การแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันของรัฐบาล ด้วยการแก้ปัญหาปาล์มขาดแคลนและรักษาราคาปาล์มสด ซึ่งได้ เร่งเดินหน้าและผลักดันอย่างจริงจัง ล่าสุด มติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน ได้ข้อสรุปในเรื่องของการแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มแบบครบวงจร คือ เกษตรกรขายผลปาล์มสดได้ราคาไม่ต่ำกว่า 6 บาท ขณะที่ผู้บริโภคก็ซื้อน้ำมันปาล์มขวดเพื่อการบริโภค ไม่เกินขวดละ 47 บาท ภายหลังการถกเถียงกันในหลายประเด็น ทางคณะกรรมการฯก็ได้มีมติ ดังนี้
1.ให้คงราคาน้ำมันปาล์มขวดเพื่อการบริโภคไว้ที่ 47 บาทต่อขวดไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
2.ให้โรงสกัดน้ำมันปาล์มรับซื้อเฉพาะผลปาล์มสุกที่มีเปอร์เซนต์น้ำมัน 17 % ขึ้นไปเท่านั้น โดยให้รับซื้อในกิโลกรัมละ 6 บาท ณ ราคาหน้าโรงสกัด
3.ถ้าเปอร์เซนต์น้ำมันสูงเกิน 17 % ให้ซื้อในราคาที่สูงกว่า 6 บาท ตามอัตราเปอร์เซนต์น้ำมัน
4.เมื่อโรงงานสกัดได้ซื้อผลปาล์มที่ 6 บาทแล้ว ให้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบเข้าสู่โรงกลั่นที่ราคากิโลกรัมละ 36.28 บาท ซึ่งน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าวนี้ให้นำไปใช้เพื่อการบริโภค และให้โรงกลั่นจำหน่ายลิตรละ 47 บาท และรัฐบาลจะชดเชยให้ลิตรละ 1.79 บาท ในจำนวนเดือนละ 40,000 ตัน (เม.ย.-มิ.ย.) ส่วนน้ำมันที่เหลือจากการบริโภคและอุตสาหกรรมอาหารแล้ว กระทรวงพลังงานจะรับซื้อไปเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล B3 B4 B5 แล้วแต่สถานการณ์ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและสต๊อก โดยจะมีการพิจารณาทุก 15 วัน
5.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหนังสือแจ้งไปยังโรงสกัดและลานเททุกแห่งหลัจาก ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว ให้ปฎิบัติตามและไม่ให้ลานเทไปบิดเบือนคุณภาพ เช่น การนำทะลายปาล์มไปหมักน้ำ หรือแยกลูกร่วง
6.คณะกรรมการฯให้ประกาศกับประชาชนว่า ถ้าพบเห็นว่ามีการกระทำผิดไปจากนี้ให้ร้องเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยจะมีคณะอนุกรรมการไปตรวจสอบ
7.โรงงานที่ไม่ปฎิบัติตามนี้ จะประกาศให้เป็นโรงงานที่ไม่ให้ความร่วมมือและจะดำเนินการตามกฎหมายทุกฉบับที่มี
8.เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เตรียมการ ทางคณะกรรมการฯให้เริ่มต้นมาตรการนี้ในวันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการฯได้มีการหารือในเรื่องของการแก้ปัญหาในเรื่องเงินชดเชยที่รัฐบาลจะจ่ายให้กับโรงกลั่น เพื่อให้สามารถจำหน่ายน้ำมันในราคาลิตรละ 47 บาทได้ ในช่วงเกิดวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลนเมื่อ 2 เดือนก่อน และเมื่อโรงกลั่นทำการผลิตออกมาแล้ว แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ดำเนินการทำเรื่องขอเงินชดเชย จนทางโรงกลั่นต้องออกมาร้องเรียน และหยุดการผลิต เนื่องจากไม่มั่นใจในนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้ลดราคาน้ำมันปาล์มลงมาอีกขวดละ 5 บาทนั้น
อย่างไรก็ตามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติได้ชี้แจงว่า ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งดำเนินการทำเรื่องของอนุมัติและประธานจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติในวงเงิน 146 ล้านบาทเพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยให้กับโรงกลั่นในการประชุม ครม.สัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามทางโรงกลั่น ยังยืนยันว่า การชดเชยราคาในงวดใหม่ที่กำหนดไว้ 1.79 บาทต่อลิตรนั้น ทางโรงกลั่นยังถือว่าเป็นระดับที่ยังขาดทุน แต่ประธานได้ยืนยันให้โรงกลั่นยอมรับตัวเลขนี้ เพราะเชื่อว่าต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงกลั่นไม่เท่ากัน บางโรงอาจจะมีการบริหารที่ดี ก็สามารถลดต้นทุนลงมาได้
ประเด็นที่สำคัญในการหารือครั้งนี้อีกเรื่องหนึ่งคือ กรณีที่ชาวสวนตัดปาล์มที่ยังไม่สุกเต็มที่มาขายลานเท ทำให้มีเปอร์เซนต์น้ำมันปาล์มต่ำกว่า 17 % สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล เพราะทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบจากผลปาล์มสดลดลงไปเป็นจำนวนมาก การประชุมครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องการหามาตรการควบคุมให้โรงสกัดรับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรเฉพาะที่สุกจัดเพื่อให้มีปริมาณเปอร์เซนต์น้ำมัน 17 % ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เนื่องจากยังมีกลุ่มลานเท หรือพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวสวนและโรงสกัดที่ยังมีลูกเล่นในการรับซื้อและขายผลปาล์มดิบแบบไม่สุจริตอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการแช่น้ำหรือทำให้ผลร่วงเพื่อเพิ่มราคา
เป็นที่น่าจับตามองว่าคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่ได้ผลักดันมาตรการในการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันออกมาทั้ง 8 ข้อซึ่งถือเป็นกฎเหล็กในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่นั้นต้องจับตาหน่วยงานที่เกียวข้องว่าจะมีการบังคับใช้กฎเหล็กอย่างจริงจังหรือไม่ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์การทำงานของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นั่งเป็นประธานในการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน
1.ให้คงราคาน้ำมันปาล์มขวดเพื่อการบริโภคไว้ที่ 47 บาทต่อขวดไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
2.ให้โรงสกัดน้ำมันปาล์มรับซื้อเฉพาะผลปาล์มสุกที่มีเปอร์เซนต์น้ำมัน 17 % ขึ้นไปเท่านั้น โดยให้รับซื้อในกิโลกรัมละ 6 บาท ณ ราคาหน้าโรงสกัด
3.ถ้าเปอร์เซนต์น้ำมันสูงเกิน 17 % ให้ซื้อในราคาที่สูงกว่า 6 บาท ตามอัตราเปอร์เซนต์น้ำมัน
4.เมื่อโรงงานสกัดได้ซื้อผลปาล์มที่ 6 บาทแล้ว ให้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบเข้าสู่โรงกลั่นที่ราคากิโลกรัมละ 36.28 บาท ซึ่งน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าวนี้ให้นำไปใช้เพื่อการบริโภค และให้โรงกลั่นจำหน่ายลิตรละ 47 บาท และรัฐบาลจะชดเชยให้ลิตรละ 1.79 บาท ในจำนวนเดือนละ 40,000 ตัน (เม.ย.-มิ.ย.) ส่วนน้ำมันที่เหลือจากการบริโภคและอุตสาหกรรมอาหารแล้ว กระทรวงพลังงานจะรับซื้อไปเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล B3 B4 B5 แล้วแต่สถานการณ์ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตและสต๊อก โดยจะมีการพิจารณาทุก 15 วัน
5.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหนังสือแจ้งไปยังโรงสกัดและลานเททุกแห่งหลัจาก ครม.มีมติเห็นชอบแล้ว ให้ปฎิบัติตามและไม่ให้ลานเทไปบิดเบือนคุณภาพ เช่น การนำทะลายปาล์มไปหมักน้ำ หรือแยกลูกร่วง
6.คณะกรรมการฯให้ประกาศกับประชาชนว่า ถ้าพบเห็นว่ามีการกระทำผิดไปจากนี้ให้ร้องเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยจะมีคณะอนุกรรมการไปตรวจสอบ
