในประเทศไทยได้ ซึ่งดีกว่าติดคุกที่กัมพูชา โดยตนได้ประสานงานพูดคุยกับนายปรีชา สมความคิด น้องชายของนายวีระ โดยบอกไปว่าอย่าหวังพึ่งการช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว และให้ทำหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนการขอโอนผู้ต้องโทษจากกัมพูชา ซึ่งสามารถทำควบคู่ไปกับการขออภัยโทษ โดยไม่เสียหาย
“จากบทความของเลขาฯศาลฎีกาฯ และการแสดงความเห็นของท่านอดีตผู้พิพากษายินดี (วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ) ชี้ให้เห็นว่าการต่อสู้ปกป้องแผ่นดินเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่สามารถออกมาเสนอแนะและทำประโยชน์ได้ โดยที่เราไม่ได้ร้องขอ โดยที่ไม่เกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาล” พล.ต.จำลอง กล่าว
**ยื่นศาลฎีกาขอตั้งผู้ไต่สวนเอาผิด“นายกฯ”
ที่ศาลฎีกา สนามหลวง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาฯ และแนวร่วมเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ และ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ แนวร่วมกลุ่มประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ได้ยื่นคำร้องต่อ นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา ผ่านนายเชวง ชูศิริ เลขานุการศาลฎีกา เพื่อขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 ประกอบ 276 เพื่อขอบำบัดทุกข์บรรเทาความเสียหาย จากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
โดยคำร้องระบุว่า เมื่อระหว่างวันที่ 4-20 ก.พ.54 นายอภิสิทธิ์ กับพวก ได้ละเว้นการป้องกันไม่ให้กองกำลังกัมพูชาเข้ารุกรานดินแดนประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานทราบกันทั่วไปว่ามีการบุกรุกเข้ามาในดินแดนกว่า 3,000 ไร่แล้ว จนราษฎรไทยเดือดร้อน ทหารบาดเจ็บล้มตาย โดยนายอภิสิทธิ์ กับพวกนิ่งเฉย ผู้ร้องเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 275 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำร้อง คุณสมบัติ และความจำเป็นของการตั้งผู้ไต่สวนอิสระไว้แล้ว แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย แม้ศาลอาจยกคำร้องฉบับนี้ โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน แต่ผู้ร้องเห็นว่าหากอาศัยหลักกฎหมายทั่วไปแล้ว ศาลอาจตั้งผู้ไต่สวนอิสระขึ้นมา เพื่อกรณีนี้ได้ จึงขอให้ศาลฎีกานำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อตั้งผู้ไต่สวนอิสระต่อไปตามที่ร้องขอด้วย
**กลุ่มคนไทยวิ่งวุ่นยื่นหนังสือท้วง
นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า หากศาลอนุญาตให้ไต่สวนได้ พวกตนจะเข้าเบิกความ โดยอาจจะนำ นายวีระ มาเบิกความด้วย หากได้รับการปล่อยตัว และในวันที่ 11 มี.ค.นี้ จะมีการยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ รมว.ต่างประเทศ รมว.กลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ตอบคำถามว่าทำไมปล่อยให้มีกำลังทหารกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย โดยอาศัยเหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 62 ซึ่งคนเหล่านี้ต้องตอบคำถามให้ได้ ถ้าไม่ตอบเราจะฟ้องศาลปกครอง นอกจากนี้ จะไปฟ้องศาลโลก สำนักงานกาชาดสากล สำนักข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชน โดยจะกล่าวหาว่า รัฐบาล นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ละเมิดสิทธิ์ นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ด้วย
