คมนาคมห่วง “ไทย ไทเกอร์” ไม่ชัดเจน “สุพจน์” สั่ง “บินไทย” ปรับแผนใหม่ หวั่นงบลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท รวมทั้งกรณีของสิทธิ์เส้นทางการบินของไทย และผลประโยชน์ที่เกิดจากเส้นทางการบิน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาชี้แจงรายละเอียดของแผนการลงทุนจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส อีกครั้ง หลังจากกระทรวงคมนาคมมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะการจัดทำรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน เช่น มูลค่าโครงการที่อาจเกิน 1 พันล้านบาท ดังนั้น จึงได้สั่งการให้กลับไปจัดทำรายละเอียดให้ครบถ้วน ก่อนเสนอกลับมาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
“เพื่อความรอบคอบ จึงได้สั่งให้การบินไทยไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้ง ก่อนทำหนังสือไปสอบถามความคิดเห็นไปยังกระทรวงการคลังว่าเป็นงบลงทุนหรือไม่ ก่อนสรุปรายละเอียดเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา เพราะถ้าไม่ชัดเจนเดี๋ยวจะหาว่าเราละเว้นหน้าที่”
ทั้งนี้ ตนเองได้พิจารณาแผนดำเนินงานที่การบินไทยส่งมา โดยเฉพาะแผนการจัดหาเครื่องบินของไทย ไทเกอร์ฯ เพื่อนำมาใช้เปิดให้บริการ จะใช้วิธีการเช่าเครื่องบินจำนวน 20 ลำ มูลค่าลำละ 2.5 แสนเหรียญสหรัฐต่อเดือน รวมมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน หรือประมาณ 150 ล้านบาทต่อเดือน หากคิดเป็นรายปี จะมีมูลค่าเกิน 1 พันล้านบาท
นอกจากนี้ งบประมาณในการใช้นั้น การบินไทย ชี้แจงว่า จะใช้งบดำเนินการ ไม่ได้คิดเป็นงบลงทุนฉุกเฉิน รวมทั้งกรณีของสิทธิ์เส้นทางการบินของไทย ไทเกอร์ฯ ที่อาจคิดเป็นมูลค่าการลงทุน เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดจากเส้นทางการบิน แต่ยังไม่ชัดเจน
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2554 นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาชี้แจงรายละเอียดของแผนการลงทุนจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส อีกครั้ง หลังจากกระทรวงคมนาคมมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โดยเฉพาะการจัดทำรายละเอียดที่ไม่ชัดเจน เช่น มูลค่าโครงการที่อาจเกิน 1 พันล้านบาท ดังนั้น จึงได้สั่งการให้กลับไปจัดทำรายละเอียดให้ครบถ้วน ก่อนเสนอกลับมาเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
“เพื่อความรอบคอบ จึงได้สั่งให้การบินไทยไปจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้ง ก่อนทำหนังสือไปสอบถามความคิดเห็นไปยังกระทรวงการคลังว่าเป็นงบลงทุนหรือไม่ ก่อนสรุปรายละเอียดเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา เพราะถ้าไม่ชัดเจนเดี๋ยวจะหาว่าเราละเว้นหน้าที่”
ทั้งนี้ ตนเองได้พิจารณาแผนดำเนินงานที่การบินไทยส่งมา โดยเฉพาะแผนการจัดหาเครื่องบินของไทย ไทเกอร์ฯ เพื่อนำมาใช้เปิดให้บริการ จะใช้วิธีการเช่าเครื่องบินจำนวน 20 ลำ มูลค่าลำละ 2.5 แสนเหรียญสหรัฐต่อเดือน รวมมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน หรือประมาณ 150 ล้านบาทต่อเดือน หากคิดเป็นรายปี จะมีมูลค่าเกิน 1 พันล้านบาท
นอกจากนี้ งบประมาณในการใช้นั้น การบินไทย ชี้แจงว่า จะใช้งบดำเนินการ ไม่ได้คิดเป็นงบลงทุนฉุกเฉิน รวมทั้งกรณีของสิทธิ์เส้นทางการบินของไทย ไทเกอร์ฯ ที่อาจคิดเป็นมูลค่าการลงทุน เช่น ผลประโยชน์ที่เกิดจากเส้นทางการบิน แต่ยังไม่ชัดเจน