ASTVผู้จัดการรายวัน- กระทรวงอุตสาหกรรมเกาะติดผลกระทบอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเหตุสต็อกชิ้นส่วนที่นำเข้าฯใช้ได้แค่ 1 เดือน สั่งทุกส่วนหามาตรการรองรับด่วน ขณะที่สถาบันยานยนต์เผยต้องรอความชัดเจนจากญี่ปุ่นจึงจะสรุปว่าต้องลดเป้าการผลิตปีนี้ที่ตั้งไว้ 2 ล้านคันหรือไม่
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเป็นประธานร่วมพิธีลงนามความร่วมมือโครงการ Clean&Green Technology ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 50 ราย วานนี้(16มี.ค.) ว่าจากการหารือกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานถึงกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นได้ส่งผลต่อการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์บางประเภทมาประกอบในไทยขณะที่สต็อกชิ้นส่วนฯจะมีรองรับประมาณ 2 สัปดาห์-1 เดือนในการรองรับการผลิตเท่านั้นดังนั้นระยะสั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องติดตามผลกระทบที่ชัดเจนจากญี่ปุ่นและหามาตรการรองรับไว้
“ยอมรับว่าหากโรงงานที่ญี่ปุ่นมีปัญหานานอาจกระทบต่อกระบวนการผลิตรถยนต์บางรุ่นในไทยได้ซึ่งคงจะต้องมาดูว่าหากมีปัญหาจริงแล้วเราจะส่งเสริมผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยเพิ่มกำลังผลิตรองรับแทนได้หรือไม่ด้วย”นายพุทธิพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตามรมว.อุตสาหกรรมได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ไปรวบรวมผลกระทบเบื้องต้นเพื่อหามาตรการรองรับและรวมถึงมาตรการที่จะส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนฯมาในไทยเพิ่มขึ้นรวมถึงผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยที่อาจต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยในระยะยาวเพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สมบูรณ์แบบ
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่น ปิดทำการถึงวันอาทิตย์นี้และคาดว่าท้ายสุดโรงงานในญี่ปุ่นคงจะต้องลดการผลิตลงบ้าง อย่างไรก็ตามผลกระทบกับไทยนั้นจะมีบางชิ้นส่วนที่ไทยต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นแต่จะมากน้อยเพียงใดต้องติดตามผลกระทบให้ชัดเจนก่อนเพราะสต็อกส่วนใหญ่เฉลี่ยจะมีใช้ประมาณ 1 เดือน หากมีความชัดเจนจากญี่ปุ่นแล้วไทยคงจะต้องมาประเมินว่าจะต้องปรับแผนลดเป้าหมายการผลิตที่ปีนี้ตั้งเป้าไว้ 2 ล้านคันหรือไม่
“ตอนนี้สิ่งที่ต้องติดตามสำคัญคือนิวเคลียร์ และโรงงานเหล็กเพราะทั้งสองอย่างที่ญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจะมีผลต่อการผลิตในญี่ปุ่นด้วยเลยยังประเมินยากว่าโรงงานผลิตยานยนต์และชิ้นสว่นในญี่ปุ่นจะเสียหายระดับใดแน่และจะต้องหยุดผลิตนานเพียงใด ”นายวัลลภกล่าว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบถึงความเสียหายที่แท้จริงซึ่งญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยประชาชนก่อน ขณะนี้ผู้ผลิตในไทยยังคงมีสต็อกชิ้นส่วนรองรับได้ 1 เดือนเมื่อเกิดปัญหาการผลิตจากเดิมที่ต้องทำ 2 กะและบางช่วงที่เร่งจะต้องทำล่วงเวลา(โอที)บางแห่งก็งดทำโอที
“เราเองก็ไม่รู้ว่าญี่ปุ่นจะหยุดผลิตไปนานเพียงใดแน่ดังนั้นไทยท้ายสุดจะถึงขั้นต้องหยุดผลิตบางไลน์หรือเปล่าก็ยังตอบไม่ได้จริงๆ “ นายสุรพงษ์กล่าว
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเหล็กที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวญี่ปุ่นจะไม่กระทบไทยเพราะส่วนใหญ่จะผลิตป้อนใช้ในญี่ปุ่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกเมื่อซบเซาก็จะกระทบอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกตามไปด้วยดังนั้นก็จะกระทบต่อความต้องการใช้เหล็กของโลกลดตามแต่คงจะไม่มากนัก
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการเป็นประธานร่วมพิธีลงนามความร่วมมือโครงการ Clean&Green Technology ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 50 ราย วานนี้(16มี.ค.) ว่าจากการหารือกับผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับรายงานถึงกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นได้ส่งผลต่อการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์บางประเภทมาประกอบในไทยขณะที่สต็อกชิ้นส่วนฯจะมีรองรับประมาณ 2 สัปดาห์-1 เดือนในการรองรับการผลิตเท่านั้นดังนั้นระยะสั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องติดตามผลกระทบที่ชัดเจนจากญี่ปุ่นและหามาตรการรองรับไว้
“ยอมรับว่าหากโรงงานที่ญี่ปุ่นมีปัญหานานอาจกระทบต่อกระบวนการผลิตรถยนต์บางรุ่นในไทยได้ซึ่งคงจะต้องมาดูว่าหากมีปัญหาจริงแล้วเราจะส่งเสริมผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยเพิ่มกำลังผลิตรองรับแทนได้หรือไม่ด้วย”นายพุทธิพงษ์กล่าว
อย่างไรก็ตามรมว.อุตสาหกรรมได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ไปรวบรวมผลกระทบเบื้องต้นเพื่อหามาตรการรองรับและรวมถึงมาตรการที่จะส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนฯมาในไทยเพิ่มขึ้นรวมถึงผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยที่อาจต้องมีการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยในระยะยาวเพื่อที่จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สมบูรณ์แบบ
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่น ปิดทำการถึงวันอาทิตย์นี้และคาดว่าท้ายสุดโรงงานในญี่ปุ่นคงจะต้องลดการผลิตลงบ้าง อย่างไรก็ตามผลกระทบกับไทยนั้นจะมีบางชิ้นส่วนที่ไทยต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นแต่จะมากน้อยเพียงใดต้องติดตามผลกระทบให้ชัดเจนก่อนเพราะสต็อกส่วนใหญ่เฉลี่ยจะมีใช้ประมาณ 1 เดือน หากมีความชัดเจนจากญี่ปุ่นแล้วไทยคงจะต้องมาประเมินว่าจะต้องปรับแผนลดเป้าหมายการผลิตที่ปีนี้ตั้งเป้าไว้ 2 ล้านคันหรือไม่
“ตอนนี้สิ่งที่ต้องติดตามสำคัญคือนิวเคลียร์ และโรงงานเหล็กเพราะทั้งสองอย่างที่ญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจะมีผลต่อการผลิตในญี่ปุ่นด้วยเลยยังประเมินยากว่าโรงงานผลิตยานยนต์และชิ้นสว่นในญี่ปุ่นจะเสียหายระดับใดแน่และจะต้องหยุดผลิตนานเพียงใด ”นายวัลลภกล่าว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบถึงความเสียหายที่แท้จริงซึ่งญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการดูแลความปลอดภัยประชาชนก่อน ขณะนี้ผู้ผลิตในไทยยังคงมีสต็อกชิ้นส่วนรองรับได้ 1 เดือนเมื่อเกิดปัญหาการผลิตจากเดิมที่ต้องทำ 2 กะและบางช่วงที่เร่งจะต้องทำล่วงเวลา(โอที)บางแห่งก็งดทำโอที
“เราเองก็ไม่รู้ว่าญี่ปุ่นจะหยุดผลิตไปนานเพียงใดแน่ดังนั้นไทยท้ายสุดจะถึงขั้นต้องหยุดผลิตบางไลน์หรือเปล่าก็ยังตอบไม่ได้จริงๆ “ นายสุรพงษ์กล่าว
นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเหล็กที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวญี่ปุ่นจะไม่กระทบไทยเพราะส่วนใหญ่จะผลิตป้อนใช้ในญี่ปุ่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่นใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกเมื่อซบเซาก็จะกระทบอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกตามไปด้วยดังนั้นก็จะกระทบต่อความต้องการใช้เหล็กของโลกลดตามแต่คงจะไม่มากนัก