ผู้เขียนยังจำได้ดีถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ย้อนกลับช่วงเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มวลหมู่ประชาชนภายใต้ชื่อ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ได้ออกมารวมตัวกันอย่างหนาแน่นที่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อประท้วงขับไล่ “รัฐบาลขายชาติหุ่นเชิดทักษิณ” ที่หวังจะเข้ามาใช้อำนาจ แก้รัฐธรรมนูญ ปลดเปลื้องความผิด และนำตัวนายทักษิณกลับบ้านในที่สุด
โดยระหว่างนั้น นักโทษชายทักษิณฉวยใช้โอกาสแสวงประโยชน์ ส่งสมุนรับใช้ไปนั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อผลักดันแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียว ของกัมพูชาในระหว่างการประชุมมรดกโลกปี พุทธศักราช 2551 ซึ่งการกระทำดังกล่าว ภาคประชาชนหวั่นเกรงว่า อาจจะมีผลทำให้ไทยเสียดินแดน
นั่นจึงเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่นำโดย คุณสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ, คุณคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา, คุณสุริยะใส กตศิลา และพวกรวม 9 คน ที่พากันไปยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองกลาง และศาลท่านประทับรับฟ้อง ก่อนจะมีคำสั่งออกมาในที่สุด
ในสำนวนคำฟ้อง คดีดำหมายเลข 984/2551 ดังกล่าว ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ร้องได้ใช้สิทธิ “ความเป็นประชาชนไทย และเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของชาติ มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 71 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550...และเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐบาลที่ออกมติคณะรัฐมนตรีอันจะนำไปสู่การเสียดินแดน..” ในการฟ้องคดี
อันเป็นเครื่องรับรองว่า ประชาชนมีหน้าที่ประการสำคัญต่อแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งครานั้นภาคประชาชนก็ใช้สิทธิของตนในการเคลื่อนไหว สองทางคู่ขนานกันไป คือ การเคลื่อนไหวผ่านการฟ้องร้องทางกระบวนการยุติธรรม ที่มีรายชื่อผู้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผู้ดำเนินการ ขณะที่อีกด้าน ก็มีการเคลื่อนไหวให้ความรู้ประชาชนในรูปของการชุมนุมที่ด้านข้างทำเนียบรัฐบาล ในนามของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จำได้ว่า คดีนั้น สุดท้ายศาลปกครองท่านมีคำวินิจฉัยชัดเจนว่า การกระทำของคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช ที่ออกมติรับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชาว่าเป็นการกระทำที่ “อาจมีผลผูกพันประเทศไทย และอาจทำลายน้ำหนักในการอ้างอิงเขตแดนที่ประเทศไทยยึดถือสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนมาโดยตลอด การกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และประชาชนอันรวมถึงผู้ฟ้องคดี อันเป็นความเสียหายที่ยากต่อการเยียวยาแก้ไขในภายหลัง..”
กล่าวคือเป็นไปตามข้อกล่าวหาของภาคประชาชนจริง
และศาลปกครองท่านยังได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้นำมติครม.ดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
จนในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยสนับสนุนในกรณีดังกล่าวเมื่อ 8 กรกฎาคม ปีเดียวกันว่า “คำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา หรือ Joint Communique ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง” นั่นเอง
กรณีดังกล่าว ยังส่งผลให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้นถูกยื่นเรื่องถอดถอนออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยประธานวุฒิสภาได้ส่งเรื่องมาให้ คณะกรรมการป้องกันการทุจริตประพฤติชอบ หรือ ป.ป.ช.ให้ชี้มูลความผิด ซึ่งในคำชี้มูลของ ป.ป.ช.เมื่อ 29 กันยายน 2552 ตอนหนึ่งชี้มูลความผิดของนายนพดล ปัทมะ อย่างชัดแจ้งว่า
“ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 รู้อยู่แล้วถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ดังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ มีการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 ไม่รับฟังเรื่องนี้ มีการวิพากษ์กันอย่างกว้างขวางโดยนักวิชาการ นักการเมือง ตลอดจนสื่อมวลชน แต่การวิพากษ์ดังกล่าวกลับถูกตอบโต้อย่างรุนแรงโดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 เอง อีกทั้งผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 เองกลับอ้างเอาความอ่อนไหวในเรื่องนี้มาเป็นเหตุหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของสาธารณชนรวมทั้งรัฐสภา ซึ่งบ่งชี้ถึงความรู้ความเข้าใจในผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหาที่ 12
ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานะทางการเมืองของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 ในฐานะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ทั้งในผลกระทบของการลงนามในร่างคำแถลงการณ์ร่วม และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลงนามดังกล่าวแล้ว ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า”
“ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 กระทำไปโดยรู้อยู่แล้วเป็นอย่างดีในผลกระทบด้านเขตแดนของประเทศ ผลกระทบทางสังคมและความเสียหายที่จะเกิดจากผลกระทบดังกล่าว การกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 จึงเป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยและคนไทยทุกคน มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157”
บทเรียนจากกรณีการออกมติรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ของนายนพดล ปัทมะวันนี้ ผู้เขียนคิดว่า น่าจะพอเป็นตัวอย่างที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ให้กระทำผิดซ้ำรอยเดิม ที่จะยิ่งซ้ำเติมให้ประเทศชาติเสียหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการเดินหน้า กรอบการทำงานของ JBC ภายใต้ “บันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา” หรือเอ็มโอยู 2543 ทั้งที่รู้ว่า มีผลทำให้ไทยเสียเปรียบ และเสียดินแดนไทย ในที่สุด นายอภิสิทธิ์ยังหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามของประชาชนภาคส่วนต่างๆ ที่ตั้งข้อสงสัย กรณีข้อตกลงดังกล่าวว่า
- ตกลงเอ็มโอยู 2543 เป็นกรอบข้อตกลงเถื่อนไม่ผ่านการพิจารณาโดยรัฐสภา ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 224 หรือเทียบกับปัจจุบันคือ มาตรา 190 วรรคสองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ยังผลถึงการทำงานของคณะกรรมการภายใต้กรอบดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการรับรอง จริงหรือไม่
- เอ็มโอยูข้างต้น มีเนื้อหาขัดกับพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2541 และแผนที่แนบท้ายฯ พ.ร.ก. ซึ่งยึดแผนที่อัตราส่วน 1:50,000 ขณะที่เอ็มโอยู 43 รับรองแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 จริงหรือไม่ (ข้อเขียนจากท่านยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง, การใช้ MOU 2543 กับการกระทำผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติและขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด, 7 กุมภาพันธ์2554)
- เนื้อหาของเอ็มโอยูข้างต้น โดยเฉพาะในข้อ 1 (ค.) อ้างถึงแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ที่ฝรั่งเศสขีดเส้นแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งอยู่ห่างสันปันน้ำเข้ามาในเขตไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร และเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว กรรมการฝ่ายไทยมิได้เซ็นรับรองด้วย มิได้ผูกพันไทย
การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยขณะนั้น ไปลงนามรับรองใน MOU ดังกล่าวใน ปี พ.ศ. 2543 จะทำให้เส้นแบ่งเขตที่ฝรั่งเศสขีดขึ้นในแผนที่ตามวรรคข้างบนจึงสมบูรณ์ และน่าจะเสียดินแดนในตอนนี้ เป็นเนื้อที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร (นายสุเทพ กิจสวัสดิ์ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา, อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการ้องนายกฯ ชี้ MOU 43 ทำไทยเสียเปรียบ ฟันธงเสีย 4.6 ตร.กม.แล้ว, ASTVผู้จัดการ 9 ธันวาคม 2553)
- หากไทยไม่ยึดแผนที่ 1: 200,000 ตามคำรับรองใน MOU 2543 เหตุใดจึงไม่มีการตอบโต้แถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ที่อ้างเรื่องดังกล่าว และกล่าวหาไทยรุกรานดินแดนกัมพูชา
- เหตุใดรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ จึงไม่ประท้วงถ้อยแถลงของนายฮอร์นัมฮง รอง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ที่กล่าวหาในเรื่องเดียวกัน
โดยระหว่างนั้น นักโทษชายทักษิณฉวยใช้โอกาสแสวงประโยชน์ ส่งสมุนรับใช้ไปนั่งเก้าอี้เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อผลักดันแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารฝ่ายเดียว ของกัมพูชาในระหว่างการประชุมมรดกโลกปี พุทธศักราช 2551 ซึ่งการกระทำดังกล่าว ภาคประชาชนหวั่นเกรงว่า อาจจะมีผลทำให้ไทยเสียดินแดน
นั่นจึงเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวภาคประชาชนที่นำโดย คุณสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ, คุณคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา, คุณสุริยะใส กตศิลา และพวกรวม 9 คน ที่พากันไปยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองกลาง และศาลท่านประทับรับฟ้อง ก่อนจะมีคำสั่งออกมาในที่สุด
ในสำนวนคำฟ้อง คดีดำหมายเลข 984/2551 ดังกล่าว ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ร้องได้ใช้สิทธิ “ความเป็นประชาชนไทย และเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของชาติ มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 71 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550...และเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรัฐบาลที่ออกมติคณะรัฐมนตรีอันจะนำไปสู่การเสียดินแดน..” ในการฟ้องคดี
อันเป็นเครื่องรับรองว่า ประชาชนมีหน้าที่ประการสำคัญต่อแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งครานั้นภาคประชาชนก็ใช้สิทธิของตนในการเคลื่อนไหว สองทางคู่ขนานกันไป คือ การเคลื่อนไหวผ่านการฟ้องร้องทางกระบวนการยุติธรรม ที่มีรายชื่อผู้ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผู้ดำเนินการ ขณะที่อีกด้าน ก็มีการเคลื่อนไหวให้ความรู้ประชาชนในรูปของการชุมนุมที่ด้านข้างทำเนียบรัฐบาล ในนามของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
จำได้ว่า คดีนั้น สุดท้ายศาลปกครองท่านมีคำวินิจฉัยชัดเจนว่า การกระทำของคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช ที่ออกมติรับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชาว่าเป็นการกระทำที่ “อาจมีผลผูกพันประเทศไทย และอาจทำลายน้ำหนักในการอ้างอิงเขตแดนที่ประเทศไทยยึดถือสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนมาโดยตลอด การกระทำดังกล่าวอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ และประชาชนอันรวมถึงผู้ฟ้องคดี อันเป็นความเสียหายที่ยากต่อการเยียวยาแก้ไขในภายหลัง..”
กล่าวคือเป็นไปตามข้อกล่าวหาของภาคประชาชนจริง
และศาลปกครองท่านยังได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้นำมติครม.ดังกล่าวไปอ้างอิงเพื่อสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร
จนในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยสนับสนุนในกรณีดังกล่าวเมื่อ 8 กรกฎาคม ปีเดียวกันว่า “คำแถลงการณ์ร่วมไทยกัมพูชา หรือ Joint Communique ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่อาจมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศ ทั้งยังกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง” นั่นเอง
กรณีดังกล่าว ยังส่งผลให้นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้นถูกยื่นเรื่องถอดถอนออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี โดยประธานวุฒิสภาได้ส่งเรื่องมาให้ คณะกรรมการป้องกันการทุจริตประพฤติชอบ หรือ ป.ป.ช.ให้ชี้มูลความผิด ซึ่งในคำชี้มูลของ ป.ป.ช.เมื่อ 29 กันยายน 2552 ตอนหนึ่งชี้มูลความผิดของนายนพดล ปัทมะ อย่างชัดแจ้งว่า
“ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 รู้อยู่แล้วถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ดังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ มีการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 ไม่รับฟังเรื่องนี้ มีการวิพากษ์กันอย่างกว้างขวางโดยนักวิชาการ นักการเมือง ตลอดจนสื่อมวลชน แต่การวิพากษ์ดังกล่าวกลับถูกตอบโต้อย่างรุนแรงโดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 เอง อีกทั้งผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 เองกลับอ้างเอาความอ่อนไหวในเรื่องนี้มาเป็นเหตุหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของสาธารณชนรวมทั้งรัฐสภา ซึ่งบ่งชี้ถึงความรู้ความเข้าใจในผลกระทบ และความเสียหายที่เกิดจากผลกระทบดังกล่าวของผู้ถูกกล่าวหาที่ 12
ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงสถานะทางการเมืองของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 ในฐานะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ทั้งในผลกระทบของการลงนามในร่างคำแถลงการณ์ร่วม และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลงนามดังกล่าวแล้ว ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า”
“ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 กระทำไปโดยรู้อยู่แล้วเป็นอย่างดีในผลกระทบด้านเขตแดนของประเทศ ผลกระทบทางสังคมและความเสียหายที่จะเกิดจากผลกระทบดังกล่าว การกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12 จึงเป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศไทยและคนไทยทุกคน มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157”
บทเรียนจากกรณีการออกมติรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ของนายนพดล ปัทมะวันนี้ ผู้เขียนคิดว่า น่าจะพอเป็นตัวอย่างที่จะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ให้กระทำผิดซ้ำรอยเดิม ที่จะยิ่งซ้ำเติมให้ประเทศชาติเสียหายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการเดินหน้า กรอบการทำงานของ JBC ภายใต้ “บันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา” หรือเอ็มโอยู 2543 ทั้งที่รู้ว่า มีผลทำให้ไทยเสียเปรียบ และเสียดินแดนไทย ในที่สุด นายอภิสิทธิ์ยังหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามของประชาชนภาคส่วนต่างๆ ที่ตั้งข้อสงสัย กรณีข้อตกลงดังกล่าวว่า
- ตกลงเอ็มโอยู 2543 เป็นกรอบข้อตกลงเถื่อนไม่ผ่านการพิจารณาโดยรัฐสภา ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 224 หรือเทียบกับปัจจุบันคือ มาตรา 190 วรรคสองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ยังผลถึงการทำงานของคณะกรรมการภายใต้กรอบดังกล่าวที่ยังไม่ได้รับการรับรอง จริงหรือไม่
- เอ็มโอยูข้างต้น มีเนื้อหาขัดกับพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2541 และแผนที่แนบท้ายฯ พ.ร.ก. ซึ่งยึดแผนที่อัตราส่วน 1:50,000 ขณะที่เอ็มโอยู 43 รับรองแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 จริงหรือไม่ (ข้อเขียนจากท่านยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง, การใช้ MOU 2543 กับการกระทำผิดกฎหมายอุทยานแห่งชาติและขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด, 7 กุมภาพันธ์2554)
- เนื้อหาของเอ็มโอยูข้างต้น โดยเฉพาะในข้อ 1 (ค.) อ้างถึงแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ที่ฝรั่งเศสขีดเส้นแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งอยู่ห่างสันปันน้ำเข้ามาในเขตไทย 4.6 ตารางกิโลเมตร และเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว กรรมการฝ่ายไทยมิได้เซ็นรับรองด้วย มิได้ผูกพันไทย
การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยขณะนั้น ไปลงนามรับรองใน MOU ดังกล่าวใน ปี พ.ศ. 2543 จะทำให้เส้นแบ่งเขตที่ฝรั่งเศสขีดขึ้นในแผนที่ตามวรรคข้างบนจึงสมบูรณ์ และน่าจะเสียดินแดนในตอนนี้ เป็นเนื้อที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร (นายสุเทพ กิจสวัสดิ์ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง และอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา, อดีตผู้พิพากษาศาลฎีการ้องนายกฯ ชี้ MOU 43 ทำไทยเสียเปรียบ ฟันธงเสีย 4.6 ตร.กม.แล้ว, ASTVผู้จัดการ 9 ธันวาคม 2553)
- หากไทยไม่ยึดแผนที่ 1: 200,000 ตามคำรับรองใน MOU 2543 เหตุใดจึงไม่มีการตอบโต้แถลงการณ์กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ที่อ้างเรื่องดังกล่าว และกล่าวหาไทยรุกรานดินแดนกัมพูชา
- เหตุใดรัฐมนตรีกษิต ภิรมย์ จึงไม่ประท้วงถ้อยแถลงของนายฮอร์นัมฮง รอง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ที่กล่าวหาในเรื่องเดียวกัน