ASTVผู้จัดการรายวัน-แผ่นดินไหว-สึนามิที่ญี่ปุ่นกระทบโครงการสุวรรณภูมิเฟส2และโครงการขยายช่องจราจรเป็น 4 ช่องของกรมทางหลวง เหตุใช้เงินกู้ไจก้า"คมนาคม"เผยญี่ปุ่นอาจจำเป็นต้องระดมเงินเพื่อฟื้นฟูประเทศก่อนเตรียมแผนเสนแคลังหากกู้ไจก้าไม่ได้ เพื่อหาแหล่งเงินกู้ใหม่
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่11 มีนาคมที่ผ่านมานั้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการใหม่ของกระทรวงคมนาคมที่มีแผนใช้เงินกู้ จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)แน่นอนเช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และโครงการขยายทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง (ทล.) เพราะคาดว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอาจระดมเงินเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก่อนให้กู้ประเทศอื่นส่วนโครงการที่ได้ดำเนินการแล่วและได้รับเงินกู้จากไจก้าไปแล้วคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะประเมินสถานการณ์หากโครงการใดได้รับผลกระทจะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการคลังเพื่อประเมินว่าโครงการไหนมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งการก่อสร้าง เพื่อให้คลังจัดหาแหล่งเงินกู้อื่นเข้ามาแทนไจก้า แต่ก็ต้องดูรัฐบาลก่อนว่าจะมีนโยบายอย่างไรด้วย ซึ่งโครงการที่เห็นชอบและอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการมี 2 โครงการที่อาจได้รับผลกระทบ คือการขยายช่องจราจร และแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟสที่ 2 ที่ตกลงจะใช้เงินกู้ไจก้า
เนื่องจากเป็นแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด
สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักจาก 2 ช่องจราจรให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง มีจำนวน 8 สายทาง ระยะทาง 433 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5,620 ล้านบาท ส่วนโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ มีวงเงินลงทุนประมาณ 6.25 หมื่นล้านบาท ซึ่งทอท.จะใช้เงินจากรายได้ของตัวเองในการลงทุนจำนวน 45,053.214 ล้านบาท หรือประมาณ 72.% ในช่วงปีงบประมาณ 2554 - 2559 และมาจากเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 17,450 ล้านบาท หรือประมาณ 27% ในช่วงปีงบประมาณ 2558 – 2559 เพื่อดำเนินการก่อสร้าง
โดยล่าสุดในส่วนของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิฯ ยังอยู่ระหว่างการปรับแก้รายละเอียดเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้ง การจัดทำทีโออาร์เป็นภาษาไทยอีกหนึ่งชุดสำหรับการประกวดราคาเพราะเดิมทอท.ได้ทำทีโออาร์เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น รวมทั้งการตัดเงื่อนไขในกระบวนการของอนุญาโตตุลาการในทีโออาร์ออกไป เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่าหากในกรณีที่โครงการมีปัญหาให้ใช้อำนาจของศาลตัดสินจะเป็นวิธีที่ดีกว่า โดยการแก้ไขทั้งหมด คาดว่า ที่ปรึกษาจะสามารถปรับแก้เอกสารทั้งหมดเสร็จสิ้นประมาณเดือนเมษายน 2554 นี้ จากนั้นทอท.จึงเริ่มขั้นตอนการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ด้านนายสมชัย สวัสดิผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทอท. กล่าวว่า ขั้นตอนโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจาณาแหล่งเงินกู้เพื่อดำเนินการโครงการฯ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ใด แต่ถ้าหากมีการสรุปว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ไจก้า และเกิดมีผลกระทบจนทำให้การกู้เงินต้องชะงัก ก็คงต้องมีการทบทวนเรื่องแหล่งเงินกู้ใหม่ โดยคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.จะเป็นผู้หารือรายละเอียดก่อนจะส่งให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาอีกครั้ง
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่11 มีนาคมที่ผ่านมานั้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการใหม่ของกระทรวงคมนาคมที่มีแผนใช้เงินกู้ จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)แน่นอนเช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. และโครงการขยายทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง (ทล.) เพราะคาดว่ารัฐบาลญี่ปุ่นอาจระดมเงินเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก่อนให้กู้ประเทศอื่นส่วนโครงการที่ได้ดำเนินการแล่วและได้รับเงินกู้จากไจก้าไปแล้วคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะประเมินสถานการณ์หากโครงการใดได้รับผลกระทจะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการคลังเพื่อประเมินว่าโครงการไหนมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งการก่อสร้าง เพื่อให้คลังจัดหาแหล่งเงินกู้อื่นเข้ามาแทนไจก้า แต่ก็ต้องดูรัฐบาลก่อนว่าจะมีนโยบายอย่างไรด้วย ซึ่งโครงการที่เห็นชอบและอยู่ระหว่างเริ่มดำเนินการมี 2 โครงการที่อาจได้รับผลกระทบ คือการขยายช่องจราจร และแผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟสที่ 2 ที่ตกลงจะใช้เงินกู้ไจก้า
เนื่องจากเป็นแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด
สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักจาก 2 ช่องจราจรให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง มีจำนวน 8 สายทาง ระยะทาง 433 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5,620 ล้านบาท ส่วนโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ มีวงเงินลงทุนประมาณ 6.25 หมื่นล้านบาท ซึ่งทอท.จะใช้เงินจากรายได้ของตัวเองในการลงทุนจำนวน 45,053.214 ล้านบาท หรือประมาณ 72.% ในช่วงปีงบประมาณ 2554 - 2559 และมาจากเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 17,450 ล้านบาท หรือประมาณ 27% ในช่วงปีงบประมาณ 2558 – 2559 เพื่อดำเนินการก่อสร้าง
โดยล่าสุดในส่วนของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิฯ ยังอยู่ระหว่างการปรับแก้รายละเอียดเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้ง การจัดทำทีโออาร์เป็นภาษาไทยอีกหนึ่งชุดสำหรับการประกวดราคาเพราะเดิมทอท.ได้ทำทีโออาร์เป็นภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น รวมทั้งการตัดเงื่อนไขในกระบวนการของอนุญาโตตุลาการในทีโออาร์ออกไป เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะว่าหากในกรณีที่โครงการมีปัญหาให้ใช้อำนาจของศาลตัดสินจะเป็นวิธีที่ดีกว่า โดยการแก้ไขทั้งหมด คาดว่า ที่ปรึกษาจะสามารถปรับแก้เอกสารทั้งหมดเสร็จสิ้นประมาณเดือนเมษายน 2554 นี้ จากนั้นทอท.จึงเริ่มขั้นตอนการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ด้านนายสมชัย สวัสดิผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ) ทอท. กล่าวว่า ขั้นตอนโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจาณาแหล่งเงินกู้เพื่อดำเนินการโครงการฯ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ใด แต่ถ้าหากมีการสรุปว่าจะใช้แหล่งเงินกู้ไจก้า และเกิดมีผลกระทบจนทำให้การกู้เงินต้องชะงัก ก็คงต้องมีการทบทวนเรื่องแหล่งเงินกู้ใหม่ โดยคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.จะเป็นผู้หารือรายละเอียดก่อนจะส่งให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาอีกครั้ง