ปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ และแรงงานต่างชาติมีฝีมือ หรือผู้เชี่ยวชาญ ส่งผลต่อสถานการณ์แรงงานในประเทศไทย และต่างประเทศ ดังนั้นหากเป็นแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือที่เข้ามาทำงานในกิจการบีโอไอจะทำได้หรือไม่ ซึ่งนำเสนอเป็นตอนจบ
สถานการณ์การจ้างแรงงานต่างชาติในประเทศอื่น (ต่อ)
มาเลเซีย กำหนดให้ธุรกิจต้องประกาศตำแหน่งงานว่างก่อน 2 เดือน โดยรับสมัครชาวมาเลเซียก่อน หากไม่มีผู้สมัครจึงจะจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ และมีเงื่อนไขการจ้างงาน เช่น ต้องจ้างแรงงานต่างชาติไม่เกินจำนวนแรงงานมาเลเซีย เป็นต้น
นิยามของงานกรรมกร
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 (1) งานกรรมกร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลชาติอื่น และคนต่างด้าวที่ได้รับการกำหนดสถานะให้เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
นอกจากนั้น กรมการจัดหางานได้มีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2552 ตีความ “งานกรรมกร” ว่า ไม่มีนิยามในกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว จึงนำความหมายทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 มาพิจารณา โดยให้ความหมายว่า คนงาน ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน จำพวกที่ไม่ใช่ทาส อีกทั้งศัพท์แรงงานก็ให้นิยามว่า ผู้ทำงานใช้กำลังกายมากกว่ากำลังความคิดและฝีมือ
ดังนั้น พนักงานในอุตสาหกรรมที่มีทักษะ และความสามารถเฉพาะ จึงไม่เข้าข่ายที่จะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานภายใต้ข้อตกลงข้างต้น
ช่างฝีมือและผู้ชำนาญการตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Office of the Board of Investment - BOI) โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 25 กล่าวถึงเฉพาะช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะสามารถปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ตามจำนวน และกำหนดเวลาให้อยู่ในประเทศไทยที่บีโอไอกำหนด แม้ว่าจะเกินอัตรา จำนวน หรือระยะเวลาตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมีมาตรา 26 กำหนดกรณีการทำงานเฉพาะตำแหน่งหน้าที่การงานที่คณะกรรมการส่งเสริมฯ ให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทย
กฎหมายส่งเสริมฯ ไม่ได้ให้นิยามของช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการไว้ แต่เป็นบุคลากรต่างชาติระดับที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ จึงเป็นกลุ่มเฉพาะไม่ใช่แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ
กิจการบีโอไอมีแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้หรือไม่
แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือไม่เข้าข่ายช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการตามบทบัญญัติของกฎหมายส่งเสริมฯ อีกทั้งหากเป็นการทำงานในธุรกิจที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะก็ไม่สามารถนำข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างประเทศไทยกับพม่า กัมพูชา และลาว ที่ได้รับยกเว้นให้คนต่างด้าวทำได้นั้นมาใช้
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่ ป.4/2553 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2553 เรื่อง การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 มาตรา 16 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ จึงประกาศหลักเกณฑ์ 6 ข้อ ดังนี้
(1) ต้องเป็นบริษัทที่ลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 20 ปี มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท และจ้างงานรวมมากกว่า 10,000 คน
(2) ต้องเป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริมฯ เดิมสิ้นสุดการได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว และจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่มในโครงการ โดยบีโอไอจะอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนคนงานที่จ้างเพิ่มในโครงการนั้น
(3) ต้องเป็นกิจการอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ครอบคลุมธุรกิจเกษตรกรรม และธุรกิจบริการ
(4) ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในด้านต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
(5) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนด และต้องยื่นขออนุญาตต่อบีโอไอก่อนการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการ และ
(6) หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นแนวทางการพิจารณาอนุญาต แต่บีโอไออาจประกาศยกเลิก หรือปรับลดจำนวนแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ตามความเหมาะสม เมื่อหมดความจำเป็น หรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น กิจการบีโอไอสามารถจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นทั้งหมด โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากบีโอไอเสียก่อน ด้วยสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือภายในประเทศ ในสภาพทางเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น พร้อมไปกับลดปัญหาการว่างงาน จนถึงขนาดขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกิจการบีโอไอ หลักเกณฑ์การผ่อนผันนี้น่าจะบรรเทาปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นได้บ้างบางส่วน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th
