"แม่วีระ" เผยลูกชายบอกป่วยหนักเกือบตาย ยันนายกฯทำเรื่องขออภัยโทษเรียบร้อยแล้ว "ปานเทพ"จวกรัฐบาลโยนภาระให้"วีระ-ราตรี" ต่อสู้คดีตามลำพัง เผยเลขาฯศาลฎีกา ระบุมีสนธิสัญญาไทย-กัมพูชา เปิดช่องโอนนักโทษระหว่างกันได้ แต่รัฐบาลหมกเม็ดไม่แจ้งสิทธิให้ 2 คนไทยรู้ เผยวันนี้ ยื่นสถานทูตอินโดฯค้านแทรกแซงแก้ปัญหาชายแดน ด้าน"มาร์ค" ยันถกเจบีซีร่วมกัมพูชาปลายเดือนนี้ ยังยันแบบ "ทวิภาคี" แบบมีอินโดฯ เป็นผู้สังเกตการณ์ "กษิต" โยน"ชวนนท์" บินประสานกัมพูชาดูแลสุขภาพ พร้อมยื่นขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ "วีระ-ราตรี" ด้วย
นางวิไลวรรณ สมความคิด มารดาของนายวีระ สมความคิด เปิดเผยว่า ได้พบหน้านายวีระ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมาซึ่งนายวีระถามว่า "แม่ไม่ทราบหรือว่าผมป่วย ผมเกือบตายแล้วนะแม่ ผมหมดสติไปชั่วคราว แล้วทางเจ้าหน้าที่เขาพยุงไปหาหมอในเรือนจำ"
นางวิไลวรรณยังกล่าวถึงการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 8 มี.ค. ว่า ได้ถามนายกฯถึงความคืบหน้าเรื่องการขออภัยโทษ โดยนายกฯบอกว่า ตอนนี้นายวีระได้เซ็นเอกสารแล้ว แต่ตอบไม่ได้ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไร ส่วนเรื่องอาการป่วยของวีระนั้นนายกฯบอกว่าคงจะเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่ไปอยู่ไม่กี่วัน ก็ติดเชื้อมาเยอะ
"ท่านบอกว่า คงจะติดเชื้อรุนแรง จะต้องรีบช่วยด่วน ต้องให้หมอรักษาโดยด่วน ท่านนายกฯ สนใจมาก ตอนนี้ท่านกำลังเร่ง ภายในวันนี้ประสานไปทางกระทรวงต่างประเทศเพื่อเอาหมอไปรักษา ท่านนายกฯ บอกต้องรีบจัดการเรื่องสุขภาพก่อน และให้แม่ไปขอประวัติของวีระจากโรงพยาบาลในกทม.ที่เคยไปรักษา ตอนนี้รอประสานสถานทูตว่า จะเข้าเยี่ยมลูกได้อีกเมื่อไร "
นางวิไลวรรณ กล่าวว่า ทางเรือนจำให้เวลาเยี่ยมน้อยมาก ตนรู้สึกเครียดมากก็อยากจะเข้าโรงพยาบาล แต่คิดว่าต้องช่วยชีวิตลูกก่อน ตอนนี้ก็กินยาประทังไว้ พร้อมขอทางสถานทูตให้เร่งประสานให้เข้าไปพบลูก กลัวจะสายเกินไป
แนะใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษช่วย"วีระ"
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชา ว่า พันธมิตรฯ มองว่าเรื่องนี้รัฐบาลพยายามปัดความรับผิดชอบโดยโยนภาระทั้งปวงไปให้กับ นายวีระ และครอบครัว และให้เพียง 2 ทางเลือก คือ การอุทธรณ์ หรือ ขออภัยโทษ ซึ่งไม่ได้เป็นการช่วยเหลือจากรัฐบาลแต่อย่างใดเลย และพันธมิตรฯ ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นรัฐไทย มีอำนาจในการต่อรอง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถกดดันหรือเจรจา รวมทั้งเครื่องมือทางเศรษฐกิจ และทหารในการจัดการปัญหานี้ได้
นายปานเทพ เปิดเผยว่าล่าสุดได้มีบทความของ นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ชี้แนะช่องทางในการช่วยเหลือ นายวีระ และ น.ส.ราตรี ผ่านการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษระหว่างรัฐบาลไทย และกัมพูชา ที่มีการลงนามเมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.52 ที่มีเนื้อหาสำคัญในการยอมรับการโอน หรือรับโอนนักโทษที่มีคดีอาญาต่อกัน โดยสนธิสัญญานี้ สามารถทำได้ทันที ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 แสดงว่าหากนายวีระ และ น.ส.ราตรี ได้รับข้อมูลนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องลงนามขออภัยโทษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศกำลังเตรียมการให้
