คุณอ่านหนังสือเล่มนี้ของคุณรุ่งมณี เมฆโสภณแล้วหรือยัง?
“อำนาจ”
มีสร้อยนำหน้าและต่อท้ายว่า “ลอกคราบการเมืองไทย, อุดมการณ์ เพื่อชาติ และญาติมิตร” ด้วย
ดูเผินๆ แล้วเหมือนเป็นการเขียนถึงประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในหลากหลายบริบท แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็คือการเขียนถึงการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี 2470 เป็นต้นมา โดยมาจบรายละเอียดอยู่ที่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จากนั้นก็เป็นบทบรรยายสรุป
เราจะไม่เข้าใจการเมืองปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้งหากไม่รู้เรื่องรากฐานความเป็นมาในอดีตเสียเลย
คุณรุ่งมณีเป็นนักข่าว เป็นบรรณาธิการ และระยะหลังๆ โชคดีอย่างยิ่งที่สามารถปลีกวิเวกจากงานประจำไปทำงานค้นคว้าเรื่องที่เธอสนใจแล้วเขียนเป็นหนังสือเล่มออกมาปีละเล่มสองเล่ม ซึ่งไม่ใช่ใครทุกคนจะทำได้ หนังสือของเธอติดอันดับขายดีในหมู่หนังสือเนื้อหาสาระเสียเป็นส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่าเล่มล่าสุดนี้เป็นงานที่เธอทุ่มเทวิริยะอุตสาหะลงมามากเป็นพิเศษ เพราะเสมือนเป็นการเขียนอัตชีวประวัติของตัวเองด้วยในอีกรูปแบบหนึ่ง
เธอเป็นคนละเอียด เวลาทำงานจะกัดไม่ปล่อยและพยายามทำให้ผลของงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด
เป็นนักข่าวและบรรณาธิการที่ตรวจปรู๊ฟเอง สมัยก่อนที่การจัดหน้ายังไม่ใช่ใช้เครื่องเหมือนทุกวันนี้ เธอจะถือคัตเตอร์คอยแก้ไขในอาร์ตเวิร์กจนนาทีสุดท้าย หลายครั้งแอบไปโรงพิมพ์คนเดียวขูดแก้หน้าเพลท จึงมิพักต้องพูดถึงการรวบรวมข้อมูลก่อนเขียนว่าจะสมบูรณ์ขนาดไหน
งานชิ้นล่าสุดนี้เธอยังมีส่วนร่วมโดยตรงอีกต่างหาก ไม่ใช่แค่คนร่วมสมัย หรือแค่นักข่าวที่ทำงานในช่วงนั้น แต่ในฐานะที่ช่วงหนึ่งได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มหรือจะเรียกภาษาซ้ายก็ได้ว่าอยู่ในสายจัดตั้งของตัวละครสำคัญในเรื่องของเธอเอง เพราะแนวคิดทางการเมือง และเพราะความเป็นเสมือนญาติสนิท
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงตั้งแต่ปี 2470 มาจนถึงปี 2516 หรือจนถึงปี 2519 ไม่สามารถหาอ่านได้ที่ไหนอย่างเป็นทางการ ทั้งๆ ที่เป็นช่วงที่มีสีสันอย่างยิ่ง
มีบ้างเป็นบางท่อนที่ปรากฏอยู่ในงานทางวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย
หนังสือเล่มนี้เขียนบอกเล่าภาพรวมได้ทั้งหมด ไม่ใช่ด้วยภาษาวิชาการ แต่ไม่ละทิ้งความน่าเชื่อถืออย่างงานวิชาการ มีหลักฐานอ้างอิงให้ผู้อ่านตามไปอ่านไปศึกษาต่อจากต้นตอได้ นอกจากนั้นหลายบทหลายตอนมาจากการให้สัมภาษณ์โดยตรงของตัวละครหรือทายาทของตัวละคร และแน่นอนหลายส่วนสำคัญมาจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนคนนี้ เพียงแต่เธอไม่ได้เขียนโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
เชื่อผมเถอะว่าหนังสือเล่มนี้ไม่อ่านไม่ได้
และถ้าอ่านแล้ว ผมอยากให้หาวีซีดีหนังไทยเก่าเรื่องหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วมาดูเพลินๆ
“14 ตุลา : สงครามประชาชน”
