ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"เร่งช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่น พร้อมสั่งเช็กสินค้านำเข้าอยู่ในพื้นที่นิวเคลียร์หรือไม่ ด้านส.ส.ไทยใจมด ไม่ยอมบริจาค 3 พันช่วยญี่ปุ่น บัวแก้วเพิ่งตื่นบินดูแลคนไทยวันนี้ สธ.ตั้งคณะทำงานดูแลผลกระทบ ยันพร้อมส่งไอโอดีนเม็ดช่วยเหลือทันทีที่ญี่ปุ่นร้องขอ "พาณิชย์"ประสานเอกชนส่งสินค้าจำเป็นช่วย คาดแผ่นดินไหวทำส่งออกร่วงตาม การบินไทยเปิดบินตามปกติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ เป็นเรื่องของการเข้าไปช่วยเหลือ ทั้งคนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งจะต้องให้การช่วยเหลือกรณีที่คนไทยมีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้มีระบบการประสานงานอยู่แล้ว มีศูนย์ที่จะเข้ามาช่วยดูแลอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ การตื่นตัวในเรื่องของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ยอมรับว่าใช่ ซึ่งทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ต้องทำตามคำแนะนำของทางการญี่ปุ่น ขณะที่ไทยก็พยายามที่จะเอาคนไทยออกมา ส่วนความจำเป็นในการตรวจสอบเรือสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นให้เข้มข้นขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องดูว่าพื้นที่นั้นมีแหล่งผลิตอะไรบ้าง และต้องรอผลของการตรวจสอบเรื่องสารกัมมันตภาพรังสีก่อนว่าไปไกลแค่ไหน
สำหรับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ คงมีผลกระทบแรงพอสมควร แต่ต้องประเมินอีกระยะหนึ่ง เพราะสถานการณ์ยังไม่นิ่ง ประเด็นในเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะยังไม่รู้ว่าจะยุติอย่างไร โดยเบื้องต้นคิดว่าญี่ปุ่นจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู และใช้เงินค่อนข้างมาก แต่เห็นว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อโครงการของไทยที่ใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น
**เสนอส.ส.บริจาคคนละ3 พันช่วยญี่ปุ่น
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) ช่วงก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมให้ ส.ส.บริจาคคนละ 3,000 บาท เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่นโดยตรง ผ่านประธานรัฐสภา โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุตนได้ทำหนังสือแสดงความเสียใจไปทางรัฐบาลทันที โดยไม่นิ่งนอนใจ ส่วนการเสนอให้รับบริจาคจากส.ส.นั้น ตนคงทำไม่ได้ เพราะเห็นใจทุกคน เพราะใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่ถ้าใครจะเสียสละช่วยเหลือก็ให้ดำเนินการมา ตนจะประสานช่วยเหลือไปให้ทางญี่ปุ่นต่อไป ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอให้หักเงิน 3,000 บาท เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่น
**บัวแก้วเพิ่งตื่นเดินทางไปดูแลคนไทย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า วันนี้ (16 มี.ค.) จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และดูแลคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ และเมื่อเดินทางไปถึงจะนำสิ่งของไปที่วัดปากน้ำ ใกล้สนามบินนาริตะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือคนไทย เพราะขณะนี้ หลายพื้นที่จุดเสี่ยง อาทิ เมืองเซนได จ.มิยางิ กรุงโตเกียว และบางพื้นที่ใกล้ จ.ฟูกิชิม่า ตกอยู่ในสภาพขาดแคลนอาหาร และอากาศค่อนข้างหนาว จึงเห็นว่า เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม และเครื่องนุ่งห่มที่สร้างความอบอุ่นเป็นสิ่งจำเป็นมากในตอนนี้
**สธ.ตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังผลกระทบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าคณะทำงานทั้งในส่วนของการทำหน้าที่เฝ้าระวังอุบัติภัยหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย มีหน้าที่ติดตามประเมิน สถานการณ์ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติจากญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด และออกมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที รวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตอบข้อสงสัยประชาชนทางหมายเลข 0 2590-1993-4
ส่วนเรื่องของอาหารที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ได้มีการหารือกันแล้ว โดยจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบในเรื่องของคุณภาพ และอาจดูในเรื่องของเกณฑ์กัมมันตรังสีด้วยว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดูว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น มาจากแหล่งผลิตที่ขณะนี้มีปัญหาในเรื่องของกัมมันตภาพรังสี แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการดำเนินการเพื่อเป็นการซ้ำเติมญี่ปุ่น แต่เป็นการปฏิบัติตามภารกิจ
