วันก่อนมีคนปรารภขึ้นว่า ทำอย่างไรการเมืองไทยจึงจะหาทางเลือกที่สามได้
ทางเลือกที่หนึ่ง คือ การมีการเลือกตั้งที่ใช้เงินจำนวนมาก และเงินเป็นปัจจัยหลักของการเมืองไทย ใครไม่มีเงินก็ไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้แทนได้ พรรคการเมืองต้องมีเงินไว้ดูแล ส.ส. ต้องจ่ายเงินเดือนเป็นพิเศษให้ ส.ส.เดือนละแสนบาท หาก ส.ส.คนใดได้เป็นรัฐมนตรีก็มีหน้าที่เข้าไปหาผลประโยชน์ให้พรรค สรุปคือการเมืองแบบนี้เรียกว่า “ธนาธิปไตย” หมายความว่า เงินเป็นใหญ่ การเมืองเช่นนี้ซ้ำรอยเดิมอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน ทำให้คนเบื่อการเมือง
ทางเลือกที่สอง คือ การมีปฏิวัติรัฐประหารเป็นระยะ เมืองไทยเรามีการปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมก้าวหน้าไปแค่ไหน ก็ยังมีการปฏิวัติอยู่ ในระยะหลังๆ มักจะมีความขัดแย้งรุนแรงก่อน และหลังการปฏิวัติ ประชาชนเริ่มไม่กลัวทหาร และออกมาต่อต้านอย่างกว้างขวาง
เวลานี้คนไม่มีความหวังกับการเมืองไทย ในแง่ที่ว่าหากมีการเลือกตั้ง การเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม มิหนำซ้ำนักการเมืองก็ยังคงหาผลประโยชน์อยู่ และเรียกเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นทุกวัน
ในอเมริกา การเลือกตั้งแต่ละครั้งต้องใช้เงินมากหลายร้อยล้านบาท คนไม่มีเงินก็เป็นประธานาธิบดี หรือวุฒิสมาชิกไม่ได้ แต่การบริจาคเงินช่วยผู้สมัครมีความโปร่งใส แต่สรุปแล้ว การเมืองก็ยังคงเป็นการเมืองเรื่องของเงินอยู่ดี
มีคนบอกว่า นี่แหละคือ “ค่าโสหุ้ย” ของประชาธิปไตยที่เราต้องยอมรับและยอมทนไป ถึงอย่างไรก็ยังดี เพราะเมื่อได้รับเลือกตั้งไปแล้ว นักการเมืองก็ยังต้องถูกควบคุม และตรวจสอบโดยกลุ่มคน และมาตรการพิเศษกว่าคนปกติทั่วไป
การเมืองที่เงินเป็นใหญ่นี้ ระบาดไปถึงการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ไม่เว้นแม้แต่ในชุมชนเล็กๆ ระดับตำบล ที่มีคนกล่าวว่า การเลือก อบต.แต่ละครั้งต้องใช้เงินหลายล้าน แม้ว่าคนที่ไม่ค่อยใช้เงิน จะได้รับเลือกตั้งเข้ามาบ้าง อย่างหมอแหยง ที่อบจ.โคราช แต่ก็มีน้อยคนมาก ในกรณีของนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก หรือหมอแหยงนี้ เพราะเป็นหมออยู่หลายอำเภอนานหลายสิบปีจึงได้รับเลือก แต่คราวหน้าก็ไม่แน่ เพราะคู่แข่งมีเงินมาก
มีการหาหนทางควบคุมการใช้เงินในการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เป็นผลตราบเท่าที่ประชาชนยังคงยอมขายเสียงอยู่ ดังนั้นจะโทษใครไม่ได้ นอกจากโทษตัวเอง เราจะหวังแก้ปัญหาด้านต้นเหตุคงลำบาก อย่างน้อยก็ต้องรอให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความสำนึกหวงแหนสิทธิเสียก่อน ที่พอทำได้ก็คือ ระบอบประชาธิปไตยต้องสร้างมาตรการ และกระบวนการในการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ปัจจัยที่ช่วยได้มากก็คือ กลุ่มประชาชนที่ตื่นตัว และสื่อมวลชนที่เป็นอิสระ และเข้มแข็ง
ปรากฏการณ์ชุมนุม และการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ชี้ว่า ไม่ว่านักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะใช้เงินมากเพียงใด แต่พลังทัดทานได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นพลังที่คอยถ่วงดุลทั้งอำนาจที่มาจากนักการเมือง และถ่วงดุลอำนาจเผด็จการทหารด้วย ดังนั้นแม้การเมืองไทยจะมีข้อเสียตรงกระบวนการทางการเมืองในขั้นต้น แต่ก็ยังมีข้อดีตรงที่พลังถ่วงดุลการใช้อำนาจในทางที่ผิดมีอยู่สูงมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีการคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การหาทางเลือกที่สาม คงไม่มี จะมีก็แต่การดูภาพรวมของการเมืองทั้งหมด เมืองไทยโชคดีตรงที่สื่อมวลชนมีความเข้มแข็ง ทั้งคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างมีความตื่นตัวสูง และต้องการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น อิทธิพลของเคเบิลทีวี โทรศัพท์มือถือ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ยังคงเป็นระบอบการเมืองที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ
สรุปว่า การเมืองไทยมีการพัฒนาไปพอสมควร แม้ตัวสถาบันทางการเมือง เช่น พรรคการเมืองจะไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ พรรคการเมืองเริ่มตื่นตัวที่จะเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรม และการเสนอทางเลือกนโยบายที่แตกต่างกัน กลายเป็นประเด็นการแข่งขันในการเลือกตั้งมากกว่า แต่ก่อนประชาชนเริ่มให้ความสนับสนุนนโยบายของพรรคมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้นพิจารณาในแง่นี้ก็ต้องกล่าวว่า มีการพัฒนาทางการเมืองมากกว่าในยุคก่อนๆ กลุ่มพลังต่างๆ สามารถมีบทบาททางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสิทธิของชุมชนในการรักษาทรัพยากร
ปรากฏการณ์ใหม่ในการเมืองไทย คือ การเห็นความสำคัญของผู้นำในแง่ของการคาดหวังที่มีต่อตัวผู้นำ ในแง่นี้ต้องให้เครดิต พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทำให้บทบาทของผู้นำมีความสำคัญขึ้น ประชาชนต้องการผู้นำที่เก่ง และมีความรวดเร็วฉับไว ถึงขนาดที่ยอมแลกกับการที่ผู้นำนั้นโกงชาติบ้านเมืองด้วย ดังนั้นความซื่อสัตย์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลงด้วย และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ หมดสมัยของ “อัศวินม้าขาว” ที่มาจากกองทัพแล้ว เพราะโลกสมัยใหม่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะมีผู้นำแบบจอมพลสฤษดิ์ ประชาชนต้องการผู้นำที่รู้เศรษฐกิจโลก และนำประเทศให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
หากเรามองภาพรวมของการเมืองทั้งหมด ก็ต้องกล่าวว่า ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เราไม่ได้อยู่กับที่หรือเสื่อมลง แม้การเมืองจะดูอยู่กับที่หรือแย่ลง ดูไม่มีทางออก แต่สังคมก็ได้เปลี่ยนแปลงก้าวล้ำไปกว่าการเมือง คิดอย่างนี้ได้ก็ใจชื้น และไม่เซ็งกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต
ทางเลือกที่หนึ่ง คือ การมีการเลือกตั้งที่ใช้เงินจำนวนมาก และเงินเป็นปัจจัยหลักของการเมืองไทย ใครไม่มีเงินก็ไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้แทนได้ พรรคการเมืองต้องมีเงินไว้ดูแล ส.ส. ต้องจ่ายเงินเดือนเป็นพิเศษให้ ส.ส.เดือนละแสนบาท หาก ส.ส.คนใดได้เป็นรัฐมนตรีก็มีหน้าที่เข้าไปหาผลประโยชน์ให้พรรค สรุปคือการเมืองแบบนี้เรียกว่า “ธนาธิปไตย” หมายความว่า เงินเป็นใหญ่ การเมืองเช่นนี้ซ้ำรอยเดิมอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดการคอร์รัปชัน ทำให้คนเบื่อการเมือง
ทางเลือกที่สอง คือ การมีปฏิวัติรัฐประหารเป็นระยะ เมืองไทยเรามีการปฏิวัติอยู่ตลอดเวลา แม้จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมก้าวหน้าไปแค่ไหน ก็ยังมีการปฏิวัติอยู่ ในระยะหลังๆ มักจะมีความขัดแย้งรุนแรงก่อน และหลังการปฏิวัติ ประชาชนเริ่มไม่กลัวทหาร และออกมาต่อต้านอย่างกว้างขวาง
เวลานี้คนไม่มีความหวังกับการเมืองไทย ในแง่ที่ว่าหากมีการเลือกตั้ง การเมืองก็ยังคงเหมือนเดิม มิหนำซ้ำนักการเมืองก็ยังคงหาผลประโยชน์อยู่ และเรียกเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นทุกวัน
ในอเมริกา การเลือกตั้งแต่ละครั้งต้องใช้เงินมากหลายร้อยล้านบาท คนไม่มีเงินก็เป็นประธานาธิบดี หรือวุฒิสมาชิกไม่ได้ แต่การบริจาคเงินช่วยผู้สมัครมีความโปร่งใส แต่สรุปแล้ว การเมืองก็ยังคงเป็นการเมืองเรื่องของเงินอยู่ดี
มีคนบอกว่า นี่แหละคือ “ค่าโสหุ้ย” ของประชาธิปไตยที่เราต้องยอมรับและยอมทนไป ถึงอย่างไรก็ยังดี เพราะเมื่อได้รับเลือกตั้งไปแล้ว นักการเมืองก็ยังต้องถูกควบคุม และตรวจสอบโดยกลุ่มคน และมาตรการพิเศษกว่าคนปกติทั่วไป
