บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต้องเน้นคำว่า “มหาชน” ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างการบินไทยกับผู้ถือหุ้นเท่านั้น แต่ตามนัยของรัฐวิสาหกิจแล้วผู้เสียภาษีคือผู้ถือหุ้น เพราะว่ากระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานของรัฐ ซึ่งทำหน้าที่หลักในการกำกับดูแล และรักษาผลประโยชน์ด้านการคลังการเงินให้ปวงชนชาวไทย ซึ่งการนี้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 79.5 ก็เท่ากับว่าการบินไทยเป็นของคนไทยถึงร้อยละ 79.5 คนไทยจึงต้องวิจารณ์ได้ ตามสิทธิคนเสียเงินภาษีให้รัฐ
ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง การแต่งตั้ง หรือโยกย้ายบุคลากรระดับบริหารของการบินไทย จะต้องมีเรื่องวุ่นวายอลวนเกิดขึ้นทุกครั้ง เกิดบัตรสนเท่ห์ให้ร้ายกันและกัน โดยปกติคณะกรรมการบริษัทจะต้องเลือกสรรตามคุณสมบัติ และเกณฑ์การพิจารณาสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนดเป็นแนวทางให้ไว้แล้วและยังเป็นผู้ประเมินผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ซึ่งแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องมีนโยบายธรรมาภิบาลของตนเองตั้งแต่บอร์ดจนถึงฝ่ายบริหารทุกระดับและต้องอยู่ในกรอบของกระทรวงการคลัง แต่การบินไทยมักจะหาข้อยกเว้นให้ตัวเองเสมอหากจะต้องออกนอกกรอบ โดยใช้วลีที่ว่า “เป็นใบสั่งมา” แต่ใครสั่ง ไม่มีใครรู้ และประชาชนจะสั่งบ้างได้ไหม
“การบินไทย” เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มักจะมีเรื่องวุ่นวายอลวนและอื้อฉาวเสมอ จนกลายเป็นธรรมชาติขององค์กร ทฤษฎีความอลวนคือพฤติกรรมขององค์กรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง แล้วเกิดผลกระทบเชิงพลวัตต่อบุคคลและองค์กรและหาข้อยุติที่มีเหตุผลไม่ได้ แต่อาการอลวนนี้มักเกิดขึ้นไม่นานและในที่สุดก็เงียบหายไป ซึ่งสาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้และไม่ค่อยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการองค์กรได้ เพราะว่าทุกอย่างถูกทำดูดีไปหมด และเพราะการที่เป็นบริษัทของรัฐ นักการเมืองที่แสวงประโยชน์กับการบินไทยจึงใช้อำนาจรัฐของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมสร้างอิทธิพลเหนือการบินไทย การที่การบินไทยทำกำไรได้ก็ดีไป แม้กำไรถึงจะน้อยหรือขาดทุนก็ไม่เป็นไร เพราะแก้ตัวง่าย มีตัวแปรแก้ต่างให้มากมาย เช่น ราคาน้ำมันขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งกระทบโครงสร้างระบบการเงินโลก จนคนอเมริกันและสหภาพยุโรปงดการเดินทาง รวมทั้งการประท้วงของ พธม.ที่การบินไทยอ้าง ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสาร เช่น ประชากรสหรัฐฯ ประมาณ 300 ล้านคน รวมกับประชาคมสหภาพยุโรปเกือบ 500 ล้านคน เดินทางน้อยลง เช่น เที่ยวบินกรุงเทพฯ - นิวยอร์ก ที่ทู่ซี้บินอยู่เป็นปีก็ขาดทุนอยู่เป็นปี จนมีส่วนให้บริษัทขาดทุนอย่างรุนแรงและต้องกู้เงิน โดยประธานกรรมการคณะกรรมการการบินไทยทุกคนถือโอกาสขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการกู้เงินตลอดช่วงปี2508- 2510