**พร้อมส่งไอโอดีนเม็ดช่วย
นายจุรินทร์กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ญี่ปุ่นมีความต้องการไอโอดีน เพื่อกินป้องกันผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี ได้ให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศของไทย หากญี่ปุ่นต้องการให้ช่วยผลิตไอโอดีนเม็ดส่งไปช่วย กระทรวงสาธารณสุขก็ยินดี ทั้งนี้ ได้สั่งการให้องค์การเภสัชกรรมสำรองไอโอดีนเม็ดไว้จำนวนหนึ่งแล้ว หากได้รับการประสานผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะส่งไปให้ทันที
**วาง2แนทางรับมือปัญหา
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือการรักษาพยาบาลทั้งสุขภาพกายและจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น ขณะนี้สธ. ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ รวมทั้งความพร้อมของประเทศญี่ปุ่นที่จะเปิดให้ทีมแพทย์จากต่างประเทศเข้าไปช่วย ซึ่งในเบื้องต้นได้เตรียมทีมแพทย์ไว้ 21 ทีม ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมเดินทางภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังได้รับการประสาน
ส่วน 2 คือ มาตรการเตรียมรับมือการรั่วไหลสารกัมมันตภาพรังสี จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะระเบิด แม้ว่าขณะนี้รายงานจะยังไม่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยก็ตาม แต่จะต้องวางมาตรการให้พร้อมไว้ เพื่อดูแลความปลอดภัยประชาชนไทยให้เกิดความมั่นใจ โดยได้วางแผนดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1.มาตรการเฝ้าระวังผลกระทบซึ่งจะดำเนินการในคน อาหาร และสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ และอากาศ 2.การสื่อสารความเสี่ยงให้กับประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันผลกระทบ ซึ่งจะมี 3 กลุ่ม ได้แก่ คนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น คนไทยที่เดินทางกลับจากญี่ปุ่น และคนไทยที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ที่อาจมีความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก จากการได้รับข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ และ3.การเตรียมความพร้อมในด้านการดูแลรักษาผู้ได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
**“ไทยล้านนา” ศูนย์การติดต่อในมิยากิ
นางจิราภรณ์ เกษรสุจริต รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ร้านอาหารไทยล้านนาที่เมืองเซนได จะเป็นศูนย์กลางติดต่อกันและให้การช่วยเหลือแก่คนไทย และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแรงงานไทยและคนไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น หากต้องการติดต่อขอความช่วยเหลือหรือแจ้งข่าว ติดต่อศูนย์ให้การช่วยเหลือและบริการสอบถามข้อมูล ณ สถานเอกอัครราชทูต ตลอด 24 ชั่วโมง โทร 090-4435-7812 หรือ 03-6272-5021-2
***ประสานเอกชนบริจาคสินค้าช่วย
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวภายหลังเรียกผู้ส่งออกทุกกลุ่มอุตสาหกรรมหารือผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อการส่งออกไทยว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปแนวทางให้ความช่วยเหลือ 2 แนวทาง คือ กรณีที่สินค้าส่งถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว แต่ไม่สามารถส่งต่อไปยังลูกค้า และเก็บสต๊อกไว้ไม่ได้ เพราะเป็นอาหารแช่เย็นที่ต้องรักษาอุณหภูมิ เนื่องจากมีการตัดกระแสไฟฟ้าภายในญี่ปุ่น ทางภาคเอกชนจะบริจาคสต๊อกสินค้าดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิภายในญี่ปุ่นก่อน เมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะส่งสินค้าชดเชยไปให้ผู้นำเข้าญี่ปุ่นต่อไป
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ได้ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่น เพื่อช่วยเหลือในการจัดส่งสินค้าที่ญี่ปุ่นต้องการ เบื้องต้นมี 5 รายการ คือ อาหารพร้อมรับประทาน ผ้าห่ม ไฟฉาย น้ำดื่มและถุงนอน ซึ่งภาคเอกชนจากสมาคมต่างๆ จะเป็นผู้บริจาค โดยส่วนนี้ ได้ขอให้เอกชนบริจาคสินค้าที่ติดฉลากมีภาษาญี่ปุ่นหรือังกฤษให้ชาวญี่ปุ่น เนื่องจากหากติดเป็นภาษาอื่นอาจไม่มั่นใจและไม่กล้านำไปใช้งาน