**ขออภัยโทษให้ วีระ-ราตรีเซ็นต์วันนี้
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ทนายความชาวกัมพูชา ของ 2 คนไทย ได้ร่างหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเสร็จแล้ว และขณะนี้ได้ส่งให้สถานทูตแปลเป็นภาษาไทย เพื่อนำเข้าไปให้บุคคลทั้ง 2 อ่าน และเซ็นลงนามในเรือนจำวันนี้(11 มี.ค.) โดยหากไม่มีเนื้อความส่วนใดต้องแก้ไข คาดว่า สถานทูตจะสามารถส่งหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อส่งต่อให้กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับข้อเสนอหลายฝ่ายที่อ้างว่า จะสามารถใช้วิธีโอนตัวนักโทษได้นั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พิจารณาแนวทางนี้ไว้ก่อนแล้ว แต่การโอนตัวนักโทษมี 3 ประเด็น ที่ต้องคิดให้รอบคอบ คือ เป็นการดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีผลผูกมัดทั้งไทยและกัมพูชา และการโอนตัวไม่ครอบคลุมคดีความมั่นคง อีกทั้ง นายวีระ และ น.ส.ราตรี ต้องรับโทษ 1 ใน 3 ก่อน ซึ่งเมื่อโอนตัวแล้ว ทั้งคู่ต้องกลับมาจำคุกในประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงเสนอเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษไป เพราะเป็นสิทธิ์ที่ไทยสามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนการเดินทางไปประสานงานเรื่องการนำตัว นายวีระ ออกไปพบแพทย์นอกเรือนจำนั้น ขณะนี้กำลังรอคำตอบจากทางกัมพูชา อยู่ว่าจะอนุญาตให้เข้าไปพบ นายวีระ ในเรือนจำได้เมื่อใด หากอนุญาตก็จะเดินทางไปกัมพูชาทันที
**ถกเจบีซี-จีบีซีได้ไม่ต้องรอมรดกโลก
ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) และคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ว่า ต้องทำคู่ขนานกันไปเพื่อให้แยกแยะปัญหาในภาพใหญ่ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรกับปัญหาในระดับภาคปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อหามาตรการลดความตึงเครียด ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รายงานสรุปโดยเฉพาะความชัดเจนในเรื่องของการที่อินโดนีเซียจะส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามา ทั้งนี้ท่าทีของกัมพูชาดีขึ้นตามลำดับ แต่การประชุมเจบีซียังมีประเด็นปัญหาเรื่องสถานที่ สำหรับประเทศไทยนั้นอยากให้เกิดการประชุมทั้ง2รูป แบบ ภายในเดือนมีนาคมนี้ และไทยเองก็พร้อมตลอดเวลา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในการประชุมเจบีซีนั้นคือการหารือ ว่าพัฒนาการที่นำมาสู่ความตึงเครียด มีอะไรบ้าง มีอะไรที่มันน่าตกลงกันเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกัน โดยที่ไม่กระทบสิทธิที่ต่างฝ่ายต่างอ้างซึ่งกันและกัน กระบวนการทั้งหมดสามารถเดินไปได้ โดยไม่ต้องรอการประชุมของคณะ กรรมการมรดกโลก เพราะถ้าทำได้จริงๆจะช่วยลดภาระของคณะกรรมการมรดกโลกด้วย
**ปัดขอโอนตัว-อภัยโทษสำคัญกว่า
ส่วนการช่วยเหลือ 2 คนไทย ภายหลังอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ออกมาเปิดประเด็นว่าไทยสามารถขอโอนตัวนัก โทษจากกัมพูชาได้ เพราะได้ลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ ราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ) นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีอยู่ 2 ประเด็นคือ 1.กรณีการโอนตัวให้กลับมารับโทษในประเทศ เราได้ทำข้อตกลงไป แต่มันมีหลักเกณฑ์ของมันอยู่ ซึ่งก็จะพิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามันมีปัญหาพอสมควรว่าได้รับโทษเท่าไรแล้ว 2.การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหมด
เมื่อถามว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ควรจะเข้ามาดูแลในเรื่องของสุขภาพของนายวีระ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า องค์กรสากลเขาดูแลส่วนหนึ่ง และคิดว่าเขาจะมีโอกาสที่จะเข้าถึงตัวมากกว่า
