ไม่เคยหวังไว้แต่ก็อดผิดหวังเล็กน้อยไม่ได้!
หมายถึงแม้ไม่เคยคิดว่าปัญหาความขัดแย้งด้านเขตแดนไทย-กัมพูชา ทั้งในกรณี 4.6 ตารางกิโลเมตร และกรณี 7 คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับบนแผ่นดินไทยหรืออย่างน้อยก็บนแผ่นดินที่การจัดทำหลักเขตแดนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ จะได้รับการนำเข้าไปอภิปรายอย่างจริงจังในสภาผู้แทนราษฎรในญัตติสำคัญที่ตอบโต้กัน 4 วัน แต่ก็ไม่เคยคิดว่ามันจะเงียบเหมือนเป่าสากเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ และไม่เคยคิดแม้แต่น้อยว่าการพูดถึงเกือบจะครั้งเดียวของ ส.ส.หญิงคนหนึ่งที่เป็นกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ด้วยจะสำคัญผิดในสาระสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อขนาดนั้น มีอย่างที่ไหน มวลชนจำนวนหนึ่งยืนหยัดชุมนุมปักหลักพักค้างกลางถนนสายสำคัญมากว่า 50 วันเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณรายรอบปราสาทพระวิหารที่เป็นของไทยมากว่า 100 ปีตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 2 ฉบับในปี ค.ศ. 1904 และ 1907 จะมีปัญหาก็เฉพาะบริเวณตัวปราสาทพระวิหารจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1962 แต่ ส.ส.หญิงคนนั้นกลับบอกว่า มวลชนจำนวนนี้หลงเชื่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีจนเตลิดเปิดเปิงไปเรียกร้องดินแดนที่ไม่เคยเป็นของไทยมาก่อน
คิดไม่ถึงคาดไม่ถูกจริงๆ ที่เนื้อหาอันสำคัญผิดในสาระสำคัญทุกด้านอย่างนี้จะได้รับการนำไปอภิปรายในสภาที่สมาชิกมักต่อสร้อยท้ายด้วยความภาคภูมิว่า “...อันทรงเกียรติ” หรือ “..อันศักดิ์สิทธิ์” แห่งนี้ที่กำลังจะสร้างกันใหม่ด้วยงบประมาณหลักหมื่นล้านบาท
นักการเมืองที่เชื่อมั่นในระบบรัฐสภามักจะพูดว่ามีปัญหาขัดแย้งอะไรให้นำเข้ามาพูดกันในสภาอย่าไปเคลื่อนไหวข้างนอก
แต่เรื่องสำคัญขนาด “เสียอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติ” คนในสภาเกือบ 500 คนไม่มีใครใส่ใจอย่างจริงจังที่จะใช้เวทีสภาพูดถึงเลย!
แล้วจะไม่เกิดคำถามต่อระบบรัฐสภาได้อย่างไร?
จริงๆ แล้ววันนี้ประเทศไทยต้องการการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง จะเรียกว่าการปฏิรูปใหญ่ก็ได้ เพราะถ้าไปเรียกว่าการปฏิวัติเดี๋ยวจะสับสนกับการรัฐประหารแบบเดิมๆ ที่ประเทศนี้เคยพบเคยเห็นมาในช่วงหลังๆ
ประเทศไทยมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับปฏิวัติมาครั้งหนึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 อาจจะถือตลอดรัชสมัยของพระองค์ หรือจะถือปีปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2435 ก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างชนิดเกือบจะรอบด้าน จากนั้นก็มีการรัฐประหารของข้าราชการทหารพลเรือนที่มีลักษณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่จากนั้นเพียงไม่ถึง 1 ปีก็เกิดการรัฐประหารเงียบ แล้วก็รัฐประหารกลับ และเกิดการต่อสู้กันในหมู่คณะที่ก่อการมาด้วยกันจนเกิดการรัฐประหารครั้งสำคัญในปี 2490 ประชาธิปไตยที่ได้มาจึงมีเพียงรูปแบบ ทั้งครึ่งๆ กลางๆ และลุ่มๆ ดอนๆ ต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2500 ก็เกิดการรัฐประหารพลิกประเทศกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารเสียเกือบ 20 ปี การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงกลับมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ยั่งยืน
สภาพทางเศรษฐกิจประเทศไทยก้าวไปไกลบนหนทางทุนนิยมเสรี แต่สภาพทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยยังพิกลพิการ
ลักษณะขัดแย้งกันเช่นนี้คือบ่อเกิดแห่งความรุนแรงที่คุกรุ่นมาโดยตลอด
หลังการนองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 เราพูดกันมากถึงการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ ผลที่ได้ล่าช้าและเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิม การปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ยังไม่เกิดจนทุกวันนี้ และรัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ก็ถูกนายทุนที่มั่งคั่งที่สุดคนหนึ่งของประเทศที่เข้ามาแสวงอำนาจทางการเมืองปู้ยี่ปู้ยำบิดเบือนจนตายไปก่อนที่จะถูกฉีกในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
