ASTVผู้จัดการรายวัน - “มาร์ค” ยังเพ้อทวิภาคีแก้ปัญหาชายแดน แม้ “ฮุนเซน”กร้าวต้องมีคนกลาง ปั่นกระแสอินโดฯส่งผู้แทนสังเกตการณ์พื้นที่พิพาท ด้าน “บัวแก้ว”ปัดนายกฯพูดถอนปราสาทเขาพระวิหารออกจากขึ้นทะเบียนมรดกโลก หลังผู้นำแขมร์อัดเป็นเรื่องน่าละอาย ลือ“ทหารไทย” รอจัดหนัก หลังถูกหยามให้ทูตทหารฝั่งเขมรทัวร์ปราสาทพระวิหาร-พื้นที่4.6 ตร.กม.
วานนี้ (4 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายกฯฮุนเซน ยืนยันจะไม่เจรจาทวิภาคีกับไทยต้องให้อินโดนีเซียมาเป็นคนกลางว่า ไม่หรอก ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทุกคนสนับสนุนให้กลไกทวิภาคีเดินหน้าต่อ เพียงแต่อินโดนีเซียจะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ต้องดูรูปแบบ เมื่อถามว่า ยืนยันว่าจะเป็นการเจรจาทวิภาคีใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใช่ครับ มันคือ ไบเร็ทเทอร์รอล นีโก ทีเอชั่น (Bilateral negotiations.) ไม่ว่าจะใครก็ตามสุดท้ายมันก็แค่ 2 ฝ่าย เพียงแต่อยากจะให้อินโดนีเซียมาสังเกตการณ์หรืออำนวยความสะดวกก็ต้องมาพูดกัน
ส่วนการเจรจาทวิภาคีวันที่ 7-8 เม.ย. จะมีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ายังไม่ทราบ ว่าทางกัมพูชาจะเอาอย่างไร เมื่อถามว่า การเจรจาทวิภาคีจะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้นำทั้งสองประเทศเจอกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกลไกเป็นไปตามปกติมีหลายกลไก คือเจบีซี อาร์บีซี เมื่อถามว่า หลายส่วนมองว่าควรจะพบกันก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกลไกมีความชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อถามด้วยว่า ทางสมเด็จฮุนเซนอ้างว่าได้รับแจ้งจากทางผู้แทนยูเนสโก้ว่าไทยขอให้มีการถอนการขึ้นทะเบียนมรดกโลก นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่จริงหรอกเพียงแต่เราบอกว่า ขณะนี้เราเดินหน้าเรื่องแผนบริหารจัดการทำให้เกิดปัญหามากขึ้น ในที่สุดจะทำให้เป็นปัญหาระยะยาว และทางคณะกรรมการมรดกโลกเอง ตราบเท่าที่ยังมีข้อพิพาทกันอยู่ แล้วให้มีการเข้ามาบริหารจัดการในพื้นที่ของไทยไม่สามารถทำได้ ตนพูดในกรอบตรงนั้น ไม่ได้พูดในแนวการถอดออกจากมรดกโลก
เสำหรับท่าทีของกัมพูชาทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเขาพยายามให้ข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับเขา สุดท้ายก็ต้องเข้าใจว่าการแก้ปัญหาต้องกลับมาที่ทวิภาคี เมื่อถามอีกว่าทางอินโดนีเซียยืนยันกลับมาหรือยังว่าจะช่วยประสานในการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังเลยครับ
มีรายงานแจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามของผู้สื่อข่าวกรณีมีการรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของโฆษกนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่อ้างว่านาย Koichiro Matsuura ผู้แทนพิเศษขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะขอให้ UNESCO ถอนปราสาทพระวิหารออกจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก” ดังนี้
1.ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ยกประเด็นการถอนชื่อปราสาทพระวิหารออกจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ระหว่างการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO เมื่อวันที่ 25กุมภาพันธ์ 54และเมื่อผู้แทนพิเศษของ UNESCO กล่าวถึงเรื่องนี้ขึ้นมา นายกรัฐมนตรีก็ได้ตอบว่า “ไม่มีใครพูดเรื่องการถอนออกจากการขึ้นทะเบียน” นอกจากนี้ หลังจากการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับสื่อมวลชนด้วยว่า ประเทศไทยตระหนักดีถึงคุณค่าอันโดดเด่นและเป็นสากลของปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งควรที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เข้าชม
2.ท่าทีของประเทศไทยต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้ว กล่าวคือ ตราบใดที่ประเด็นเรื่องเขตแดนยังคงมีอยู่ การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหารควรจะเลื่อนออกไปก่อนจนกว่าการเจรจาเขตแดนภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาจะแล้วเสร็จ ซึ่งรวมไปถึงการพิจารณาแผนบริหารจัดการด้วย เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
3.ประเทศไทยยืนยันความพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่กับกัมพูชาและประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อหาทางออกให้กับประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำระหว่างการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO ว่า ไทยได้เชิญนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา มาเยือนประเทศไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในโอกาสแรก ซึ่งผู้แทนพิเศษของ UNESCO ก็ได้แสดงความสนับสนุนอย่างเต็มที่ที่ทั้งสองประเทศจะหารือทวิภาคีกันต่อไป
**หยามไทยพาทูตทหารเหยียบ 4.6 ตร.กม.
วันเดียวกัน สำนักข่าว “ข่าวด่วนกัมพูชาและหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่” รายงาน อ้างถึงการที่พลเอกเนียง พัท ปลัดกลาโหมเขมรการนำคณะทูตทหารเดินดูความเสียหายบริเวณพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ โดยระบุว่าทูตทหาร 17 คนจาก 12 สถานทูตในกรุงพนมเปญประสบความสำเร็จในการเยือนพื้นที่ที่เรียกว่าเขตพิพาทไทย-เขมร เมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม แม้มีคำขู่และความพยายามต่อต้านจากทหารไทย
ทูตทหารทั้ง 17 คน เดินทางถึงพื้นที่เมื่อเวลา 11.30 น. ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นกันเองจาก พลเอก เจีย ดารา รองผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา พร้อมบุตรชายคนโตของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน พลตรี ฮุน มาเณต รองผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารราบ
คณะใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการเยี่ยมพื้นที่ ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการกัมพูชาที่ปรามนัคครา เข้าชมโคปุระทั้ง 5 ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากกระสุนปืนใหญ่ไทย ตลอดจนการเยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยเช่นเดียวกัน
พลโทสรัย ดึ๊ก ผู้บัญชาการฐานปฏิบัติการพระวิหาร กล่าวว่าทหารไทยขู่จะขัดขวางการเดินทางเยือน เขากล่าวว่าเมื่อคณะเดินทางมาถึง ทหารไทยได้เข้ามายื่นจดหมายประท้วงที่มีข้อความระบุว่าประเทศไทยไม่อนุญาตให้ตัวแทนเดินทางข้ามเข้ามาในเขต 4.6 ตร.กม. รวมถึงวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระซึ่งถือว่าอยู่ในเขตพิพาท จดหมายกล่าวว่าประเทศไทยจะอนุญาตให้คณะข้ามเข้ามาในเขตเฉพาะเมื่อมีทหารไทย 5 นาย ได้รับอนุญาตให้ร่วมติดตามคณะไปด้วย ฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยและส่งจดหมายตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยด้วยการเตือนว่าถ้าฝ่ายไทยเปิดการยิง ฝ่ายกัมพูชาจะตอบโต้ด้วยมาตรการป้องกันตนเอง
รายงานแจ้งว่า คณะได้เยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ บันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร โคปุระที่ 3 4 และ 5 ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยระหว่างการปะทะด้วยอาวุธ เมื่อวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ คณะได้มีโอกาสเห็นครัสเตอร์บอมบ์ที่หลงเหลือจากกระสุนปืนใหญ่ของไทย
“กัมพูชาต้องการให้ทูตทหารเห็นด้วยตาตัวเองถึงความเสียหายจากการยิงกระสุนปืนใหญ่ไทยในสงครามล่าสุด” พล
เอก เจีย ดารา กล่าวระหว่างการเยือนของคณะตัวแทน เขานำคณะไปดูหลุม รอยร้าว เศษแตกหักของปราสาทพระวิหารที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ของไทย
“ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ทหารกัมพูชาสาบานที่จะปกป้องแผ่นดินของเราจากการรุกล้ำใด ๆ ของ
ประเทศไทย” เขากล่าว “กัมพูชาไม่เคยรุกล้ำเข้าไปในประเทศอื่น เราต้องการให้เป็นพรมแดนแห่งสันติภาพและความ
ร่วมมือ แต่ถ้าเขารุกล้ำเข้ามาในดินแดนของเรา เราต้องใช้สิทธิปกป้องตัวเอง”
การเยือนนี้เกิดขึ้นตามหลังการเยือนแบบเดียวกันของทูตทหารไปยังฝั่งไทยของเขตแดน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์
ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมไทย
มีกระแสข่าวจากพื้นที่ว่า ทหารไทย พยายามเสนอมายังกระทรวงกลาโหม เพื่อปิดด่านชายแดนถาวรตลอดฝั่งชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำดังกล่าว โดยมีการจัดกำลังตรึงชายแดนอย่างเข้มงวด
**ฮวยเซงเพ้อไทยก่อสงครามวัฒนธรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า ประเทศกัมพูชาเมื่อวันพฤหัสบดีจัดงานเฉลิมฉลองในวันวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เรียกร้องความสามัคคีของชาติเพื่อปกป้องและยกระดับวัฒนธรรมของชาติสู้กับสงครามต่อวัฒนธรรม จัดขึ้นที่หอประชุมจตุรมุขในกรุงพนมเปญ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปินจากทั่วประเทศ งานจัดขึ้นภายใต้ ชื่อ “กัมพูชา ราชอาณาจักรแห่งวัฒนธรรม ทุกอย่างเพื่อปกป้องวัฒนธรรม”
นายฮุน เซน กล่าวว่า งานนี้จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อกระตุ้นความสามัคคีของชาติเพื่อทำนุรักษา ปกป้องและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ “ธีมของปีนี้มีเป้าหมายหลักที่การขจัดทุกแคมเปญที่ทำให้เกิดสงครามวัฒนธรรมต่อต้านกัมพูชา” เขากล่าวและเพิ่มเติมว่า “ที่จุดนี้ ผมหมายถึงการโจมตีของไทยบนปราสาทพระวิหารของเรา”
“ในโอกาสนี้ ผมใคร่เรียกร้องเพื่อนร่วมชาติของเรา ทุกกระทรวงทบวงกรมและสถาบันให้ผนึกกำลังและร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อบรรลุธีมของงาน” เขากล่าวและว่าระหว่างสงครามเมื่อ 4-7 ก.พ. ระหว่างทหารกัมพูชาและไทย กระสุนปืนครกและปืนใหญ่ 414 ลูก ถูกยิงโดยทหารไทยตกลงบนปราสาทพระวิหาร แหล่งมรดกโลก”
**หนุนอินโดฯส่งตัวแทนมาพระวิหาร
สำนักข่าวต่างประะทศรายงานว่า นายฮุน เซนระบุว่า ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่าน ตนเองได้เสนอให้ทางการอินโดนีเซียส่งผู้แทนเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ อย่างน้อย 14 จุด บริเวณพรมแดนที่มีความขัดแย้งระหว่างกัมพูชา-ไทย และให้อยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 12 เดือน
นอกจากนี้ ผู้นำกัมพูชายังได้ตอบรับข้อเรียกร้องของอินโดนีเซียที่เสนอให้ทั้งไทยและกัมพูชา จัดทำแผนและรายละเอียดสำหรับการหยุดยิงของแต่ละฝ่าย ขณะที่ทางการไทยยังไม่ตอบรับหรือปฏิเสธใด ๆ
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานหมุนเวียนของอาเซียน เสนอส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่พรมแดนทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะ อีกทั้งสนับสนุนให้ไทยและกัมพูชาเดินหน้าแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี
สำนักข่าวดังกล่าวรายงานคำกล่าวของนายฮุนเซน ในพิธีจบการศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ ต่อกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ระบุให้ผู้อำนวยการยูเนสโก เกี่ยวกับการถอนปราสาทพระวิหาร ออกจากบัญชีมรดกโลก ว่าเป็นการกระทำที่น่าละอายอย่างมาก ที่ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ทำการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
ส่วนในกรณีการปะทะกันกับกองกำลังทหารไทย เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ ที่ผ่านมา นายฮุนเซน กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย จะมาติดตามสถานการณ์ในเร็วๆ นี้.
