ASTVผู้จัดการรายวัน- “แพะสุวรรณภูมิ”ยื่น ป.ป.ช.-โสภณ-ประธานบอร์ด ทอท."สอบพฤติกรรมคนทอท.แฉร่วมมือเอกชนงาบรายได้ค่าจอดรถ สุวรรณภูมิ ร้องขอความเป็นธรรมหลังถูกเลิกจ้าง โยนความผิดด้างทำรายได้หาย “สุพจน์”ยันมีข้อมูลพร้อมตั้งกรรมการสอบ ชี้รายได้ลดลงผิดปกติ แต่กลับเพิ่มขึ้นหลังเป็นข่าว เผยทางแก้ต้องติดระบบอัตโนมัติด้าน”เสรีรัตน์”ระบุกำลังของบลงทุนคาดเสร็จในปีนี้
รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่พนักงานของบริษัท เอ็มดีซีซี ซึ่งเป็นบริษัทที่รับจ้างรูปแบบ Outsource จากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.ดำเนินการจัดเก็บค่าจอดรถบริเวณอาคารและลานจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ยื่นร้องต่อศาลแรงงานจังหวัด สมุทรปราการ ว่าถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2554 พนักงานดังกล่าวได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) , นายธีรพล นพรัมภา ประธานคณะกรรมการ ทอท.และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ตรวจสอบการทุจริตที่จอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานเก็บเงินต้องถูกเลิกจ้าง
ทั้งนี้ในเอกสารร้องเรียนระบุว่า กลุ่มพนักงานดังกล่าวได้เข้าทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินประจำอาคารจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาตั้งแต่ปลายปี 2552 โดยมีนางรัชนีกร ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นผู้ดูแลรับค่าแรงงานจากทอท. จนถึงเดือนก.พ. 2553 จึงหยุดทำงานเนื่องจากทอท.ให้สัมปทานกับบริษัทปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด เข้ามาจัดเก็บเงิน จนกระทั่ววันที่ 30 เม.ย. 2553เกิดเหตุการณ์ชายชุดดำ กลุ่มพนักงานดังกล่าวจึงได้กลับเข้าทำหน้าที่เก็บเงินอีกครั้ง โดยมีนางรัชนีกรเป็นผู้ประสานงานกับทอท.เหมือนเดิม
ต่อมาในเดือนส.ค. 2553 บริษัทปาร์คกิ้งได้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง ทำให้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียนต้องหยุดทำงานอีกครั้ง จนกระทั่งทอท.เลิกสัญญาสัมปทานปาร์คกิ้ง จึงได้กลับเข้าเก็บเงินใหม่ ภายใต้บริษัท เอ็ม ดี ซี ซี จำกัด ซึ่งทอท.ได้จัดจ้างวิธีพิเศษเข้ามาเก็บเงิน โดยพนักงานระบุว่าต้องร้องเรียนขอความเป็นธรรมเนื่องจาก บริษัท เอ็ม ดี ซี ซีเลิกจ้างพนักงานกว่า 10คน ไม่เป็นธรรม เพราะต้องการหาผู้รับผิดกรณีรายได้ค่าจอดรถหายไปวันละหลายแสนบาทในช่วงเดือนก.พ. 2554 ที่ผ่านมา
ซึ่งจากเอกสารร้องเรียน ได้ระบุ ว่ามีพนักงาน ทอท. 5 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตุความไม่ชอบมาพากลในหลายเรื่อง เช่น ทอท.จัดจ้างวิธีพิเศษ บริษัท เอ็ม ดี ซี ซี เข้าเก็บเงินทั้งที่บริษัทไม่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว เพราะงานหลักคือการขายกระดาษกาวและเชื่อว่ามีกระบวนการที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากรายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมิ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว แต่หากมีการร้องเรียนมาตามขั้นตอนก็จะพิจารณาและหากมีข้อมูลที่เข้าข่ายการทุจริตก็จะต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบอย่างแน่นอน ซึ่งจากรายงานของทอท.พบว่า รายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมินั้น มีความผิดปกติ ตั้งแต่เดือนก.พ. 2554 โดยพบว่ารายได้ลดเหลือเพียง 4-5 แสนบาทต่อวันทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวซึ่งรายได้เฉลี่ยเคยอยู่ที่ 8-9 แสนบาทต่อวัน แต่เมื่อตนตั้งข้อสังเกตปรากฎว่าล่าสุดในช่วงเดือนมี.ค.นี้ รายได้กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7-8 แสนบาทต่อวัน
“เรื่องรายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมิมีความผิดปกติจริง เมื่อผมตั้งข้อสังเกตไปก็แปลกที่ไม่นานรายได้ก็กลับเพิ่มขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวจะเร่งรัดทอท.ให้ติดตั้งระบบจัดเก็บอัตโนมัติ”นายสุพจน์กล่าว