เมื่อถามว่า หากมีการโอนตัวนักโทษ นั่นหมายถึงเราไปยอมรับคำพิพากษาอะไรด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่านายวีระ คงไม่ต้องการให้เกิดปัญหากับประเทศ ยืนยันว่าแนวทางตอนนี้คือเรื่องอภัยโทษ กับเรื่องของการดูแลสุขภาพ เป็นแนวทางที่สำคัญที่สุด แนวทางอื่นมันมีปัญหาอย่างอื่นมากกว่า
**สภากาชาดเหลืออดรับ ช่วย“วีระ”
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสักนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากที่ นายฌาคส์ สตรูณ ผู้อำนวยการคณะกรรมการสภากาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ เข้าพบว่าได้มีการพูดคุยถึงกรณีต่างๆหลังจากที่เขาเคยได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์
โดย นายฌาคส์ ได้ยืนยันว่าการไปเยี่ยมนายวีระ นั้น ได้มีการประเมินในเรื่องสุขภาพ และจากนี้จะมีการส่งตัวแทน และแพทย์ไปเพิ่ม ส่วนครอบครัวนายวีระ ต้องการอะไรจากสำนักกาชาด คงต้องเป็นเรื่องของครอบครัวนายวีระขอเอง เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งอะไร จากกรณีที่กาชาดสากลไปเยี่ยมนายวีระ มีความเห็นตรงกันว่า นายวีระมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งทางรัฐบาลได้ในการร้องขอทางครอบครัว ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลเพิ่มเติม
รัฐบาลเองก็มีความเป็นกังวลในด้านสุขภาพของนายวีระด้วยเช่นกัน จากการประเมิน 2-3 ประเด็น ที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐบาล คือ 1. การแจ้งจากสถานทูตไทยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของนายวีระ 2. การรับฟังจากครอบครัวของนายวีระ เมื่อวันอังคารที่ 8 มี.ค.ในเรื่องของสุขภาพ และ 3. เราได้ประเมินสถานการณ์ข้างเคียงจากนายพนิชย์ วิกฤตเศรษฐ์ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ถูกกุมขัง ในระยะเวลาน้อยกว่า แต่มีปัญหาสุขภาพพอสมควร และจากที่ดูรายงานของนายพนิชย์ ที่แจ้งให้ทราบเรื่องปัญหาสุขภาพ จึงทำให้นายกฯ เป็นกังวลในเรื่องนี้ จึงขอให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศส่งตัวแทนไปดูแล และแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งรัฐบาลสามารถทำได้ในฐานะที่มีการร้องขอ ส่วนองค์กรสากลคงจะมีแนวทางของเขาเอง ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ให้นายวีระ มีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ด้านมนุษยธรรม
ขณะที่การรายงานทางแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล ในเรื่องของรายละเอียดเรื่องของโรค แต่เรามีความเป็นกังวลเนื่องจากดูสภาพของนายวีระถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง อะไรจะทำให้สภาพไม่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นกำลังเร่งดูว่าจะทำอะไรได้เพิ่มขึ้น
**ฮุนเซนเรียกร้องมาร์คตอบรับข้อเสนออาเซียน
มีรายงานว่า สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตอบรับทีโออาร์เรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาประจำการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะกันที่ผ่านมา และข้อเสนอให้มีการจัดการประชุมเรื่องความขัดแย้งบริเวณชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยในวันที่ 24 มี.ค.นี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เขาขอเรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์ให้คำตอบเรื่องทีโออาร์และการจัดการประชุมในวันที่ 24-25 มี.ค.ตามที่อินโดนีเซียได้เสนอมาโดยเร็วที่สุด โดยทางกัมพูชานั้นได้ตอบรับข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว
**เตรียมฟ้องฮุนเซน 2.2 พันล.
วานนี้ (10 มี.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายวีรยุทธ ดวงแก้ว กำนันตำบลเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ พร้อมคณะผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขต 7 ตำบล อ.กันทรลักษ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบกันระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทยบริเวณเขาพระวิหาร ในระหว่างวันที่ 4-16 ก.พ.ที่ผ่านมาได้มาประชุมร่วมกันเพื่อสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ถูกทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่และจรวดบีเอ็ม 21 ถล่มบ้านเรือน ไร่นาของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหารได้รับความเสียหายจำนวนมาก
นายวีรยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้การจัดเตรียมเอกสารสรุปความเสียหายทั้งหมดของชาวบ้านทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทย ในครั้งนี้ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนจะยื่นเอกสารฟ้องศาลโลกเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดผ่านทาง นายอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อเสนอต่อไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เสนอเรื่องฟ้องร้องผ่านไปยังกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยดำเนินการฟ้องศาลโลกเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับชาวบ้านภูมิซรอลและทุกหมู่บ้านในเขต 7 ตำบล อ.กันทรลักษ์
สำหรับหลักการคิดค่าเสียหายนั้น ตนและคณะจะคำนวณจากจำนวนประชาชนในเขต 7 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ โดยมีจำนวนประชาชนทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คนเศษ และคิดค่าเสียหาย ค่าขาดรายได้จากการทำกินวันละ 100 บาทต่อคน ทั้งสิ้น 30 วัน ค่าไร่นาเสียหายประมาณ 600 ไร่ ๆ ละ 15,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายไฟไหม้ทั้งหลัง 7 หลัง ๆ ละ 1,000,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายบางส่วนหลังละ 300,000 บาท และค่าชีวิตที่ชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย เป็นเงิน 1,500,000 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,239,905,000 บาท
วานนี้ (10 มี.ค.) เวลา 15.00 น. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางไปยังสถานทูตอินโดนีเซีย ถ.เพชรบุรี เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านผ่านนายโมฮัมหมัด ฮัตตา เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนิเซียประจำประเทศไทย เรื่อง”ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา”
โดยอ้างถึงสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศสในการบ่งชี้เขตแดนของไทย พร้อมกับคำพิพากษาศาลโลกที่ทางการไทยสงวนสิทธิ์ทวงคืนปราสาทพระวิหาร ขณะที่การที่กองกำลังทหารอินโดนิเซียจะเข้ามาปฏิบัติการตามผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์นั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารของต่างชาติที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงานของกองทัพไทยในการปกป้องแผ่นดินไทย ที่เข้าลักษณะการแทรกแซงการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดมารยาท ซึ่งมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทหาร
การเดินทางเข้ามาของกำลังทหารอินโดนิเซีย ต้องมีการทำเอกสารตกลงกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ (Term of Reference) แม้จะอ้างว่าเข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรายงานหรือตำบลที่ในการวางกำลังของทหารอินโดนิเซียทั้งในส่วนของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ล้วนแต่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของฝ่ายไทยหรือมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งสิ้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยและการทำประชาพิจารณ์ และในการปฏิบัติการของกำลังทหารอินโดนิเซียนั้น หากมีการกระทำที่ทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียดินแดนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งความสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