"ช่องทางการโอนนักโทษในสนธิสัญญานี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่เคยบอกประชาชน หรือนายวีระ น.ส.ราตรี และครอบครัวเลย เมื่อมีข้อมูลนี้แล้ว ก็หวังว่ารัฐบาลจะไม่ปัดความรับผิดชอบ โดยใช้หนทางการขอพระราชอภัยโทษเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการบังคับจิตใจของนายวีระอย่างมาก" นายปานเทพกล่าว
ทั้งนี้ เงื่อนไขการโอนนักโทษต่อกันนั้น ต้องเป็นนักโทษที่ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งหากรัฐบาลยืนยันว่า จะไม่ดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลกัมพูชา เพื่อให้คดีสิ้นสุด ก็สามารถทำได้ทันที ไม่ควรสร้างความสับสนโดยอ้างว่า มีทนายของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติพยายามยื่นอุทธรณ์อยู่ เพราะรัฐบาลสามารถประกาศได้ทันทีโดยให้นายวีระ ลงนามแสดงความจำนงว่าจะไม่อุทธรณ์ และนำมาแสดงต่อประชาชนก็จะไม่เกิดความสับสน
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลไม่เคยให้ข้อมูลกับนายวีระ และน.ส.ราตรี ว่ามีช่องทางการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษอยู่ และสามารถใช้แนวทางนี้ในการช่วยเหลือ แต่รัฐบาลกลับไม่ทำให้ชัดเจน ไปโยนภาระให้แก่นายวีระและครอบครัว รัฐบาลต้องทำเรื่องนี้ให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้คลุมเครือและเดินหน้าต่อไม่ได้
ชี้สถานการณ์ยังคลุมเครือ
นายปานเทพ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์คลุมเครือ เพราะก่อนที่ 7 คนไทยถูกจับกุมนั้น ไทยและกัมพูชาได้มีข้อตกลงกันว่า จะไม่มีการนำคนของทั้ง 2 ประเทศเข้าสู่กระบวนการศาลของอีกประเทศ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศไว้เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.53 แต่รัฐบาลก็ไม่ยืนยันตรงนี้ โดยไม่ใช้อำนาจในการเรียกร้อง และมาตรการกดดันใดๆ มีเพียงการจำยอม ปล่อยให้นำเข้าสู่กระบวนการศาล ทั้งยังไม่มีการให้ข้อมูลเรื่องการโอนนักโทษ และมาสร้างความสับสนว่า มีเพียงช่องทางการอุทธรณ์ หรือขออภัยโทษเท่านั้น จนเลขาฯศาลฎีกาฯ ต้องมาเป็นผู้เปิดเผยเอง ทำให้ตอนนี้มีทางเลือก 3 ทาง คือ 1.รับโทษต่อไปตามคำพิพากษาของศาลกัมพูชา 2. เข้าสู่กระบวนการขออภัยโทษ และ 3. รัฐบาลไทยดำเนินการขอโอนตัวนักโทษกลับมาตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ปัญหาคือ รัฐบาลได้บอกข้อมูลและสิทธิเหล่าต่อ นายวีระ น.ส.ราตรี และ ครอบครัวแล้วหรือไม่
"ขั้นตอนต่อจากนี้ รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ ต้องมีหน้าที่แจ้งสิทธิ์ต่อ 2 คนไทย เพื่อขอความยินยอมว่า จะอุทธรณ์คดีต่อหรือไม่ และรัฐบาลต้องเป็นผู้ยืนยันว่าจะใช้ช่องทางโอนนักโทษในการช่วยเหลือ แต่วันนี้นายกฯ ก็ไม่ยืนยันในประเด็นนี้ต่อสาธารณะหรืออย่างน้อยที่สุดต่อครอบครัวของทั้ง 2 คน เพื่อร่วมตัดสินใจ" นายปานเทพ กล่าว
จี้เปิดTORที่อินโดฯ จัดทำ