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ทอท.อยู่ระหว่างเสนอขอเพิ่มงบลงทุนเพื่อติดตั้งระบบจัดเก็บเงินอัตโนมัติอาคารจอดรถสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสนอบอร์ดทอท.อนุมัติในเดือนเม.ย.จากนั้นจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เพื่อขออนุมัติการลงทุนซึ่งคาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้างและติดตั้งแล้วเสร็จภายในปี 2554
รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่พนักงานของบริษัท เอ็มดีซีซี ซึ่งเป็นบริษัทที่รับจ้างรูปแบบ Outsource จากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.ดำเนินการจัดเก็บค่าจอดรถบริเวณอาคารและลานจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้ยื่นร้องต่อศาลแรงงานจังหวัด สมุทรปราการ ว่าถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2554 พนักงานดังกล่าวได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) , นายธีรพล นพรัมภา ประธานคณะกรรมการ ทอท.และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ตรวจสอบการทุจริตที่จอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานเก็บเงินต้องถูกเลิกจ้าง
ทั้งนี้ในเอกสารร้องเรียนระบุว่า กลุ่มพนักงานดังกล่าวได้เข้าทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินประจำอาคารจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมาตั้งแต่ปลายปี 2552 โดยมีนางรัชนีกร ณ ตะกั่วทุ่ง เป็นผู้ดูแลรับค่าแรงงานจากทอท. จนถึงเดือนก.พ. 2553 จึงหยุดทำงานเนื่องจากทอท.ให้สัมปทานกับบริษัทปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด เข้ามาจัดเก็บเงิน จนกระทั่ววันที่ 30 เม.ย. 2553เกิดเหตุการณ์ชายชุดดำ กลุ่มพนักงานดังกล่าวจึงได้กลับเข้าทำหน้าที่เก็บเงินอีกครั้ง โดยมีนางรัชนีกรเป็นผู้ประสานงานกับทอท.เหมือนเดิม
ต่อมาในเดือนส.ค. 2553 บริษัทปาร์คกิ้งได้กลับเข้าทำงานอีกครั้ง ทำให้กลุ่มพนักงานผู้ร้องเรียนต้องหยุดทำงานอีกครั้ง จนกระทั่งทอท.เลิกสัญญาสัมปทานปาร์คกิ้ง จึงได้กลับเข้าเก็บเงินใหม่ ภายใต้บริษัท เอ็ม ดี ซี ซี จำกัด ซึ่งทอท.ได้จัดจ้างวิธีพิเศษเข้ามาเก็บเงิน โดยพนักงานระบุว่าต้องร้องเรียนขอความเป็นธรรมเนื่องจาก บริษัท เอ็ม ดี ซี ซีเลิกจ้างพนักงานกว่า 10คน ไม่เป็นธรรม เพราะต้องการหาผู้รับผิดกรณีรายได้ค่าจอดรถหายไปวันละหลายแสนบาทในช่วงเดือนก.พ. 2554 ที่ผ่านมา
ซึ่งจากเอกสารร้องเรียน ได้ระบุ ว่ามีพนักงาน ทอท. 5 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตุความไม่ชอบมาพากลในหลายเรื่อง เช่น ทอท.จัดจ้างวิธีพิเศษ บริษัท เอ็ม ดี ซี ซี เข้าเก็บเงินทั้งที่บริษัทไม่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว เพราะงานหลักคือการขายกระดาษกาวและเชื่อว่ามีกระบวนการที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากรายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมิ
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ตนยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าว แต่หากมีการร้องเรียนมาตามขั้นตอนก็จะพิจารณาและหากมีข้อมูลที่เข้าข่ายการทุจริตก็จะต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบอย่างแน่นอน ซึ่งจากรายงานของทอท.พบว่า รายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมินั้น มีความผิดปกติ ตั้งแต่เดือนก.พ. 2554 โดยพบว่ารายได้ลดเหลือเพียง 4-5 แสนบาทต่อวันทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวซึ่งรายได้เฉลี่ยเคยอยู่ที่ 8-9 แสนบาทต่อวัน แต่เมื่อตนตั้งข้อสังเกตปรากฎว่าล่าสุดในช่วงเดือนมี.ค.นี้ รายได้กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7-8 แสนบาทต่อวัน
“เรื่องรายได้ค่าจอดรถสุวรรณภูมิมีความผิดปกติจริง เมื่อผมตั้งข้อสังเกตไปก็แปลกที่ไม่นานรายได้ก็กลับเพิ่มขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวจะเร่งรัดทอท.ให้ติดตั้งระบบจัดเก็บอัตโนมัติ”นายสุพจน์กล่าว
ด้านนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า ทอท.อยู่ระหว่างเสนอขอเพิ่มงบลงทุนเพื่อติดตั้งระบบจัดเก็บเงินอัตโนมัติอาคารจอดรถสุวรรณภูมิ วงเงินประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสนอบอร์ดทอท.อนุมัติในเดือนเม.ย.จากนั้นจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เพื่อขออนุมัติการลงทุนซึ่งคาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้างและติดตั้งแล้วเสร็จภายในปี 2554