ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”คาดราคาข้าวไทยพุ่งกระฉูดตามความต้องการซื้อ หลังหลายประเทศเจอภัยพิบัติ ยอดขายจีทูจีฉลุย และผลผลิตในประเทศอาจลดลงจากภัยแล้ง อัดกลับผู้ส่งออกอย่ามั่วนิ่มอ้างเวียดนามลดด่องกดราคาซื้อข้าว โต้ระบายสต็อกไม่ทำให้ข้าวราคาตก
นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ข้าวไทยมีแนวโน้มราคาเพิ่มสูงขึ้น จากแนวโน้มตลาดข้าวที่ค่อนข้างจะมีความตึงตัว โดยขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น อินโดนีเซียและบังคลาเทศ มีความต้องการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มสต็อกข้าวภายในประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลนำเข้าข้าวไม่น้อยกว่า 1.5ล้านตันในช่วงไตรมาส 2 และ 3 โดยได้เริ่มให้เอกชนนำเข้าข้าวบ้างแล้ว ขณะที่จีน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภค กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ได้ลดการส่งออกและหันมานำเข้าเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ไทยกำลังมีการเจรจาขายข้าวให้กับหลายประเทศในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ที่กำลังจะตกลงกันได้แล้ว เช่น อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ และยังมีอีกหลายประเทศที่ติดต่อเข้ามา แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นปัญหาภายในของเขา ที่อาจจะมีปัญหาได้ หากต้องบอกประชาชนว่ากำลังจะซื้อข้าว โดยคาดว่าการขายจีทูจีในปีนี้ไม่น่าจะต่ำกว่า 7 แสนตันมากกว่านี้ ก็คงไม่มีข้าวไปขายให้
นอกจากนี้ ผลผลิตข้าวที่กำลังจะออกมาในช่วงเม.ย.-ก.ค.2554 ไม่แน่ใจว่าเกษตรกรจะผลิตข้าวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 8 ล้านตันข้าวเปลือกได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันน้ำในเขื่อนเหลือไม่ถึง 50% หากขาดแคลนน้ำ ผลผลิตข้าวก็อาจจะมีปัญหาลดลงได้
“ทั้งความต้องการซื้อข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การขายจีทูจีที่กำลังเจรจาอยู่ และมีแนวโน้มว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ บวกกับความไม่แน่นอนทางด้านผลผลิต ที่อาจจะมีปัญหาจากภัยแล้ง ทำให้แนวโน้มราคาข้าวเปลือกของไทยขึ้นแน่ และหากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเนื่อง ก็ยิ่งจะทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น ทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิและข้าวนึ่ง”นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าวว่า สำหรับปัญหาที่หลายๆ ฝ่ายออกมาวิตกกังวลต่อสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ เพราะผลผลิตข้าวของเกษตรกรเก็บเกี่ยวหมดแล้วตั้งแต่ต้นเดือนก.พ. ส่วนที่มีการออกมาประท้วง เป็นเรื่องของเกษตรกรกับรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มหลักประกันในเรื่องราคาไม่ได้เกี่ยวกับราคาข้าวที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โดยราคาข้าวที่ลดลง เป็นเพียงแค่สถานการณ์สั้นๆ ที่พ่อค้าและผู้นำเข้าต่างรอผลผลิตข้าวของเวียดนามที่จะออกสู่ตลาดในเดือนมี.ค.-พ.ค. ปริมาณกว่า 12 ล้านตันข้าวเปลือก ประกอบกับเวียดนามได้ลดค่าเงินด่องทำให้มีการปรับลดราคาส่งออกลงเพื่อช่วยรองรับผลผลิตที่กำลังเก็บเกี่ยวและกระตุ้นส่งออกตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ทั้งปี 6.1 ล้านตัน