วานนี้ (4 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายกฯฮุนเซน ยืนยันจะไม่เจรจาทวิภาคีกับไทยต้องให้อินโดนีเซียมาเป็นคนกลางว่า ไม่หรอก ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทุกคนสนับสนุนให้กลไกทวิภาคีเดินหน้าต่อ เพียงแต่อินโดนีเซียจะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ต้องดูรูปแบบ เมื่อถามว่า ยืนยันว่าจะเป็นการเจรจาทวิภาคีใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ใช่ครับ มันคือ ไบเร็ทเทอร์รอล นีโก ทีเอชั่น (Bilateral negotiations.) ไม่ว่าจะใครก็ตามสุดท้ายมันก็แค่ 2 ฝ่าย เพียงแต่อยากจะให้อินโดนีเซียมาสังเกตการณ์หรืออำนวยความสะดวกก็ต้องมาพูดกัน
ส่วนการเจรจาทวิภาคีวันที่ 7-8 เม.ย. จะมีขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่ายังไม่ทราบ ว่าทางกัมพูชาจะเอาอย่างไร เมื่อถามว่า การเจรจาทวิภาคีจะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้นำทั้งสองประเทศเจอกันได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกลไกเป็นไปตามปกติมีหลายกลไก คือเจบีซี อาร์บีซี เมื่อถามว่า หลายส่วนมองว่าควรจะพบกันก่อน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะกลไกมีความชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อถามด้วยว่า ทางสมเด็จฮุนเซนอ้างว่าได้รับแจ้งจากทางผู้แทนยูเนสโก้ว่าไทยขอให้มีการถอนการขึ้นทะเบียนมรดกโลก นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่า ไม่จริงหรอกเพียงแต่เราบอกว่า ขณะนี้เราเดินหน้าเรื่องแผนบริหารจัดการทำให้เกิดปัญหามากขึ้น ในที่สุดจะทำให้เป็นปัญหาระยะยาว และทางคณะกรรมการมรดกโลกเอง ตราบเท่าที่ยังมีข้อพิพาทกันอยู่ แล้วให้มีการเข้ามาบริหารจัดการในพื้นที่ของไทยไม่สามารถทำได้ ตนพูดในกรอบตรงนั้น ไม่ได้พูดในแนวการถอดออกจากมรดกโลก
เสำหรับท่าทีของกัมพูชาทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าเขาพยายามให้ข้อมูลที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับเขา สุดท้ายก็ต้องเข้าใจว่าการแก้ปัญหาต้องกลับมาที่ทวิภาคี เมื่อถามอีกว่าทางอินโดนีเซียยืนยันกลับมาหรือยังว่าจะช่วยประสานในการเจรจาทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยังเลยครับ
มีรายงานแจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศตอบคำถามของผู้สื่อข่าวกรณีมีการรายงานข่าวคำให้สัมภาษณ์ของโฆษกนายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่อ้างว่านาย Koichiro Matsuura ผู้แทนพิเศษขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะขอให้ UNESCO ถอนปราสาทพระวิหารออกจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก” ดังนี้
1.ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ยกประเด็นการถอนชื่อปราสาทพระวิหารออกจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ระหว่างการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO เมื่อวันที่ 25กุมภาพันธ์ 54และเมื่อผู้แทนพิเศษของ UNESCO กล่าวถึงเรื่องนี้ขึ้นมา นายกรัฐมนตรีก็ได้ตอบว่า “ไม่มีใครพูดเรื่องการถอนออกจากการขึ้นทะเบียน” นอกจากนี้ หลังจากการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับสื่อมวลชนด้วยว่า ประเทศไทยตระหนักดีถึงคุณค่าอันโดดเด่นและเป็นสากลของปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งควรที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้เข้าชม
2.ท่าทีของประเทศไทยต่อการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นที่ทราบกันทั่วไปอยู่แล้ว กล่าวคือ ตราบใดที่ประเด็นเรื่องเขตแดนยังคงมีอยู่ การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหารควรจะเลื่อนออกไปก่อนจนกว่าการเจรจาเขตแดนภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาจะแล้วเสร็จ ซึ่งรวมไปถึงการพิจารณาแผนบริหารจัดการด้วย เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
3.ประเทศไทยยืนยันความพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่กับกัมพูชาและประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อหาทางออกให้กับประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำระหว่างการพบปะกับผู้แทนพิเศษของ UNESCO ว่า ไทยได้เชิญนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา มาเยือนประเทศไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในโอกาสแรก ซึ่งผู้แทนพิเศษของ UNESCO ก็ได้แสดงความสนับสนุนอย่างเต็มที่ที่ทั้งสองประเทศจะหารือทวิภาคีกันต่อไป