***แผ่นดินไหวกระทบส่งออกไปญี่ปุ่น
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น คาดว่าจะสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นลดลง 0.5-1% จากเดิมคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.6%.ในปี 2554 และมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นลดลง 7.2% เป็นการลดลงจากส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 8.3% และสินค้าเกษตร 2.9% คิดเป็นมูลค่ารวม 735-1,470 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3-0.7% ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย จากเดิมคาดว่าไทยจะส่งออกไปญี่ปุ่น 22,769 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือสัดส่วน 11% ของการส่งออกรวม
สินค้าที่จะได้ผลกระทบมากสุด ได้แก่ เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำตาลทราย ธัญพืช ปลา นม อาหารสำเร็จรูป ผัก เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ด้านนิวเคลียร์ ยางพารา น้ำหอม พลาสติก เชื้อเพลิง และทองแดง เพราะแม้ญี่ปุ่นจะมีการต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหาย แต่กำลังซื้อก็จะลดลง เพราะต้องใช้เงินต่อการบูรณะและฟื้นฟูพื้นฐาน โดยภาวะกำลังซื้อที่ลดตัวน่าจะต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ของปีนี้
***การบินไทยเปิดบินตามปกติ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยังทำการบินตามปกติสู่ทุกจุดบินในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไปตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่น และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในกรุงโตเกียว และเมืองใกล้เคียง ผู้โดยสารสามารถติดต่อเกี่ยวกับเรื่องบัตรโดยสารการบินไทยได้ที่สำนักงานของตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารการบินไทยทุกแห่ง แต่ทั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนการทำการบินของนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในเส้นทางสู่กรุงโตเกียว โดยให้พนักงานทำการบินไป-กลับ โดยไม่แวะพักค้างคืนที่กรุงโตเกียว รวมถึงเป็นการป้องกันอันตรายจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี และป้องกันอันตรายจากอาฟเตอร์ช็อค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เรื่องที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ เป็นเรื่องของการเข้าไปช่วยเหลือ ทั้งคนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งจะต้องให้การช่วยเหลือกรณีที่คนไทยมีความประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย โดยขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้มีระบบการประสานงานอยู่แล้ว มีศูนย์ที่จะเข้ามาช่วยดูแลอยู่แล้ว ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ทั้งนี้ การตื่นตัวในเรื่องของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ยอมรับว่าใช่ ซึ่งทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ต้องทำตามคำแนะนำของทางการญี่ปุ่น ขณะที่ไทยก็พยายามที่จะเอาคนไทยออกมา ส่วนความจำเป็นในการตรวจสอบเรือสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นให้เข้มข้นขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องดูว่าพื้นที่นั้นมีแหล่งผลิตอะไรบ้าง และต้องรอผลของการตรวจสอบเรื่องสารกัมมันตภาพรังสีก่อนว่าไปไกลแค่ไหน
สำหรับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ คงมีผลกระทบแรงพอสมควร แต่ต้องประเมินอีกระยะหนึ่ง เพราะสถานการณ์ยังไม่นิ่ง ประเด็นในเรื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะยังไม่รู้ว่าจะยุติอย่างไร โดยเบื้องต้นคิดว่าญี่ปุ่นจะต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู และใช้เงินค่อนข้างมาก แต่เห็นว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อโครงการของไทยที่ใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น