เป็นหนังไทยที่แสดงการต่อสู้ทางความคิดภายในขบวนนักศึกษาระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 และการต่อสู้ด้านแนวทางภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และภายในขบวนคอมมิวนิสต์สากล สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ร่วมกับบีอีซีเทโร กำกับการแสดงโดยบัณฑิต ฤทธิ์ถกล และที่สำคัญมากที่สุดคือเขียนบทโดยดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้นำนักศึกษาคนสำคัญในยุคนั้น
ผมเคยเขียนแนะนำไว้ ณ ที่นี้สองสามครั้ง แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้ถ้าสามารถมี “เชิงอรรถ” อรรถาธิบายตาม ทำเป็น “คู่มือชมภาพยนตร์” ทำนองเดียวกับที่ “สุริโยไท” เคยทำ บทภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นงานประวัติศาสตร์ชั้นดี วันนี้ก็อยากจะบอกว่าหนังสือของคุณรุ่งมณีเล่มนี้คือเชิงอรรถของหนังเรื่องนี้ หรือจะพูดอีกทีหนังเรื่องนี้เหมาะจะเป็นภาคผนวกท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ เพราะในหนังสือนั้นก็อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่าจบรายละเอียดลงแค่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จากนั้นเป็นบทที่รายงานเหตุการณ์ต่อๆ มาโดยสรุปเท่านั้น เข้าใจว่ามันมีรายละเอียดที่จะต้องเขียนต่ออีกเป็นเล่มๆ ในอนาคต
ทั้งหนังสือและหนังจะบอกเล่าถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ครบถ้วน
- อิทธิพลแนวคิด “ซ้ายจัด” หรือภาษาคอมมิวนิสต์เขาเรียกว่า “ลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้าย” ที่เข้ามาครอบงำฝ่ายนำในขบวนนักศึกษาก่อน 6 ตุลาคม 2519
- พรรคคอมมิวนิสต์ไทยขึ้นต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- ความขัดแย้งภายในขบวนคอมมิวนิสต์สากล
- การที่จีนขายการปฏิวัติไทยให้แก่รัฐบาลไทยยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แลกกับการสนับสนุนเขมรแดงและต่อต้านเวียดนาม
- สภาพทั่วไปของขบวนนักศึกษาก่อน 14 ตุลาคม 2516 และความแตกต่างทางความคิดระหว่างนักเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับมหาวิทยาลัยอื่น
ในหนังสือถ้าเราอ่านอย่างสกัดแก่นออกมา จะพบว่าประเทศไทยไม่เคยเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเท่าไรนัก หากแต่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาอยู่โดยตลอด
และแม้แต่ประเทศไทยจะมีพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้น ก็ให้บังเอิญที่มีรากฐานมาจากพรรคคอมมิวนิสต์ชาติอื่นเสียอีก ในหนังสือเราจะเห็นความเป็นมาเหล่านี้ และความขัดแย้งในพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่มีผู้นำบางคนที่พยายามจะกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการต่อสู้ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยไม่ใช่ก๊อบปี้มาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งดุ้น ส่วนในหนังเราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลแนวคิดซ้ายจัด ที่เข้ามาครอบงำฝ่ายนำในขบวนนักศึกษาก่อน 6 ตุลาคม 2519 หลายตอน แนวคิดซ้ายจัด ณ ที่นี้มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งรับต่อมาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง เป็นแนวคิดของกลุ่ม “แก๊ง 4 คน” นำโดยนางเจียงชิง ภรรยาเหมาเจ๋อตง
แนวคิดซ้ายจัดนี้มีมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนที่เป็นผลให้มีการเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตผู้คนไปไม่น้อยในนามของการปฏิวัติและการดัดแปลงหล่อหลอมตนเอง โดยเฉพาะเมื่อพอลพตรับไปปฏิบัติในกัมพูชาระหว่างปี 2518 – 2522