“เวียดนามจำเป็นต้องเร่งส่งออก เพราะเขาไม่มีการเก็บสต็อก ผลผลิตออกมาก็ต้องเร่งขาย เมื่อเร่งขายก็กระทบต่อราคาที่ขาย แต่หลังเดือนมี.ค. เมื่อผลผลิตข้าวเวียดนามหมด การส่งออกของเวียดนามก็จะชะลอตัวลง ขณะที่ไทยยังมีผลิตข้าวได้ต่อเนื่อง และส่งออกได้ทั้งปี ไทยก็จะมีความได้เปรียบในการส่งออกต่อไป
ก็อยากเตือนผู้ส่งออกอย่าอาศัยสถานการณ์ข้าวเวียดนามมากดราคาข้าวไทย เรากำลังติดตาม และอย่าตีแผ่ข้อมูลที่ทำลายราคาข้าว”นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าวว่า กรณีที่มีการกล่าวหาว่าการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลเป็นต้นเหตุทำให้ข้าวราคาตกต่ำ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพราะการระบายข้าวได้ทำอย่างปกปิด มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขชัดเจน ซื้อไปแล้วต้องส่งออกเมื่อไร ส่งออกไปแล้วก็ต้องมีหลักฐานมายืนยัน โดยการระบายข้าวยังมีเสียงชื่นชมจากผู้ค้าข้าวว่าไม่ทำให้ราคาตลาดข้าวโลกเสียหายแต่ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ทั้งหมด เพราะมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ห้ามไว้ จะเปิดเผยได้ก็ต่อเมื่อรายงานนายกรัฐมนตรี และครม.แล้ว ทั้งนี้ ล่าสุดรัฐบาลก็ยังไม่สรุปว่าจะให้ระบายต่อหรือให้หยุดขายข้าว
สำหรับการส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 ก.พ.2554 ส่งออกปริมาณ 1,759,162 ตัน มูลค่า 1,018 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 30,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 ที่มีปริมาณ 1,300,506 ตัน มูลค่า 807 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26,538 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 35.27% มูลค่าเป็นเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.16% และเงินบาท เพิ่มขึ้น 15.46% ตามลำดับ และคาดว่าในปี 2554 ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 9-9.5 ล้านตัน
มูลค่าประมาณ 5,300-5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150,000-158,000 ล้านบาท
นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ข้าวไทยมีแนวโน้มราคาเพิ่มสูงขึ้น จากแนวโน้มตลาดข้าวที่ค่อนข้างจะมีความตึงตัว โดยขณะนี้ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น อินโดนีเซียและบังคลาเทศ มีความต้องการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มสต็อกข้าวภายในประเทศในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลนำเข้าข้าวไม่น้อยกว่า 1.5ล้านตันในช่วงไตรมาส 2 และ 3 โดยได้เริ่มให้เอกชนนำเข้าข้าวบ้างแล้ว ขณะที่จีน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภค กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ได้ลดการส่งออกและหันมานำเข้าเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน ไทยกำลังมีการเจรจาขายข้าวให้กับหลายประเทศในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) ที่กำลังจะตกลงกันได้แล้ว เช่น อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ และยังมีอีกหลายประเทศที่ติดต่อเข้ามา แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะเป็นปัญหาภายในของเขา ที่อาจจะมีปัญหาได้ หากต้องบอกประชาชนว่ากำลังจะซื้อข้าว โดยคาดว่าการขายจีทูจีในปีนี้ไม่น่าจะต่ำกว่า 7 แสนตันมากกว่านี้ ก็คงไม่มีข้าวไปขายให้
นอกจากนี้ ผลผลิตข้าวที่กำลังจะออกมาในช่วงเม.ย.-ก.ค.2554 ไม่แน่ใจว่าเกษตรกรจะผลิตข้าวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 8 ล้านตันข้าวเปลือกได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันน้ำในเขื่อนเหลือไม่ถึง 50% หากขาดแคลนน้ำ ผลผลิตข้าวก็อาจจะมีปัญหาลดลงได้