**จี้รัฐหนุน “โอนตัวผู้ต้องโทษ”
ก่อนหน้าเวลา 10.00 น. ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายประพันธ์ คูณมี โฆษกคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย กล่าวถึงการให้ช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชาว่า รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หมดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองมานานแล้ว ล่าสุดมีบทความของนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ชี้แนะช่องทางในการช่วยเหลือนายวีระ และ น.ส.ราตรี ผ่านการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษระหว่างกัน ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ.2527 ที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาลงนามไว้เมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.52 โดยนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ซึ่งเมื่อรัฐบาลไม่ปฏิบัติการใดๆ พันธมิตรฯจึงได้ประสานงานไปทางนายปรีชา สมความคิด น้องชายของนายวีระ เพื่อกดดันให้รัฐบาลใช้ช่องทางนี้ แต่จริงๆแล้วรัฐบาลควรเป็นฝ่ายที่หยิบยกช่องทางนี้มาใช้
**อัด“ธานี”ให้แจงกม.ไหนช่วยไมได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าสนธิสัญญาโอนนักโทษยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขระบุให้ต้องรับโทษ 1 ใน 3 ก่อนที่จะสามารถโอนย้ายได้ นายประพันธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยกับกัมพูชามีการแลกตัวผู้ต้องโทษกันโดยตลอด โดยทางกัมพูชาได้ร้องขอจากฝ่ายไทยบ่อยครั้ง ซึ่งหากรัฐบาลไทยร้องขอบ้าง ทางกัมพูชาก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีสนธิสัญญานี้เข้ามา เพราะเข้าหลักเกณฑ์ทุกอย่าง การที่นายธานีออกมาให้ข้อมูลนั้น ตนต้องขอให้มีการอ้างอิงข้อมูล เพราะตามความเห็นของนายอนุรักษ์นั้นมีความชัดเจนว่าสามารถทำได้ และที่ผ่านมานายธานีมักให้ความเห็นบิดเบือนและให้ผลร้ายกับคนไทยมาโดยตลอด แม้กระทั่งการที่นายวีระป่วยหนัก นายธานีก็ออกมาบอกเพียงว่าเป็นหวัด ทั้งที่ไม่เคยไปเยี่ยมหรือพบนายวีระแต่อย่างใด จึงต้องดูว่าที่นายธานีออกมาระบุเช่นนั้นอ้างกฎหมายมาตราใด เพราะการโอนนักโทษนั้นก็เพียงเปลี่ยนมารับโทษในประเทศไทยต่อ
**จำลองบอกอภัยโทษ-ขอโอนไม่เสียหาย
ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ตอนนี้หลายฝ่ายจึงมีความเห็นว่า ควรนำตัวนายวีระ และ น.ส.ราตรี กลับประเทศมาก่อน ยิ่งเมื่อนายอนุรักษ์ กรณีสนธิสัญญาการโอนผู้ต้องโทษระหว่างไทยกับกัมพูชา ทำให้สามารถนำตัวทั้งคู่กลับมารับโทษในประเทศไทยได้ ซึ่งดีกว่าติดคุกที่กัมพูชา โดยตนได้ประสานงานพูดคุยกับนายปรีชา สมความคิด น้องชายของนายวีระ โดยบอกไปว่าอย่าหวังพึ่งการช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว และให้ทำหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนการขอโอนผู้ต้องโทษจากกัมพูชา ซึ่งสามารถทำควบคู่ไปกับการขออภัยโทษ โดยไม่เสียหาย
“จากบทความของเลขาฯศาลฎีกาฯ และการแสดงความเห็นของท่านอดีตผู้พิพากษายินดี (วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ) ชี้ให้เห็นว่าการต่อสู้ปกป้องแผ่นดินเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่สามารถออกมาเสนอแนะและทำประโยชน์ได้ โดยที่เราไม่ได้ร้องขอ โดยที่ไม่เกรงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกับรัฐบาล” พล.ต.จำลอง กล่าว
**ยื่นศาลฎีกาขอตั้งผู้ไต่สวนเอาผิด“นายกฯ”
ที่ศาลฎีกา สนามหลวง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย, นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เลขาธิการสมัชชาฯ และแนวร่วมเครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ และ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ แนวร่วมกลุ่มประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ได้ยื่นคำร้องต่อ นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา ผ่านนายเชวง ชูศิริ เลขานุการศาลฎีกา เพื่อขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 ประกอบ 276 เพื่อขอบำบัดทุกข์บรรเทาความเสียหาย จากการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