นายปานเทพ กล่าวว่าในช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.นี้ คาดว่าจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ จีบีซี ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในเรื่องเกี่ยวกับทหาร และการวางกำลังทหาร ทำให้พันธมิตรฯ เป็นห่วงว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศ ออกมาระบุว่า ไม่ขัดข้องต่อการให้ทหารอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ชายแดนฝั่งไทย และฝั่งกัมพูชา ซึ่งจนปัจจุบันรัฐบาลก็ยังไม่เปิดเผยแผนแม่บท และความตกลง (TOR) ที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนจัดทำ และเสนอให้แก่ไทยและกัมพูชา ทำให้เราเป็นห่วงว่าจุดที่ทหารอินโดนีเซียเข้ามาในฝั่งกัมพูชานั้น จะเป็นผืนแผ่นดินไทยหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ภูมะเขือ หรือ วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ เพราะจะเป็นการตอกย้ำว่า พื้นที่เหล่านั้นเป็นของกัมพูชา
สิ่งที่เราเป็นห่วงมากไปกว่านั้นคือ ภารกิจทหารอินโดนีเซียที่มาปฏิบัติในพื้นที่นั้น เป็นการบังคับไม่ให้ฝ่ายไทยใช้กำลังผลักดันทหารกัมพูชาออกจากประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนแล้วในทางปฏิบัติ
ยื่นสถานทูตค้านอินโดฯแทรกแซง
โฆษกพันธมิตรฯเปิดเผยอีกว่า ในวันนี้ (10 มี.ค.) คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย จะไปยื่นหนังสือต่อสถานทูตอินโดนีเซีย เพื่อคัดค้านไม่ให้อินโดนีเซีย หรืออาเซียนเข้ามาแทรกแซงปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ และเป็นการตอบโต้การที่รัฐบาลไทย ไม่ยืนยันในเรื่องเส้นเขตแดนของตัวเอง จนทำให้มีประเทศที่ 3 โดยอาเซียนเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทย ทั้งยังเป็นการยืนยันเส้นเขตแดนที่รัฐบาลไทยไม่เคยยืนยัน โดยอ้างสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ 103 ปีก่อน ที่ระบุว่าบริเวณดังกล่าว มีการปักปันเขตแดนแล้วเสร็จ โดยยึดขอบหน้าผาเป็นสันปันน้ำในการแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ดังนั้นอาเซียน และอินโดนีเซีย ไม่มีอำนาจในการแทรกแซงใดๆ ได้
"สิ่งนี้จะเป็นการต่อสู้ในฐานะภาคประชาชน ที่อย่างน้อยจะเป็นการยืนยันเรื่องเส้นเขตแดนเป็นครั้งแรก ในขณะที่รัฐบาลไทย ไม่เคยทำทั้งในเวทีอาเซียน หรือเวทีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ" นายปานเทพ กล่าว
เจรจาทวิภาคีแบบมีผู้สังเกตุการณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ประเทศกัมพูชา ตอบรับการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) โดยมีการระบุวันเวลาในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ ว่า ไม่มีปัญหา เราเป็นฝ่ายที่บอกพร้อมที่จะประชุมอยู่แล้ว ถ้าทางกัมพูชาพร้อมจะมาประชุมด้วย ก็เป็นเรื่องดี ส่วนการจะมีประเทศที่ 3 เข้าร่วมด้วยนั้น ต้องไปตกลงรายละเอียดว่า จะเป็นไปในรูปแบบอย่างไร
เมื่อถามว่ารูปแบบใดที่ไทยรับได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เจบีซี ก็คือ เจบีซี กลไกมันชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนจะมีการเชิญใครมานั่งเป็นสักขีพยาน คงไม่ว่าอะไร เมื่อถามว่า ถ้าตัวแทนจากอินโดนีเซีย เข้ามา และไทย-กัมพูชา ต้องสรุปเพื่อเสนอต่ออินโดนีเซียอีกรอบ รูปแบบจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อินโดนีเซีย ก็จะรับทราบเฉยๆ เพราะเป็นประธานอาเซียน ต้องสนับสนุนให้มีการเจรจา 2 ฝ่าย เขาก็จะมารับทราบ เท่านั้น ว่าทั้ง 2 ฝ่ายได้เจรจากันจะไม่ลงในเนื้อหาสาระ เพราะถ้าลงเนื้อหาสาระ มันก็อยู่นอกกรอบ เจบีซี
"ที่ประชุมเป็นการประชุม เจบีซี อาเซียนสนับสนุนก็พูดชัดเจนใน Bilateral นั่นคือการเจรจาทวิภาคี ส่วน 2 ฝ่ายเพื่อความสบายใจ จะเชิญใครเข้ามา มีเป็นผู้สังเกตการณ์ ก็สามารถทำได้"