ปัญหาของการบินไทยมีมากกว่าแค่ปัญหาราคาน้ำมัน หรือสถานการณ์การเมืองทั้งภายใน-ภายนอกประเทศ หรือคู่แข่ง แต่เป็นปัญหาภายในองค์กรที่ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพก็อยู่ได้ เพราะรัฐหรือนักการเมืองอุ้มชู ปัญหาบุคลากรเป็นปัญหาใหญ่ของการบินไทย เพราะบางตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งดูแลงานบริหาร หน่วยธุรกิจซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ของการบริหารในอุตสาหกรรมสายการบินไม่จบปริญญาตรีก็มี จนไม่มีสิทธิได้รับเลือกให้มีตำแหน่งที่สูงขึ้น ความชำนาญมีความสำคัญมากหรือไม่ตอบว่ามากแต่ทำไมผู้บริหารที่ไม่มีปริญญาตรีจึงไม่ขวนขวายทั้งๆ ที่มีมหาวิทยาลัยเปิดให้โอกาสแล้ว การไม่มุ่งมั่นอุทิศตนให้เป็นตัวอย่างแล้วจะเป็นผู้นำได้อย่างไร
ประเด็นที่ต้องสนใจโดยในปี ค.ศ. 2525 อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเราคาดหวังว่าปัญหาชายแดนกัมพูชาจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีและยุติธรรม เป็น WIN - WIN - WIN ทั้งไทย กัมพูชา และอาเซียน โดยในการนี้ไทยได้รับมอบหมายให้ร่าง Road Map เกี่ยวกับอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศของอาเซียนและในชั้นต้นให้เป็นตลาดการบินร่วมอาเซียน ซึ่งทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมสายการบิน จะต้องมีส่วนผิดชอบและสนับสนุน
อุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศมีผลิตภัณฑ์สำคัญสองอย่าง คือผลิตภัณฑ์ภาคอากาศ และผลิตภัณฑ์ภาคพื้นดิน
ภาคอากาศคือบริการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุและไปรษณียภัณฑ์ พัสดุประกอบด้วยทั้งสิ่งของส่วนตัว และสินค้าออกสำคัญๆ ในกิจกรรมนี้มีคู่แข่งขันสูง ส่วนภาคพื้นดินนั้น คือ การบริการภาคพื้นมี 2 ส่วน คือตัวพื้นที่ลานจอด ทางวิ่ง ทางขับหรือแอร์ไซด์ และอาคารรองรับผู้โดยสารหรือแลนด์ไซด์และการบริการเครื่องบินที่ลานจอด กิจการบริการเหล่านี้มีกำไรสูงต้นทุนต่ำ ปัจจุบันมีผู้ประกอบหลายรายที่ดำเนินธุรกิจบริการลานจอดรองรับสายการบินต่างๆ ที่มาลงสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของไทย โดยการดูแลรักษาและบริการ อาคาร สถานที่ ทางวิ่งทางขับ และลานจอดนั้น บริษัทการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจดำเนินการ ส่วนการให้บริการลานจอด ด้วยอุปกรณ์บำรุงรักษาต่างๆ ให้กับเครื่องบินโดยสารที่จอดรอรับบริการนั้น มีบริษัทใหญ่ๆ เช่น การบินไทย และบริษัท Bangkok Flight Services ให้บริการ
ดังนั้นความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในมือของทั้งสองบริษัท เป็นกุญแจให้บริษัทไทยสามารถเข้าไปบริหารสนามบินและให้บริการลานจอดต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนสากลและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการเลือกบุคลากรให้ดูแลในส่วนงานนี้ จึงเป็นวาระสำคัญ ที่คณะกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จะต้องมีความพิถีพิถัน มิใช่ว่าเลือกตามกระแสการเมืองภายในและภายนอกองค์กร เช่น คนคนนี้เป็นคนของ DD หรือเป็นคนของบอร์ด หรือเป็นคนของนักการเมืองกำลังมีอำนาจ หรือเป็นคนของรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ แต่จะต้องเป็นมืออาชีพที่สร้างผลงานบริการภาคพื้น (Ground Service) มาแล้ว เช่น นายอนุสสรณ์ นาคศรีชุ่ม ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถที่ลูกค้ายอมรับ และมีผลงานในหน่วยธุรกิจนี้มาพอสมควร แต่ถ้าการบินไทย โดยคณะกรรมการการบินไทยเห็นว่ามีบุคคลที่เก่งกว่า สดกว่า ซื่อสัตย์กว่านายอนุสสรณ์ แล้ว ก็เลือกเข้ามาบริหารได้แต่ลูกค้าต้องยอมรับเพราะกำไรของเขาคือความรวดเร็วในการขึ้นบินได้ปลอดภัยตามเวลา