โดยคำร้องระบุว่า เมื่อระหว่างวันที่ 4-20 ก.พ.54 นายอภิสิทธิ์ กับพวก ได้ละเว้นการป้องกันไม่ให้กองกำลังกัมพูชาเข้ารุกรานดินแดนประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานทราบกันทั่วไปว่ามีการบุกรุกเข้ามาในดินแดนกว่า 3,000 ไร่แล้ว จนราษฎรไทยเดือดร้อน ทหารบาดเจ็บล้มตาย โดยนายอภิสิทธิ์ กับพวกนิ่งเฉย ผู้ร้องเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 275 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำร้อง คุณสมบัติ และความจำเป็นของการตั้งผู้ไต่สวนอิสระไว้แล้ว แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลมีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย แม้ศาลอาจยกคำร้องฉบับนี้ โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน แต่ผู้ร้องเห็นว่าหากอาศัยหลักกฎหมายทั่วไปแล้ว ศาลอาจตั้งผู้ไต่สวนอิสระขึ้นมา เพื่อกรณีนี้ได้ จึงขอให้ศาลฎีกานำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อตั้งผู้ไต่สวนอิสระต่อไปตามที่ร้องขอด้วย
**กลุ่มคนไทยวิ่งวุ่นยื่นหนังสือท้วง
นายไชยวัฒน์ กล่าวว่า หากศาลอนุญาตให้ไต่สวนได้ พวกตนจะเข้าเบิกความ โดยอาจจะนำ นายวีระ มาเบิกความด้วย หากได้รับการปล่อยตัว และในวันที่ 11 มี.ค.นี้ จะมีการยื่นหนังสือต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ รมว.ต่างประเทศ รมว.กลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ตอบคำถามว่าทำไมปล่อยให้มีกำลังทหารกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย โดยอาศัยเหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 62 ซึ่งคนเหล่านี้ต้องตอบคำถามให้ได้ ถ้าไม่ตอบเราจะฟ้องศาลปกครอง นอกจากนี้ จะไปฟ้องศาลโลก สำนักงานกาชาดสากล สำนักข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชน โดยจะกล่าวหาว่า รัฐบาล นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ละเมิดสิทธิ์ นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ด้วย
**ขออภัยโทษให้ วีระ-ราตรีเซ็นต์วันนี้
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ทนายความชาวกัมพูชา ของ 2 คนไทย ได้ร่างหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษเสร็จแล้ว และขณะนี้ได้ส่งให้สถานทูตแปลเป็นภาษาไทย เพื่อนำเข้าไปให้บุคคลทั้ง 2 อ่าน และเซ็นลงนามในเรือนจำวันนี้(11 มี.ค.) โดยหากไม่มีเนื้อความส่วนใดต้องแก้ไข คาดว่า สถานทูตจะสามารถส่งหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เพื่อส่งต่อให้กระทรวงยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ภายในสัปดาห์หน้า
สำหรับข้อเสนอหลายฝ่ายที่อ้างว่า จะสามารถใช้วิธีโอนตัวนักโทษได้นั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า กระทรวงฯ พิจารณาแนวทางนี้ไว้ก่อนแล้ว แต่การโอนตัวนักโทษมี 3 ประเด็น ที่ต้องคิดให้รอบคอบ คือ เป็นการดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีผลผูกมัดทั้งไทยและกัมพูชา และการโอนตัวไม่ครอบคลุมคดีความมั่นคง อีกทั้ง นายวีระ และ น.ส.ราตรี ต้องรับโทษ 1 ใน 3 ก่อน ซึ่งเมื่อโอนตัวแล้ว ทั้งคู่ต้องกลับมาจำคุกในประเทศไทย ดังนั้น กระทรวงฯ จึงเสนอเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษไป เพราะเป็นสิทธิ์ที่ไทยสามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนการเดินทางไปประสานงานเรื่องการนำตัว นายวีระ ออกไปพบแพทย์นอกเรือนจำนั้น ขณะนี้กำลังรอคำตอบจากทางกัมพูชา อยู่ว่าจะอนุญาตให้เข้าไปพบ นายวีระ ในเรือนจำได้เมื่อใด หากอนุญาตก็จะเดินทางไปกัมพูชาทันที
