เวลา 79 ปี เป็นเวลาที่นานโขอยู่ ที่เราตกอยู่ภายใต้การบริหารแผ่นดินที่ไม่สอดคล้องต้องตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีการปกครองของไทยที่มีมาแต่โบราณ. เราไปเอาแบบแผนการปกครองของตะวันตกมาใช้ด้วยความเข้าใจเพียงครึ่งๆ กลางๆ ทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติ. ในบางกรณีเราไปคัดลอกวิธีการหรือข้อบังคับของประเทศที่เป็นสาธารณรัฐมาใช้ด้วยซ้ำไป ไม่มีใครได้รำลึกถึงพระราชดำรัสในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ที่ปรากฏในพระบรมราชาธิบาย การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากจตุสดมภ์ไปเป็นสิบสองกระทรวงซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“อนึ่ง พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้มีปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด, ด้วยถือว่าเป็นที่ล้นที่พ้น ไม่มีข้อใดสิ่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้ แต่เมื่อว่าตามความเป็นจริงแล้ว, พระเจ้าแผ่นดินจะทรงประพฤติการอันใดก็ต้องเป็นไปตามทางที่สมควรและที่เป็นยุติธรรม เพราะเหตุฉะนั้นข้าพเจ้าไม่มีความรังเกียจอันใดซึ่งจะมีกฎหมายกำหนดพระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน (รัฐธรรมนูญ) เช่น ประเทศทั้งปวงมีกำหนดต่างๆ กันนั้น เมื่อจะทำกฎหมายสำหรับแผ่นดินให้เป็นหลักฐานทั่วถึง ก็ควรจะว่าด้วยพระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินให้เป็นหลักฐานไว้.
.......และการปกครองบ้านเมือง เช่น ประเทศสยามนี้ อำนาจแห่งพระเจ้าแผ่นดินอื่นๆ คือ ประเทศยุโรปก็จะไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้.......”
นับแต่เรามีกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา จนถึงฉบับล่าสุดที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เราไม่ได้เดินตามรอยพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระอัจฉริยภาพล้ำเลิศนั้นเลย. เรามองข้าม. เราไม่เห็นสัจธรรมของพระราชดำรัสดังกล่าว, แต่เราเอาอย่างลัทธิการปกครองแบบตะวันตก.
เวลาล่วงเลยมา 79 ปีพอดี ที่เราละเลยพระราชดำรัสอันเป็นดวงประทีปซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสียสละให้ทุกอย่าง เพื่อประโยชน์ของทวยราษฎร, โปรดเกล้าพระราชทานไว้ให้. แล้วผลที่เราได้รับเป็นอย่างไร? เราเห็นกันหรือยังว่า บ้านเมืองของเราวุ่นวาย, ไร้ความสงบ, ปราศจากความร่มเย็นเป็นสุขเพียงไร?
คำถามที่มหาชนชาวไทยทุกคนต้องตอบด้วยความจริงใจ และจริงจังว่า เราจะทำอย่างไร? เราจะเอาอย่างไร? เราจะคิดอ่านอย่างไร? เราจะอดทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปอีกหรือ? เราจะทนอยู่ได้นานอีกเท่าไร? เราไม่มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพอที่จะตัดสินใจถอนตัวออกจากสิ่งที่ผิดพลาด แล้วมาตั้งต้นใหม่ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์, พระปิยมหาราช, เช่นนั้นรึ? เพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” ชาวไทยถือว่าเป็นมนต์ดลใจที่ทรงพลัง, ดังเนื้อเพลงตอนหนึ่งว่า “จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง”
บัดนี้ โอกาสทองได้มาถึงแล้วที่จะแปลเพลงพระราชนิพนธ์บทนั้น ออกเป็น ความจริงที่จะต้องแก้ไขในสิ่งที่ผิดและเพื่อให้ประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศทุกคนได้ทราบว่า เหตุใดประเทศของเราซึ่งมั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติประชาชนส่วนใหญ่อันได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา ชาวชนบท จึงยากจนนัก? เหตุใดบ้านเมืองของเราซึ่งนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนพลเมืองจึงเป็นขี้เหล้าเมายามัวเมาในอบายมุขมากขึ้นทุกวัน? เหตุใดจึงกดขี่ข่มเหงทำร้ายซึ่งกันและกัน แผ่นดินหาความร่มเย็นเป็นสุขมิได้? เหตุใดแผ่นดินของเราซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเราจึงกลายเป็นแหล่งแอบแฝงหากินของคนชั่ว นักการเมืองชั่ว
เมื่อได้ทราบแล้ว ก็ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหาอันร้ายแรงนี้ให้ทันแก่เหตุการณ์ก่อนที่จะสายเกินไป.
นั่นคือต้องหยุดประเทศไทย เพื่อปฏิรูปการปกครองประเทศไทยเป็นการปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือ พระมหากษัตริย์และราษฎรร่วมกันปกครองประเทศให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข นั่นคือแบบการปกครองโดยธรรมซึ่งสอดคลองกับจารีตประเพณีและวิถีชีวิตของคนไทย ปัญหาความขัดแย้งก็จะหมดไป ไม่มีบ้านเมืองของเราก็จะสงบสุข ประชาชนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ตามความต้องการของทุกฝ่าย
ตื่นเถิดชาวไทย ตื่นเถิดชาวไทย ตื่นเถิดชาวไทย
“อนึ่ง พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้ ไม่ได้มีปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด, ด้วยถือว่าเป็นที่ล้นที่พ้น ไม่มีข้อใดสิ่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้ แต่เมื่อว่าตามความเป็นจริงแล้ว, พระเจ้าแผ่นดินจะทรงประพฤติการอันใดก็ต้องเป็นไปตามทางที่สมควรและที่เป็นยุติธรรม เพราะเหตุฉะนั้นข้าพเจ้าไม่มีความรังเกียจอันใดซึ่งจะมีกฎหมายกำหนดพระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน (รัฐธรรมนูญ) เช่น ประเทศทั้งปวงมีกำหนดต่างๆ กันนั้น เมื่อจะทำกฎหมายสำหรับแผ่นดินให้เป็นหลักฐานทั่วถึง ก็ควรจะว่าด้วยพระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินให้เป็นหลักฐานไว้.
.......และการปกครองบ้านเมือง เช่น ประเทศสยามนี้ อำนาจแห่งพระเจ้าแผ่นดินอื่นๆ คือ ประเทศยุโรปก็จะไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้.......”
นับแต่เรามีกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ คือ ฉบับลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา จนถึงฉบับล่าสุดที่กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เราไม่ได้เดินตามรอยพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระอัจฉริยภาพล้ำเลิศนั้นเลย. เรามองข้าม. เราไม่เห็นสัจธรรมของพระราชดำรัสดังกล่าว, แต่เราเอาอย่างลัทธิการปกครองแบบตะวันตก.
เวลาล่วงเลยมา 79 ปีพอดี ที่เราละเลยพระราชดำรัสอันเป็นดวงประทีปซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเสียสละให้ทุกอย่าง เพื่อประโยชน์ของทวยราษฎร, โปรดเกล้าพระราชทานไว้ให้. แล้วผลที่เราได้รับเป็นอย่างไร? เราเห็นกันหรือยังว่า บ้านเมืองของเราวุ่นวาย, ไร้ความสงบ, ปราศจากความร่มเย็นเป็นสุขเพียงไร?
คำถามที่มหาชนชาวไทยทุกคนต้องตอบด้วยความจริงใจ และจริงจังว่า เราจะทำอย่างไร? เราจะเอาอย่างไร? เราจะคิดอ่านอย่างไร? เราจะอดทนอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปอีกหรือ? เราจะทนอยู่ได้นานอีกเท่าไร? เราไม่มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพอที่จะตัดสินใจถอนตัวออกจากสิ่งที่ผิดพลาด แล้วมาตั้งต้นใหม่ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์, พระปิยมหาราช, เช่นนั้นรึ? เพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” ชาวไทยถือว่าเป็นมนต์ดลใจที่ทรงพลัง, ดังเนื้อเพลงตอนหนึ่งว่า “จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง”
บัดนี้ โอกาสทองได้มาถึงแล้วที่จะแปลเพลงพระราชนิพนธ์บทนั้น ออกเป็น ความจริงที่จะต้องแก้ไขในสิ่งที่ผิดและเพื่อให้ประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศทุกคนได้ทราบว่า เหตุใดประเทศของเราซึ่งมั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติประชาชนส่วนใหญ่อันได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา ชาวชนบท จึงยากจนนัก? เหตุใดบ้านเมืองของเราซึ่งนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนพลเมืองจึงเป็นขี้เหล้าเมายามัวเมาในอบายมุขมากขึ้นทุกวัน? เหตุใดจึงกดขี่ข่มเหงทำร้ายซึ่งกันและกัน แผ่นดินหาความร่มเย็นเป็นสุขมิได้? เหตุใดแผ่นดินของเราซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเราจึงกลายเป็นแหล่งแอบแฝงหากินของคนชั่ว นักการเมืองชั่ว
เมื่อได้ทราบแล้ว ก็ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหาอันร้ายแรงนี้ให้ทันแก่เหตุการณ์ก่อนที่จะสายเกินไป.
นั่นคือต้องหยุดประเทศไทย เพื่อปฏิรูปการปกครองประเทศไทยเป็นการปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือ พระมหากษัตริย์และราษฎรร่วมกันปกครองประเทศให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข นั่นคือแบบการปกครองโดยธรรมซึ่งสอดคลองกับจารีตประเพณีและวิถีชีวิตของคนไทย ปัญหาความขัดแย้งก็จะหมดไป ไม่มีบ้านเมืองของเราก็จะสงบสุข ประชาชนก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ตามความต้องการของทุกฝ่าย
ตื่นเถิดชาวไทย ตื่นเถิดชาวไทย ตื่นเถิดชาวไทย