วานนี้(22 ก.พ.)นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเตรียมการด้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ แถลงว่า พรรคได้ข้อสรุปว่า จะยื่นญัตติในช่วงปลายเดือนนี้ ช้าสุดไม่เกินต้นเดือนมี.ค. โดยคาดว่า จะได้อภิปรายไม่เกินกลางเดือน 2มี.ค. ซึ่งไม่ถือว่าช้าเกินไปเพราะส.ส.บางส่วน ยังอยากให้ยื่นญัตติในเดือนเม.ย. โดยเหตุที่อยากให้มีการอภิปรายในช่วงดังกล่าวเพราะสถานการณ์ขณะนี้ยังมีเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองอยู่
ส่วนเนื้อหาการอภิปรายจะมี 3 ประเภท คือ เหตุการณ์การสลายการชุมนุม การทุจริตในโครงการใหญ่ การบริหารราชการแผ่นดินที่ล้มเหลว และปัญหาปากท้องประชาชน โดยจะขอให้มีการอภิปราย 4 วัน ไม่รวมวันลงมติในญัตติอภิปราย เนื่องจากถือเป็นครั้งสุดท้ายของรัฐบาลที่จะมีการยื่นญัตติอภิปราย และพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยอภิปรายรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในเวลา 4 วัน ทั้งนี้ จะมีทีมเจรจากับรัฐบาล 4 คน คือ นายวิทยา บุรณศิริ นายไพจิต ศรีวรขาน นายชวลิต วิชยสุทธิ์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรรพ สำหรับบุคคลที่จะถูกยื่นญัตติอภิปรายฯจะขอแถลงให้ทราบในวันอาทิตย์ที่ 27 ก.พ.นี้
**ยื่นถอด "มาร์ค-สุเทพ-พรทิวา-จุติ"
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นประธาน เมื่อต้นสัปดาห์ นายมิ่งขวัญ ในฐานะหัวหน้าทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจ ได้รายงานผลความคืบหน้าถึงการยื่นและเปิดอภิปราย
โดยที่คณะกรรมการฯอยากให้ยื่นช้าสุดวันที่ 22 ก.พ.นี้ เพื่อเปิดอภิปรายวันที่ 15-17 มี.ค.แต่นายมิ่งขวัญอ้างมีข้อมูลจำนวนมาก จึงกำหนดกรอบใหม่ว่า และเห็นว่า ควรยื่นญัตติอย่างเร็วที่สุดวันที่ 28 ก.พ. และช้าที่สุดวันที่ 2 มี.ค. แต่ให้ยื่นญัตติถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรายบุคคลต่อประธานวุฒิสภาในวันที่ 25 ก.พ. เพราะประเมินว่ารัฐบาลอาจจะมีการยุบสภาภายในเร็วๆ นี้ ขณะที่มีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อยู่ในข่ายที่จะถูกยื่นถอดถอน 4 คน
รายงานแจ้งว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย ถกเถียงถึงวันที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ บ้างเห็นว่า ควรใช้ช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องเผชิญมรสุม ปัญหาราคาน้ำมันปาล์ม ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา
“เป็นการ ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้ส่วนหนึ่ง แต่ ส.ส. กลุ่มนายมิ่งขวัญเห็นว่าควรอภิปรายหลังสงกรานต์ หรือปลายเดือนเมษายน เพราะคาดว่านายกฯจะยุบสภาในช่วงเดือนพ.ค. หรือมิ.ย.นี้
**ปชป.ท้ายื่นซักฟอกไม่เกี่ยงเรื่องวัน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยื่นวันไหน ทั้งที่รัฐบาลเองเป็นผู้ที่จะถูกอภิปรายแต่กลับมีความพร้อมที่จะชี้แจงตอบคำถามของพรรคฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ ถ้าจะเลื่อนวันยื่นออกไปเพื่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆขึ้นมาเพื่อใช้ในการอภิปรายก็ต้องรอยื่นตอนปิดสมัยประชุมสภาเหมือนครั้งก่อนก็ได้ และรัฐบาลเองก็พร้อมที่จะอนุเคราะห์เปิดสภาสมัยวิสามัญให้ใช้เปิดอภิปรายฯด้วย และการที่ส.ส.ในพรรคเพื่อไทยเกิดความแตกแยกทางความคิดเป็น หลาย กลุ่ม คือกลุ่ม 1 ต้องการยื่นญัตติในวันที่25หรือ 28 ก.พ. และกลุ่มนายมิ่งขวัญต้องการยื่นหลังช่วงสงกรานต์หรือปลายเดือน เม.ย.นั้น ตนเห็นว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยมีความพร้อมจริงในทุกด้านก็ไม่ควรเกี่ยงวัน เวลา แต่ถ้าจะยื่นเพื่อใช้ฤกษ์ยามตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความเชื่อ ก็ต้องกลับไปให้หมอดูจับยามสามตาเสียก่อน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมคณะกรรมการประสานภารกิจของพรรคเพื่อไทยได้มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมประชุมถกเถียงเกี่ยวกับวันที่จะยื่นญัตติในการอภิปรายไม่ไว้ว่างใจรัฐบาลด้วย ซึ่งแสดงเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยใช้อำนาจของตัวเองในพรรคผ่านน้องสาวให้มาบงการการเคลื่อนไหวทางการมืองในทุกช็อต