**หยามไทยพาทูตทหารเหยียบ 4.6 ตร.กม.
วันเดียวกัน สำนักข่าว “ข่าวด่วนกัมพูชาและหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่” รายงาน อ้างถึงการที่พลเอกเนียง พัท ปลัดกลาโหมเขมรการนำคณะทูตทหารเดินดูความเสียหายบริเวณพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ โดยระบุว่าทูตทหาร 17 คนจาก 12 สถานทูตในกรุงพนมเปญประสบความสำเร็จในการเยือนพื้นที่ที่เรียกว่าเขตพิพาทไทย-เขมร เมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม แม้มีคำขู่และความพยายามต่อต้านจากทหารไทย
ทูตทหารทั้ง 17 คน เดินทางถึงพื้นที่เมื่อเวลา 11.30 น. ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นกันเองจาก พลเอก เจีย ดารา รองผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา พร้อมบุตรชายคนโตของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน พลตรี ฮุน มาเณต รองผู้บัญชาการกองบัญชาการทหารราบ
คณะใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการเยี่ยมพื้นที่ ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการกัมพูชาที่ปรามนัคครา เข้าชมโคปุระทั้ง 5 ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากกระสุนปืนใหญ่ไทย ตลอดจนการเยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยเช่นเดียวกัน
พลโทสรัย ดึ๊ก ผู้บัญชาการฐานปฏิบัติการพระวิหาร กล่าวว่าทหารไทยขู่จะขัดขวางการเดินทางเยือน เขากล่าวว่าเมื่อคณะเดินทางมาถึง ทหารไทยได้เข้ามายื่นจดหมายประท้วงที่มีข้อความระบุว่าประเทศไทยไม่อนุญาตให้ตัวแทนเดินทางข้ามเข้ามาในเขต 4.6 ตร.กม. รวมถึงวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระซึ่งถือว่าอยู่ในเขตพิพาท จดหมายกล่าวว่าประเทศไทยจะอนุญาตให้คณะข้ามเข้ามาในเขตเฉพาะเมื่อมีทหารไทย 5 นาย ได้รับอนุญาตให้ร่วมติดตามคณะไปด้วย ฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยและส่งจดหมายตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยด้วยการเตือนว่าถ้าฝ่ายไทยเปิดการยิง ฝ่ายกัมพูชาจะตอบโต้ด้วยมาตรการป้องกันตนเอง
รายงานแจ้งว่า คณะได้เยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ บันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร โคปุระที่ 3 4 และ 5 ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยระหว่างการปะทะด้วยอาวุธ เมื่อวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ คณะได้มีโอกาสเห็นครัสเตอร์บอมบ์ที่หลงเหลือจากกระสุนปืนใหญ่ของไทย
“กัมพูชาต้องการให้ทูตทหารเห็นด้วยตาตัวเองถึงความเสียหายจากการยิงกระสุนปืนใหญ่ไทยในสงครามล่าสุด” พล
เอก เจีย ดารา กล่าวระหว่างการเยือนของคณะตัวแทน เขานำคณะไปดูหลุม รอยร้าว เศษแตกหักของปราสาทพระวิหารที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ของไทย
“ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ทหารกัมพูชาสาบานที่จะปกป้องแผ่นดินของเราจากการรุกล้ำใด ๆ ของ
ประเทศไทย” เขากล่าว “กัมพูชาไม่เคยรุกล้ำเข้าไปในประเทศอื่น เราต้องการให้เป็นพรมแดนแห่งสันติภาพและความ
ร่วมมือ แต่ถ้าเขารุกล้ำเข้ามาในดินแดนของเรา เราต้องใช้สิทธิปกป้องตัวเอง”
การเยือนนี้เกิดขึ้นตามหลังการเยือนแบบเดียวกันของทูตทหารไปยังฝั่งไทยของเขตแดน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์
ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมไทย
มีกระแสข่าวจากพื้นที่ว่า ทหารไทย พยายามเสนอมายังกระทรวงกลาโหม เพื่อปิดด่านชายแดนถาวรตลอดฝั่งชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำดังกล่าว โดยมีการจัดกำลังตรึงชายแดนอย่างเข้มงวด
**ฮวยเซงเพ้อไทยก่อสงครามวัฒนธรรม
รายงานข่าวแจ้งว่า ประเทศกัมพูชาเมื่อวันพฤหัสบดีจัดงานเฉลิมฉลองในวันวัฒนธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เรียกร้องความสามัคคีของชาติเพื่อปกป้องและยกระดับวัฒนธรรมของชาติสู้กับสงครามต่อวัฒนธรรม จัดขึ้นที่หอประชุมจตุรมุขในกรุงพนมเปญ โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศิลปินจากทั่วประเทศ งานจัดขึ้นภายใต้ ชื่อ “กัมพูชา ราชอาณาจักรแห่งวัฒนธรรม ทุกอย่างเพื่อปกป้องวัฒนธรรม”
นายฮุน เซน กล่าวว่า งานนี้จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อกระตุ้นความสามัคคีของชาติเพื่อทำนุรักษา ปกป้องและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของประเทศ “ธีมของปีนี้มีเป้าหมายหลักที่การขจัดทุกแคมเปญที่ทำให้เกิดสงครามวัฒนธรรมต่อต้านกัมพูชา” เขากล่าวและเพิ่มเติมว่า “ที่จุดนี้ ผมหมายถึงการโจมตีของไทยบนปราสาทพระวิหารของเรา”
“ในโอกาสนี้ ผมใคร่เรียกร้องเพื่อนร่วมชาติของเรา ทุกกระทรวงทบวงกรมและสถาบันให้ผนึกกำลังและร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อบรรลุธีมของงาน” เขากล่าวและว่าระหว่างสงครามเมื่อ 4-7 ก.พ. ระหว่างทหารกัมพูชาและไทย กระสุนปืนครกและปืนใหญ่ 414 ลูก ถูกยิงโดยทหารไทยตกลงบนปราสาทพระวิหาร แหล่งมรดกโลก”
**หนุนอินโดฯส่งตัวแทนมาพระวิหาร
สำนักข่าวต่างประะทศรายงานว่า นายฮุน เซนระบุว่า ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ผ่าน ตนเองได้เสนอให้ทางการอินโดนีเซียส่งผู้แทนเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ อย่างน้อย 14 จุด บริเวณพรมแดนที่มีความขัดแย้งระหว่างกัมพูชา-ไทย และให้อยู่ในพื้นที่เป็นเวลา 12 เดือน
นอกจากนี้ ผู้นำกัมพูชายังได้ตอบรับข้อเรียกร้องของอินโดนีเซียที่เสนอให้ทั้งไทยและกัมพูชา จัดทำแผนและรายละเอียดสำหรับการหยุดยิงของแต่ละฝ่าย ขณะที่ทางการไทยยังไม่ตอบรับหรือปฏิเสธใด ๆ
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียในฐานะประธานหมุนเวียนของอาเซียน เสนอส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่พรมแดนทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะ อีกทั้งสนับสนุนให้ไทยและกัมพูชาเดินหน้าแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี
สำนักข่าวดังกล่าวรายงานคำกล่าวของนายฮุนเซน ในพิธีจบการศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ ต่อกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ระบุให้ผู้อำนวยการยูเนสโก เกี่ยวกับการถอนปราสาทพระวิหาร ออกจากบัญชีมรดกโลก ว่าเป็นการกระทำที่น่าละอายอย่างมาก ที่ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ทำการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
ส่วนในกรณีการปะทะกันกับกองกำลังทหารไทย เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ ที่ผ่านมา นายฮุนเซน กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย จะมาติดตามสถานการณ์ในเร็วๆ นี้.