ในทันทีที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศว่าจะมีการยุบสภาเดือนพฤษภาคม และจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ แกนนำจากสองพรรคการเมือง คือ พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาได้นัดกินข้าว และประชุมปรึกษาหารือกัน ประกาศเป็นพันธมิตรทางการเมืองภายใต้จุดยืนทางการเมืองร่วมกัน 3 ประการดังต่อไปนี้
1. มุ่งมั่นทำงานการเมืองเพื่อเป้าหมายทางการเมืองสำคัญ 2 ประการ คือ
1.1 ปกป้องสถาบันสูงสุดของชาติ
1.2 สร้างความปรองดองให้แก่คนในชาติ
2. นับจากนี้เป็นต้นไปจะดำเนินการทางการเมืองร่วมกัน มีจุดยืนเดียวกัน
3. หลังจากการเลือกตั้งไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทั้งสองพรรคจะตัดสินใจทางการเมืองร่วมกัน
จากจุดยืน 3 ประการ อันถือได้ว่าเป็นพันธกิจที่ทั้งสองพรรคร่วมกันกำหนดขึ้น ทำให้มองเห็นรูปร่างของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งได้ชัดเจนว่า ถ้าเป็นรัฐบาลผสมไม่ว่าพรรคแกนนำจะเป็นพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องมีพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามาร่วมรัฐบาลค่อนข้างแน่นอน เว้นไว้แต่จะมีเงื่อนไขทางการเมืองดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และเป็นตัวแปรในการจัดตั้งรัฐบาลคือ
1. มีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น และมีแนวนโยบาย รวมถึงบุคลากรทางการเมืองมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวมไปถึงคุณธรรม เป็นหลักประกันได้ว่าจะเข้ามารับใช้ประชาชนชาวไทย และได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับแรกหรือเป็นอันดับสองรองจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากที่จะรวมกับพรรคใหญ่แล้วเป็นรัฐบาลผสมเพียงสองพรรคได้ปิดโอกาสมิให้สองพรรคนี้ได้เสียงข้างมาก
2. พรรคใหญ่สองพรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยได้เสียงรวมกันแล้วสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยไม่ต้องพึ่งเสียงจากพรรคขนาดกลาง และพรรคขนาดเล็ก และทั้งสองพากันลืมความขัดแย้งทางการเมืองหันมาจับมือกันโดยอ้างความปรองดองบังหน้า และซ่อนเจตนาในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันเอาไว้ พรรคการเมืองขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จับมือเก้อได้
แต่ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าดูจากพฤติกรรมทางการเมืองทั้งในแง่ปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมองค์กรเท่าที่ผ่านมา และกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ แต่นั่นมิได้หมายความว่าทั้งสองพรรคนี้จะจับมือกันไม่ได้ หากผลประโยชน์ลงตัว เพราะจะต้องไม่ลืมว่า ธรรมชาติของนักการเมืองแล้ว ไม่เคยมีมิตรและไม่เคยมีศัตรูถาวร จะมีเพียงอย่างเดียวที่มั่นคงถาวร คือ ผลประโยชน์ลงตัวทั้งสองฝ่ายยอมได้ นักการเมืองก็พร้อมที่จะลืมอดีต และพอใจกับปัจจุบัน ดังที่เคยเกิดมาแล้วระหว่างนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำคนสำคัญของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน และนายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อครั้งที่แตกคอกัน และได้มีการพูดถึงกันด้วยถ้อยคำรุนแรงมาแล้ว แต่เมื่อจำเป็นต้องแสวงหาประโยชน์ร่วมกันก็หันมาจับมือกัน หรือแม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์กับอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยในอดีต ได้มีการอภิปรายพาดพิงถึงความเป็นมาในอดีตชนิดร่ายยาวถึงชื่อแซ่มาแล้ว สุดท้ายก็จับมือกันเป็นรัฐบาลได้ในเวลาต่อมา
ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองด้วยกันไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยปฏิเสธการเป็นรัฐบาลร่วมกัน
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวมาแล้ว การจับมือเป็นพันธมิตรทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา มิได้เป็นหลักประกันว่าจะเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ในทางการเมืองได้เสมอไป
แต่อย่างไรก็ตาม การที่แกนนำทั้งสองพรรคออกมาประกาศจุดยืนในลักษณะนี้ ได้บ่งบอกถึงเจตนาทางการเมืองของนักการเมืองกลุ่มนี้อย่างชัดเจนในประเด็นดังต่อไปนี้
1. มุ่งเน้นการเข้ามามีอำนาจรัฐ และใช้อำนาจที่ว่าแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพรรคพวกก่อนที่จะปกป้อง และแสวงหาประโยชน์ให้แก่ประเทศโดยรวม
2. พยายามหนีบทของการเป็นนักการเมืองฝ่ายค้านให้มากที่สุด และพฤติกรรมเฉกเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนถ้าดูความเป็นมาของนักการเมืองกลุ่มนี้ จึงพูดได้ว่าการเข้ามาเป็นนักการเมืองในทำนองนี้ คือการเข้ามาเพื่อทำธุรกิจการเมืองมากกว่าที่จะเข้ามาทำการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชนตามเจตนารมณ์ และหลักการแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ถ้าการคาดการณ์และความคิดเห็นดังกล่าวถูกต้อง ผู้เขียนเชื่อว่าการเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ก็ไม่มีอะไรใหม่ทั้งในแง่ตัวบุคคล และระบบการเมือง จะมีความแตกต่างบ้างก็เพียงว่าจะมีบุคลากรใหม่ๆ ที่ผู้คนในสังคมเห็นแล้วพอมีความหวังเพิ่มขึ้นในจำนวนมากที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์กรทางการเมืองในทิศทางที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยเป็นการถ่วงดุลมิให้ระบบการเมืองโดยรวมถูกนักการเมืองในระบบเก่าครอบงำ และกลืนกินคุณภาพและคุณธรรมของนักการเมืองดีๆ ที่พอมีอยู่บ้างให้น้อยลง ก็พอจะทำให้ประชาชนมีความคาดหวังได้ว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าการเมืองไทยจะค่อยๆ ดีขึ้น
แต่เผอิญโชคร้าย ไม่มีนักการเมืองใหม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแต่น้อยเมื่อเทียบกับการเมืองเก่าก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น เข้าทำนองน้ำสะอาดน้อย เมื่อมาผสมกับน้ำสกปรกมาก คุณภาพของน้ำก็เป็นน้ำเน่าเช่นเดิม
1. มุ่งมั่นทำงานการเมืองเพื่อเป้าหมายทางการเมืองสำคัญ 2 ประการ คือ
1.1 ปกป้องสถาบันสูงสุดของชาติ
1.2 สร้างความปรองดองให้แก่คนในชาติ
2. นับจากนี้เป็นต้นไปจะดำเนินการทางการเมืองร่วมกัน มีจุดยืนเดียวกัน
3. หลังจากการเลือกตั้งไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทั้งสองพรรคจะตัดสินใจทางการเมืองร่วมกัน
จากจุดยืน 3 ประการ อันถือได้ว่าเป็นพันธกิจที่ทั้งสองพรรคร่วมกันกำหนดขึ้น ทำให้มองเห็นรูปร่างของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งได้ชัดเจนว่า ถ้าเป็นรัฐบาลผสมไม่ว่าพรรคแกนนำจะเป็นพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องมีพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเข้ามาร่วมรัฐบาลค่อนข้างแน่นอน เว้นไว้แต่จะมีเงื่อนไขทางการเมืองดังต่อไปนี้เกิดขึ้น และเป็นตัวแปรในการจัดตั้งรัฐบาลคือ
1. มีพรรคการเมืองใหม่เกิดขึ้น และมีแนวนโยบาย รวมถึงบุคลากรทางการเมืองมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวมไปถึงคุณธรรม เป็นหลักประกันได้ว่าจะเข้ามารับใช้ประชาชนชาวไทย และได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับแรกหรือเป็นอันดับสองรองจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากที่จะรวมกับพรรคใหญ่แล้วเป็นรัฐบาลผสมเพียงสองพรรคได้ปิดโอกาสมิให้สองพรรคนี้ได้เสียงข้างมาก
2. พรรคใหญ่สองพรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทยได้เสียงรวมกันแล้วสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยไม่ต้องพึ่งเสียงจากพรรคขนาดกลาง และพรรคขนาดเล็ก และทั้งสองพากันลืมความขัดแย้งทางการเมืองหันมาจับมือกันโดยอ้างความปรองดองบังหน้า และซ่อนเจตนาในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันเอาไว้ พรรคการเมืองขนาดเล็ก และขนาดกลาง เช่น พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จับมือเก้อได้
แต่ในกรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้ยาก ถ้าดูจากพฤติกรรมทางการเมืองทั้งในแง่ปัจเจกบุคคล และพฤติกรรมองค์กรเท่าที่ผ่านมา และกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ แต่นั่นมิได้หมายความว่าทั้งสองพรรคนี้จะจับมือกันไม่ได้ หากผลประโยชน์ลงตัว เพราะจะต้องไม่ลืมว่า ธรรมชาติของนักการเมืองแล้ว ไม่เคยมีมิตรและไม่เคยมีศัตรูถาวร จะมีเพียงอย่างเดียวที่มั่นคงถาวร คือ ผลประโยชน์ลงตัวทั้งสองฝ่ายยอมได้ นักการเมืองก็พร้อมที่จะลืมอดีต และพอใจกับปัจจุบัน ดังที่เคยเกิดมาแล้วระหว่างนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำคนสำคัญของ ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน และนายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อครั้งที่แตกคอกัน และได้มีการพูดถึงกันด้วยถ้อยคำรุนแรงมาแล้ว แต่เมื่อจำเป็นต้องแสวงหาประโยชน์ร่วมกันก็หันมาจับมือกัน หรือแม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์กับอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทยในอดีต ได้มีการอภิปรายพาดพิงถึงความเป็นมาในอดีตชนิดร่ายยาวถึงชื่อแซ่มาแล้ว สุดท้ายก็จับมือกันเป็นรัฐบาลได้ในเวลาต่อมา
ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองด้วยกันไม่ควรนำมาเป็นปัจจัยปฏิเสธการเป็นรัฐบาลร่วมกัน
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวมาแล้ว การจับมือเป็นพันธมิตรทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา มิได้เป็นหลักประกันว่าจะเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ในทางการเมืองได้เสมอไป
แต่อย่างไรก็ตาม การที่แกนนำทั้งสองพรรคออกมาประกาศจุดยืนในลักษณะนี้ ได้บ่งบอกถึงเจตนาทางการเมืองของนักการเมืองกลุ่มนี้อย่างชัดเจนในประเด็นดังต่อไปนี้
1. มุ่งเน้นการเข้ามามีอำนาจรัฐ และใช้อำนาจที่ว่าแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพรรคพวกก่อนที่จะปกป้อง และแสวงหาประโยชน์ให้แก่ประเทศโดยรวม
2. พยายามหนีบทของการเป็นนักการเมืองฝ่ายค้านให้มากที่สุด และพฤติกรรมเฉกเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนถ้าดูความเป็นมาของนักการเมืองกลุ่มนี้ จึงพูดได้ว่าการเข้ามาเป็นนักการเมืองในทำนองนี้ คือการเข้ามาเพื่อทำธุรกิจการเมืองมากกว่าที่จะเข้ามาทำการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชนตามเจตนารมณ์ และหลักการแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ถ้าการคาดการณ์และความคิดเห็นดังกล่าวถูกต้อง ผู้เขียนเชื่อว่าการเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ก็ไม่มีอะไรใหม่ทั้งในแง่ตัวบุคคล และระบบการเมือง จะมีความแตกต่างบ้างก็เพียงว่าจะมีบุคลากรใหม่ๆ ที่ผู้คนในสังคมเห็นแล้วพอมีความหวังเพิ่มขึ้นในจำนวนมากที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์กรทางการเมืองในทิศทางที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยเป็นการถ่วงดุลมิให้ระบบการเมืองโดยรวมถูกนักการเมืองในระบบเก่าครอบงำ และกลืนกินคุณภาพและคุณธรรมของนักการเมืองดีๆ ที่พอมีอยู่บ้างให้น้อยลง ก็พอจะทำให้ประชาชนมีความคาดหวังได้ว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าการเมืองไทยจะค่อยๆ ดีขึ้น
แต่เผอิญโชคร้าย ไม่มีนักการเมืองใหม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแต่น้อยเมื่อเทียบกับการเมืองเก่าก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น เข้าทำนองน้ำสะอาดน้อย เมื่อมาผสมกับน้ำสกปรกมาก คุณภาพของน้ำก็เป็นน้ำเน่าเช่นเดิม