ASTVผู้จัดการรายวัน- "มาร์ค"ยังบอกไม่ได้ว่าจะให้ผู้สังเกตการณ์จากอินโดฯ ไปอยู่จุดใด ต้องรอการประชุมเจบีซี 7-8 มี.ค.นี้ก่อน ขณะที่ผบ.ทบ.ระบุปัญหาชายแดนมีระดับชั้นความลับ คงจะให้สังเกตการณ์เฉพาะรอบนอกพื้นที่เท่านั้น ด้านเครือข่ายคนไทยฯ ยื่นอุทธรณ์คดีให้ "วีระ-ราตรี" แต่"เลขาฯกษิต" รีบออกมายืนยันว่า มีการเซ็นชื่อขออภัยโทษไปแล้ว ส่วนเจ้าหน้าที่กัมพูชายอมรับเป็นครั้งแรกว่าปราสาทพระวิหาร “ไม่พัง” หลังป่าวประกาศไปทั่วโลกเมือต้นเดือนว่าทหารไทยยิงถล่มปราสาทอายุ 900 ปี “พังไปแถบหนึ่ง”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกล่าวว่า เรื่องผู้สังเกตการณ์ของประเทศอินโดนีเซีย ที่จะเข้ามาสังเกตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า จะดูให้รัดกุม ไม่ให้มีปัญหา ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้กำหนดพื้นที่ที่จะลง และเราคิดว่าขณะนี้ควรจะไปที่กลไกทวิภาคีก่อน เพราะว่าตามที่ทางฝ่ายไทย หรือทางฝ่ายกัมพูชาจะไปกำหนดพื้นที่กันฝ่ายเดียว ในแต่ละฝ่ายคงสร้างปัญหามากกว่า ฉะนั้นน่าที่จะไปใช้กลไกทวิภาคีในการที่จะพูดคุยเรื่องนี้ เพื่อที่จะให้ทางประเทศอินโดนีเซียได้สามารถปฏิบัติได้
เมื่อถามว่า ถ้าในวันที่ 7-8 มี.ค.นี้ การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ( เจบีซี)ไม่สามารถได้ข้อสรุป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็อาจจะมีตัวประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ( จีบีซี ) หรือคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา ( อาร์บีซี ) เป็นตัวพิจารณาก็ได้
** ผบ.ทบ.ให้ผู้สังเกตการณ์อยู่รอบนอก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเชียน มีมติส่ง ผู้สังเกตุการณ์จากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า เรื่องนี้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา (จีบีซี.) ถึงจะลงรายละเอียดได้ ว่าจะให้ผู้สังเกตการณ์ลงในพื้นที่จุดใด แต่ส่วนตัวคิดว่า ต้องมีระดับชั้นความลับ ดังนั้นคงจะให้สังเกตการณ์เฉพาะรอบนอกพื้นที่เท่านั้น
** เครือข่ายคนไทยฯอุทธรณ์คดี"วีระ-ราตรี"
ด้านกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นำโดย นายสุนทร รักรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ เดินทางมาขอยื่นคำอุทธรณ์ คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นกัมพูชา ในคดีของ นายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายทศพล มูลศาสตร์สาทร ผู้อำนวยการ กองกลางกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รับมอบหนังสือ
ทั้งนี้ เครือข่ายยืนยันว่า การมายื่นหนังสือครั้งนี้ เนื่องจากว่า การขอพระราชทานอภัยโทษของทั้งสองคนยังไม่มีคำยืนยัน เป็นเพียงกระแสข่าว ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องมายื่นหนังสือผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ไปถึงนายวีระ และ น.ส.ราตรี ให้เซ็นคำอุทธรณ์และยืนยันว่า ครอบครัวของนายวีระ เห็นด้วยกับแนวทางการยื่นอุทธรณ์ ของเครือข่ายแล้ว
อย่างไรก็ตามหลังเสร็จสิ้นการยื่นหนังสือที่กระทรวงการต่างประเทศ ทางเครือข่าย จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย ขณะที่นายการุณ ใสงาม ซึ่งเดินทางไปที่ประเทศกัมพูชา แล้ว จะยื่นเอกสารอุทธรณ์ผ่านสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงพนมเปญ เช่นกัน
** กต.ยัน"วีระ-ราตรี"ขออภัยโทษแล้ว
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ของนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ว่า ตนได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ต่อการที่นายวีระ และน.ส.ราตรี ได้ลงชื่อในหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว โดยเหตุที่นายวีระ ยอมลงชื่อเอกสารพระราชทานอภัยโทษ เพราะเป็นความต้องการของแม่นายวีระ และเห็นว่าเป็นเรื่องของครอบครัวทั้งสอง ที่ต้องเป็นผู้ชี้แจงเอง พร้อมกับยืนยันว่ารัฐบาลและทางกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เคยกดดันในการตัดสินใจ
ส่วนหลักฐานที่เป็นเอกสาร การเซ็นลงนามขอพระราชทานอภัยโทษ จะนำมาเปิดเผยหรือไม่นั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ต้องสอบถามจากนายวีระ ก่อน เนื่องจากเห็นว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องส่วนบุคคล
ส่วนการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา (เจบีซี) ที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้จัดการประชุมในวันที่ 7-8 มี.ค.นี้ ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ต้องรอการตอบรับจากกัมพูชาก่อน เพราะการประชุมดังกล่าว เป็นเรื่องระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ หากสามารถกำหนดวันประชุมได้ชัดเจนได้แล้ว จึงจะแจ้งกับทางอินโดนีเซีย เพื่อดำเนินการต่อไป
***หลักฐานชี้ชัดปราสาทไม่พัง
นายจุ๊กเฟือน (Chuch Phoeun) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกร และ ประธานองค์การแห่งชาติพระวิหาร กล่าวว่า ตนเองกำลังจะพบกับนายโคอิชิโร มัตสึอุระ (Koichiro Matsuura) ทูตพิเศษของผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายของปราสาทเก่าแก่ให้ทราบ
นายเฟือนกล่าวหาว่า การยิงถล่มของฝ่ายไทยทำให้ 70%-80% ของทั่วปราสาทได้รับความเสียหาย กระสุนปืนใหญ่และปืนครก 414 นัด ตกลงในบริเวณปราสาท
แต่ภาพของสำนักข่าวต่างๆ ที่เผยแพร่ไปทั่วโลกกลับตรงกันข้าม บางภาพแสดงให้เห็นทหารกัมพูชาลำเลียงกระสุนปืนใหญ่ และติดตั้งปืนกลหนักบนปราสาท เพื่อยิงถล่มที่ตั้งของไทย อันเป็นเหตุให้ฝ่ายไทยต้องยิงตอบโต้กลับไป
ผู้สื่อข่าวของเอพีที่ขึ้นไปยังปราสาทในช่วงที่ยังมีการสู้รบ ได้เขียนเอาไว้ว่า เห็นทหารกัมพูชา 200-300 นายประจำอยู่ที่นั่น
กัมพูชาได้พยายามอย่างยิ่งในการทำให้ชาวโลกหลงเชื่อว่า กำลังเกิด “สงคราม” ขึ้นที่ชายแดนกับไทย และปราสาทพระวิหารกำลังจะพังทลายลง และได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคง มี “ปฏิบัติการเร่งด่วน” ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปประจำที่นั่น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ตามรายงานของสำนักข่าวเอเคพีซึ่งเป็นของรัฐบาล นายมัตสุอุระเดินทางถึงกรุงพนมเปญในวันจันทร์นี้ และ จะมีกำหนดเข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน พบหารือกับนายโสกอาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่กำกับดูแลปราสาทองค์การแห่งชาติเพื่อพระวิหาร