ทั้งนี้ ถ้าการประชุมเจบีซีเกิดขึ้นจริง หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายความตึงเครียด ความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างไรก็ต้องเป็นเพื่อนบ้านกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูแลกัน
เมื่อถามว่า ท่าทีของ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่า กรณีดังกล่าวจะไม่เจรจาทวิภาคีอีกต่อไป จะเจรจาทวิภาคีเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ การค้า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "อาเซียนเขาบอกทวิภาคี ยืนยันชัดเจน เจบีซี ก็เป็นกลไกทวิภาคี คิดว่านายกฮุนเซ็น ก็คงจะพูดอะไรแบบนี้"
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ได้พูดคุยในเจบีซี ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ก็ประสานอยู่ทั้ง 2 ทาง ทั้งเรื่องของอภัยโทษ กับเรื่องของการดูแลสุขภาพ เพราะทางครอบครัวเป็นห่วง หลังไปพบเจ้าตัว และบอกว่าก่อนหน้านี้ ก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพ แม้ตอนนี้จะดีขึ้นบ้าง
เสนอเจรจาควบคู่ทั้งเจบีซี-จีบีซี
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ( เจบีซี) ที่เริ่มมีความชัดเจนขึ้น หลังประเทศกัมพูชาตอบรับการเข้าร่วมว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ ( กต .) กำลังประชุมกัน และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลักคือว่าเราตอบรับการกลับมาสู่การเจรจาทวิภาคี ใน 2 ประเทศ คือ เจบีซี ซึ่ง กต.กำลังประสานงานกับกัมพูชา เพื่อให้การพบกันในกรอบของ เจบีซี เดินหน้าไป
นายปณิธาน กล่าวว่า ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา (จีบีซี) ซึ่งเป็นส่วนของทหารก็มีความคืบหน้าพอสมควร ในเรื่องของกำหนดที่จะพบกัน ขณะนี้กำลังดูในเรื่องของสถานที่ และรูปแบบของการพบกัน โดย 2 ส่วนนี้ จะเดินคู่กันไป เพียงแต่ว่าในกรอบของจีบีซี จะรอในเรื่องของข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ที่จะเข้ามาสังเกตการณ์
"ให้ทุกอย่างเดินไปพร้อมกัน อาจจะใช้เวลาไปบ้าง แต่ว่าเราอยากจะให้กัมพูชา ทำงานไปพร้อมกับเรา ในเรื่องของจีบีซี ควบคู่กันไปด้วย "
เมื่อถามว่า การระบุวันประชุม เจบีซี เป็นวันที่ 27-28 มี.ค.นี้ ชัดเจนแล้วหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ยัง ขณะนี้ กต.กำลังสรุปความพร้อม เพื่อให้ 2-3 กลไกเดินไปพร้อมๆ กัน เรื่องของเจบีซี กลไกของทีโออาร์ ซึ่งทั้งหมดอยากจะให้เดินไปพร้อมๆกัน จะได้ไม่ทำให้อย่างใดอย่างหนึ่งชะงัก การแก้ไขปัญหาจะได้ครอบคลุม รอบด้าน เพราะในเรื่องจีบีซี จะเป็นเรื่องความมั่นคงตามแนวชายแดนเยอะ ส่วนเจบีซี จะเป็นเรื่องของข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ และมีข้อตกลงที่ไทย-กัมพูชา จะต้องทำงานร่วมกัน ในเรื่องของการใช้ผู้สังเกตการณ์ในพื้นที่ด้วย ส่วนวันที่ 27-28 มี.ค.นั้น เป็นข้อเสนอของอินโดนีเซีย ที่เสนอมาให้ทั้งไทย และกัมพูชา ซึ่งเข้าใจว่าต้องดูความพร้อมทั้ง 2 ประเทศ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มอบหมายให้ ตนเดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เพื่อเดินไปดูแลเรื่องสุขภาพนายวีระ สมความคิด พร้อมกับประสานกับทางการกัมพูชาโดยตรงเรื่องการพานายวีระออกไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลหรือนำแพทย์ข้างนอกเข้าไปรักษานายวีระ ที่เรือนจำเปร็ยซอว์
