ASTVผู้จัดการาายวัน - “ดุสิตโพล” ชี้ประชาชนหน่าย “ซักฟอกปาหี่” กี่ครั้งก็เหมือนเดิม ขณะที่ “กรุงเทพโพล” เผยคนยี้ “เทือก-เจ๊วา-ปู่จิ้น”
วานนี้ (20 มี.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2554 ในหัวข้อ “การเมืองไทย” หลังฝ่ายค้านยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม โดยประเด็นในการอภิปรายส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของเศรษฐกิจ ราคาสินค้า การทุจริตโครงการต่างๆ และการสลายการชุมนุมของรัฐบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทยหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สรุปผลได้ดังนี้
หัวข้อ “จุดเด่น” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา ปชช. 37.98% ระบุว่า ได้รับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆมากขึ้น เช่น ราคาสินค้า การทุจริต ฯลฯ ตามมาด้วย 23.51% ระบุ เปิดโอกาสให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้อภิปรายเรื่องต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ ปิดท้ายด้วย 20.44% บอกเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล /กระตุ้นให้รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 18.07%
สำหรับ “จุดบอด” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา อันดับ 1 หรือ 39.69% คือการควบคุมอารมณ์ /กริยามารยาท การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ /เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน ตามมาด้วยการถาม-ตอบ ไม่ตรงประเด็น /มุ่งเอาชนะกันมากเกินไป 28.02% และข้อมูลบางเรื่องที่นำมาอภิปรายเป็นเรื่องเดิม ทำให้ไม่น่าสนใจ 18.62%
ส่วนที่ว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมาทำให้สภาพการเมืองไทยเป็นอย่างไร? ประชาชน63.71% บอกเหมือนเดิม เพราะ ถึงแม้จะมีการอภิปรายเกิดขึ้นแต่นักการเมืองก็ยังคงยึดติดกับความคิด แนวคิดแบบเดิมๆอยู่ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ,การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ฯลฯ ส่วนที่บอกแย่ลง 29.84% เพราะ จากผลโหวตที่รัฐบาลได้รับอาจเป็นประเด็นทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา , พฤติกรรมของนักการเมืองยังคงเหมือนเดิม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าทำเพื่อประเทศชาติ ฯลฯ แต่มีเพียง 6.45% เท่านั้นที่บอกว่า ดีขึ้น เพราะ การอภิปรายชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องและสิ่งที่ควรแก้ไข รัฐบาลสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงในการทำงานได้ ฯลฯ
ทั้งนี้ ปชช. 56.84% บอกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพราะ ได้รู้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมและความสามารถของนักการเมืองแต่ละคน ฯลฯ ขณะที่ 43.16% ระบุ ไม่มีผลเพราะ มีนักการเมืองหรือพรรคที่ชื่นชอบอยู่แล้ว , รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเมืองไทย ไม่อยากจะเลือกใครเลย ฯลฯ
ปิดท้ายด้วยผลสำรวจ ประชาชนมอง “การเมืองไทย” หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นอย่างไร? อันดับ 1 หรือ 54.29% ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยกกันเหมือนเดิม /ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ตามด้วย 21.56% พรรคการเมืองแต่ละพรรคต่างเตรียมการที่จะเลือกตั้งใหม่ / ลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน และ 14.60% รัฐบาลก็คงจะประคับประคองและทำงานต่อไปให้ครบวาระ นอกจากนี้ ยังคงพบเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงออกมาเรียกร้องในเรื่องต่างๆเหมือนเดิม 9.55%
ด้านกรุงเทพโพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ อภิสิทธิ์ และรมต. 9 คน" จากความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ทุกภาคภาคทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน ดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 18 -19 มีนาคม 2554 พบว่า
หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ให้ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประชาชนเกือบครึ่ง คือ 49.8% ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ประชาชน 19.7% เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และอีก 30.5% ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย
ส่วนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 คนที่ถูกอภิปรายนั้น พบว่านายกรัฐมนตรี ได้คะแนนการไม่ไว้วางใจ 57.2% ส่วนรัฐมนตรี 3 อันดับแรกที่ได้รับการไม่ไว้วางใจสูงสุด คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับการไม่ไว้วางใจ 70.9% รองลงมา นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้รับการไม่ไว้วางใจ 70.3% อันดับสาม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ได้รับการไม่ไว้วางใจ 69.6%
ทั้งนี้ หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุด อันดับแรก เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.53 (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) 29.9% รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด 27.4% และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น 8.1%
วานนี้ (20 มี.ค.) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2554 ในหัวข้อ “การเมืองไทย” หลังฝ่ายค้านยื่นญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม โดยประเด็นในการอภิปรายส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของเศรษฐกิจ ราคาสินค้า การทุจริตโครงการต่างๆ และการสลายการชุมนุมของรัฐบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นและมุมมองของประชาชนที่มีต่อการเมืองไทยหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สรุปผลได้ดังนี้
หัวข้อ “จุดเด่น” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา ปชช. 37.98% ระบุว่า ได้รับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆมากขึ้น เช่น ราคาสินค้า การทุจริต ฯลฯ ตามมาด้วย 23.51% ระบุ เปิดโอกาสให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้อภิปรายเรื่องต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญ ปิดท้ายด้วย 20.44% บอกเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล /กระตุ้นให้รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 18.07%
สำหรับ “จุดบอด” ของ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมา อันดับ 1 หรือ 39.69% คือการควบคุมอารมณ์ /กริยามารยาท การใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ /เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชน ตามมาด้วยการถาม-ตอบ ไม่ตรงประเด็น /มุ่งเอาชนะกันมากเกินไป 28.02% และข้อมูลบางเรื่องที่นำมาอภิปรายเป็นเรื่องเดิม ทำให้ไม่น่าสนใจ 18.62%
ส่วนที่ว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ ที่ผ่านมาทำให้สภาพการเมืองไทยเป็นอย่างไร? ประชาชน63.71% บอกเหมือนเดิม เพราะ ถึงแม้จะมีการอภิปรายเกิดขึ้นแต่นักการเมืองก็ยังคงยึดติดกับความคิด แนวคิดแบบเดิมๆอยู่ ยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ,การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ฯลฯ ส่วนที่บอกแย่ลง 29.84% เพราะ จากผลโหวตที่รัฐบาลได้รับอาจเป็นประเด็นทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา , พฤติกรรมของนักการเมืองยังคงเหมือนเดิม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าทำเพื่อประเทศชาติ ฯลฯ แต่มีเพียง 6.45% เท่านั้นที่บอกว่า ดีขึ้น เพราะ การอภิปรายชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องและสิ่งที่ควรแก้ไข รัฐบาลสามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงในการทำงานได้ ฯลฯ
ทั้งนี้ ปชช. 56.84% บอกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฯ มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพราะ ได้รู้ข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ได้เห็นพฤติกรรมและความสามารถของนักการเมืองแต่ละคน ฯลฯ ขณะที่ 43.16% ระบุ ไม่มีผลเพราะ มีนักการเมืองหรือพรรคที่ชื่นชอบอยู่แล้ว , รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเมืองไทย ไม่อยากจะเลือกใครเลย ฯลฯ
ปิดท้ายด้วยผลสำรวจ ประชาชนมอง “การเมืองไทย” หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นอย่างไร? อันดับ 1 หรือ 54.29% ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แตกแยกกันเหมือนเดิม /ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้ ตามด้วย 21.56% พรรคการเมืองแต่ละพรรคต่างเตรียมการที่จะเลือกตั้งใหม่ / ลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชน และ 14.60% รัฐบาลก็คงจะประคับประคองและทำงานต่อไปให้ครบวาระ นอกจากนี้ ยังคงพบเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงออกมาเรียกร้องในเรื่องต่างๆเหมือนเดิม 9.55%
ด้านกรุงเทพโพลล์ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ อภิสิทธิ์ และรมต. 9 คน" จากความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ทุกภาคภาคทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน ดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 18 -19 มีนาคม 2554 พบว่า
หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ให้ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ประชาชนเกือบครึ่ง คือ 49.8% ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ประชาชน 19.7% เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และอีก 30.5% ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย
ส่วนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 คนที่ถูกอภิปรายนั้น พบว่านายกรัฐมนตรี ได้คะแนนการไม่ไว้วางใจ 57.2% ส่วนรัฐมนตรี 3 อันดับแรกที่ได้รับการไม่ไว้วางใจสูงสุด คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับการไม่ไว้วางใจ 70.9% รองลงมา นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ได้รับการไม่ไว้วางใจ 70.3% อันดับสาม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ได้รับการไม่ไว้วางใจ 69.6%
ทั้งนี้ หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุด อันดับแรก เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.53 (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) 29.9% รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด 27.4% และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น 8.1%