7.โรงงานที่ไม่ปฎิบัติตามนี้ จะประกาศให้เป็นโรงงานที่ไม่ให้ความร่วมมือและจะดำเนินการตามกฎหมายทุกฉบับที่มี
8.เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เตรียมการ ทางคณะกรรมการฯให้เริ่มต้นมาตรการนี้ในวันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป
นอกจากนี้ในการประชุมคณะกรรมการฯได้มีการหารือในเรื่องของการแก้ปัญหาในเรื่องเงินชดเชยที่รัฐบาลจะจ่ายให้กับโรงกลั่น เพื่อให้สามารถจำหน่ายน้ำมันในราคาลิตรละ 47 บาทได้ ในช่วงเกิดวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลนเมื่อ 2 เดือนก่อน และเมื่อโรงกลั่นทำการผลิตออกมาแล้ว แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ดำเนินการทำเรื่องขอเงินชดเชย จนทางโรงกลั่นต้องออกมาร้องเรียน และหยุดการผลิต เนื่องจากไม่มั่นใจในนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่จะให้ลดราคาน้ำมันปาล์มลงมาอีกขวดละ 5 บาทนั้น
อย่างไรก็ตามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติได้ชี้แจงว่า ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งดำเนินการทำเรื่องของอนุมัติและประธานจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติในวงเงิน 146 ล้านบาทเพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยให้กับโรงกลั่นในการประชุม ครม.สัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตามทางโรงกลั่น ยังยืนยันว่า การชดเชยราคาในงวดใหม่ที่กำหนดไว้ 1.79 บาทต่อลิตรนั้น ทางโรงกลั่นยังถือว่าเป็นระดับที่ยังขาดทุน แต่ประธานได้ยืนยันให้โรงกลั่นยอมรับตัวเลขนี้ เพราะเชื่อว่าต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงกลั่นไม่เท่ากัน บางโรงอาจจะมีการบริหารที่ดี ก็สามารถลดต้นทุนลงมาได้
ประเด็นที่สำคัญในการหารือครั้งนี้อีกเรื่องหนึ่งคือ กรณีที่ชาวสวนตัดปาล์มที่ยังไม่สุกเต็มที่มาขายลานเท ทำให้มีเปอร์เซนต์น้ำมันปาล์มต่ำกว่า 17 % สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาล เพราะทำให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบจากผลปาล์มสดลดลงไปเป็นจำนวนมาก การประชุมครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องการหามาตรการควบคุมให้โรงสกัดรับซื้อผลปาล์มจากเกษตรกรเฉพาะที่สุกจัดเพื่อให้มีปริมาณเปอร์เซนต์น้ำมัน 17 % ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งทุกฝ่ายยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เนื่องจากยังมีกลุ่มลานเท หรือพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวสวนและโรงสกัดที่ยังมีลูกเล่นในการรับซื้อและขายผลปาล์มดิบแบบไม่สุจริตอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการแช่น้ำหรือทำให้ผลร่วงเพื่อเพิ่มราคา
เป็นที่น่าจับตามองว่าคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติที่ได้ผลักดันมาตรการในการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันออกมาทั้ง 8 ข้อซึ่งถือเป็นกฎเหล็กในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่นั้นต้องจับตาหน่วยงานที่เกียวข้องว่าจะมีการบังคับใช้กฎเหล็กอย่างจริงจังหรือไม่ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์การทำงานของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่นั่งเป็นประธานในการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน