วานนี้(9 มี.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุม กกต.ว่าทีประชุม กกต.ได้พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ แล้ว และให้ กกต.นำกลับไปศึกษา เพื่อมาพิจารณาในสัปดห์หน้าอีกครั้ง หลังจากที่นายประพันธ์กลับจากต่างประเทศแล้ว ว่าจะส่งร่างทั้ง3 ฉบับไปให้ครม.และสภาในวันใด ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาจะบรรจุเข้าสู้ระเบียบวาระ ทั้งนี้ กกต.ก็อยากให้ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญพิจารณาให้แล้วเสร็จก่อน โดย กกต.ไม่อยากเร่งรีบ เพราะกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ จำเป็นถ้ายุบสภาก็ควรมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ กกต.ต้องการจะยืดเวลาในการยุบสภา อย่างไรก็ตามในที่ประชุมกกต.ก็ยังเห็นว่าเราควรจะเตรียมความพร้อมในการออกประกาศ หากมีการยุบสภากกต.สามารถออกได้ทันที กรณีที่หากพ.ร.บ.ยังไม่แล้วเสร็จ
ส่วนการหารือเรื่องความเหมาะสมในการกำหนดวันเลือกตั้งกับนายกรัฐมนตรีในวันศุกร์นี้ ได้รับประสานมาว่ามีเวลาหารือกับ กกต.เพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งนายกฯ จะมาร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับ กกต.ด้วย ทำให้เวลาการหารือคงจะน้อย และคงจะได้อะไรไม่มาก เนื่องจากเป็นเวลาที่สั้นมาก โดยในช่วงของเวลา1 ชั่วโมงนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนด ส่วนกกต.มีเวลาตลอด 24 ชั่วโมง แต่คิดว่านายกรัฐมนตรีติดภาระกิจอื่นจึงมีเวลาให้ กกต.เพียง ช.ม.เดียว
ส่วนระยะเวลาในการเลือกตั้งเร็วสุดควรเป็นกี่วันนั้น นางสดศรีกล่าวว่า ระยะเวลาในการจัดการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 กำหนดให้เลือกตั้งทั่วไปไม่น้อยกว่า 45 แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องความพร้อมของรัฐบาลที่จะไปกำหนดว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ สำหรับ กกต.มีความพร้อมอยู่แล้ว
นางสดศรี กล่่าวถึงกรณี ที่นายกฯระบุว่า ไม่ต้องรอแก้ไขกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับ กกต.และพรรคการเมือง ก็สามารถจัดการเลือกตั้งได้เลยนั้น ทาง กกต.ยังยืนยันว่า อยากให้กฎหมายลูกทั้งหมดผ่านสภามากกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) กล่าวว่านายกฯจะเข้าหารือกับกกต.ในวันที่ 11 มี.ค.เวลา 12.00 น. ที่ชั้น 9 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.จะนำเสนอเรื่องความพร้อมและแผนของการเลือกตั้ง ที่ กกต.ได้จัดทำไว้ รวมทั้งข้อห่วงใยถึงการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. แต่การตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี เมื่อจะยุบสภา ก็ต้องหารือถึงเรื่องการกำหนดวัน ช่วงระยะเวลา ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อความชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
จะมีการรายงานความคืบหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้งให้นายกฯได้รับทราบความคืบหน้า หลังจากได้รับจำนวนประชากรล่าสุดจากกระทรวงมหาดไทย และทาง กกต.จังหวัดก็ได้จัดการแบ่งเขตใน 3 รูปแบบ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
ส่วนการที่พรรคการเมืองต้องการจะเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องการแบ่งเขตกับ กกต.จังหวัดนั้น นายสุทธิพล กล่าวว่าการเสนอแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.จังหวัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งและไม่ใช่ข้อยุติที่สุด เพียงผู้ดำเนินการจัดการแบ่งเขตและไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ แล้วเสนอมาที่ กกต.กลาง ที่จะเป็นผู้พิจารณา การที่พรรคการเมืองอยากมีส่วนร่วมก็ควรจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจะเหมาะสมกว่า การเป็นกรรมการพิจารณาอาจมีประเด็นปัญหา
ทั้งนี้กกต.เป็นห่วงการทำลายล้าง การลอบยิง ลอบทำร้ายระหว่างการหาเสียง ทั้งนี้จะมีการประสานกับฝ่ายความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัย พร้อมนำโครงการเลือกตั้งเชิงสมาฉันท์เข้ามาช่วย หากเป็นไปได้จะให้ผู้สมัครทำข้อตกลงร่วมกันในการหาเสียง เชื่อว่าทุกฝ่ายไม่อยากเห็นความรุนแรง .
ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การหารือจะได้รับความชัดเจนก็พร้อมที่จะประกาศยุสภาเมื่อไหร่ ส่วนที่นางสดศรี มีความเป็นห่วงเรื่องของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ตรงนี้ก็จะเป็นประเด็นที่ตนไปสอบถามว่าความเห็นของท่านยังมีอุปสรรคอะไรอีก เพราะตนเองเข้าใจว่าในการแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านมาเราก็เขียนค่อนข้างชัดว่า ถ้าหากว่ามีการเลือกตั้งก่อนที่จะมีกฎหมายลูกทางกกต.สามารถที่จะดำเนินการอะไรได้
ส่วนจะมีการหยิบยกประเด็นมาตรา 7 วรรคท้ายของรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไข ที่ไม่เปิดช่องให้กับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ที่อาจจะเกิดความการโต้แย้งและจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โดยหลักแล้วรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและการยุบสภาก็เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดการจัดการทุกอย่างก็เป็นไปเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีการขัดกันในแง่นั้นว่ากฎหมายใดที่มีอยู่และไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถที่จะใช้ได้โดยปริยาย
ส่วนจะเป็นเรื่องแปลกหรือไม่ ที่รัฐบาลเตรียมประกาศยุบสภา แต่ทางกกต.กับไม่พร้อม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เห็นใจคนทำงาน เพราะคนทำงานก็อาจวิตกกังวลว่าตนเองทำอะไรไปแล้ว และจะมีปัญหาทางกฎหมาย หรือไม่ ซึ่งตนเองจะไปรับทราบว่าข้อกังวลคืออะไร
ทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.เลือกตั้ง ต้องมาจากทางกกต. เพราะกกต.เป็นผู้รับผิดชอบ รักษาการ ส่วนที่ทางกกต.เตรียมร่างพ.ร.บ.ที่จะเสนอมานั้น ถือว่าดี ถ้าสั้นก็ดี นอกจากนี้ถ้ามีการผลักดัน 3 วาระรวด จะมีปัญหา หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนจะไปคุยกับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และเชื่อว่าหากเป็นการแก้ไขที่ไม่มีกี่โต้แย้งอะไรเลย
ส่วนจะครบกับปฏิทินที่วางไว้ในใจหรือไม่ หากจะต้องมีการแก้กฎหมายลูก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอดูก่อน เพราตนยังมีความรู้สึกว่ามันรองรับในรัฐธรรมนูญแล้ว ในเรื่องของการแก้ระเบียบ ซึ่งต้องไปฟังผู้ปฏิบัติ และในการที่ตนเดินทางไปกกต.เพราะว่าเคารพในความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติ เกรงว่าเกิดปัญหาขึ้นมาทีหลัง
“ส่วนบ้านเมืองขณะนี้ ถือว่าไม่ได้มีปัญหา แต่อาจะไม่มีความเรียบร้อยบ้าง ก็แค่พยายามที่จะแก้ไขปัญหากันไป ซึ่งผมคิดว่าแม้จะมีความพยายามว่ามีความวุ่นวาย แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรที่จะมีความชัดเจนทิศทางของประเทศ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่มีบุคคลบางกลุ่มพยายาม ไม่ต้องการให้เกิดความเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่คนเห็นว่ามีช่องว่างอยู่ เพราะมีกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการตอบสนองต้องรวมตัวเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ถ้าทำอย่างนี้บ้านเมืองจะเดินหน้าได้ และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เพราะทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่าหากประชาธิปไตยถอยหลัง ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร แต่กลับเป็นการสร้างปัญหาขึ้นมา