หลังการนองเลือดและเผาบ้านเผาเมืองช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เราจะพูดอะไรได้มากกว่าเดิมว่าประเทศต้องการการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับการปฏิวัติ แต่ความเป็นจริงที่เราเห็นมันยากจะเกิดขึ้นโดยรัฐบาลในระบอบที่เป็นอยู่
ก็ขนาดกรรมการปฏิรูปชุดคุณอานันท์ ปันยารชุนเองยังออกปากว่าหลังยุบสภากรรมการปฏิรูปชุดท่านก็จะลาออกยกชุด
สภาชุดนี้มีอายุเกือบ 4 ปี แต่งานที่เป็นสาระสำคัญประการหนึ่งยังไม่ลุล่วง
มาตรา 302 รัฐธรรมนูญ 2550 เร่งรัดให้มีการจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันรวม 4 ฉบับให้เสร็จภายใน 1 ปี แต่จนบัดนี้ผ่านไปกว่า 3 ปีแล้วเพิ่งเสร็จไปฉบับเดียว คือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินที่จะให้กำเนิดระบบ “ศาลบัญชี” มีอันแท้งไปดังที่ทราบกันดีอยู่ คือสภาผู้แทนกัดลิ้นตัวเอง ลงมติไม่รับร่างของตัวเองที่ในชั้นวุฒิสภาไม่ได้แก้ไขแม้แต่ตัวเดียว เพียงแต่เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาผู้แทนก็เปลี่ยนแปลง ลงมติคว่ำร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาตัวเอง ด้วยข้ออ้างว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไปไม่ถึงไหน ค้างอยู่ในสภาผู้แทนมา 2 ปีแล้วกระมัง เพราะเกิดปัญหาว่ามติที่สภาผู้แทนคว่ำลงไปนั้นมีคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งตามมาตรา 302 วรรคห้า จึงจะต้องกลับไปเป็นตามร่างเดิมที่ศาลฎีกาเสนอมา แต่ก็ปรากฏว่าสภาผู้แทนราษฎรไม่เสนอขึ้นมายังวุฒิสภา และก็ไม่ได้ดิ้นรนที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งหวังยกเครื่อง ป.ป.ช.ครั้งใหญ่ แก้ไขมาก โดยหวังว่าจะทำให้ป.ป.ช.ทำงานได้เร็วขึ้น ไม่มีคดีคั่งค้างเป็นพันเป็นหมื่น ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านมาถึงวุฒิสภา วุฒิสภาแก้ไขไปพอสมควรและได้ส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ผ่านไปอีกกว่า 10 เดือนแล้วจึงถึงคิวที่สภาผู้แทนหยิบยกขึ้นมาพิจารณา แม้จะผ่านไปแต่ก็ไปติดที่ชั้นศาลรัฐธรรมนูญส่งกลับมาให้แก้ไขมาตราหนึ่ง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทันกาลก่อนยุบสภาหรือไม่
การที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองชะงัก ทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 ใหม่ว่าด้วย “ผู้ไต่สวนอิสระ” ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 ที่ประยุกต์มาจากระบบอัยการอิสระ หรือ Independent Counsel ของสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฏเป็นจริงเสียที
ซึ่งถ้าวันนี้กลไกระบบ “ผู้ไต่สวนอิสระ” เดินหน้าได้ กรณีการกล่าวหาว่ารัฐบาลละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ/หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้ราชอาณาจักรไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติ น่าจะเข้าสู่กลไกนี้เป็นที่สุด
เมื่อกลไกระบบ “ผู้ไต่สวนอิสระ” ยังไม่เกิด ก็ต้องอาศัยกลไก “ ป.ป.ช.” เดิมที่มีเรื่องค้างมหาศาล
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ในมาตรา 302 รวม 4 ฉบับ รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือหัวใจในการต่อต้านการคอร์รัปชัน คือหัวใจในการควบคุมกำกับและลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เมื่อมามอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา ไม่ได้ทำให้เสร็จไปพร้อมกับการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยผู้ร่างก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองปัจจุบัน ผลมันก็เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ
จะพูดว่า “บังเอิญ” ก็ได้
หรือจะพูดว่า “บังเอิญอย่างร้ายกาจ” ก็ไม่น่าจะผิด!