**เสนอส.ส.บริจาคคนละ3 พันช่วยญี่ปุ่น
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) ช่วงก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมให้ ส.ส.บริจาคคนละ 3,000 บาท เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่นโดยตรง ผ่านประธานรัฐสภา โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุตนได้ทำหนังสือแสดงความเสียใจไปทางรัฐบาลทันที โดยไม่นิ่งนอนใจ ส่วนการเสนอให้รับบริจาคจากส.ส.นั้น ตนคงทำไม่ได้ เพราะเห็นใจทุกคน เพราะใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่ถ้าใครจะเสียสละช่วยเหลือก็ให้ดำเนินการมา ตนจะประสานช่วยเหลือไปให้ทางญี่ปุ่นต่อไป ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอให้หักเงิน 3,000 บาท เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่น
**บัวแก้วเพิ่งตื่นเดินทางไปดูแลคนไทย
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า วันนี้ (16 มี.ค.) จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือ และดูแลคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ และเมื่อเดินทางไปถึงจะนำสิ่งของไปที่วัดปากน้ำ ใกล้สนามบินนาริตะ ซึ่งเป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือคนไทย เพราะขณะนี้ หลายพื้นที่จุดเสี่ยง อาทิ เมืองเซนได จ.มิยางิ กรุงโตเกียว และบางพื้นที่ใกล้ จ.ฟูกิชิม่า ตกอยู่ในสภาพขาดแคลนอาหาร และอากาศค่อนข้างหนาว จึงเห็นว่า เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม และเครื่องนุ่งห่มที่สร้างความอบอุ่นเป็นสิ่งจำเป็นมากในตอนนี้
**สธ.ตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังผลกระทบ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าคณะทำงานทั้งในส่วนของการทำหน้าที่เฝ้าระวังอุบัติภัยหรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย มีหน้าที่ติดตามประเมิน สถานการณ์ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติจากญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด และออกมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที รวมทั้งเป็นศูนย์ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและตอบข้อสงสัยประชาชนทางหมายเลข 0 2590-1993-4
ส่วนเรื่องของอาหารที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ได้มีการหารือกันแล้ว โดยจะให้ความสำคัญกับการตรวจสอบในเรื่องของคุณภาพ และอาจดูในเรื่องของเกณฑ์กัมมันตรังสีด้วยว่ามีการปนเปื้อนหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ดูว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น มาจากแหล่งผลิตที่ขณะนี้มีปัญหาในเรื่องของกัมมันตภาพรังสี แต่ทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นการดำเนินการเพื่อเป็นการซ้ำเติมญี่ปุ่น แต่เป็นการปฏิบัติตามภารกิจ
**พร้อมส่งไอโอดีนเม็ดช่วย
นายจุรินทร์กล่าวว่า สำหรับกรณีที่ญี่ปุ่นมีความต้องการไอโอดีน เพื่อกินป้องกันผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี ได้ให้นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศของไทย หากญี่ปุ่นต้องการให้ช่วยผลิตไอโอดีนเม็ดส่งไปช่วย กระทรวงสาธารณสุขก็ยินดี ทั้งนี้ ได้สั่งการให้องค์การเภสัชกรรมสำรองไอโอดีนเม็ดไว้จำนวนหนึ่งแล้ว หากได้รับการประสานผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะส่งไปให้ทันที
**วาง2แนทางรับมือปัญหา
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือการรักษาพยาบาลทั้งสุขภาพกายและจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น ขณะนี้สธ. ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อประเมินสถานการณ์ รวมทั้งความพร้อมของประเทศญี่ปุ่นที่จะเปิดให้ทีมแพทย์จากต่างประเทศเข้าไปช่วย ซึ่งในเบื้องต้นได้เตรียมทีมแพทย์ไว้ 21 ทีม ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต พร้อมเดินทางภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังได้รับการประสาน
ส่วน 2 คือ มาตรการเตรียมรับมือการรั่วไหลสารกัมมันตภาพรังสี จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะระเบิด แม้ว่าขณะนี้รายงานจะยังไม่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยก็ตาม แต่จะต้องวางมาตรการให้พร้อมไว้ เพื่อดูแลความปลอดภัยประชาชนไทยให้เกิดความมั่นใจ โดยได้วางแผนดำเนินการ 3 ข้อ คือ 1.มาตรการเฝ้าระวังผลกระทบซึ่งจะดำเนินการในคน อาหาร และสิ่งแวดล้อม ทั้งดิน น้ำ และอากาศ 2.การสื่อสารความเสี่ยงให้กับประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันผลกระทบ ซึ่งจะมี 3 กลุ่ม ได้แก่ คนไทยที่อยู่ในญี่ปุ่น คนไทยที่เดินทางกลับจากญี่ปุ่น และคนไทยที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น ซึ่งรวมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ที่อาจมีความวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก จากการได้รับข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ที่สถานบริการสาธารณสุขต่างๆ และ3.การเตรียมความพร้อมในด้านการดูแลรักษาผู้ได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