จะกลายเป็นว่า จะมีการขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ให้ทำอย่างนั้น เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ผิดกฎหมาย ตนขอเตือนว่าถ้ามีพรรคการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ ก็ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายที่จะถูกยุบพรรค
ที่กระทรวงมหาดไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมเลือกตั้งตลอดเวลา เวลาไหนก็เหมาะสม แล้วที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้ชะลอการยุบสภาไปก่อนนั้น เราต้องปฏิบัติตามผู้ที่ควบคุม ถ้ากำหนดมาอย่างนี้ เราก็พร้อมอยู่แล้ว เราไม่ได้เป็นผู้กระทำ เราเป็นผู้ถูกกระทำ ส่วนการจัดงานระดมทุน ทางพรรคยังไม่ได้คุยกัน
“นายกฯท่านยังไม่ได้ถาม แสดงว่าท่านยังไม่คิดจะยุบ”ส่วนช่วงเวลาที่จะยุบสภาไม่อยากจะคิดว่าเป็นเมื่อไหร่ เพราะนายกฯเป็นกัปตันของรัฐบาล ถ้าท่านคิดจะยุบเมื่อไหร่ เราก็พร้อมเมื่อนั้น
ที่ทำเนียบฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การระดมทุนของพรรคถือว่าเป็นการแสดงเจตนาให้ทุกฝ่ายได้เห็นว่า นายกฯ เดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งจริงๆ พวกตนได้เตรียมการทุกอย่างเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง ฉะนั้นที่ใครกล่าวหาว่านายกฯพูดไม่แน่นอน ไม่รู้จะยุบสภาเมื่อไหร่ เลือกตั้งเมื่อไหร่ตนก็บอกว่านี่คือสัญญาณที่ชัดเจน
ส่วนที่นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ พรรคภูมิใจไทย ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความชัดเจนเรื่องยุบสภา ควรไปอ่านหนังสือเรื่องศรีธนญชัย มองว่าอย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าเขาพูดที่ไหนอย่างไร หรือหมายความอย่างไร ตอบไม่ได้
ส่วนที่นางสดศรียังระบุว่าหากสถานการณ์ยังมีม็อบ มีการชุมนุมต่างๆ แต่จะมีเลือกตั้งเกิดขึ้น ควรมีการใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในช่วงเลือกตั้งนายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปคาดการณ์อะไรในทางร้ายก่อนเลย ช่วยกันพูดคุยตักเตือนบอกกล่าวกลุ่มต่างๆ ดีกว่า สร้างบรรยากาศให้ดี จัดตั้งการเลือกตั้งให้เรียบร้อย กลับมาก็จะได้เริ่มต้นกันใหม่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า นายอภิสิทธิ์ไปในฐานะนายกฯ หรือหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจะไปพบทำไม การที่อ้างว่าจะไปดูความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งหากรัฐบาลประกาศยุบสภานั้น เป็นการสร้างภาพเพื่อชะลอเกมยุบสภามากกว่า โดยเฉพาะการออกกฎหมายลูกถ้ารัฐบาลมีความจริงใจ ก็สามารถใช้เสียงข้างมากผ่าน 3 วาระรวดได้เลย ล่าสุดทราบว่ารัฐบาลได้ทำโพลแล้วพบว่าคะแนนร่วงกราวรูด ไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นเชื่อว่ารัฐบาลไม่กล้ายุบสภาตอนนี้แน่ ต้องยื้ออยู่ต่อไปเพื่อเรียกคะแนนคืนก่อน และการไปพบกกต.ครั้งนี้มีนัยแอบแฝงเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์จะไปพูดคุยถึงการจับวางเขตพื้นที่ตามระบบเลือกตั้งใหม่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ และนี่เป็นการที่ฝ่ายบริหารเข้าไปแทรกแซงกกต.หรือไม่.
