ประเทศเวียดนามประกาศลดค่าเงินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จาก 18,932 ดองต่อดอลลาร์สหรัฐฯ มาเป็น 20,693 ดองต่อดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 9.3 และเป็นการปรับลดครั้งที่ 4 ในรอบ 15 เดือน นับตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2552 สาเหตุที่เวียดนามต้องลดค่าเงินก็คือ ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างเรื้อรังมาโดยตลอด การลดค่าเงินมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว แต่การใช้มาตรการลดค่าเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะเหตุนี้รัฐบาลเวียดนามจึงได้ออกมาตรการอื่นตามมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาที่รุนแรงและสลับซับซ้อน ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าการลดค่าเงินครั้งนี้ยังไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ และมีความเป็นไปได้สูงว่าเวียดนามอาจจะต้องลดค่าเงินอีกในอนาคต
เวียดนามก็เหมือนกับประเทศเริ่มพัฒนาส่วนใหญ่ที่มีความจำเป็นในการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อการผลิตของภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของทั้งประเทศจึงขยายตัวสูง การเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูง โดย IMF คาดการณ์ว่า มีการขาดดุลงบประมาณถึงร้อยละ 6.025 ของมูลค่าเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2553 แม้รัฐบาลจะเร่งลงทุน แต่ทว่าโครงสร้างพื้นฐานก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ตัวอย่างเช่นมา เนื่องจากประเทศกำลังเข้าสู่หน้าแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง เวียดนามจึงต้องนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากจีนถึง 45,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
นอกจากการใช้จ่ายภาครัฐและเอกชนแล้ว การที่เวียดนามมีศักยภาพการเติบโตอีกมาก ทำให้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา ทั้งการเร่งใช้จ่ายภาครัฐและเอกชน บวกกับการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้เวียดนามมีเศรษฐกิจที่ร้อนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการที่การออมไม่พอเพียงที่จะสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ความร้อนแรงดังกล่าวยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสูงถึงร้อยละ 12.31 (เพิ่มจากร้อยละ 12.17 ในเดือนก่อนหน้า) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจปรับลดค่าเงินที่ผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 4 ครั้งในรอบ 15 เดือน
ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาครัฐได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และลดการขาดดุลงบประมาณ โดยธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 11 และปรับเพิ่ม Reverse Repurchase Rate ระยะ 7 วัน จากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 12 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนได้ เงินทุนยังไหลออก และค่าเงินดองของเวียดนามถูกกดดันให้ลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐบาลจึงมีคำสั่งให้รัฐวิสาหกิจหลักๆ ของประเทศขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับธนาคารพาณิชย์ของเวียดนาม และเพื่อพยุงค่าเงิน นอกจากนี้ เพื่อลดภาระการคลังและการขาดดุลงบประมาณ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัฐบาลได้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าอีกร้อยละ 15 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ รัฐบาลประกาศเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลอีกร้อยละ 24
ด้วยความซับซ้อนของปัญหา ทำให้การลดค่าเงินและมาตรการเพิ่มเติมยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมาได้ เนื่องจากมาตรการภาครัฐต่างๆ มีผลน้อย เช่น การขื้นอัตราดอกเบี้ยก็เป็นเพียงการชะลอการเพิ่มของอุปสงค์ได้เพียงเล็กน้อย ขณะที่มาตรการอื่นๆ เช่นการเพิ่มราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าก็เป็นเพียงการลดภาระทางการคลังในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้มีการลดการใช้จ่ายภาครัฐอย่างจริงจัง ดังนั้น อุปสงค์โดยรวมจึงชะลอตัวลงไม่มากพอ นอกจากนี้ การลดค่าเงินและการปรับเพิ่มราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้ายังทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปอีก ซึ่งจะมีผลให้อำนาจซื้อและค่าเงินดองลดลง และจะส่งผลให้ค่าเงินดองมีแนวโน้มลดค่าลงได้อีกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดโดย The Wall Street Journal ที่ว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเวียดนามจะลดค่าเงินอีกในอนาคต
จากแนวทางในการแก้ไขปัญหา และแรงกดดันเงินเฟ้อจากการลดค่าเงินบวกกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น ผมมีความเห็นว่า มาตรการทั้งหมดยังไม่เพียงพอที่จะลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ดังนั้นในอนาคตเวียดนามยังจะต้องลดค่าเงินลงอีกอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งแม้ว่าจะมีผลเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่จะมีผลต่อธุรกิจบางประเภทที่แข่งขันกับเวียดนามในตลาดโลกซึ่งได้แก่ข้าว และสินค้าอุตสาหกรรมราคาถูก เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าราคาถูก เพราะสินค้าเหล่านี้ของเวียดนามจะมีราคาถูกลงโดยเปรียบเทียบกับสินค้าไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยในธุรกิจดังกล่าวจึงควร เตรียมการรองรับการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกกว่าจากเวียดนาม
เวียดนามก็เหมือนกับประเทศเริ่มพัฒนาส่วนใหญ่ที่มีความจำเป็นในการลงทุนทั้งโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อการผลิตของภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของทั้งประเทศจึงขยายตัวสูง การเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณสูง โดย IMF คาดการณ์ว่า มีการขาดดุลงบประมาณถึงร้อยละ 6.025 ของมูลค่าเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2553 แม้รัฐบาลจะเร่งลงทุน แต่ทว่าโครงสร้างพื้นฐานก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ตัวอย่างเช่นมา เนื่องจากประเทศกำลังเข้าสู่หน้าแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง เวียดนามจึงต้องนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากจีนถึง 45,000 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
นอกจากการใช้จ่ายภาครัฐและเอกชนแล้ว การที่เวียดนามมีศักยภาพการเติบโตอีกมาก ทำให้มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา ทั้งการเร่งใช้จ่ายภาครัฐและเอกชน บวกกับการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้เวียดนามมีเศรษฐกิจที่ร้อนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการที่การออมไม่พอเพียงที่จะสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ความร้อนแรงดังกล่าวยังส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสูงถึงร้อยละ 12.31 (เพิ่มจากร้อยละ 12.17 ในเดือนก่อนหน้า) เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจปรับลดค่าเงินที่ผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 4 ครั้งในรอบ 15 เดือน
ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาครัฐได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และลดการขาดดุลงบประมาณ โดยธนาคารกลางปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรจากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 11 และปรับเพิ่ม Reverse Repurchase Rate ระยะ 7 วัน จากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 12 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนได้ เงินทุนยังไหลออก และค่าเงินดองของเวียดนามถูกกดดันให้ลดค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ รัฐบาลจึงมีคำสั่งให้รัฐวิสาหกิจหลักๆ ของประเทศขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับธนาคารพาณิชย์ของเวียดนาม และเพื่อพยุงค่าเงิน นอกจากนี้ เพื่อลดภาระการคลังและการขาดดุลงบประมาณ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัฐบาลได้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าอีกร้อยละ 15 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ รัฐบาลประกาศเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลอีกร้อยละ 24
ด้วยความซับซ้อนของปัญหา ทำให้การลดค่าเงินและมาตรการเพิ่มเติมยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมาได้ เนื่องจากมาตรการภาครัฐต่างๆ มีผลน้อย เช่น การขื้นอัตราดอกเบี้ยก็เป็นเพียงการชะลอการเพิ่มของอุปสงค์ได้เพียงเล็กน้อย ขณะที่มาตรการอื่นๆ เช่นการเพิ่มราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าก็เป็นเพียงการลดภาระทางการคลังในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้มีการลดการใช้จ่ายภาครัฐอย่างจริงจัง ดังนั้น อุปสงค์โดยรวมจึงชะลอตัวลงไม่มากพอ นอกจากนี้ การลดค่าเงินและการปรับเพิ่มราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้ายังทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไปอีก ซึ่งจะมีผลให้อำนาจซื้อและค่าเงินดองลดลง และจะส่งผลให้ค่าเงินดองมีแนวโน้มลดค่าลงได้อีกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุดโดย The Wall Street Journal ที่ว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าเวียดนามจะลดค่าเงินอีกในอนาคต
จากแนวทางในการแก้ไขปัญหา และแรงกดดันเงินเฟ้อจากการลดค่าเงินบวกกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้น ผมมีความเห็นว่า มาตรการทั้งหมดยังไม่เพียงพอที่จะลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ ดังนั้นในอนาคตเวียดนามยังจะต้องลดค่าเงินลงอีกอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งแม้ว่าจะมีผลเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่จะมีผลต่อธุรกิจบางประเภทที่แข่งขันกับเวียดนามในตลาดโลกซึ่งได้แก่ข้าว และสินค้าอุตสาหกรรมราคาถูก เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าราคาถูก เพราะสินค้าเหล่านี้ของเวียดนามจะมีราคาถูกลงโดยเปรียบเทียบกับสินค้าไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยในธุรกิจดังกล่าวจึงควร เตรียมการรองรับการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกกว่าจากเวียดนาม