ไม่รู้พรรคประชาธิปัตย์กำลังเล่นอะไรอยู่ ?
เป็นเรื่องประหลาดอย่างยิ่งที่อาจารย์เจริญ คันธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับ ส.ส.อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นมากล่าวสรุปในการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 ว่า การพิจารณาวาระนี้เป็นการพิจารณาผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯที่ทำรายงานเข้ามาสองสามหน้ามีสาระสำคัญเป็นข้อสังเกตสี่ห้าข้อ จึงขอเสนอให้รัฐสภาลงมติรับข้อสังเกตดังกล่าว และรับทราบบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ
คือกรรมาธิการฯขอให้แค่ “รับทราบ” ไม่ต้อง “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซี !
คำกล่าวสรุปของประธานกรรมาธิการฯในช่วงค่ำนี้ สอดคล้องใกล้เคียงกับคำอภิปรายในช่วงบ่ายต้น ๆ ของนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล ส.ส.อาวุโสพอสมควรอีกคนของพรรคประชาธิปัตย์ และดูเหมือนหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม วิปรัฐบาลคนสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์อีกคนก็อภิปรายทำนองนี้
พอนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นมาชี้แจงต่อ ท่านกลับบอกว่าไม่เห็นด้วยกับกรรมาธิการฯในประเด็นนี้
นายกฯยังยืนยันขอให้รัฐสภา “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซี !!
วันนี้เป็นวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554 จะมีการประชุมร่วมของรัฐสภาต่อเนื่องจากเมื่อวันศุกร์ ประเด็นสำคัญข้อแรกที่ต้องจับตากันคือจะมีการ “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ ?
ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติก็ตอบปัญหานี้ไม่ยาก !
รัฐบาลเสนอเรื่องนี้เข้ามาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 โดยหนังสือเลขที่ นร 0503/13656 เพื่อ “ขอความเห็นชอบจากรัฐสภา” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 เพราะบันทึกการประชุมดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาประเภทมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตราชอาณาจักรตามมาตรา 190 วรรคสอง และตามนัยคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงจะต้องพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่โดยการลงมติเท่านั้น จะไปรับทราบเฉย ๆ โดยไม่ลงมติไม่ได้
การตั้งกรรมาธิการฯชุดอาจารย์เจริญ คันธวงศ์ในการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นการตั้งกรรมาธิการก่อนการลงมติ ซึ่งโดยปกติสามารถกระทำได้ในกรณีที่เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้ง มีความเห็นต่างกัน และยังไม่โอกาสจะได้ข้อสรุปได้ง่าย ๆ การตั้งกรรมาธิการฯก็เพื่อให้กรรมาธิการได้ไปทำหน้าที่แทนรัฐสภา พิจารณาศึกษาลงลึก หาข้อดี ข้อเสีย แล้วรายงานเข้ามาเสนอต่อรัฐสภาอีกครั้งว่ารัฐสภาควรลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ หรืออาจจะมีข้อเสนออื่น ๆ เป็น “ข้อสังเกต” ประกอบรายงานเข้ามา ซึ่งรัฐสภาก็จะต้องลงมติว่าเห็นชอบกับข้อสังเกตนั้น ๆ หรือไม่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
เฉพาะเรื่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นี้ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อบังคับข้อ 85 ระบุไว้ว่า...
“ข้อ 85 เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องเพื่อรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน
“ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณาก่อนให้ความเห็นชอบ ให้นำความในหมวด 3 กรรมาธิการ มาใช้บังคับกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการโดยอนุโลม”
แต่กรรมาธิการฯชุดนี้ไม่ได้เสนอรัฐสภาว่าควรลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ประการใด
และในเอกสารที่รายงานต่อรัฐสภาก็ไม่ได้รายงายว่าไม่สมควรลงมติ สมควรแค่รับทราบ ด้วยเหตุผลประการใด เป็นแต่เพียงประธานกรรมาธิการเสนอด้วยวาจาในชั้นสรุปเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้มีเหตุผลประกอบแต่ประการใดทั้งสิ้น
นี่คือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ !
ผมเชื่อว่าส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากลงมติให้ความเห็นชอบบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เพราะรู้อยู่ว่าถ้าลงมติให้ความเห็นชอบไปก็จะเป็นการลงมติอย่างโดดเดี่ยว พรรคฝ่ายค้านไม่เอาด้วยแน่ พรรคร่วมรัฐบาลก็ 50 : 50 ความขัดแย้งในสังคมต่อเรื่องนี้ยังมีอยู่ มวลชนในเขตเลือกตั้งของแต่ละคนก็มีจำนวนหนึ่งที่เห็นต่างกับรัฐบาล การเลือกตั้งทั่วไปใกล้จะมาถึงแล้วธรรมชาติของส.ส.ย่อมต้องคำนึงถึงคะแนนเสียงทุกคะแนนเสียง โดยเฉพาะในสถานการณ์โดยรวมที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นต่อมากมายอะไร
ไม่ลงมติได้เลยเป็นการดี เพราะถ้าจะลงมติสวนรัฐบาลหรืองดออกเสียงก็จะมีปัญหากับพรรค
ข้างรัฐบาล - โดยเฉพาะท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - เมื่อแสดงความเห็นเข้ามายังสภาครั้งแล้วครั้งเล่าว่าบันทึกการประชุมเจบีซีเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 จึงไม่มีทางเลือกอื่นในทางเปิดเผยนอกจากเดินหน้าแสดงท่าทีขอให้ลงมติให้ความเห็นชอบต่อไป จะขอถอนออกไปเพราะเกิดมามีความเห็นใหม่ตอนนี้ว่าไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมมาตรา 190 ก็จะยิ่งแสดงความเป็นไม้หลักปักขี้เลนของรัฐบาล และจะเป็นการเสี่ยงต่อการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งกัมพูชาเขาก็รับรู้กระบวนการรัฐสภาไทยแล้ว โดยบอกว่าหากรัฐสภายังไม่ให้ความเห็นชอบบันทึกการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา ก็จะไม่เข้าประชุมเจบีซีที่กำหนดใหม่ไว้ต้นเดือนเมษายน 2554 ที่อินโดนีเซีย
รัฐบาลจึงมีแต่จะต้องเดินหน้าขอให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบ
ผมไม่เห็นทางที่รัฐสภาจะไม่ลงมติได้เลย เพราะเรื่องที่เสนอเข้ามาตามมาตรา 190 จะต้องจบลงด้วยการลงมติ จะให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบก็สุดแท้แต่ จะไปบอกว่าไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ไม่ได้
เพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาที่จะไปตัดสินว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 190
อำนาจหน้าที่ตัดสินนี้เป็นของศาลรัฐธรรมนูญตามนัยมาตรา 190 วรรคหก !
ทางออกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2554 นี้จึงอาจจะไม่ใช่ทั้งลงมติให้ความเห็นชอบ หรือแค่รับทราบ แต่อาจจะเป็นการเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อรอการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญว่าบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสองที่รัฐสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่
จำได้มั้ยว่านายศิริโชค โสภานำทีมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าชื่อกันร้องขอผ่านประธานรัฐสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2553 เพียงแต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุด
โอกาส “ซื้อเวลา” เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าบันทึกการประชุมเจบีซีเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 หรือไม่มีความเป็นไปได้สูง
วันนี้อย่างมากก็แค่ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของกรรมาธิการฯสี่ห้าข้อ
เป็นเรื่องประหลาดอย่างยิ่งที่อาจารย์เจริญ คันธวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) 3 ฉบับ ส.ส.อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นมากล่าวสรุปในการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2554 ว่า การพิจารณาวาระนี้เป็นการพิจารณาผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯที่ทำรายงานเข้ามาสองสามหน้ามีสาระสำคัญเป็นข้อสังเกตสี่ห้าข้อ จึงขอเสนอให้รัฐสภาลงมติรับข้อสังเกตดังกล่าว และรับทราบบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ
คือกรรมาธิการฯขอให้แค่ “รับทราบ” ไม่ต้อง “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซี !
คำกล่าวสรุปของประธานกรรมาธิการฯในช่วงค่ำนี้ สอดคล้องใกล้เคียงกับคำอภิปรายในช่วงบ่ายต้น ๆ ของนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล ส.ส.อาวุโสพอสมควรอีกคนของพรรคประชาธิปัตย์ และดูเหมือนหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม วิปรัฐบาลคนสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์อีกคนก็อภิปรายทำนองนี้
พอนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นมาชี้แจงต่อ ท่านกลับบอกว่าไม่เห็นด้วยกับกรรมาธิการฯในประเด็นนี้
นายกฯยังยืนยันขอให้รัฐสภา “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซี !!
วันนี้เป็นวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2554 จะมีการประชุมร่วมของรัฐสภาต่อเนื่องจากเมื่อวันศุกร์ ประเด็นสำคัญข้อแรกที่ต้องจับตากันคือจะมีการ “(ลงมติ)ให้ความเห็นชอบ” บันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ ?
ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติก็ตอบปัญหานี้ไม่ยาก !
รัฐบาลเสนอเรื่องนี้เข้ามาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 โดยหนังสือเลขที่ นร 0503/13656 เพื่อ “ขอความเห็นชอบจากรัฐสภา” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 เพราะบันทึกการประชุมดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาประเภทมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตราชอาณาจักรตามมาตรา 190 วรรคสอง และตามนัยคำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงจะต้องพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่โดยการลงมติเท่านั้น จะไปรับทราบเฉย ๆ โดยไม่ลงมติไม่ได้
การตั้งกรรมาธิการฯชุดอาจารย์เจริญ คันธวงศ์ในการประชุมร่วมของรัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นการตั้งกรรมาธิการก่อนการลงมติ ซึ่งโดยปกติสามารถกระทำได้ในกรณีที่เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้ง มีความเห็นต่างกัน และยังไม่โอกาสจะได้ข้อสรุปได้ง่าย ๆ การตั้งกรรมาธิการฯก็เพื่อให้กรรมาธิการได้ไปทำหน้าที่แทนรัฐสภา พิจารณาศึกษาลงลึก หาข้อดี ข้อเสีย แล้วรายงานเข้ามาเสนอต่อรัฐสภาอีกครั้งว่ารัฐสภาควรลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ หรืออาจจะมีข้อเสนออื่น ๆ เป็น “ข้อสังเกต” ประกอบรายงานเข้ามา ซึ่งรัฐสภาก็จะต้องลงมติว่าเห็นชอบกับข้อสังเกตนั้น ๆ หรือไม่ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
เฉพาะเรื่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 นี้ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อบังคับข้อ 85 ระบุไว้ว่า...
“ข้อ 85 เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอเรื่องเพื่อรับฟังคำชี้แจงและการให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน
“ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณาก่อนให้ความเห็นชอบ ให้นำความในหมวด 3 กรรมาธิการ มาใช้บังคับกับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการโดยอนุโลม”
แต่กรรมาธิการฯชุดนี้ไม่ได้เสนอรัฐสภาว่าควรลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ประการใด
และในเอกสารที่รายงานต่อรัฐสภาก็ไม่ได้รายงายว่าไม่สมควรลงมติ สมควรแค่รับทราบ ด้วยเหตุผลประการใด เป็นแต่เพียงประธานกรรมาธิการเสนอด้วยวาจาในชั้นสรุปเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้มีเหตุผลประกอบแต่ประการใดทั้งสิ้น
นี่คือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ !
ผมเชื่อว่าส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่อยากลงมติให้ความเห็นชอบบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เพราะรู้อยู่ว่าถ้าลงมติให้ความเห็นชอบไปก็จะเป็นการลงมติอย่างโดดเดี่ยว พรรคฝ่ายค้านไม่เอาด้วยแน่ พรรคร่วมรัฐบาลก็ 50 : 50 ความขัดแย้งในสังคมต่อเรื่องนี้ยังมีอยู่ มวลชนในเขตเลือกตั้งของแต่ละคนก็มีจำนวนหนึ่งที่เห็นต่างกับรัฐบาล การเลือกตั้งทั่วไปใกล้จะมาถึงแล้วธรรมชาติของส.ส.ย่อมต้องคำนึงถึงคะแนนเสียงทุกคะแนนเสียง โดยเฉพาะในสถานการณ์โดยรวมที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นต่อมากมายอะไร
ไม่ลงมติได้เลยเป็นการดี เพราะถ้าจะลงมติสวนรัฐบาลหรืองดออกเสียงก็จะมีปัญหากับพรรค
ข้างรัฐบาล - โดยเฉพาะท่านนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - เมื่อแสดงความเห็นเข้ามายังสภาครั้งแล้วครั้งเล่าว่าบันทึกการประชุมเจบีซีเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 จึงไม่มีทางเลือกอื่นในทางเปิดเผยนอกจากเดินหน้าแสดงท่าทีขอให้ลงมติให้ความเห็นชอบต่อไป จะขอถอนออกไปเพราะเกิดมามีความเห็นใหม่ตอนนี้ว่าไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมมาตรา 190 ก็จะยิ่งแสดงความเป็นไม้หลักปักขี้เลนของรัฐบาล และจะเป็นการเสี่ยงต่อการกระทำขัดรัฐธรรมนูญ
อีกทั้งกัมพูชาเขาก็รับรู้กระบวนการรัฐสภาไทยแล้ว โดยบอกว่าหากรัฐสภายังไม่ให้ความเห็นชอบบันทึกการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา ก็จะไม่เข้าประชุมเจบีซีที่กำหนดใหม่ไว้ต้นเดือนเมษายน 2554 ที่อินโดนีเซีย
รัฐบาลจึงมีแต่จะต้องเดินหน้าขอให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบ
ผมไม่เห็นทางที่รัฐสภาจะไม่ลงมติได้เลย เพราะเรื่องที่เสนอเข้ามาตามมาตรา 190 จะต้องจบลงด้วยการลงมติ จะให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบก็สุดแท้แต่ จะไปบอกว่าไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ไม่ได้
เพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาที่จะไปตัดสินว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่หนังสือสัญญาตามมาตรา 190
อำนาจหน้าที่ตัดสินนี้เป็นของศาลรัฐธรรมนูญตามนัยมาตรา 190 วรรคหก !
ทางออกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 มีนาคม 2554 นี้จึงอาจจะไม่ใช่ทั้งลงมติให้ความเห็นชอบ หรือแค่รับทราบ แต่อาจจะเป็นการเลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อรอการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญว่าบันทึกการประชุมเจบีซีทั้ง 3 ฉบับเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสองที่รัฐสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่
จำได้มั้ยว่านายศิริโชค โสภานำทีมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าชื่อกันร้องขอผ่านประธานรัฐสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2553 เพียงแต่กระบวนการยังไม่สิ้นสุด
โอกาส “ซื้อเวลา” เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อนเพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าบันทึกการประชุมเจบีซีเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 หรือไม่มีความเป็นไปได้สูง
วันนี้อย่างมากก็แค่ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของกรรมาธิการฯสี่ห้าข้อ