แต่ขออย่าให้มีปัญหาเหมือนกับช่วงเลือกนายธีรพล โชติชนาภิบาล ซึ่งสหภาพออกมาโวยประท้วง ขณะที่คณะกรรมการไม่เอาจึงเกิดอาการอลวน แต่เรื่องราวก็เงียบหายไป และวาระการแต่งตั้งครั้งนี้นายธีรพล ก็เป็นผู้ที่ได้รับการส่งชื่อให้พิจารณาเช่นกันก็ขอให้ธรรมชาติอลวนของการบินไทยควบคุมได้ด้วยธรรมาภิบาล
ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง การแต่งตั้ง หรือโยกย้ายบุคลากรระดับบริหารของการบินไทย จะต้องมีเรื่องวุ่นวายอลวนเกิดขึ้นทุกครั้ง เกิดบัตรสนเท่ห์ให้ร้ายกันและกัน โดยปกติคณะกรรมการบริษัทจะต้องเลือกสรรตามคุณสมบัติ และเกณฑ์การพิจารณาสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนดเป็นแนวทางให้ไว้แล้วและยังเป็นผู้ประเมินผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ซึ่งแต่ละรัฐวิสาหกิจจะต้องมีนโยบายธรรมาภิบาลของตนเองตั้งแต่บอร์ดจนถึงฝ่ายบริหารทุกระดับและต้องอยู่ในกรอบของกระทรวงการคลัง แต่การบินไทยมักจะหาข้อยกเว้นให้ตัวเองเสมอหากจะต้องออกนอกกรอบ โดยใช้วลีที่ว่า “เป็นใบสั่งมา” แต่ใครสั่ง ไม่มีใครรู้ และประชาชนจะสั่งบ้างได้ไหม
“การบินไทย” เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มักจะมีเรื่องวุ่นวายอลวนและอื้อฉาวเสมอ จนกลายเป็นธรรมชาติขององค์กร ทฤษฎีความอลวนคือพฤติกรรมขององค์กรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง แล้วเกิดผลกระทบเชิงพลวัตต่อบุคคลและองค์กรและหาข้อยุติที่มีเหตุผลไม่ได้ แต่อาการอลวนนี้มักเกิดขึ้นไม่นานและในที่สุดก็เงียบหายไป ซึ่งสาธารณชนไม่มีโอกาสได้รับรู้และไม่ค่อยมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในการบริหารจัดการองค์กรได้ เพราะว่าทุกอย่างถูกทำดูดีไปหมด และเพราะการที่เป็นบริษัทของรัฐ นักการเมืองที่แสวงประโยชน์กับการบินไทยจึงใช้อำนาจรัฐของกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมสร้างอิทธิพลเหนือการบินไทย การที่การบินไทยทำกำไรได้ก็ดีไป แม้กำไรถึงจะน้อยหรือขาดทุนก็ไม่เป็นไร เพราะแก้ตัวง่าย มีตัวแปรแก้ต่างให้มากมาย เช่น ราคาน้ำมันขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโลก
โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งกระทบโครงสร้างระบบการเงินโลก จนคนอเมริกันและสหภาพยุโรปงดการเดินทาง รวมทั้งการประท้วงของ พธม.ที่การบินไทยอ้าง ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสาร เช่น ประชากรสหรัฐฯ ประมาณ 300 ล้านคน รวมกับประชาคมสหภาพยุโรปเกือบ 500 ล้านคน เดินทางน้อยลง เช่น เที่ยวบินกรุงเทพฯ - นิวยอร์ก ที่ทู่ซี้บินอยู่เป็นปีก็ขาดทุนอยู่เป็นปี จนมีส่วนให้บริษัทขาดทุนอย่างรุนแรงและต้องกู้เงิน โดยประธานกรรมการคณะกรรมการการบินไทยทุกคนถือโอกาสขอให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการกู้เงินตลอดช่วงปี2508- 2510
ปัญหาของการบินไทยมีมากกว่าแค่ปัญหาราคาน้ำมัน หรือสถานการณ์การเมืองทั้งภายใน-ภายนอกประเทศ หรือคู่แข่ง แต่เป็นปัญหาภายในองค์กรที่ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพก็อยู่ได้ เพราะรัฐหรือนักการเมืองอุ้มชู ปัญหาบุคลากรเป็นปัญหาใหญ่ของการบินไทย เพราะบางตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งดูแลงานบริหาร หน่วยธุรกิจซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ของการบริหารในอุตสาหกรรมสายการบินไม่จบปริญญาตรีก็มี จนไม่มีสิทธิได้รับเลือกให้มีตำแหน่งที่สูงขึ้น ความชำนาญมีความสำคัญมากหรือไม่ตอบว่ามากแต่ทำไมผู้บริหารที่ไม่มีปริญญาตรีจึงไม่ขวนขวายทั้งๆ ที่มีมหาวิทยาลัยเปิดให้โอกาสแล้ว การไม่มุ่งมั่นอุทิศตนให้เป็นตัวอย่างแล้วจะเป็นผู้นำได้อย่างไร