แนวคิดนี้เริ่มหมดบทบาทไปในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เมื่อแก๊ง 4 คนถูกโค่นล้ม และเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในบ้านเราพอดี
การชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในอดีตน่าจะรวมประเด็นอิทธิพลแนวคิดซ้ายจัดนี้ด้วย
แน่นอนว่าคนลงมือเข่นฆ่าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมวลชนจัดตั้งของรัฐ ที่ตกอยู่ภายใต้การนำของ “อิทธิพลขวาจัด” แต่อย่าปฏิเสธนะว่า “อิทธิพลซ้ายจัด” ในขณะนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมเกื้อหนุนในทางอ้อม
ขวาจัดได้รัฐประหาร ซ้ายจัดได้สถานการณ์ที่ทำให้ปัญญาชน “เข้าป่า” ไปหลายพันคน
หนังได้ก่อให้เกิดวิวาทะระหว่าง “คนเดือนตุลา” พอควรในช่วงออกฉาย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายประเด็นโดยเฉพาะประเด็นสะท้อนภาพด้านลบของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย
แต่หนังสือไม่น่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยามากนัก
เหตุผลหนึ่งเพราะผู้เขียนคือคุณรุ่งมณีจบเรื่องราวรายละเอียดไว้แค่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เป็นไปได้
อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเพราะเธอไม่ได้เขียนโดยใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ทำให้แทบอดใจรอไม่ไหวกับการอ่านงานชิ้นต่อไปของเธอ ที่หวังว่าจะเป็นภาคต่อจากหนังสือเล่มนี้ที่จะเข้ามาใกล้เหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น
“อำนาจ”
มีสร้อยนำหน้าและต่อท้ายว่า “ลอกคราบการเมืองไทย, อุดมการณ์ เพื่อชาติ และญาติมิตร” ด้วย
ดูเผินๆ แล้วเหมือนเป็นการเขียนถึงประวัติศาสตร์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในหลากหลายบริบท แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็คือการเขียนถึงการต่อสู้ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณปี 2470 เป็นต้นมา โดยมาจบรายละเอียดอยู่ที่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จากนั้นก็เป็นบทบรรยายสรุป
เราจะไม่เข้าใจการเมืองปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้งหากไม่รู้เรื่องรากฐานความเป็นมาในอดีตเสียเลย
คุณรุ่งมณีเป็นนักข่าว เป็นบรรณาธิการ และระยะหลังๆ โชคดีอย่างยิ่งที่สามารถปลีกวิเวกจากงานประจำไปทำงานค้นคว้าเรื่องที่เธอสนใจแล้วเขียนเป็นหนังสือเล่มออกมาปีละเล่มสองเล่ม ซึ่งไม่ใช่ใครทุกคนจะทำได้ หนังสือของเธอติดอันดับขายดีในหมู่หนังสือเนื้อหาสาระเสียเป็นส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่าเล่มล่าสุดนี้เป็นงานที่เธอทุ่มเทวิริยะอุตสาหะลงมามากเป็นพิเศษ เพราะเสมือนเป็นการเขียนอัตชีวประวัติของตัวเองด้วยในอีกรูปแบบหนึ่ง
เธอเป็นคนละเอียด เวลาทำงานจะกัดไม่ปล่อยและพยายามทำให้ผลของงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด
เป็นนักข่าวและบรรณาธิการที่ตรวจปรู๊ฟเอง สมัยก่อนที่การจัดหน้ายังไม่ใช่ใช้เครื่องเหมือนทุกวันนี้ เธอจะถือคัตเตอร์คอยแก้ไขในอาร์ตเวิร์กจนนาทีสุดท้าย หลายครั้งแอบไปโรงพิมพ์คนเดียวขูดแก้หน้าเพลท จึงมิพักต้องพูดถึงการรวบรวมข้อมูลก่อนเขียนว่าจะสมบูรณ์ขนาดไหน