ส่วนการหารือเรื่องความเหมาะสมในการกำหนดวันเลือกตั้งกับนายกรัฐมนตรีในวันศุกร์นี้ ได้รับประสานมาว่ามีเวลาหารือกับ กกต.เพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งนายกฯ จะมาร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับ กกต.ด้วย ทำให้เวลาการหารือคงจะน้อย และคงจะได้อะไรไม่มาก เนื่องจากเป็นเวลาที่สั้นมาก โดยในช่วงของเวลา1 ชั่วโมงนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนด ส่วนกกต.มีเวลาตลอด 24 ชั่วโมง แต่คิดว่านายกรัฐมนตรีติดภาระกิจอื่นจึงมีเวลาให้ กกต.เพียง ช.ม.เดียว
ส่วนระยะเวลาในการเลือกตั้งเร็วสุดควรเป็นกี่วันนั้น นางสดศรีกล่าวว่า ระยะเวลาในการจัดการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 กำหนดให้เลือกตั้งทั่วไปไม่น้อยกว่า 45 แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องความพร้อมของรัฐบาลที่จะไปกำหนดว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ สำหรับ กกต.มีความพร้อมอยู่แล้ว
นางสดศรี กล่่าวถึงกรณี ที่นายกฯระบุว่า ไม่ต้องรอแก้ไขกฎหมายลูกที่เกี่ยวกับ กกต.และพรรคการเมือง ก็สามารถจัดการเลือกตั้งได้เลยนั้น ทาง กกต.ยังยืนยันว่า อยากให้กฎหมายลูกทั้งหมดผ่านสภามากกว่า เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) กล่าวว่านายกฯจะเข้าหารือกับกกต.ในวันที่ 11 มี.ค.เวลา 12.00 น. ที่ชั้น 9 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.จะนำเสนอเรื่องความพร้อมและแผนของการเลือกตั้ง ที่ กกต.ได้จัดทำไว้ รวมทั้งข้อห่วงใยถึงการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. แต่การตัดสินใจต้องขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี เมื่อจะยุบสภา ก็ต้องหารือถึงเรื่องการกำหนดวัน ช่วงระยะเวลา ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพื่อความชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
จะมีการรายงานความคืบหน้าการแบ่งเขตเลือกตั้งให้นายกฯได้รับทราบความคืบหน้า หลังจากได้รับจำนวนประชากรล่าสุดจากกระทรวงมหาดไทย และทาง กกต.จังหวัดก็ได้จัดการแบ่งเขตใน 3 รูปแบบ รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่
ส่วนการที่พรรคการเมืองต้องการจะเข้าร่วมเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องการแบ่งเขตกับ กกต.จังหวัดนั้น นายสุทธิพล กล่าวว่าการเสนอแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.จังหวัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งและไม่ใช่ข้อยุติที่สุด เพียงผู้ดำเนินการจัดการแบ่งเขตและไปสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ แล้วเสนอมาที่ กกต.กลาง ที่จะเป็นผู้พิจารณา การที่พรรคการเมืองอยากมีส่วนร่วมก็ควรจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจะเหมาะสมกว่า การเป็นกรรมการพิจารณาอาจมีประเด็นปัญหา
ทั้งนี้กกต.เป็นห่วงการทำลายล้าง การลอบยิง ลอบทำร้ายระหว่างการหาเสียง ทั้งนี้จะมีการประสานกับฝ่ายความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัย พร้อมนำโครงการเลือกตั้งเชิงสมาฉันท์เข้ามาช่วย หากเป็นไปได้จะให้ผู้สมัครทำข้อตกลงร่วมกันในการหาเสียง เชื่อว่าทุกฝ่ายไม่อยากเห็นความรุนแรง .
ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การหารือจะได้รับความชัดเจนก็พร้อมที่จะประกาศยุสภาเมื่อไหร่ ส่วนที่นางสดศรี มีความเป็นห่วงเรื่องของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ตรงนี้ก็จะเป็นประเด็นที่ตนไปสอบถามว่าความเห็นของท่านยังมีอุปสรรคอะไรอีก เพราะตนเองเข้าใจว่าในการแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านมาเราก็เขียนค่อนข้างชัดว่า ถ้าหากว่ามีการเลือกตั้งก่อนที่จะมีกฎหมายลูกทางกกต.สามารถที่จะดำเนินการอะไรได้
ส่วนจะมีการหยิบยกประเด็นมาตรา 7 วรรคท้ายของรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไข ที่ไม่เปิดช่องให้กับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ที่อาจจะเกิดความการโต้แย้งและจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โดยหลักแล้วรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและการยุบสภาก็เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถ้าเกิดการจัดการทุกอย่างก็เป็นไปเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีการขัดกันในแง่นั้นว่ากฎหมายใดที่มีอยู่และไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถที่จะใช้ได้โดยปริยาย
ส่วนจะเป็นเรื่องแปลกหรือไม่ ที่รัฐบาลเตรียมประกาศยุบสภา แต่ทางกกต.กับไม่พร้อม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เห็นใจคนทำงาน เพราะคนทำงานก็อาจวิตกกังวลว่าตนเองทำอะไรไปแล้ว และจะมีปัญหาทางกฎหมาย หรือไม่ ซึ่งตนเองจะไปรับทราบว่าข้อกังวลคืออะไร
ทั้งนี้ร่างพ.ร.บ.เลือกตั้ง ต้องมาจากทางกกต. เพราะกกต.เป็นผู้รับผิดชอบ รักษาการ ส่วนที่ทางกกต.เตรียมร่างพ.ร.บ.ที่จะเสนอมานั้น ถือว่าดี ถ้าสั้นก็ดี นอกจากนี้ถ้ามีการผลักดัน 3 วาระรวด จะมีปัญหา หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนจะไปคุยกับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และเชื่อว่าหากเป็นการแก้ไขที่ไม่มีกี่โต้แย้งอะไรเลย
ส่วนจะครบกับปฏิทินที่วางไว้ในใจหรือไม่ หากจะต้องมีการแก้กฎหมายลูก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอดูก่อน เพราตนยังมีความรู้สึกว่ามันรองรับในรัฐธรรมนูญแล้ว ในเรื่องของการแก้ระเบียบ ซึ่งต้องไปฟังผู้ปฏิบัติ และในการที่ตนเดินทางไปกกต.เพราะว่าเคารพในความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติ เกรงว่าเกิดปัญหาขึ้นมาทีหลัง
“ส่วนบ้านเมืองขณะนี้ ถือว่าไม่ได้มีปัญหา แต่อาจะไม่มีความเรียบร้อยบ้าง ก็แค่พยายามที่จะแก้ไขปัญหากันไป ซึ่งผมคิดว่าแม้จะมีความพยายามว่ามีความวุ่นวาย แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรที่จะมีความชัดเจนทิศทางของประเทศ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับกรณีที่มีบุคคลบางกลุ่มพยายาม ไม่ต้องการให้เกิดความเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การที่คนเห็นว่ามีช่องว่างอยู่ เพราะมีกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการตอบสนองต้องรวมตัวเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ถ้าทำอย่างนี้บ้านเมืองจะเดินหน้าได้ และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เพราะทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่าหากประชาธิปไตยถอยหลัง ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร แต่กลับเป็นการสร้างปัญหาขึ้นมา
