อุบลราชธานี- องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ลุยแก้ปัญหาภัยแล้ง เน้นโครงการรวมน้ำหน้าฝน นำไปกระจายเพาะปลูกหน้าแล้ง ทำมา 4 ปี แก้ปัญหาพื้นที่แล้งซ้ำซากแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนพื้นที่ที่ไปช่วยครั้งนี้ ฤดูน้ำหลากพืชผลถูกน้ำท่วม หน้าแล้งก็ขาดน้ำ
ที่บ้านคำไฮ หมู่ที่ 4 ต.ธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมเจ้าหน้าที่ช่างกล อบจ.นำเครื่องสูบน้ำขนาด 10 นิ้ว ติดตั้งสูบน้ำจากแม่น้ำชีขึ้นมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวจากการทำนาปรังของชาวบ้านคำไฮ หมู่ที่ 4 และบ้านดินดำ หมู่ที่ 3 ต.ธาตุ ซึ่งกำลังขาดน้ำและต้นข้าวกว่า 1,800 ไร่ ของพื้นที่เพาะปลูกทั้ง 2 หมู่บ้าน กำลังจะเสียหาย หากไม่ได้น้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงลำต้น
นายประดิษฐ์ บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้านคำไฮ กล่าวว่า พื้นที่ 2 หมู่บ้าน มีลักษณะเป็นที่ลุ่ม การเพาะปลูกพืชผลในฤดูน้ำหลาก ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมติดต่อกันมาหลายปี ชาวบ้านจึงเลี่ยงมาเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง แต่ก็ได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำกว่า 40% ของพื้นที่ จึงขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำมาช่วยส่งน้ำเข้าพื้นที่ใช้เพาะปลูก พร้อมคาดว่าฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ ชาวบ้านจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็ม 100% ในเดือนพฤษภาคมนี้
ด้าน นายพรชัย นายก อบจ.กล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีกว่า 5 ล้านไร่ และใช้ทำนาปรัง รวมทั้งปลูกพืชโตเร็วในฤดูแล้งราว 10% ของพื้นที่ ขณะนี้จังหวัดเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ทำให้พื้นที่ใช้เพาะปลูกได้รับความเสียหาย เพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของผลผลิต อบจ.ได้ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่มีอยู่กว่า 20 เครื่อง กระจายไปตามแหล่งน้ำ เพื่อสูบน้ำสนับสนุนไม่ให้พืชผลของเกษตรกรเสียหายเป็นวงกว้างครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอแล้ว
สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่จังหวัดต้องประสบทุกปี อบจ.มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่มีปัญหาทุกพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรวางระบบการจัดสรรแบ่งปันน้ำที่ใช้เพาะปลูกกันเอง โดย อบจ.จะเป็นผู้เข้าไปสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้รวมน้ำและกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งโครงการนี้ อบจ.ได้ทำมาเป็นปีที่ 4 ทำให้พื้นที่แล้งซ้ำซากที่ อบจ.เข้าไปช่วยเหลือได้รับการแก้ไขแล้ว สำหรับพื้นที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการช่วยเหลือต่อไป
ที่บ้านคำไฮ หมู่ที่ 4 ต.ธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมเจ้าหน้าที่ช่างกล อบจ.นำเครื่องสูบน้ำขนาด 10 นิ้ว ติดตั้งสูบน้ำจากแม่น้ำชีขึ้นมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวจากการทำนาปรังของชาวบ้านคำไฮ หมู่ที่ 4 และบ้านดินดำ หมู่ที่ 3 ต.ธาตุ ซึ่งกำลังขาดน้ำและต้นข้าวกว่า 1,800 ไร่ ของพื้นที่เพาะปลูกทั้ง 2 หมู่บ้าน กำลังจะเสียหาย หากไม่ได้น้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงลำต้น
นายประดิษฐ์ บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้านคำไฮ กล่าวว่า พื้นที่ 2 หมู่บ้าน มีลักษณะเป็นที่ลุ่ม การเพาะปลูกพืชผลในฤดูน้ำหลาก ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมติดต่อกันมาหลายปี ชาวบ้านจึงเลี่ยงมาเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง แต่ก็ได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำกว่า 40% ของพื้นที่ จึงขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำมาช่วยส่งน้ำเข้าพื้นที่ใช้เพาะปลูก พร้อมคาดว่าฤดูกาลเพาะปลูกปีนี้ ชาวบ้านจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เต็ม 100% ในเดือนพฤษภาคมนี้
ด้าน นายพรชัย นายก อบจ.กล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีกว่า 5 ล้านไร่ และใช้ทำนาปรัง รวมทั้งปลูกพืชโตเร็วในฤดูแล้งราว 10% ของพื้นที่ ขณะนี้จังหวัดเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอ ทำให้พื้นที่ใช้เพาะปลูกได้รับความเสียหาย เพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของผลผลิต อบจ.ได้ระดมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่มีอยู่กว่า 20 เครื่อง กระจายไปตามแหล่งน้ำ เพื่อสูบน้ำสนับสนุนไม่ให้พืชผลของเกษตรกรเสียหายเป็นวงกว้างครอบคลุมทั้ง 25 อำเภอแล้ว
สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากที่จังหวัดต้องประสบทุกปี อบจ.มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่มีปัญหาทุกพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรวางระบบการจัดสรรแบ่งปันน้ำที่ใช้เพาะปลูกกันเอง โดย อบจ.จะเป็นผู้เข้าไปสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้รวมน้ำและกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งโครงการนี้ อบจ.ได้ทำมาเป็นปีที่ 4 ทำให้พื้นที่แล้งซ้ำซากที่ อบจ.เข้าไปช่วยเหลือได้รับการแก้ไขแล้ว สำหรับพื้นที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการช่วยเหลือต่อไป