xs
xsm
sm
md
lg

commodity corner: " ข้าว " คอมมูดิตี้ที่ถูกลืม ภาค 3

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สัปดาห์ที่แล้ว เราได้พูดคุยกันถึงการวิเคราะห์แนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกโดยพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานด้านอุปสงค์ (ความต้องการซื้อ) ไปแล้ว สัปดาห์นี้จึงถึงคราวของการวิเคราะห์แนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกโดยพิจารณาจากปัจจัยด้านอุปทาน (ความต้องการขาย) กันต่อ โดยสรุปปัจจัยที่มีผลต่อราคาข้าวโลกได้ ดังตารางนี้

ที่มา : หนังสือ " ซื้อขายข้าวล่วงหน้าใน AFET " โดยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

ปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญในการกำหนดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ 1) สภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ถือเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดปริมาณผลผลิตทางการเกษตร โดยปัจจุบัน โลกของเรากำลังเผชิญกับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร 2) ปริมาณพื้นที่เพาะปลูกซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด กำลังถูกคุกคามจากการขยายตัวของสังคมเมือง นอกจากนี้ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงอาจทำลายพื้นที่เพาะปลูกให้ลดน้อยลงได้ 3) นโยบายจากภาครัฐของประเทศผู้ผลิต/ส่งออกหลัก อาทิ นโยบายส่งเสริมการผลิต/การส่งออก นโยบายการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงนโยบายแทรกแซงตลาดเพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร 4) การปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าว เช่น ในช่วงหน้าแล้งอาจมีการปลูกพืชอายุสั้น (ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วลิสง) ซึ่งใช้น้ำน้อยกว่า แทนการปลูกข้าวนาปรัง 5) การใช้พืชอาหารทดแทนพลังงาน เช่น การนำพืชอาหาร อย่างมันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดมาผลิตเป็นเอทานอล เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันที่นับวันจะมีปริมาณลดน้อยถอยลง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พืชอาหาร รวมทั้งข้าวมีราคาแพงขึ้น 6) ราคาน้ำมัน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับราคาปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์จากปิโตเลียม ดังนั้น  หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แล้วราคาปุ๋ยเคมีจะมีแนวโน้มขึ้นตาม เกษตรกรจึงหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น ก็มีแนวโน้มที่ราคาปุ๋ยอินทรีย์จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นย่อมกระทบต่อการตัดสินใจในการเพาะปลูก รวมทั้งปริมาณผลผลิต

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ราคาข้าว รวมทั้งสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ ล้วนผูกโยงกับหลากหลายปัจจัย และมีหลายตัวแปรที่อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การคาดการณ์แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรจึงต้องอาศัยการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด
กำลังโหลดความคิดเห็น