หมายถึงแม้ไม่เคยคิดว่าปัญหาความขัดแย้งด้านเขตแดนไทย-กัมพูชา ทั้งในกรณี 4.6 ตารางกิโลเมตร และกรณี 7 คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับบนแผ่นดินไทยหรืออย่างน้อยก็บนแผ่นดินที่การจัดทำหลักเขตแดนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ จะได้รับการนำเข้าไปอภิปรายอย่างจริงจังในสภาผู้แทนราษฎรในญัตติสำคัญที่ตอบโต้กัน 4 วัน แต่ก็ไม่เคยคิดว่ามันจะเงียบเหมือนเป่าสากเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ และไม่เคยคิดแม้แต่น้อยว่าการพูดถึงเกือบจะครั้งเดียวของ ส.ส.หญิงคนหนึ่งที่เป็นกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ด้วยจะสำคัญผิดในสาระสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อขนาดนั้น มีอย่างที่ไหน มวลชนจำนวนหนึ่งยืนหยัดชุมนุมปักหลักพักค้างกลางถนนสายสำคัญมากว่า 50 วันเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณรายรอบปราสาทพระวิหารที่เป็นของไทยมากว่า 100 ปีตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 2 ฉบับในปี ค.ศ. 1904 และ 1907 จะมีปัญหาก็เฉพาะบริเวณตัวปราสาทพระวิหารจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1962 แต่ ส.ส.หญิงคนนั้นกลับบอกว่า มวลชนจำนวนนี้หลงเชื่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีจนเตลิดเปิดเปิงไปเรียกร้องดินแดนที่ไม่เคยเป็นของไทยมาก่อน
คิดไม่ถึงคาดไม่ถูกจริงๆ ที่เนื้อหาอันสำคัญผิดในสาระสำคัญทุกด้านอย่างนี้จะได้รับการนำไปอภิปรายในสภาที่สมาชิกมักต่อสร้อยท้ายด้วยความภาคภูมิว่า “...อันทรงเกียรติ” หรือ “..อันศักดิ์สิทธิ์” แห่งนี้ที่กำลังจะสร้างกันใหม่ด้วยงบประมาณหลักหมื่นล้านบาท
นักการเมืองที่เชื่อมั่นในระบบรัฐสภามักจะพูดว่ามีปัญหาขัดแย้งอะไรให้นำเข้ามาพูดกันในสภาอย่าไปเคลื่อนไหวข้างนอก
แต่เรื่องสำคัญขนาด “เสียอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติ” คนในสภาเกือบ 500 คนไม่มีใครใส่ใจอย่างจริงจังที่จะใช้เวทีสภาพูดถึงเลย!
แล้วจะไม่เกิดคำถามต่อระบบรัฐสภาได้อย่างไร?
จริงๆ แล้ววันนี้ประเทศไทยต้องการการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง จะเรียกว่าการปฏิรูปใหญ่ก็ได้ เพราะถ้าไปเรียกว่าการปฏิวัติเดี๋ยวจะสับสนกับการรัฐประหารแบบเดิมๆ ที่ประเทศนี้เคยพบเคยเห็นมาในช่วงหลังๆ
ประเทศไทยมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับปฏิวัติมาครั้งหนึ่งในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 อาจจะถือตลอดรัชสมัยของพระองค์ หรือจะถือปีปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ในปี 2435 ก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างชนิดเกือบจะรอบด้าน จากนั้นก็มีการรัฐประหารของข้าราชการทหารพลเรือนที่มีลักษณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แต่จากนั้นเพียงไม่ถึง 1 ปีก็เกิดการรัฐประหารเงียบ แล้วก็รัฐประหารกลับ และเกิดการต่อสู้กันในหมู่คณะที่ก่อการมาด้วยกันจนเกิดการรัฐประหารครั้งสำคัญในปี 2490 ประชาธิปไตยที่ได้มาจึงมีเพียงรูปแบบ ทั้งครึ่งๆ กลางๆ และลุ่มๆ ดอนๆ ต่อเนื่องกันมาจนถึงปี 2500 ก็เกิดการรัฐประหารพลิกประเทศกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการทหารเสียเกือบ 20 ปี การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงกลับมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ยั่งยืน
สภาพทางเศรษฐกิจประเทศไทยก้าวไปไกลบนหนทางทุนนิยมเสรี แต่สภาพทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยยังพิกลพิการ
ลักษณะขัดแย้งกันเช่นนี้คือบ่อเกิดแห่งความรุนแรงที่คุกรุ่นมาโดยตลอด
หลังการนองเลือดเดือนพฤษภาคม 2535 เราพูดกันมากถึงการปฏิรูปการเมือง และการปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ ผลที่ได้ล่าช้าและเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์เดิม การปฏิรูปสื่อวิทยุโทรทัศน์ยังไม่เกิดจนทุกวันนี้ และรัฐธรรมนูญ 2540 แม้จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ก็ถูกนายทุนที่มั่งคั่งที่สุดคนหนึ่งของประเทศที่เข้ามาแสวงอำนาจทางการเมืองปู้ยี่ปู้ยำบิดเบือนจนตายไปก่อนที่จะถูกฉีกในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ต่ำกว่า 2 ปี
หลังการนองเลือดและเผาบ้านเผาเมืองช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เราจะพูดอะไรได้มากกว่าเดิมว่าประเทศต้องการการปฏิรูปครั้งใหญ่ในระดับการปฏิวัติ แต่ความเป็นจริงที่เราเห็นมันยากจะเกิดขึ้นโดยรัฐบาลในระบอบที่เป็นอยู่
ก็ขนาดกรรมการปฏิรูปชุดคุณอานันท์ ปันยารชุนเองยังออกปากว่าหลังยุบสภากรรมการปฏิรูปชุดท่านก็จะลาออกยกชุด
สภาชุดนี้มีอายุเกือบ 4 ปี แต่งานที่เป็นสาระสำคัญประการหนึ่งยังไม่ลุล่วง
มาตรา 302 รัฐธรรมนูญ 2550 เร่งรัดให้มีการจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันรวม 4 ฉบับให้เสร็จภายใน 1 ปี แต่จนบัดนี้ผ่านไปกว่า 3 ปีแล้วเพิ่งเสร็จไปฉบับเดียว คือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินที่จะให้กำเนิดระบบ “ศาลบัญชี” มีอันแท้งไปดังที่ทราบกันดีอยู่ คือสภาผู้แทนกัดลิ้นตัวเอง ลงมติไม่รับร่างของตัวเองที่ในชั้นวุฒิสภาไม่ได้แก้ไขแม้แต่ตัวเดียว เพียงแต่เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปสภาผู้แทนก็เปลี่ยนแปลง ลงมติคว่ำร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาตัวเอง ด้วยข้ออ้างว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไปไม่ถึงไหน ค้างอยู่ในสภาผู้แทนมา 2 ปีแล้วกระมัง เพราะเกิดปัญหาว่ามติที่สภาผู้แทนคว่ำลงไปนั้นมีคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งตามมาตรา 302 วรรคห้า จึงจะต้องกลับไปเป็นตามร่างเดิมที่ศาลฎีกาเสนอมา แต่ก็ปรากฏว่าสภาผู้แทนราษฎรไม่เสนอขึ้นมายังวุฒิสภา และก็ไม่ได้ดิ้นรนที่จะทำอย่างหนึ่งอย่างใด
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งหวังยกเครื่อง ป.ป.ช.ครั้งใหญ่ แก้ไขมาก โดยหวังว่าจะทำให้ป.ป.ช.ทำงานได้เร็วขึ้น ไม่มีคดีคั่งค้างเป็นพันเป็นหมื่น ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านมาถึงวุฒิสภา วุฒิสภาแก้ไขไปพอสมควรและได้ส่งกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ผ่านไปอีกกว่า 10 เดือนแล้วจึงถึงคิวที่สภาผู้แทนหยิบยกขึ้นมาพิจารณา แม้จะผ่านไปแต่ก็ไปติดที่ชั้นศาลรัฐธรรมนูญส่งกลับมาให้แก้ไขมาตราหนึ่ง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทันกาลก่อนยุบสภาหรือไม่
การที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองชะงัก ทำให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 ใหม่ว่าด้วย “ผู้ไต่สวนอิสระ” ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 275 ที่ประยุกต์มาจากระบบอัยการอิสระ หรือ Independent Counsel ของสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฏเป็นจริงเสียที
ซึ่งถ้าวันนี้กลไกระบบ “ผู้ไต่สวนอิสระ” เดินหน้าได้ กรณีการกล่าวหาว่ารัฐบาลละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ/หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้ราชอาณาจักรไทยสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติ น่าจะเข้าสู่กลไกนี้เป็นที่สุด
เมื่อกลไกระบบ “ผู้ไต่สวนอิสระ” ยังไม่เกิด ก็ต้องอาศัยกลไก “ ป.ป.ช.” เดิมที่มีเรื่องค้างมหาศาล
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ในมาตรา 302 รวม 4 ฉบับ รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือหัวใจในการต่อต้านการคอร์รัปชัน คือหัวใจในการควบคุมกำกับและลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่เมื่อมามอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา ไม่ได้ทำให้เสร็จไปพร้อมกับการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอย่างน้อยผู้ร่างก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองปัจจุบัน ผลมันก็เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ
จะพูดว่า “บังเอิญ” ก็ได้
หรือจะพูดว่า “บังเอิญอย่างร้ายกาจ” ก็ไม่น่าจะผิด!