งานชิ้นล่าสุดนี้เธอยังมีส่วนร่วมโดยตรงอีกต่างหาก ไม่ใช่แค่คนร่วมสมัย หรือแค่นักข่าวที่ทำงานในช่วงนั้น แต่ในฐานะที่ช่วงหนึ่งได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มหรือจะเรียกภาษาซ้ายก็ได้ว่าอยู่ในสายจัดตั้งของตัวละครสำคัญในเรื่องของเธอเอง เพราะแนวคิดทางการเมือง และเพราะความเป็นเสมือนญาติสนิท
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงตั้งแต่ปี 2470 มาจนถึงปี 2516 หรือจนถึงปี 2519 ไม่สามารถหาอ่านได้ที่ไหนอย่างเป็นทางการ ทั้งๆ ที่เป็นช่วงที่มีสีสันอย่างยิ่ง
มีบ้างเป็นบางท่อนที่ปรากฏอยู่ในงานทางวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย
หนังสือเล่มนี้เขียนบอกเล่าภาพรวมได้ทั้งหมด ไม่ใช่ด้วยภาษาวิชาการ แต่ไม่ละทิ้งความน่าเชื่อถืออย่างงานวิชาการ มีหลักฐานอ้างอิงให้ผู้อ่านตามไปอ่านไปศึกษาต่อจากต้นตอได้ นอกจากนั้นหลายบทหลายตอนมาจากการให้สัมภาษณ์โดยตรงของตัวละครหรือทายาทของตัวละคร และแน่นอนหลายส่วนสำคัญมาจากประสบการณ์โดยตรงของผู้เขียนคนนี้ เพียงแต่เธอไม่ได้เขียนโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
เชื่อผมเถอะว่าหนังสือเล่มนี้ไม่อ่านไม่ได้
และถ้าอ่านแล้ว ผมอยากให้หาวีซีดีหนังไทยเก่าเรื่องหนึ่งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วมาดูเพลินๆ
“14 ตุลา : สงครามประชาชน”
เป็นหนังไทยที่แสดงการต่อสู้ทางความคิดภายในขบวนนักศึกษาระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 และการต่อสู้ด้านแนวทางภายในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และภายในขบวนคอมมิวนิสต์สากล สร้างโดยไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ร่วมกับบีอีซีเทโร กำกับการแสดงโดยบัณฑิต ฤทธิ์ถกล และที่สำคัญมากที่สุดคือเขียนบทโดยดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้นำนักศึกษาคนสำคัญในยุคนั้น
ผมเคยเขียนแนะนำไว้ ณ ที่นี้สองสามครั้ง แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้ถ้าสามารถมี “เชิงอรรถ” อรรถาธิบายตาม ทำเป็น “คู่มือชมภาพยนตร์” ทำนองเดียวกับที่ “สุริโยไท” เคยทำ บทภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นงานประวัติศาสตร์ชั้นดี วันนี้ก็อยากจะบอกว่าหนังสือของคุณรุ่งมณีเล่มนี้คือเชิงอรรถของหนังเรื่องนี้ หรือจะพูดอีกทีหนังเรื่องนี้เหมาะจะเป็นภาคผนวกท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ เพราะในหนังสือนั้นก็อย่างที่ผมบอกข้างต้นว่าจบรายละเอียดลงแค่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จากนั้นเป็นบทที่รายงานเหตุการณ์ต่อๆ มาโดยสรุปเท่านั้น เข้าใจว่ามันมีรายละเอียดที่จะต้องเขียนต่ออีกเป็นเล่มๆ ในอนาคต
ทั้งหนังสือและหนังจะบอกเล่าถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ครบถ้วน
- อิทธิพลแนวคิด “ซ้ายจัด” หรือภาษาคอมมิวนิสต์เขาเรียกว่า “ลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้าย” ที่เข้ามาครอบงำฝ่ายนำในขบวนนักศึกษาก่อน 6 ตุลาคม 2519
- พรรคคอมมิวนิสต์ไทยขึ้นต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน
- ความขัดแย้งภายในขบวนคอมมิวนิสต์สากล