**“ไทยล้านนา” ศูนย์การติดต่อในมิยากิ
นางจิราภรณ์ เกษรสุจริต รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ร้านอาหารไทยล้านนาที่เมืองเซนได จะเป็นศูนย์กลางติดต่อกันและให้การช่วยเหลือแก่คนไทย และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยแรงงานไทยและคนไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น หากต้องการติดต่อขอความช่วยเหลือหรือแจ้งข่าว ติดต่อศูนย์ให้การช่วยเหลือและบริการสอบถามข้อมูล ณ สถานเอกอัครราชทูต ตลอด 24 ชั่วโมง โทร 090-4435-7812 หรือ 03-6272-5021-2
***ประสานเอกชนบริจาคสินค้าช่วย
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวภายหลังเรียกผู้ส่งออกทุกกลุ่มอุตสาหกรรมหารือผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นต่อการส่งออกไทยว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปแนวทางให้ความช่วยเหลือ 2 แนวทาง คือ กรณีที่สินค้าส่งถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว แต่ไม่สามารถส่งต่อไปยังลูกค้า และเก็บสต๊อกไว้ไม่ได้ เพราะเป็นอาหารแช่เย็นที่ต้องรักษาอุณหภูมิ เนื่องจากมีการตัดกระแสไฟฟ้าภายในญี่ปุ่น ทางภาคเอกชนจะบริจาคสต๊อกสินค้าดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิภายในญี่ปุ่นก่อน เมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะส่งสินค้าชดเชยไปให้ผู้นำเข้าญี่ปุ่นต่อไป
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ได้ประสานไปยังสถานทูตญี่ปุ่น เพื่อช่วยเหลือในการจัดส่งสินค้าที่ญี่ปุ่นต้องการ เบื้องต้นมี 5 รายการ คือ อาหารพร้อมรับประทาน ผ้าห่ม ไฟฉาย น้ำดื่มและถุงนอน ซึ่งภาคเอกชนจากสมาคมต่างๆ จะเป็นผู้บริจาค โดยส่วนนี้ ได้ขอให้เอกชนบริจาคสินค้าที่ติดฉลากมีภาษาญี่ปุ่นหรือังกฤษให้ชาวญี่ปุ่น เนื่องจากหากติดเป็นภาษาอื่นอาจไม่มั่นใจและไม่กล้านำไปใช้งาน
***แผ่นดินไหวกระทบส่งออกไปญี่ปุ่น
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในญี่ปุ่น คาดว่าจะสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นลดลง 0.5-1% จากเดิมคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.6%.ในปี 2554 และมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นลดลง 7.2% เป็นการลดลงจากส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม 8.3% และสินค้าเกษตร 2.9% คิดเป็นมูลค่ารวม 735-1,470 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 0.3-0.7% ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย จากเดิมคาดว่าไทยจะส่งออกไปญี่ปุ่น 22,769 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือสัดส่วน 11% ของการส่งออกรวม
สินค้าที่จะได้ผลกระทบมากสุด ได้แก่ เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำตาลทราย ธัญพืช ปลา นม อาหารสำเร็จรูป ผัก เครื่องจักรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ด้านนิวเคลียร์ ยางพารา น้ำหอม พลาสติก เชื้อเพลิง และทองแดง เพราะแม้ญี่ปุ่นจะมีการต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนส่วนที่เสียหาย แต่กำลังซื้อก็จะลดลง เพราะต้องใช้เงินต่อการบูรณะและฟื้นฟูพื้นฐาน โดยภาวะกำลังซื้อที่ลดตัวน่าจะต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 ของปีนี้
***การบินไทยเปิดบินตามปกติ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยังทำการบินตามปกติสู่ทุกจุดบินในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นไปตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่น และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในกรุงโตเกียว และเมืองใกล้เคียง ผู้โดยสารสามารถติดต่อเกี่ยวกับเรื่องบัตรโดยสารการบินไทยได้ที่สำนักงานของตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารการบินไทยทุกแห่ง แต่ทั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนการทำการบินของนักบินและพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในเส้นทางสู่กรุงโตเกียว โดยให้พนักงานทำการบินไป-กลับ โดยไม่แวะพักค้างคืนที่กรุงโตเกียว รวมถึงเป็นการป้องกันอันตรายจากการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสี และป้องกันอันตรายจากอาฟเตอร์ช็อค