“ทั้งความต้องการซื้อข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น การขายจีทูจีที่กำลังเจรจาอยู่ และมีแนวโน้มว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ บวกกับความไม่แน่นอนทางด้านผลผลิต ที่อาจจะมีปัญหาจากภัยแล้ง ทำให้แนวโน้มราคาข้าวเปลือกของไทยขึ้นแน่ และหากปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเนื่อง ก็ยิ่งจะทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น ทั้งข้าวขาว ข้าวหอมมะลิและข้าวนึ่ง”นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าวว่า สำหรับปัญหาที่หลายๆ ฝ่ายออกมาวิตกกังวลต่อสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้ เพราะผลผลิตข้าวของเกษตรกรเก็บเกี่ยวหมดแล้วตั้งแต่ต้นเดือนก.พ. ส่วนที่มีการออกมาประท้วง เป็นเรื่องของเกษตรกรกับรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มหลักประกันในเรื่องราคาไม่ได้เกี่ยวกับราคาข้าวที่ซื้อขายกันในท้องตลาด โดยราคาข้าวที่ลดลง เป็นเพียงแค่สถานการณ์สั้นๆ ที่พ่อค้าและผู้นำเข้าต่างรอผลผลิตข้าวของเวียดนามที่จะออกสู่ตลาดในเดือนมี.ค.-พ.ค. ปริมาณกว่า 12 ล้านตันข้าวเปลือก ประกอบกับเวียดนามได้ลดค่าเงินด่องทำให้มีการปรับลดราคาส่งออกลงเพื่อช่วยรองรับผลผลิตที่กำลังเก็บเกี่ยวและกระตุ้นส่งออกตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ทั้งปี 6.1 ล้านตัน
“เวียดนามจำเป็นต้องเร่งส่งออก เพราะเขาไม่มีการเก็บสต็อก ผลผลิตออกมาก็ต้องเร่งขาย เมื่อเร่งขายก็กระทบต่อราคาที่ขาย แต่หลังเดือนมี.ค. เมื่อผลผลิตข้าวเวียดนามหมด การส่งออกของเวียดนามก็จะชะลอตัวลง ขณะที่ไทยยังมีผลิตข้าวได้ต่อเนื่อง และส่งออกได้ทั้งปี ไทยก็จะมีความได้เปรียบในการส่งออกต่อไป
ก็อยากเตือนผู้ส่งออกอย่าอาศัยสถานการณ์ข้าวเวียดนามมากดราคาข้าวไทย เรากำลังติดตาม และอย่าตีแผ่ข้อมูลที่ทำลายราคาข้าว”นายมนัสกล่าว
นายมนัสกล่าวว่า กรณีที่มีการกล่าวหาว่าการระบายข้าวในสต็อกรัฐบาลเป็นต้นเหตุทำให้ข้าวราคาตกต่ำ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพราะการระบายข้าวได้ทำอย่างปกปิด มีหลักเกณฑ์เงื่อนไขชัดเจน ซื้อไปแล้วต้องส่งออกเมื่อไร ส่งออกไปแล้วก็ต้องมีหลักฐานมายืนยัน โดยการระบายข้าวยังมีเสียงชื่นชมจากผู้ค้าข้าวว่าไม่ทำให้ราคาตลาดข้าวโลกเสียหายแต่ที่ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ทั้งหมด เพราะมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ห้ามไว้ จะเปิดเผยได้ก็ต่อเมื่อรายงานนายกรัฐมนตรี และครม.แล้ว ทั้งนี้ ล่าสุดรัฐบาลก็ยังไม่สรุปว่าจะให้ระบายต่อหรือให้หยุดขายข้าว
สำหรับการส่งออกข้าวตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-24 ก.พ.2554 ส่งออกปริมาณ 1,759,162 ตัน มูลค่า 1,018 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 30,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 ที่มีปริมาณ 1,300,506 ตัน มูลค่า 807 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26,538 ล้านบาท โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 35.27% มูลค่าเป็นเงินเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.16% และเงินบาท เพิ่มขึ้น 15.46% ตามลำดับ และคาดว่าในปี 2554 ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 9-9.5 ล้านตัน
มูลค่าประมาณ 5,300-5,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150,000-158,000 ล้านบาท