- การที่จีนขายการปฏิวัติไทยให้แก่รัฐบาลไทยยุค พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แลกกับการสนับสนุนเขมรแดงและต่อต้านเวียดนาม
- สภาพทั่วไปของขบวนนักศึกษาก่อน 14 ตุลาคม 2516 และความแตกต่างทางความคิดระหว่างนักเคลื่อนไหวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับมหาวิทยาลัยอื่น
ในหนังสือถ้าเราอ่านอย่างสกัดแก่นออกมา จะพบว่าประเทศไทยไม่เคยเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองเท่าไรนัก หากแต่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาอยู่โดยตลอด
และแม้แต่ประเทศไทยจะมีพรรคคอมมิวนิสต์เกิดขึ้น ก็ให้บังเอิญที่มีรากฐานมาจากพรรคคอมมิวนิสต์ชาติอื่นเสียอีก ในหนังสือเราจะเห็นความเป็นมาเหล่านี้ และความขัดแย้งในพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่มีผู้นำบางคนที่พยายามจะกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีการต่อสู้ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยไม่ใช่ก๊อบปี้มาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งดุ้น ส่วนในหนังเราจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลแนวคิดซ้ายจัด ที่เข้ามาครอบงำฝ่ายนำในขบวนนักศึกษาก่อน 6 ตุลาคม 2519 หลายตอน แนวคิดซ้ายจัด ณ ที่นี้มาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งรับต่อมาจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนอีกต่อหนึ่ง เป็นแนวคิดของกลุ่ม “แก๊ง 4 คน” นำโดยนางเจียงชิง ภรรยาเหมาเจ๋อตง
แนวคิดซ้ายจัดนี้มีมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนที่เป็นผลให้มีการเข่นฆ่าทำลายล้างชีวิตผู้คนไปไม่น้อยในนามของการปฏิวัติและการดัดแปลงหล่อหลอมตนเอง โดยเฉพาะเมื่อพอลพตรับไปปฏิบัติในกัมพูชาระหว่างปี 2518 – 2522
แนวคิดนี้เริ่มหมดบทบาทไปในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 เมื่อแก๊ง 4 คนถูกโค่นล้ม และเติ้งเสี่ยวผิงเริ่มกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในบ้านเราพอดี
การชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์ในอดีตน่าจะรวมประเด็นอิทธิพลแนวคิดซ้ายจัดนี้ด้วย
แน่นอนว่าคนลงมือเข่นฆ่าเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมวลชนจัดตั้งของรัฐ ที่ตกอยู่ภายใต้การนำของ “อิทธิพลขวาจัด” แต่อย่าปฏิเสธนะว่า “อิทธิพลซ้ายจัด” ในขณะนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมเกื้อหนุนในทางอ้อม
ขวาจัดได้รัฐประหาร ซ้ายจัดได้สถานการณ์ที่ทำให้ปัญญาชน “เข้าป่า” ไปหลายพันคน
หนังได้ก่อให้เกิดวิวาทะระหว่าง “คนเดือนตุลา” พอควรในช่วงออกฉาย ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายประเด็นโดยเฉพาะประเด็นสะท้อนภาพด้านลบของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย
แต่หนังสือไม่น่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยามากนัก
เหตุผลหนึ่งเพราะผู้เขียนคือคุณรุ่งมณีจบเรื่องราวรายละเอียดไว้แค่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก็เป็นไปได้
อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะเพราะเธอไม่ได้เขียนโดยใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง
ทำให้แทบอดใจรอไม่ไหวกับการอ่านงานชิ้นต่อไปของเธอ ที่หวังว่าจะเป็นภาคต่อจากหนังสือเล่มนี้ที่จะเข้ามาใกล้เหตุการณ์ปัจจุบันมากขึ้น