นายชวนนท์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังประสานกับทางกัมพูชาเรื่องการขอเข้าเยี่ยมนายวีระ ถ้าตอบกลับมาก็จะออกเดินทางไปทันที นอกจากนี้ ยังจะทำหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวกเรื่องการยื่นหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนายวีระ และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ด้วย
นางวิไลวรรณ สมความคิด มารดาของนายวีระ สมความคิด เปิดเผยว่า ได้พบหน้านายวีระ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ที่ผ่านมาซึ่งนายวีระถามว่า "แม่ไม่ทราบหรือว่าผมป่วย ผมเกือบตายแล้วนะแม่ ผมหมดสติไปชั่วคราว แล้วทางเจ้าหน้าที่เขาพยุงไปหาหมอในเรือนจำ"
นางวิไลวรรณยังกล่าวถึงการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 8 มี.ค. ว่า ได้ถามนายกฯถึงความคืบหน้าเรื่องการขออภัยโทษ โดยนายกฯบอกว่า ตอนนี้นายวีระได้เซ็นเอกสารแล้ว แต่ตอบไม่ได้ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไร ส่วนเรื่องอาการป่วยของวีระนั้นนายกฯบอกว่าคงจะเหมือนนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่ไปอยู่ไม่กี่วัน ก็ติดเชื้อมาเยอะ
"ท่านบอกว่า คงจะติดเชื้อรุนแรง จะต้องรีบช่วยด่วน ต้องให้หมอรักษาโดยด่วน ท่านนายกฯ สนใจมาก ตอนนี้ท่านกำลังเร่ง ภายในวันนี้ประสานไปทางกระทรวงต่างประเทศเพื่อเอาหมอไปรักษา ท่านนายกฯ บอกต้องรีบจัดการเรื่องสุขภาพก่อน และให้แม่ไปขอประวัติของวีระจากโรงพยาบาลในกทม.ที่เคยไปรักษา ตอนนี้รอประสานสถานทูตว่า จะเข้าเยี่ยมลูกได้อีกเมื่อไร "
นางวิไลวรรณ กล่าวว่า ทางเรือนจำให้เวลาเยี่ยมน้อยมาก ตนรู้สึกเครียดมากก็อยากจะเข้าโรงพยาบาล แต่คิดว่าต้องช่วยชีวิตลูกก่อน ตอนนี้ก็กินยาประทังไว้ พร้อมขอทางสถานทูตให้เร่งประสานให้เข้าไปพบลูก กลัวจะสายเกินไป
แนะใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษช่วย"วีระ"
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกัมพูชา ว่า พันธมิตรฯ มองว่าเรื่องนี้รัฐบาลพยายามปัดความรับผิดชอบโดยโยนภาระทั้งปวงไปให้กับ นายวีระ และครอบครัว และให้เพียง 2 ทางเลือก คือ การอุทธรณ์ หรือ ขออภัยโทษ ซึ่งไม่ได้เป็นการช่วยเหลือจากรัฐบาลแต่อย่างใดเลย และพันธมิตรฯ ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นรัฐไทย มีอำนาจในการต่อรอง และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่จะสามารถกดดันหรือเจรจา รวมทั้งเครื่องมือทางเศรษฐกิจ และทหารในการจัดการปัญหานี้ได้
นายปานเทพ เปิดเผยว่าล่าสุดได้มีบทความของ นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ชี้แนะช่องทางในการช่วยเหลือ นายวีระ และ น.ส.ราตรี ผ่านการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษระหว่างรัฐบาลไทย และกัมพูชา ที่มีการลงนามเมื่อวันที่ 4-5 ส.ค.52 ที่มีเนื้อหาสำคัญในการยอมรับการโอน หรือรับโอนนักโทษที่มีคดีอาญาต่อกัน โดยสนธิสัญญานี้ สามารถทำได้ทันที ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 แสดงว่าหากนายวีระ และ น.ส.ราตรี ได้รับข้อมูลนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องลงนามขออภัยโทษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศกำลังเตรียมการให้
"ช่องทางการโอนนักโทษในสนธิสัญญานี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่เคยบอกประชาชน หรือนายวีระ น.ส.ราตรี และครอบครัวเลย เมื่อมีข้อมูลนี้แล้ว ก็หวังว่ารัฐบาลจะไม่ปัดความรับผิดชอบ โดยใช้หนทางการขอพระราชอภัยโทษเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการบังคับจิตใจของนายวีระอย่างมาก" นายปานเทพกล่าว
ทั้งนี้ เงื่อนไขการโอนนักโทษต่อกันนั้น ต้องเป็นนักโทษที่ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งหากรัฐบาลยืนยันว่า จะไม่ดำเนินการอุทธรณ์ต่อศาลกัมพูชา เพื่อให้คดีสิ้นสุด ก็สามารถทำได้ทันที ไม่ควรสร้างความสับสนโดยอ้างว่า มีทนายของเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติพยายามยื่นอุทธรณ์อยู่ เพราะรัฐบาลสามารถประกาศได้ทันทีโดยให้นายวีระ ลงนามแสดงความจำนงว่าจะไม่อุทธรณ์ และนำมาแสดงต่อประชาชนก็จะไม่เกิดความสับสน
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลไม่เคยให้ข้อมูลกับนายวีระ และน.ส.ราตรี ว่ามีช่องทางการใช้สนธิสัญญาโอนนักโทษอยู่ และสามารถใช้แนวทางนี้ในการช่วยเหลือ แต่รัฐบาลกลับไม่ทำให้ชัดเจน ไปโยนภาระให้แก่นายวีระและครอบครัว รัฐบาลต้องทำเรื่องนี้ให้ชัดเจน ไม่ใช่ปล่อยให้คลุมเครือและเดินหน้าต่อไม่ได้
ชี้สถานการณ์ยังคลุมเครือ
นายปานเทพ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์คลุมเครือ เพราะก่อนที่ 7 คนไทยถูกจับกุมนั้น ไทยและกัมพูชาได้มีข้อตกลงกันว่า จะไม่มีการนำคนของทั้ง 2 ประเทศเข้าสู่กระบวนการศาลของอีกประเทศ ไม่ว่าในกรณีใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศไว้เมื่อวันที่ 30 ธ.ค.53 แต่รัฐบาลก็ไม่ยืนยันตรงนี้ โดยไม่ใช้อำนาจในการเรียกร้อง และมาตรการกดดันใดๆ มีเพียงการจำยอม ปล่อยให้นำเข้าสู่กระบวนการศาล ทั้งยังไม่มีการให้ข้อมูลเรื่องการโอนนักโทษ และมาสร้างความสับสนว่า มีเพียงช่องทางการอุทธรณ์ หรือขออภัยโทษเท่านั้น จนเลขาฯศาลฎีกาฯ ต้องมาเป็นผู้เปิดเผยเอง ทำให้ตอนนี้มีทางเลือก 3 ทาง คือ 1.รับโทษต่อไปตามคำพิพากษาของศาลกัมพูชา 2. เข้าสู่กระบวนการขออภัยโทษ และ 3. รัฐบาลไทยดำเนินการขอโอนตัวนักโทษกลับมาตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ปัญหาคือ รัฐบาลได้บอกข้อมูลและสิทธิเหล่าต่อ นายวีระ น.ส.ราตรี และ ครอบครัวแล้วหรือไม่
"ขั้นตอนต่อจากนี้ รัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ ต้องมีหน้าที่แจ้งสิทธิ์ต่อ 2 คนไทย เพื่อขอความยินยอมว่า จะอุทธรณ์คดีต่อหรือไม่ และรัฐบาลต้องเป็นผู้ยืนยันว่าจะใช้ช่องทางโอนนักโทษในการช่วยเหลือ แต่วันนี้นายกฯ ก็ไม่ยืนยันในประเด็นนี้ต่อสาธารณะหรืออย่างน้อยที่สุดต่อครอบครัวของทั้ง 2 คน เพื่อร่วมตัดสินใจ" นายปานเทพ กล่าว
จี้เปิดTORที่อินโดฯ จัดทำ
นายปานเทพ กล่าวว่าในช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.นี้ คาดว่าจะมีการประชุมคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ จีบีซี ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในเรื่องเกี่ยวกับทหาร และการวางกำลังทหาร ทำให้พันธมิตรฯ เป็นห่วงว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศ ออกมาระบุว่า ไม่ขัดข้องต่อการให้ทหารอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ชายแดนฝั่งไทย และฝั่งกัมพูชา ซึ่งจนปัจจุบันรัฐบาลก็ยังไม่เปิดเผยแผนแม่บท และความตกลง (TOR) ที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนจัดทำ และเสนอให้แก่ไทยและกัมพูชา ทำให้เราเป็นห่วงว่าจุดที่ทหารอินโดนีเซียเข้ามาในฝั่งกัมพูชานั้น จะเป็นผืนแผ่นดินไทยหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ภูมะเขือ หรือ วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ เพราะจะเป็นการตอกย้ำว่า พื้นที่เหล่านั้นเป็นของกัมพูชา
สิ่งที่เราเป็นห่วงมากไปกว่านั้นคือ ภารกิจทหารอินโดนีเซียที่มาปฏิบัติในพื้นที่นั้น เป็นการบังคับไม่ให้ฝ่ายไทยใช้กำลังผลักดันทหารกัมพูชาออกจากประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนแล้วในทางปฏิบัติ
ยื่นสถานทูตค้านอินโดฯแทรกแซง
โฆษกพันธมิตรฯเปิดเผยอีกว่า ในวันนี้ (10 มี.ค.) คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย จะไปยื่นหนังสือต่อสถานทูตอินโดนีเซีย เพื่อคัดค้านไม่ให้อินโดนีเซีย หรืออาเซียนเข้ามาแทรกแซงปัญหาระหว่าง 2 ประเทศ และเป็นการตอบโต้การที่รัฐบาลไทย ไม่ยืนยันในเรื่องเส้นเขตแดนของตัวเอง จนทำให้มีประเทศที่ 3 โดยอาเซียนเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของไทย ทั้งยังเป็นการยืนยันเส้นเขตแดนที่รัฐบาลไทยไม่เคยยืนยัน โดยอ้างสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ 103 ปีก่อน ที่ระบุว่าบริเวณดังกล่าว มีการปักปันเขตแดนแล้วเสร็จ โดยยึดขอบหน้าผาเป็นสันปันน้ำในการแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ดังนั้นอาเซียน และอินโดนีเซีย ไม่มีอำนาจในการแทรกแซงใดๆ ได้
"สิ่งนี้จะเป็นการต่อสู้ในฐานะภาคประชาชน ที่อย่างน้อยจะเป็นการยืนยันเรื่องเส้นเขตแดนเป็นครั้งแรก ในขณะที่รัฐบาลไทย ไม่เคยทำทั้งในเวทีอาเซียน หรือเวทีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ" นายปานเทพ กล่าว
เจรจาทวิภาคีแบบมีผู้สังเกตุการณ์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ประเทศกัมพูชา ตอบรับการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) โดยมีการระบุวันเวลาในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้ ว่า ไม่มีปัญหา เราเป็นฝ่ายที่บอกพร้อมที่จะประชุมอยู่แล้ว ถ้าทางกัมพูชาพร้อมจะมาประชุมด้วย ก็เป็นเรื่องดี ส่วนการจะมีประเทศที่ 3 เข้าร่วมด้วยนั้น ต้องไปตกลงรายละเอียดว่า จะเป็นไปในรูปแบบอย่างไร
เมื่อถามว่ารูปแบบใดที่ไทยรับได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เจบีซี ก็คือ เจบีซี กลไกมันชัดเจนอยู่แล้ว ส่วนจะมีการเชิญใครมานั่งเป็นสักขีพยาน คงไม่ว่าอะไร เมื่อถามว่า ถ้าตัวแทนจากอินโดนีเซีย เข้ามา และไทย-กัมพูชา ต้องสรุปเพื่อเสนอต่ออินโดนีเซียอีกรอบ รูปแบบจะเป็นอย่างไร นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อินโดนีเซีย ก็จะรับทราบเฉยๆ เพราะเป็นประธานอาเซียน ต้องสนับสนุนให้มีการเจรจา 2 ฝ่าย เขาก็จะมารับทราบ เท่านั้น ว่าทั้ง 2 ฝ่ายได้เจรจากันจะไม่ลงในเนื้อหาสาระ เพราะถ้าลงเนื้อหาสาระ มันก็อยู่นอกกรอบ เจบีซี
"ที่ประชุมเป็นการประชุม เจบีซี อาเซียนสนับสนุนก็พูดชัดเจนใน Bilateral นั่นคือการเจรจาทวิภาคี ส่วน 2 ฝ่ายเพื่อความสบายใจ จะเชิญใครเข้ามา มีเป็นผู้สังเกตการณ์ ก็สามารถทำได้"
ทั้งนี้ ถ้าการประชุมเจบีซีเกิดขึ้นจริง หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการคลี่คลายความตึงเครียด ความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างไรก็ต้องเป็นเพื่อนบ้านกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องดูแลกัน