แต่แผนการไปตรวจดูความเสียหายของปราสาทพระวิหารของนายมัตสึอุระ ตามที่ฝ่ายกัมพูชาต้องการนั้น ได้เลื่อนออกไป 2 สัปดาห์ จนกว่าคณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียจะเข้าประจำพื้นที่เสียก่อน เอเคพีกล่าว
**จ่าทหารพรานสังเวยระเบิดเขมรอีก 1 ศพ
ผู้สื่อข่าวรายงาน่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จากกรมทหารพรานที่ 23 นำศพ จ.ส.อ.สุขุม สุวรรณพรม อายุ 47 ปี ผบ.ชุดปฏิบัติการที่ 2307 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อเวลา 05.10 น.ในวันดังกล่าวไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 8 บ้านสร้างแก้ว ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีกำหนดพระราชทานเพลิงศพที่วัดประจำหมู่บ้านในวันที่ 2 มี.ค.ศกนี้
ร.ต.ชำนาญ สุวรรณพรม ทหารนอกราชการบิดาของ จ.ส.อ.สุขุม เล่าว่า บุตรชายได้รับบาดเจ็บจากแรงอัดของลูกระเบิดที่ยิงจากเครื่องยิงจรวดบีเอ็ม 21 ตั้งแต่กลางดึกวันที่ 6 ก.พ.มีอาการแน่นหน้าอก แต่ไม่มีบาดแผล เพราะขณะเกิดการปะทะได้สวมเสื้อเกราะกันกระสุนไว้ จึงไม่ได้ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไร จนนกระทั่งกลางดึกคืนวันที่ 24 ก.พ.มีอาการแน่นหน้าอก จึงถูกนำส่งไปให้แพทย์ที่โรงพยาบาลทหารตรวจดูอาการ พบมีซี่โครงหัก ปอดถูกกระแทกอย่างแรงจนทำให้ปอดอักเสบ จึงส่งต่อไปรักษาตัวในห้องไอซียูโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สำหรับ จ.ส.อ.สุขุม เป็นลูกคนที่ 4 จากลูกทั้งหมด 8 คน และเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของครอบครัว โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ได้ไปปฏิบัติราชการสนามที่ จ.ปัตตานี และย้ายกลับมาประจำการที่กรมทหารที่ 23 เมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน การเสียชีวิตของ จ.ส.อ.สุขุม ทางต้นสังกัดได้ขอปูนบำเหน็จ 9 ขั้น โดยเลื่อนชั้นยศให้เป็น พ.อ.(พิเศษ)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกล่าวว่า เรื่องผู้สังเกตการณ์ของประเทศอินโดนีเซีย ที่จะเข้ามาสังเกตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า จะดูให้รัดกุม ไม่ให้มีปัญหา ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้กำหนดพื้นที่ที่จะลง และเราคิดว่าขณะนี้ควรจะไปที่กลไกทวิภาคีก่อน เพราะว่าตามที่ทางฝ่ายไทย หรือทางฝ่ายกัมพูชาจะไปกำหนดพื้นที่กันฝ่ายเดียว ในแต่ละฝ่ายคงสร้างปัญหามากกว่า ฉะนั้นน่าที่จะไปใช้กลไกทวิภาคีในการที่จะพูดคุยเรื่องนี้ เพื่อที่จะให้ทางประเทศอินโดนีเซียได้สามารถปฏิบัติได้
เมื่อถามว่า ถ้าในวันที่ 7-8 มี.ค.นี้ การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ( เจบีซี)ไม่สามารถได้ข้อสรุป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็อาจจะมีตัวประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ( จีบีซี ) หรือคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา ( อาร์บีซี ) เป็นตัวพิจารณาก็ได้