**ถกเจบีซี-จีบีซีได้ไม่ต้องรอมรดกโลก
ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) และคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ว่า ต้องทำคู่ขนานกันไปเพื่อให้แยกแยะปัญหาในภาพใหญ่ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรกับปัญหาในระดับภาคปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อหามาตรการลดความตึงเครียด ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้รายงานสรุปโดยเฉพาะความชัดเจนในเรื่องของการที่อินโดนีเซียจะส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามา ทั้งนี้ท่าทีของกัมพูชาดีขึ้นตามลำดับ แต่การประชุมเจบีซียังมีประเด็นปัญหาเรื่องสถานที่ สำหรับประเทศไทยนั้นอยากให้เกิดการประชุมทั้ง2รูป แบบ ภายในเดือนมีนาคมนี้ และไทยเองก็พร้อมตลอดเวลา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเด็นที่จะหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในการประชุมเจบีซีนั้นคือการหารือ ว่าพัฒนาการที่นำมาสู่ความตึงเครียด มีอะไรบ้าง มีอะไรที่มันน่าตกลงกันเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทั่งกัน โดยที่ไม่กระทบสิทธิที่ต่างฝ่ายต่างอ้างซึ่งกันและกัน กระบวนการทั้งหมดสามารถเดินไปได้ โดยไม่ต้องรอการประชุมของคณะ กรรมการมรดกโลก เพราะถ้าทำได้จริงๆจะช่วยลดภาระของคณะกรรมการมรดกโลกด้วย
**ปัดขอโอนตัว-อภัยโทษสำคัญกว่า
ส่วนการช่วยเหลือ 2 คนไทย ภายหลังอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ออกมาเปิดประเด็นว่าไทยสามารถขอโอนตัวนัก โทษจากกัมพูชาได้ เพราะได้ลงนามความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ ราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (สนธิสัญญาโอนตัวนักโทษ) นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีอยู่ 2 ประเด็นคือ 1.กรณีการโอนตัวให้กลับมารับโทษในประเทศ เราได้ทำข้อตกลงไป แต่มันมีหลักเกณฑ์ของมันอยู่ ซึ่งก็จะพิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามันมีปัญหาพอสมควรว่าได้รับโทษเท่าไรแล้ว 2.การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหมด
เมื่อถามว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ควรจะเข้ามาดูแลในเรื่องของสุขภาพของนายวีระ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า องค์กรสากลเขาดูแลส่วนหนึ่ง และคิดว่าเขาจะมีโอกาสที่จะเข้าถึงตัวมากกว่า
เมื่อถามว่า หากมีการโอนตัวนักโทษ นั่นหมายถึงเราไปยอมรับคำพิพากษาอะไรด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่านายวีระ คงไม่ต้องการให้เกิดปัญหากับประเทศ ยืนยันว่าแนวทางตอนนี้คือเรื่องอภัยโทษ กับเรื่องของการดูแลสุขภาพ เป็นแนวทางที่สำคัญที่สุด แนวทางอื่นมันมีปัญหาอย่างอื่นมากกว่า
**สภากาชาดเหลืออดรับ ช่วย“วีระ”
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสักนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากที่ นายฌาคส์ สตรูณ ผู้อำนวยการคณะกรรมการสภากาชาดระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคกรุงเทพฯ เข้าพบว่าได้มีการพูดคุยถึงกรณีต่างๆหลังจากที่เขาเคยได้พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์
โดย นายฌาคส์ ได้ยืนยันว่าการไปเยี่ยมนายวีระ นั้น ได้มีการประเมินในเรื่องสุขภาพ และจากนี้จะมีการส่งตัวแทน และแพทย์ไปเพิ่ม ส่วนครอบครัวนายวีระ ต้องการอะไรจากสำนักกาชาด คงต้องเป็นเรื่องของครอบครัวนายวีระขอเอง เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้เข้าไปยุ่งอะไร จากกรณีที่กาชาดสากลไปเยี่ยมนายวีระ มีความเห็นตรงกันว่า นายวีระมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งทางรัฐบาลได้ในการร้องขอทางครอบครัว ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลเพิ่มเติม
รัฐบาลเองก็มีความเป็นกังวลในด้านสุขภาพของนายวีระด้วยเช่นกัน จากการประเมิน 2-3 ประเด็น ที่ได้รับจากหน่วยงานของรัฐบาล คือ 1. การแจ้งจากสถานทูตไทยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของนายวีระ 2. การรับฟังจากครอบครัวของนายวีระ เมื่อวันอังคารที่ 8 มี.ค.ในเรื่องของสุขภาพ และ 3. เราได้ประเมินสถานการณ์ข้างเคียงจากนายพนิชย์ วิกฤตเศรษฐ์ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ถูกกุมขัง ในระยะเวลาน้อยกว่า แต่มีปัญหาสุขภาพพอสมควร และจากที่ดูรายงานของนายพนิชย์ ที่แจ้งให้ทราบเรื่องปัญหาสุขภาพ จึงทำให้นายกฯ เป็นกังวลในเรื่องนี้ จึงขอให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศส่งตัวแทนไปดูแล และแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งรัฐบาลสามารถทำได้ในฐานะที่มีการร้องขอ ส่วนองค์กรสากลคงจะมีแนวทางของเขาเอง ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ให้นายวีระ มีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ด้านมนุษยธรรม
ขณะที่การรายงานทางแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล ในเรื่องของรายละเอียดเรื่องของโรค แต่เรามีความเป็นกังวลเนื่องจากดูสภาพของนายวีระถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง อะไรจะทำให้สภาพไม่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นกำลังเร่งดูว่าจะทำอะไรได้เพิ่มขึ้น
**ฮุนเซนเรียกร้องมาร์คตอบรับข้อเสนออาเซียน
มีรายงานว่า สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตอบรับทีโออาร์เรื่องการส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาประจำการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะกันที่ผ่านมา และข้อเสนอให้มีการจัดการประชุมเรื่องความขัดแย้งบริเวณชายแดนระหว่างกัมพูชาและไทยในวันที่ 24 มี.ค.นี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เขาขอเรียกร้องให้นายกฯอภิสิทธิ์ให้คำตอบเรื่องทีโออาร์และการจัดการประชุมในวันที่ 24-25 มี.ค.ตามที่อินโดนีเซียได้เสนอมาโดยเร็วที่สุด โดยทางกัมพูชานั้นได้ตอบรับข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว
**เตรียมฟ้องฮุนเซน 2.2 พันล.
วานนี้ (10 มี.ค.) เมื่อเวลา 16.00 น.ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นายวีรยุทธ ดวงแก้ว กำนันตำบลเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ พร้อมคณะผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขต 7 ตำบล อ.กันทรลักษ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบกันระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทยบริเวณเขาพระวิหาร ในระหว่างวันที่ 4-16 ก.พ.ที่ผ่านมาได้มาประชุมร่วมกันเพื่อสรุปความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ถูกทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่และจรวดบีเอ็ม 21 ถล่มบ้านเรือน ไร่นาของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านเขาพระวิหารได้รับความเสียหายจำนวนมาก
นายวีรยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้การจัดเตรียมเอกสารสรุปความเสียหายทั้งหมดของชาวบ้านทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารกัมพูชากับทหารไทย ในครั้งนี้ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตนจะยื่นเอกสารฟ้องศาลโลกเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดผ่านทาง นายอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อเสนอต่อไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เสนอเรื่องฟ้องร้องผ่านไปยังกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ช่วยดำเนินการฟ้องศาลโลกเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับชาวบ้านภูมิซรอลและทุกหมู่บ้านในเขต 7 ตำบล อ.กันทรลักษ์
สำหรับหลักการคิดค่าเสียหายนั้น ตนและคณะจะคำนวณจากจำนวนประชาชนในเขต 7 ตำบลที่ได้รับผลกระทบ โดยมีจำนวนประชาชนทั้งสิ้นประมาณ 50,000 คนเศษ และคิดค่าเสียหาย ค่าขาดรายได้จากการทำกินวันละ 100 บาทต่อคน ทั้งสิ้น 30 วัน ค่าไร่นาเสียหายประมาณ 600 ไร่ ๆ ละ 15,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายไฟไหม้ทั้งหลัง 7 หลัง ๆ ละ 1,000,000 บาท ค่าบ้านเรือนเสียหายบางส่วนหลังละ 300,000 บาท และค่าชีวิตที่ชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย เป็นเงิน 1,500,000 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,239,905,000 บาท