ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ จัดตั้งศูนย์ “คลังรวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ระดมเงินบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ พร้อมหักค่าลดหย่อนภาษีได้ ธ.ก.ส.เสนอ ครม.ขอพักหนี้เกษตรกรใต้
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้จัดตั้งศูนย์ “คลังรวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม” บริเวณตรงข้ามลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 กระทรวงการคลัง เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน สิ่งของ อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคจากผู้มีจิตกุศล เพื่อนำไปบริจาคในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์อุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัดภาคใต้ โดยผู้ที่สนใจสามารถร่วมบริจาคผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “คลังรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม” เลขที่บัญชี 068-0-10205-1 โดยการบริจาคดังกล่าวสามารถนำไปหักค่าลดหย่อน หรือหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้
“การรับบริจาคดังกล่าวจะยังคงดำเนินการต่อไปจนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายไป ซึ่งถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไข และ ให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยด้วยกัน โดยวันที่ 1 เมษายน จะเปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของต่างๆ ณ บริเวณตรงข้ามลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 เพื่อนำสิ่งของที่ได้ลงพื้นที่ประสบภัยในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายนนี้” นายกรณ์กล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำหนังสือถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เอสเอฟไอ) ทุกแห่ง เพื่อออกเป็นมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ จะได้เสนอมาตรการที่เป็นหลักการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 5 เมษายนนี้ เพื่ออนุมัติกรอบวงเงินช่วยเหลือที่จะผูกพันในงบประมาณ
โดยส่วนของธ.ก.ส.ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยได้เตรียมเงินบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าวงเงิน 19 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัย ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีลูกค้าได้รับความเดือดร้อน 51,508 ครอบครัว คิดเป็นเงินกู้ 4,138 ล้านบาท มีพื้นเกษตรเสียหายคือ นาข้าว 200,804 ไร่ ข้าวโพด 1,000 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ประดับ 160,703 ไร่ พืชผัก 266,230 ไร่ ประมง 14,215 ไร่ และปศุสัตว์ 491,268 ตัว โดยการช่วยเหลือเบื้องต้นได้มอบถุงยังชีพ 8,800 ถุง มูลค่า 1.8 ล้านบาท ให้กับผู้ประสบภัยแล้ว
เบื้องต้น ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย และจากการสำรวจ 11 รายพบว่าไม่ได้เป็นลูกค้าธ.ก.ส. ส่วนอีก 2 รายอยู่ระหว่างการสำรวจ หากพบว่าเป็นลูกค้าของธ.ก.ส.ก็จะยกหนี้ให้ทั้งหมด โดย ธ.ก.ส.รับภาระเอง ส่วนเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายในการประกอบอาชีพจะขยายเวลาชำระหนี้และงดคิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1% ซึ่งขณะนี้อยู่ที่อัตรา 5.75% ต่อปี
ส่วนเกษตรกรลูกค้าที่ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จะดำเนินมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ ตลอดจนให้กู้ใหม่ เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้อัตราปกติที่เรียกเก็บจากลูกค้า 3% ต่อปีเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยที่ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา 3% ต่อปี พร้อมกำหนดเกณฑ์การชำระหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า และลดหย่อนหลักประกันเงินกู้จากหลักเกณฑ์ปกติด้วย.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้จัดตั้งศูนย์ “คลังรวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม” บริเวณตรงข้ามลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 กระทรวงการคลัง เพื่อเปิดรับบริจาคเงิน สิ่งของ อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคจากผู้มีจิตกุศล เพื่อนำไปบริจาคในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์อุทกภัยขึ้นในหลายจังหวัดภาคใต้ โดยผู้ที่สนใจสามารถร่วมบริจาคผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขากระทรวงการคลัง ชื่อบัญชี “คลังรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม” เลขที่บัญชี 068-0-10205-1 โดยการบริจาคดังกล่าวสามารถนำไปหักค่าลดหย่อน หรือหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้
“การรับบริจาคดังกล่าวจะยังคงดำเนินการต่อไปจนกว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายไป ซึ่งถือเป็นโอกาสที่คนไทยจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไข และ ให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยด้วยกัน โดยวันที่ 1 เมษายน จะเปิดรับบริจาคเงินและสิ่งของต่างๆ ณ บริเวณตรงข้ามลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 เพื่อนำสิ่งของที่ได้ลงพื้นที่ประสบภัยในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายนนี้” นายกรณ์กล่าว
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ทำหนังสือถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (เอสเอฟไอ) ทุกแห่ง เพื่อออกเป็นมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคใต้ จะได้เสนอมาตรการที่เป็นหลักการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 5 เมษายนนี้ เพื่ออนุมัติกรอบวงเงินช่วยเหลือที่จะผูกพันในงบประมาณ
โดยส่วนของธ.ก.ส.ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยได้เตรียมเงินบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าวงเงิน 19 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพี่น้องที่ประสบอุทกภัย ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีลูกค้าได้รับความเดือดร้อน 51,508 ครอบครัว คิดเป็นเงินกู้ 4,138 ล้านบาท มีพื้นเกษตรเสียหายคือ นาข้าว 200,804 ไร่ ข้าวโพด 1,000 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ประดับ 160,703 ไร่ พืชผัก 266,230 ไร่ ประมง 14,215 ไร่ และปศุสัตว์ 491,268 ตัว โดยการช่วยเหลือเบื้องต้นได้มอบถุงยังชีพ 8,800 ถุง มูลค่า 1.8 ล้านบาท ให้กับผู้ประสบภัยแล้ว
เบื้องต้น ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย และจากการสำรวจ 11 รายพบว่าไม่ได้เป็นลูกค้าธ.ก.ส. ส่วนอีก 2 รายอยู่ระหว่างการสำรวจ หากพบว่าเป็นลูกค้าของธ.ก.ส.ก็จะยกหนี้ให้ทั้งหมด โดย ธ.ก.ส.รับภาระเอง ส่วนเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายในการประกอบอาชีพจะขยายเวลาชำระหนี้และงดคิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี โดย ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ลบ 1% ซึ่งขณะนี้อยู่ที่อัตรา 5.75% ต่อปี
ส่วนเกษตรกรลูกค้าที่ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จะดำเนินมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพ ตลอดจนให้กู้ใหม่ เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้อัตราปกติที่เรียกเก็บจากลูกค้า 3% ต่อปีเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยที่ธ.ก.ส. จะขอชดเชยดอกเบี้ยจากรัฐบาลในอัตรา 3% ต่อปี พร้อมกำหนดเกณฑ์การชำระหนี้ตามความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า และลดหย่อนหลักประกันเงินกู้จากหลักเกณฑ์ปกติด้วย.