** ผบ.ทบ.ให้ผู้สังเกตการณ์อยู่รอบนอก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเชียน มีมติส่ง ผู้สังเกตุการณ์จากประเทศอินโดนีเซีย เข้ามาสังเกตการณ์บริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า เรื่องนี้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา (จีบีซี.) ถึงจะลงรายละเอียดได้ ว่าจะให้ผู้สังเกตการณ์ลงในพื้นที่จุดใด แต่ส่วนตัวคิดว่า ต้องมีระดับชั้นความลับ ดังนั้นคงจะให้สังเกตการณ์เฉพาะรอบนอกพื้นที่เท่านั้น
** เครือข่ายคนไทยฯอุทธรณ์คดี"วีระ-ราตรี"
ด้านกลุ่มเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ นำโดย นายสุนทร รักรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ เดินทางมาขอยื่นคำอุทธรณ์ คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นกัมพูชา ในคดีของ นายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายทศพล มูลศาสตร์สาทร ผู้อำนวยการ กองกลางกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้รับมอบหนังสือ
ทั้งนี้ เครือข่ายยืนยันว่า การมายื่นหนังสือครั้งนี้ เนื่องจากว่า การขอพระราชทานอภัยโทษของทั้งสองคนยังไม่มีคำยืนยัน เป็นเพียงกระแสข่าว ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องมายื่นหนังสือผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้ไปถึงนายวีระ และ น.ส.ราตรี ให้เซ็นคำอุทธรณ์และยืนยันว่า ครอบครัวของนายวีระ เห็นด้วยกับแนวทางการยื่นอุทธรณ์ ของเครือข่ายแล้ว
อย่างไรก็ตามหลังเสร็จสิ้นการยื่นหนังสือที่กระทรวงการต่างประเทศ ทางเครือข่าย จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย ขณะที่นายการุณ ใสงาม ซึ่งเดินทางไปที่ประเทศกัมพูชา แล้ว จะยื่นเอกสารอุทธรณ์ผ่านสถานเอกอัครราชทูตประจำกรุงพนมเปญ เช่นกัน
** กต.ยัน"วีระ-ราตรี"ขออภัยโทษแล้ว
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ของนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ว่า ตนได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ต่อการที่นายวีระ และน.ส.ราตรี ได้ลงชื่อในหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว โดยเหตุที่นายวีระ ยอมลงชื่อเอกสารพระราชทานอภัยโทษ เพราะเป็นความต้องการของแม่นายวีระ และเห็นว่าเป็นเรื่องของครอบครัวทั้งสอง ที่ต้องเป็นผู้ชี้แจงเอง พร้อมกับยืนยันว่ารัฐบาลและทางกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เคยกดดันในการตัดสินใจ
ส่วนหลักฐานที่เป็นเอกสาร การเซ็นลงนามขอพระราชทานอภัยโทษ จะนำมาเปิดเผยหรือไม่นั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ต้องสอบถามจากนายวีระ ก่อน เนื่องจากเห็นว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องส่วนบุคคล
ส่วนการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย - กัมพูชา (เจบีซี) ที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้จัดการประชุมในวันที่ 7-8 มี.ค.นี้ ที่ประเทศอินโดนีเซียนั้น นายชวนนท์ กล่าวว่า ต้องรอการตอบรับจากกัมพูชาก่อน เพราะการประชุมดังกล่าว เป็นเรื่องระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ หากสามารถกำหนดวันประชุมได้ชัดเจนได้แล้ว จึงจะแจ้งกับทางอินโดนีเซีย เพื่อดำเนินการต่อไป
***หลักฐานชี้ชัดปราสาทไม่พัง
นายจุ๊กเฟือน (Chuch Phoeun) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกร และ ประธานองค์การแห่งชาติพระวิหาร กล่าวว่า ตนเองกำลังจะพบกับนายโคอิชิโร มัตสึอุระ (Koichiro Matsuura) ทูตพิเศษของผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายของปราสาทเก่าแก่ให้ทราบ