ประเด็นที่ต้องสนใจโดยในปี ค.ศ. 2525 อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเราคาดหวังว่าปัญหาชายแดนกัมพูชาจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีและยุติธรรม เป็น WIN - WIN - WIN ทั้งไทย กัมพูชา และอาเซียน โดยในการนี้ไทยได้รับมอบหมายให้ร่าง Road Map เกี่ยวกับอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศของอาเซียนและในชั้นต้นให้เป็นตลาดการบินร่วมอาเซียน ซึ่งทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศและอุตสาหกรรมสายการบิน จะต้องมีส่วนผิดชอบและสนับสนุน
อุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศมีผลิตภัณฑ์สำคัญสองอย่าง คือผลิตภัณฑ์ภาคอากาศ และผลิตภัณฑ์ภาคพื้นดิน
ภาคอากาศคือบริการขนส่งผู้โดยสาร พัสดุและไปรษณียภัณฑ์ พัสดุประกอบด้วยทั้งสิ่งของส่วนตัว และสินค้าออกสำคัญๆ ในกิจกรรมนี้มีคู่แข่งขันสูง ส่วนภาคพื้นดินนั้น คือ การบริการภาคพื้นมี 2 ส่วน คือตัวพื้นที่ลานจอด ทางวิ่ง ทางขับหรือแอร์ไซด์ และอาคารรองรับผู้โดยสารหรือแลนด์ไซด์และการบริการเครื่องบินที่ลานจอด กิจการบริการเหล่านี้มีกำไรสูงต้นทุนต่ำ ปัจจุบันมีผู้ประกอบหลายรายที่ดำเนินธุรกิจบริการลานจอดรองรับสายการบินต่างๆ ที่มาลงสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นท่าอากาศยานสากลหลักของไทย โดยการดูแลรักษาและบริการ อาคาร สถานที่ ทางวิ่งทางขับ และลานจอดนั้น บริษัทการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจดำเนินการ ส่วนการให้บริการลานจอด ด้วยอุปกรณ์บำรุงรักษาต่างๆ ให้กับเครื่องบินโดยสารที่จอดรอรับบริการนั้น มีบริษัทใหญ่ๆ เช่น การบินไทย และบริษัท Bangkok Flight Services ให้บริการ
ดังนั้นความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในมือของทั้งสองบริษัท เป็นกุญแจให้บริษัทไทยสามารถเข้าไปบริหารสนามบินและให้บริการลานจอดต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ตามมาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนสากลและทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการเลือกบุคลากรให้ดูแลในส่วนงานนี้ จึงเป็นวาระสำคัญ ที่คณะกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จะต้องมีความพิถีพิถัน มิใช่ว่าเลือกตามกระแสการเมืองภายในและภายนอกองค์กร เช่น คนคนนี้เป็นคนของ DD หรือเป็นคนของบอร์ด หรือเป็นคนของนักการเมืองกำลังมีอำนาจ หรือเป็นคนของรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ แต่จะต้องเป็นมืออาชีพที่สร้างผลงานบริการภาคพื้น (Ground Service) มาแล้ว เช่น นายอนุสสรณ์ นาคศรีชุ่ม ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่มีความรู้ความสามารถที่ลูกค้ายอมรับ และมีผลงานในหน่วยธุรกิจนี้มาพอสมควร แต่ถ้าการบินไทย โดยคณะกรรมการการบินไทยเห็นว่ามีบุคคลที่เก่งกว่า สดกว่า ซื่อสัตย์กว่านายอนุสสรณ์ แล้ว ก็เลือกเข้ามาบริหารได้แต่ลูกค้าต้องยอมรับเพราะกำไรของเขาคือความรวดเร็วในการขึ้นบินได้ปลอดภัยตามเวลา
แต่ขออย่าให้มีปัญหาเหมือนกับช่วงเลือกนายธีรพล โชติชนาภิบาล ซึ่งสหภาพออกมาโวยประท้วง ขณะที่คณะกรรมการไม่เอาจึงเกิดอาการอลวน แต่เรื่องราวก็เงียบหายไป และวาระการแต่งตั้งครั้งนี้นายธีรพล ก็เป็นผู้ที่ได้รับการส่งชื่อให้พิจารณาเช่นกันก็ขอให้ธรรมชาติอลวนของการบินไทยควบคุมได้ด้วยธรรมาภิบาล