การบินไทย ยัน สคร.ไฟเขียว ร่วมทุนตั้ง “ไทยไทเกอร์” ชี้ ปมลงทุนร่วมต่างชาติ เป็นอำนาจบริษัทพิจารณา ไม่เลื่อนเปิดบินคงแผนเดิม ก.ค.54 รอ “คมนาคม” พิจารณากรณีสิทธิการบิน ด้าน บพ.คาด สรุปการลงทุนเบื้องต้นส่งคมนาคมใน มี.ค.นี้ ชี้แผนไร้รายละเอียดการบินไทยยื้อส่งข้อมูลเพิ่ม โดยเฉพาะอำนาจบริหาร ส่อมีปัญหาขั้นตอนขอใบอนุญาตบิน
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากที่การบินไทยได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สอบถามถึงการร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ “ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส” ว่า เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 35) หรือไม่ นั้น และ สคร.ได้ตอบกลับมาแล้วโดยสรุปไม่มีปัญหาเรื่อง พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่ง สคร.ระบุว่า กรณีการร่วมทุนกับต่างชาติ เป็นเรื่องที่เจ้าของโครงการคือการบินไทยจะพิจารณาซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริษัทได้สรุปชัดเจนแล้วว่าไม่เข้าข่าย ส่วนประเด็นสิทธิการบินเจ้าของเรื่องคือรัฐในที่นี้หมายถึงกระทรวงคมนมคมและกรมการบินพลเรือน (บพ.) ต้องพิจารณา
ทั้งนี้ การบินไทยได้ส่งคำชี้แจงของ สคร.ไปยังกระทรวงคมนาคมเมื่อเดือนม.ค. 2554 ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการบินไทยยังคงแผนเปิดบินไทยไทเกอร์แอร์เวย์สในเดือน ก.ค.2554 ตามเดิม
ด้าน นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า ขณะนี้บพ.อยู่ระหว่างการพิจารณากรณีที่บริษัท การบินไทย ร่วมทุนกับ ไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดตั้งสายการบิน “ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส” ซึ่งคาดว่าจะสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือน มี.ค.54 นี้ แต่เนื่องจากข้อมูลประกอบการพิจารณารายละเอียดไม่ครบถ้วนดังนั้น จึงจะสรุปในกรอบที่การบินไทยขอลงทุนจำนวน 99.8 ล้านบาทเท่านั้น
โดยก่อนหน้านี้ บพ.ได้ขอให้การบินไทยจัดส่งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเรื่อง อำนาจในการบริหารไทยไทเกอร์ฯว่า เป็นของใคร แต่การบินไทยระบุว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นหลักการในเอ็มโอยูเพราะเป็นการตกลงกันเบื้องต้น จึงไม่สามารถให้ข้อมูลในขณะนี้ได้ รวมถึงกรณีสิทธิการบิน ก็ยังไม่สามารถพิจารณาได้ว่า จะมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่ เพราะการบินไทยไม่ส่งรายละเอียดเรื่อง เส้นทางการบิน จำนวนเครื่องบิน สัญญาเช่าและราคาเครื่องบิน โดยอ้างว่าต้องรอหลังการเซ็นสัญญาร่วมทุนและมีการปฏิบัติการบินแล้ว
นายสมชาย กล่าวว่า รายละเอียดที่ยังไม่ครบถ้วนจะต้องมีการตรวจสอบกันอีกครั้งในขั้นตอนที่ไทยไทเกอร์ฯ ขอใบอนุญาตการบิน ซึ่งการบินไทยคงหลีกเลี่ยงข้อมูลไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิการบินหากมีการประเมินแล้วว่า มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ก็อาจจะมีปัญหาได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เคยกล่าวว่า การร่วมทุนตั้งไทยไทเกอร์ฯ ไม่เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 แน่นอน เพราะมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านแน่นอน รวมถึงในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ กรรมการบริษัท ได้มีการยืนยันว่า ไม่เข้าตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ส่วนเรื่องของเรื่องสิทธิการบินนั้น ปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการบินแล้ว ส่วนเรื่องค่าเช่าเครื่องบินที่มีการระบุว่าอาจรวมเป็นมูลค่าลงทุนนั้น ในความเห็นของการบินไทย ถือว่าไม่เป็นการลงทุน เนื่องจากบริษัทได้มีการบรรจุเรื่องของค่าเช่าเครื่องบินไว้ในบัญชีค่าใช้จ่าย
นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากที่การบินไทยได้ทำหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สอบถามถึงการร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ “ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส” ว่า เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 35) หรือไม่ นั้น และ สคร.ได้ตอบกลับมาแล้วโดยสรุปไม่มีปัญหาเรื่อง พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่ง สคร.ระบุว่า กรณีการร่วมทุนกับต่างชาติ เป็นเรื่องที่เจ้าของโครงการคือการบินไทยจะพิจารณาซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการบริษัทได้สรุปชัดเจนแล้วว่าไม่เข้าข่าย ส่วนประเด็นสิทธิการบินเจ้าของเรื่องคือรัฐในที่นี้หมายถึงกระทรวงคมนมคมและกรมการบินพลเรือน (บพ.) ต้องพิจารณา
ทั้งนี้ การบินไทยได้ส่งคำชี้แจงของ สคร.ไปยังกระทรวงคมนาคมเมื่อเดือนม.ค. 2554 ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการบินไทยยังคงแผนเปิดบินไทยไทเกอร์แอร์เวย์สในเดือน ก.ค.2554 ตามเดิม
ด้าน นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.) กล่าวว่า ขณะนี้บพ.อยู่ระหว่างการพิจารณากรณีที่บริษัท การบินไทย ร่วมทุนกับ ไทเกอร์ แอร์เวย์ส จัดตั้งสายการบิน “ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส” ซึ่งคาดว่าจะสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือน มี.ค.54 นี้ แต่เนื่องจากข้อมูลประกอบการพิจารณารายละเอียดไม่ครบถ้วนดังนั้น จึงจะสรุปในกรอบที่การบินไทยขอลงทุนจำนวน 99.8 ล้านบาทเท่านั้น
โดยก่อนหน้านี้ บพ.ได้ขอให้การบินไทยจัดส่งข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเรื่อง อำนาจในการบริหารไทยไทเกอร์ฯว่า เป็นของใคร แต่การบินไทยระบุว่า เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นหลักการในเอ็มโอยูเพราะเป็นการตกลงกันเบื้องต้น จึงไม่สามารถให้ข้อมูลในขณะนี้ได้ รวมถึงกรณีสิทธิการบิน ก็ยังไม่สามารถพิจารณาได้ว่า จะมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่ เพราะการบินไทยไม่ส่งรายละเอียดเรื่อง เส้นทางการบิน จำนวนเครื่องบิน สัญญาเช่าและราคาเครื่องบิน โดยอ้างว่าต้องรอหลังการเซ็นสัญญาร่วมทุนและมีการปฏิบัติการบินแล้ว
นายสมชาย กล่าวว่า รายละเอียดที่ยังไม่ครบถ้วนจะต้องมีการตรวจสอบกันอีกครั้งในขั้นตอนที่ไทยไทเกอร์ฯ ขอใบอนุญาตการบิน ซึ่งการบินไทยคงหลีกเลี่ยงข้อมูลไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นสิทธิการบินหากมีการประเมินแล้วว่า มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ก็อาจจะมีปัญหาได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย เคยกล่าวว่า การร่วมทุนตั้งไทยไทเกอร์ฯ ไม่เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 แน่นอน เพราะมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านแน่นอน รวมถึงในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทย นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ กรรมการบริษัท ได้มีการยืนยันว่า ไม่เข้าตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ส่วนเรื่องของเรื่องสิทธิการบินนั้น ปัจจุบันมีการเปิดเสรีทางการบินแล้ว ส่วนเรื่องค่าเช่าเครื่องบินที่มีการระบุว่าอาจรวมเป็นมูลค่าลงทุนนั้น ในความเห็นของการบินไทย ถือว่าไม่เป็นการลงทุน เนื่องจากบริษัทได้มีการบรรจุเรื่องของค่าเช่าเครื่องบินไว้ในบัญชีค่าใช้จ่าย