นายเฟือนกล่าวหาว่า การยิงถล่มของฝ่ายไทยทำให้ 70%-80% ของทั่วปราสาทได้รับความเสียหาย กระสุนปืนใหญ่และปืนครก 414 นัด ตกลงในบริเวณปราสาท
แต่ภาพของสำนักข่าวต่างๆ ที่เผยแพร่ไปทั่วโลกกลับตรงกันข้าม บางภาพแสดงให้เห็นทหารกัมพูชาลำเลียงกระสุนปืนใหญ่ และติดตั้งปืนกลหนักบนปราสาท เพื่อยิงถล่มที่ตั้งของไทย อันเป็นเหตุให้ฝ่ายไทยต้องยิงตอบโต้กลับไป
ผู้สื่อข่าวของเอพีที่ขึ้นไปยังปราสาทในช่วงที่ยังมีการสู้รบ ได้เขียนเอาไว้ว่า เห็นทหารกัมพูชา 200-300 นายประจำอยู่ที่นั่น
กัมพูชาได้พยายามอย่างยิ่งในการทำให้ชาวโลกหลงเชื่อว่า กำลังเกิด “สงคราม” ขึ้นที่ชายแดนกับไทย และปราสาทพระวิหารกำลังจะพังทลายลง และได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคง มี “ปฏิบัติการเร่งด่วน” ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปประจำที่นั่น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ตามรายงานของสำนักข่าวเอเคพีซึ่งเป็นของรัฐบาล นายมัตสุอุระเดินทางถึงกรุงพนมเปญในวันจันทร์นี้ และ จะมีกำหนดเข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน พบหารือกับนายโสกอาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่กำกับดูแลปราสาทองค์การแห่งชาติเพื่อพระวิหาร
แต่แผนการไปตรวจดูความเสียหายของปราสาทพระวิหารของนายมัตสึอุระ ตามที่ฝ่ายกัมพูชาต้องการนั้น ได้เลื่อนออกไป 2 สัปดาห์ จนกว่าคณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียจะเข้าประจำพื้นที่เสียก่อน เอเคพีกล่าว
**จ่าทหารพรานสังเวยระเบิดเขมรอีก 1 ศพ
ผู้สื่อข่าวรายงาน่า เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จากกรมทหารพรานที่ 23 นำศพ จ.ส.อ.สุขุม สุวรรณพรม อายุ 47 ปี ผบ.ชุดปฏิบัติการที่ 2307 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อเวลา 05.10 น.ในวันดังกล่าวไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 8 บ้านสร้างแก้ว ต.โพธิ์ไทร อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยมีกำหนดพระราชทานเพลิงศพที่วัดประจำหมู่บ้านในวันที่ 2 มี.ค.ศกนี้
ร.ต.ชำนาญ สุวรรณพรม ทหารนอกราชการบิดาของ จ.ส.อ.สุขุม เล่าว่า บุตรชายได้รับบาดเจ็บจากแรงอัดของลูกระเบิดที่ยิงจากเครื่องยิงจรวดบีเอ็ม 21 ตั้งแต่กลางดึกวันที่ 6 ก.พ.มีอาการแน่นหน้าอก แต่ไม่มีบาดแผล เพราะขณะเกิดการปะทะได้สวมเสื้อเกราะกันกระสุนไว้ จึงไม่ได้ไปพบแพทย์เพราะคิดว่าคงไม่เป็นไร จนนกระทั่งกลางดึกคืนวันที่ 24 ก.พ.มีอาการแน่นหน้าอก จึงถูกนำส่งไปให้แพทย์ที่โรงพยาบาลทหารตรวจดูอาการ พบมีซี่โครงหัก ปอดถูกกระแทกอย่างแรงจนทำให้ปอดอักเสบ จึงส่งต่อไปรักษาตัวในห้องไอซียูโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
สำหรับ จ.ส.อ.สุขุม เป็นลูกคนที่ 4 จากลูกทั้งหมด 8 คน และเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของครอบครัว โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ได้ไปปฏิบัติราชการสนามที่ จ.ปัตตานี และย้ายกลับมาประจำการที่กรมทหารที่ 23 เมื่อประมาณ 3 เดือนก่อน การเสียชีวิตของ จ.ส.อ.สุขุม ทางต้นสังกัดได้ขอปูนบำเหน็จ 9 ขั้น โดยเลื่อนชั้นยศให้เป็น พ.อ.(พิเศษ)