สถานการณ์การจ้างแรงงานต่างชาติในประเทศอื่น (ต่อ)
มาเลเซีย กำหนดให้ธุรกิจต้องประกาศตำแหน่งงานว่างก่อน 2 เดือน โดยรับสมัครชาวมาเลเซียก่อน หากไม่มีผู้สมัครจึงจะจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ และมีเงื่อนไขการจ้างงาน เช่น ต้องจ้างแรงงานต่างชาติไม่เกินจำนวนแรงงานมาเลเซีย เป็นต้น
นิยามของงานกรรมกร
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 (1) งานกรรมกร แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลชาติอื่น และคนต่างด้าวที่ได้รับการกำหนดสถานะให้เป็นคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
นอกจากนั้น กรมการจัดหางานได้มีหนังสือลงวันที่ 4 กันยายน 2552 ตีความ “งานกรรมกร” ว่า ไม่มีนิยามในกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว จึงนำความหมายทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 มาพิจารณา โดยให้ความหมายว่า คนงาน ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน จำพวกที่ไม่ใช่ทาส อีกทั้งศัพท์แรงงานก็ให้นิยามว่า ผู้ทำงานใช้กำลังกายมากกว่ากำลังความคิดและฝีมือ
ดังนั้น พนักงานในอุตสาหกรรมที่มีทักษะ และความสามารถเฉพาะ จึงไม่เข้าข่ายที่จะอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานภายใต้ข้อตกลงข้างต้น
ช่างฝีมือและผู้ชำนาญการตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Office of the Board of Investment - BOI) โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 25 กล่าวถึงเฉพาะช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะสามารถปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ตามจำนวน และกำหนดเวลาให้อยู่ในประเทศไทยที่บีโอไอกำหนด แม้ว่าจะเกินอัตรา จำนวน หรือระยะเวลาตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมีมาตรา 26 กำหนดกรณีการทำงานเฉพาะตำแหน่งหน้าที่การงานที่คณะกรรมการส่งเสริมฯ ให้ความเห็นชอบตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทย
กฎหมายส่งเสริมฯ ไม่ได้ให้นิยามของช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการไว้ แต่เป็นบุคลากรต่างชาติระดับที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ จึงเป็นกลุ่มเฉพาะไม่ใช่แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือ
กิจการบีโอไอมีแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้หรือไม่
แรงงานต่างชาติไร้ฝีมือไม่เข้าข่ายช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการตามบทบัญญัติของกฎหมายส่งเสริมฯ อีกทั้งหากเป็นการทำงานในธุรกิจที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะก็ไม่สามารถนำข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างประเทศไทยกับพม่า กัมพูชา และลาว ที่ได้รับยกเว้นให้คนต่างด้าวทำได้นั้นมาใช้
อย่างไรก็ตาม เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติการในภาคอุตสาหกรรมของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมฯ ที่ ป.4/2553 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2553 เรื่อง การอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมฯ ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 มาตรา 16 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ จึงประกาศหลักเกณฑ์ 6 ข้อ ดังนี้
(1) ต้องเป็นบริษัทที่ลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 20 ปี มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท และจ้างงานรวมมากกว่า 10,000 คน
(2) ต้องเป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริมฯ เดิมสิ้นสุดการได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว และจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่มในโครงการ โดยบีโอไอจะอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนคนงานที่จ้างเพิ่มในโครงการนั้น
(3) ต้องเป็นกิจการอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ครอบคลุมธุรกิจเกษตรกรรม และธุรกิจบริการ
(4) ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในด้านต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
(5) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่บีโอไอกำหนด และต้องยื่นขออนุญาตต่อบีโอไอก่อนการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการ และ
(6) หลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นแนวทางการพิจารณาอนุญาต แต่บีโอไออาจประกาศยกเลิก หรือปรับลดจำนวนแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ตามความเหมาะสม เมื่อหมดความจำเป็น หรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้น กิจการบีโอไอสามารถจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้นทั้งหมด โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากบีโอไอเสียก่อน ด้วยสถานการณ์การจ้างแรงงานต่างชาติไร้ฝีมือภายในประเทศ ในสภาพทางเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น พร้อมไปกับลดปัญหาการว่างงาน จนถึงขนาดขาดแคลนแรงงานในบางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกิจการบีโอไอ หลักเกณฑ์การผ่อนผันนี้น่าจะบรรเทาปัญหาแรงงานที่เกิดขึ้นได้บ้างบางส่วน
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th