การเมืองที่เงินเป็นใหญ่นี้ ระบาดไปถึงการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ไม่เว้นแม้แต่ในชุมชนเล็กๆ ระดับตำบล ที่มีคนกล่าวว่า การเลือก อบต.แต่ละครั้งต้องใช้เงินหลายล้าน แม้ว่าคนที่ไม่ค่อยใช้เงิน จะได้รับเลือกตั้งเข้ามาบ้าง อย่างหมอแหยง ที่อบจ.โคราช แต่ก็มีน้อยคนมาก ในกรณีของนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก หรือหมอแหยงนี้ เพราะเป็นหมออยู่หลายอำเภอนานหลายสิบปีจึงได้รับเลือก แต่คราวหน้าก็ไม่แน่ เพราะคู่แข่งมีเงินมาก
มีการหาหนทางควบคุมการใช้เงินในการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่เป็นผลตราบเท่าที่ประชาชนยังคงยอมขายเสียงอยู่ ดังนั้นจะโทษใครไม่ได้ นอกจากโทษตัวเอง เราจะหวังแก้ปัญหาด้านต้นเหตุคงลำบาก อย่างน้อยก็ต้องรอให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความสำนึกหวงแหนสิทธิเสียก่อน ที่พอทำได้ก็คือ ระบอบประชาธิปไตยต้องสร้างมาตรการ และกระบวนการในการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ปัจจัยที่ช่วยได้มากก็คือ กลุ่มประชาชนที่ตื่นตัว และสื่อมวลชนที่เป็นอิสระ และเข้มแข็ง
ปรากฏการณ์ชุมนุม และการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ชี้ว่า ไม่ว่านักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะใช้เงินมากเพียงใด แต่พลังทัดทานได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นพลังที่คอยถ่วงดุลทั้งอำนาจที่มาจากนักการเมือง และถ่วงดุลอำนาจเผด็จการทหารด้วย ดังนั้นแม้การเมืองไทยจะมีข้อเสียตรงกระบวนการทางการเมืองในขั้นต้น แต่ก็ยังมีข้อดีตรงที่พลังถ่วงดุลการใช้อำนาจในทางที่ผิดมีอยู่สูงมาก ดังจะเห็นได้จากกรณีการคัดค้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
การหาทางเลือกที่สาม คงไม่มี จะมีก็แต่การดูภาพรวมของการเมืองทั้งหมด เมืองไทยโชคดีตรงที่สื่อมวลชนมีความเข้มแข็ง ทั้งคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างมีความตื่นตัวสูง และต้องการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น อิทธิพลของเคเบิลทีวี โทรศัพท์มือถือ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ยังคงเป็นระบอบการเมืองที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ
สรุปว่า การเมืองไทยมีการพัฒนาไปพอสมควร แม้ตัวสถาบันทางการเมือง เช่น พรรคการเมืองจะไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ พรรคการเมืองเริ่มตื่นตัวที่จะเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรม และการเสนอทางเลือกนโยบายที่แตกต่างกัน กลายเป็นประเด็นการแข่งขันในการเลือกตั้งมากกว่า แต่ก่อนประชาชนเริ่มให้ความสนับสนุนนโยบายของพรรคมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้นพิจารณาในแง่นี้ก็ต้องกล่าวว่า มีการพัฒนาทางการเมืองมากกว่าในยุคก่อนๆ กลุ่มพลังต่างๆ สามารถมีบทบาททางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสิทธิของชุมชนในการรักษาทรัพยากร
ปรากฏการณ์ใหม่ในการเมืองไทย คือ การเห็นความสำคัญของผู้นำในแง่ของการคาดหวังที่มีต่อตัวผู้นำ ในแง่นี้ต้องให้เครดิต พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทำให้บทบาทของผู้นำมีความสำคัญขึ้น ประชาชนต้องการผู้นำที่เก่ง และมีความรวดเร็วฉับไว ถึงขนาดที่ยอมแลกกับการที่ผู้นำนั้นโกงชาติบ้านเมืองด้วย ดังนั้นความซื่อสัตย์อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ผู้นำต้องกล้าเปลี่ยนแปลงด้วย และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ หมดสมัยของ “อัศวินม้าขาว” ที่มาจากกองทัพแล้ว เพราะโลกสมัยใหม่มีความซับซ้อนเกินกว่าที่เราจะมีผู้นำแบบจอมพลสฤษดิ์ ประชาชนต้องการผู้นำที่รู้เศรษฐกิจโลก และนำประเทศให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้
หากเรามองภาพรวมของการเมืองทั้งหมด ก็ต้องกล่าวว่า ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เราไม่ได้อยู่กับที่หรือเสื่อมลง แม้การเมืองจะดูอยู่กับที่หรือแย่ลง ดูไม่มีทางออก แต่สังคมก็ได้เปลี่ยนแปลงก้าวล้ำไปกว่าการเมือง คิดอย่างนี้ได้ก็ใจชื้น และไม่เซ็งกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต