บลจ.กรุงไทยประเมิน หุ้น ทองคำยังผันผวนหลังความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปยังไม่คลี่คลาย แนะจับตาดูการประชุมหรือการตัดสินใจสำคัญๆของทั้งสองประเทศ มองดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,040-1,150 จุด
รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงภาวะตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนว่า ดัชนีฯยังคงมีความผันผวนแก่วงตัวขึ้นและลงสลับกันต่อเนื่อง โดยอิทธพลจากปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอยู่ ซึ่งประเด็นที่ต้องติดตามได้แก่ มาตรการผ่อนตลายทางการเงินของเฟคที่อาจมีการประกาศออกมาในการประชุมวันที่ 20-21 กันยายน 2554 การจ่ายคืนหนี้จำนวนสูงของอิตาลีในเดือนกันยายน การลงมติอนุมัติข้อเสนอการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขบางด้านในกองทุนรักษาเสถียรภาพทางการเงินของยุโรป (EFSF) ซึ่งรวมถึงการเพิ่มอำนาจให้กับกองทุนดังกล่าวในการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศยูโรโซนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีในวันที่ 29 กันยายน และตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและจีน การลงทุนจึงแนะนำหุ้นที่มีปันผลที่ดี และยังคงได้รับผลดีจากนโยบายภาครัฐเป็นหลัก โดยดัชนีฯมีกรอบการแกว่งตัวระหว่าง 1,040-1,150 จุด
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในตลาดตราสารนี้ นั้นคาดว่าความไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจโลก และความกังวลต่อการเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบสองของสหรัฐฯและประเด็นหนี้สาธารณะในยุโรปยังจะทำให้เงินลงทุนยังคงอยู่ในตลาดตราสารหนี้อยู่ เส้นอัตราผลตอบแทนอาจไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนมากนัก ถ้าหากว่าไม่มีปัจจัยเนื่องจากเดือนกันยายนไม่มีการประชุมกนง.และมุมมองในตลาดยังไม่แน่ใจกนง.จะขึ้นดอกเบี้ยอีกหรือไม่
ขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุยาวขึ้นที่ได้ปรับลดลงมาค่อนข้างมาก จนทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาวขึ้นที่ปรับลดลงมาค่อนข้างมาก จนทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีลักษณะ Flat ไม่น่าจะปรับตัวลดไปกว่านี้มากนัก แต่ถ้าหากโอบามา ประกาศแผนกระตุ้นการจ้างงานที่มีความน่าเชื่อถือ หนือ Fed มีมาตรการใดๆออกมา ก็อาจมีการโยกเม็ดเงินจากการตลาดตราสารหนี้ไปยังตลาดอื่นได้รวดเร็วเช่นกัน
ในส่วนของค่าเงินบาทฝ่ายวิจัยบลจ.กรุงไทย กล่าวว่า จะยังมีความผัวผวนอยู่ในกรอบใกล้เคียง USD/THB 30.0 หรือต่ำกว่าเล็กน้อย ในช่วงเดือนกันยายน เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่ๆเข้ามากระตุ้น ความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกอาจจะเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาท แต่จากภาคการส่งออกของไทยที่ยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่จะพยุงค่าเงินบาทเอาไว้ ซึ่งปัจจัยภายนอกต่างๆเช่น การแถลงนโยบายของโอบมา การประชุม FOMC การอนุมัติขยายขนาดและบทบาทของกองทุน EFSF และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆจะผลักดันให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหลักของโลกมีความผันผวนตลอดเดือนนี้แต่อาจจะขาดทิศทางที่ชัดเจน แต่ต้องระวังท่าทีของรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางสวิสที่อาจเข้าแทรกแซงได้อีกถ้าหากค่าเงินหยวนหรือสวิสฟรังค์แข็งค่าไปกว่านี้
สำหรับทิศทางราคาทองคำในเดือนนี้ ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯและปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย เป็นปัจจัยสนับสนุนราคาทองคำต่อไป คาดว่าราคาทองคำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ่น แต่ต้องระวังความผัวนผวนด้วย ทั้งนี้ในเดือนนี้นอกจากเหนือจากตัวเลขเศรษฐกิจที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวหรือไม่ยังเหตุการณ์ที่ยังต้องให้ติดตามเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็น การแถลงการณ์ของโอบมา การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีเกี่ยวกับการช่วยเหลือของรัฐบาลเยอรมนีแก่ประเทศอื่นในปีก่อน การประชุม FOMC การลงมติของรัฐสภาเยอรมนีต่อการขยายวงเงินและบทบาทของกองทุน EFSF ซึ่งคาดว่าตลาดน่าจะมีความกังวลในช่วงเหตุการณ์เหล่านี้ ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำ แต่ถ้าหากว่าผลลัพธ์ของเหตุการณ์เหล่านี้ออกมาในทางที่ดีก็อาจะมีแรงเทยายทำกำไรออกมาได้