เมื่อถามว่า ท่าทีของ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่า กรณีดังกล่าวจะไม่เจรจาทวิภาคีอีกต่อไป จะเจรจาทวิภาคีเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ การค้า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "อาเซียนเขาบอกทวิภาคี ยืนยันชัดเจน เจบีซี ก็เป็นกลไกทวิภาคี คิดว่านายกฮุนเซ็น ก็คงจะพูดอะไรแบบนี้"
ส่วนเรื่องเกี่ยวกับนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงไม่ได้พูดคุยในเจบีซี ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ก็ประสานอยู่ทั้ง 2 ทาง ทั้งเรื่องของอภัยโทษ กับเรื่องของการดูแลสุขภาพ เพราะทางครอบครัวเป็นห่วง หลังไปพบเจ้าตัว และบอกว่าก่อนหน้านี้ ก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพ แม้ตอนนี้จะดีขึ้นบ้าง
เสนอเจรจาควบคู่ทั้งเจบีซี-จีบีซี
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ( เจบีซี) ที่เริ่มมีความชัดเจนขึ้น หลังประเทศกัมพูชาตอบรับการเข้าร่วมว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ ( กต .) กำลังประชุมกัน และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลักคือว่าเราตอบรับการกลับมาสู่การเจรจาทวิภาคี ใน 2 ประเทศ คือ เจบีซี ซึ่ง กต.กำลังประสานงานกับกัมพูชา เพื่อให้การพบกันในกรอบของ เจบีซี เดินหน้าไป
นายปณิธาน กล่าวว่า ในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - กัมพูชา (จีบีซี) ซึ่งเป็นส่วนของทหารก็มีความคืบหน้าพอสมควร ในเรื่องของกำหนดที่จะพบกัน ขณะนี้กำลังดูในเรื่องของสถานที่ และรูปแบบของการพบกัน โดย 2 ส่วนนี้ จะเดินคู่กันไป เพียงแต่ว่าในกรอบของจีบีซี จะรอในเรื่องของข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ที่จะเข้ามาสังเกตการณ์
"ให้ทุกอย่างเดินไปพร้อมกัน อาจจะใช้เวลาไปบ้าง แต่ว่าเราอยากจะให้กัมพูชา ทำงานไปพร้อมกับเรา ในเรื่องของจีบีซี ควบคู่กันไปด้วย "
เมื่อถามว่า การระบุวันประชุม เจบีซี เป็นวันที่ 27-28 มี.ค.นี้ ชัดเจนแล้วหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า ยัง ขณะนี้ กต.กำลังสรุปความพร้อม เพื่อให้ 2-3 กลไกเดินไปพร้อมๆ กัน เรื่องของเจบีซี กลไกของทีโออาร์ ซึ่งทั้งหมดอยากจะให้เดินไปพร้อมๆกัน จะได้ไม่ทำให้อย่างใดอย่างหนึ่งชะงัก การแก้ไขปัญหาจะได้ครอบคลุม รอบด้าน เพราะในเรื่องจีบีซี จะเป็นเรื่องความมั่นคงตามแนวชายแดนเยอะ ส่วนเจบีซี จะเป็นเรื่องของข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ และมีข้อตกลงที่ไทย-กัมพูชา จะต้องทำงานร่วมกัน ในเรื่องของการใช้ผู้สังเกตการณ์ในพื้นที่ด้วย ส่วนวันที่ 27-28 มี.ค.นั้น เป็นข้อเสนอของอินโดนีเซีย ที่เสนอมาให้ทั้งไทย และกัมพูชา ซึ่งเข้าใจว่าต้องดูความพร้อมทั้ง 2 ประเทศ
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มอบหมายให้ ตนเดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เพื่อเดินไปดูแลเรื่องสุขภาพนายวีระ สมความคิด พร้อมกับประสานกับทางการกัมพูชาโดยตรงเรื่องการพานายวีระออกไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลหรือนำแพทย์ข้างนอกเข้าไปรักษานายวีระ ที่เรือนจำเปร็ยซอว์
นายชวนนท์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังประสานกับทางกัมพูชาเรื่องการขอเข้าเยี่ยมนายวีระ ถ้าตอบกลับมาก็จะออกเดินทางไปทันที นอกจากนี้ ยังจะทำหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวกเรื่องการยื่นหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนายวีระ และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ด้วย