จะกลายเป็นว่า จะมีการขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ให้ทำอย่างนั้น เพราะถ้าทำอย่างนั้นก็ผิดกฎหมาย ตนขอเตือนว่าถ้ามีพรรคการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้ ก็ผิดกฎหมาย และเข้าข่ายที่จะถูกยุบพรรค
ที่กระทรวงมหาดไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมเลือกตั้งตลอดเวลา เวลาไหนก็เหมาะสม แล้วที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควรให้ชะลอการยุบสภาไปก่อนนั้น เราต้องปฏิบัติตามผู้ที่ควบคุม ถ้ากำหนดมาอย่างนี้ เราก็พร้อมอยู่แล้ว เราไม่ได้เป็นผู้กระทำ เราเป็นผู้ถูกกระทำ ส่วนการจัดงานระดมทุน ทางพรรคยังไม่ได้คุยกัน
“นายกฯท่านยังไม่ได้ถาม แสดงว่าท่านยังไม่คิดจะยุบ”ส่วนช่วงเวลาที่จะยุบสภาไม่อยากจะคิดว่าเป็นเมื่อไหร่ เพราะนายกฯเป็นกัปตันของรัฐบาล ถ้าท่านคิดจะยุบเมื่อไหร่ เราก็พร้อมเมื่อนั้น
ที่ทำเนียบฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การระดมทุนของพรรคถือว่าเป็นการแสดงเจตนาให้ทุกฝ่ายได้เห็นว่า นายกฯ เดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งจริงๆ พวกตนได้เตรียมการทุกอย่างเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง ฉะนั้นที่ใครกล่าวหาว่านายกฯพูดไม่แน่นอน ไม่รู้จะยุบสภาเมื่อไหร่ เลือกตั้งเมื่อไหร่ตนก็บอกว่านี่คือสัญญาณที่ชัดเจน
ส่วนที่นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ พรรคภูมิใจไทย ระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความชัดเจนเรื่องยุบสภา ควรไปอ่านหนังสือเรื่องศรีธนญชัย มองว่าอย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าเขาพูดที่ไหนอย่างไร หรือหมายความอย่างไร ตอบไม่ได้
ส่วนที่นางสดศรียังระบุว่าหากสถานการณ์ยังมีม็อบ มีการชุมนุมต่างๆ แต่จะมีเลือกตั้งเกิดขึ้น ควรมีการใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักรในช่วงเลือกตั้งนายสุเทพ กล่าวว่า อย่าไปคาดการณ์อะไรในทางร้ายก่อนเลย ช่วยกันพูดคุยตักเตือนบอกกล่าวกลุ่มต่างๆ ดีกว่า สร้างบรรยากาศให้ดี จัดตั้งการเลือกตั้งให้เรียบร้อย กลับมาก็จะได้เริ่มต้นกันใหม่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า นายอภิสิทธิ์ไปในฐานะนายกฯ หรือหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และจะไปพบทำไม การที่อ้างว่าจะไปดูความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งหากรัฐบาลประกาศยุบสภานั้น เป็นการสร้างภาพเพื่อชะลอเกมยุบสภามากกว่า โดยเฉพาะการออกกฎหมายลูกถ้ารัฐบาลมีความจริงใจ ก็สามารถใช้เสียงข้างมากผ่าน 3 วาระรวดได้เลย ล่าสุดทราบว่ารัฐบาลได้ทำโพลแล้วพบว่าคะแนนร่วงกราวรูด ไม่ถึงครึ่ง ดังนั้นเชื่อว่ารัฐบาลไม่กล้ายุบสภาตอนนี้แน่ ต้องยื้ออยู่ต่อไปเพื่อเรียกคะแนนคืนก่อน และการไปพบกกต.ครั้งนี้มีนัยแอบแฝงเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์จะไปพูดคุยถึงการจับวางเขตพื้นที่ตามระบบเลือกตั้งใหม่เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ และนี่เป็นการที่ฝ่ายบริหารเข้าไปแทรกแซงกกต.หรือไม่.