** โพลล์ส่วนใหญ่เชียร์ฝ่ายค้านถลกรบ.
วันเดียวกันศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า ประชาชน ร้อยละ 65.9 เห็นว่าฝ่ายค้านควรยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางรัฐบาลในช่วงเวลานี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และต้องการให้รัฐบาลชี้แจงในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน ในขณะที่ประชาชน ร้อยละ 34.1 เห็นว่าไม่ควรยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเวลานี้ โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองในขณะนี้มีความวุ่นวายพออยู่แล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลเสียเวลาในการทำงาน และการเลือกตั้งใหม่ใกล้ถึงแล้ว
ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าควรยื่นอภิปราย ฯ ในช่วงเวลานี้พบว่า เรื่องที่ต้องการให้มีการอภิปรายมากที่สุดคือ เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน เช่น น้ำมันปาล์มขาดตลาด และค่าครองชีพที่สูงขึ้น (ร้อยละ 84.2) รองลงมาคือ เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นโครงการต่างๆ เช่น บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด การประมูลสินค้าเกษตร การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ร้อยละ 72.6) และเรื่องความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาพิพาทตามแนวชายแดน ไทย - กัมพูชา ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 71.6) ตามลำดับ
** รอดูถลกหนังหัวเทือก-มาร์ค-กษิต
ส่วนรัฐมนตรีที่เห็นว่าควรถูกอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (ร้อยละ 78.2) รองลงมา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 71.0) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ร้อยละ 51.3) นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ร้อยละ 43.4) และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ร้อยละ 34.9) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามประชาชนร้อยละ 54.1 ไม่เชื่อมั่นว่า ฝ่ายค้านจะสามารถอภิปรายซักฟอกรัฐบาลได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นโดยมีข้อมูล หลักฐาน ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุว่าเชื่อมั่น
สำหรับความเชื่อมั่นต่อฝ่ายรัฐบาลนั้น ประชาชนถึงร้อยละ 72.6 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถชี้แจง และตอบกระทู้ของฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน โดยมีข้อมูลหลักฐานมาแก้ต่างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 27.4 เท่านั้น ที่ระบุว่าเชื่อมั่น
**ปชป.ตั้ง20 องค์รักษ์ เชิดชูรัฐมาร์ค
อีกด้านหนึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดส.ส.ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์โดยหนึ่งในนั้นมีการพิจารณารายงานแสดงผลการดำเนินการของครม.ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่หนึ่ง (วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552) นโยบายเร่งด่วนและนโยบายพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จำนวน 9 นโยบาย และจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วนของรัฐบาล และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 จำนวน 1.835ล้านล้านบาทและอนุมัติพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพ.ศ.2552 จำนวน 199,960.60 ล้านบาท ซึ่งเป็นแรงผลักดันในการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงินกว่า 1.43 ล้านล้านบาท
ที่พรรประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การอภิปรายครั้งนี้ใช้เวลาในการอภิปราย 15 ชั่วโมงทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการจัดเตรียมคณะทำงานจำนวน 20 คน เพื่อรองรับการอภิปรายผลงานรัฐบาลของฝ่ายค้าน นอกจากนั้นจะมีทีมโซเชียลมีเดียพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะเสนอให้มีส.ส.ของพรรคทุกคนมีทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค เป็นของตัวเอง โดยพรรคจะดำเนินการให้ และจะทำให้ประชาชนสมาติดต่อกับส.ส.ได้โดยตรง เชื่อมโยงระบบพรรค
ที่พรรคเพื่อไทย เวลา17.00น.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษพรรคเพื่อไทย แถลงว่า จะมีผู้อภิปรายทั้งสิ้น 20 คน ทั้งนี้ พรรคยังตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่เพิ่งพิจารณาการแถลงผลงานรัฐบาลปี 2552 แต่ก็จะถือให้เป็นการซ้อมใหญ่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ส่วนเนื้อหาการอภิปรายจะมี 3 ประเภท คือ เหตุการณ์การสลายการชุมนุม การทุจริตในโครงการใหญ่ การบริหารราชการแผ่นดินที่ล้มเหลว และปัญหาปากท้องประชาชน โดยจะขอให้มีการอภิปราย 4 วัน ไม่รวมวันลงมติในญัตติอภิปราย เนื่องจากถือเป็นครั้งสุดท้ายของรัฐบาลที่จะมีการยื่นญัตติอภิปราย และพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยอภิปรายรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในเวลา 4 วัน ทั้งนี้ จะมีทีมเจรจากับรัฐบาล 4 คน คือ นายวิทยา บุรณศิริ นายไพจิต ศรีวรขาน นายชวลิต วิชยสุทธิ์ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรรพ สำหรับบุคคลที่จะถูกยื่นญัตติอภิปรายฯจะขอแถลงให้ทราบในวันอาทิตย์ที่ 27 ก.พ.นี้
**ยื่นถอด "มาร์ค-สุเทพ-พรทิวา-จุติ"
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นประธาน เมื่อต้นสัปดาห์ นายมิ่งขวัญ ในฐานะหัวหน้าทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจ ได้รายงานผลความคืบหน้าถึงการยื่นและเปิดอภิปราย
โดยที่คณะกรรมการฯอยากให้ยื่นช้าสุดวันที่ 22 ก.พ.นี้ เพื่อเปิดอภิปรายวันที่ 15-17 มี.ค.แต่นายมิ่งขวัญอ้างมีข้อมูลจำนวนมาก จึงกำหนดกรอบใหม่ว่า และเห็นว่า ควรยื่นญัตติอย่างเร็วที่สุดวันที่ 28 ก.พ. และช้าที่สุดวันที่ 2 มี.ค. แต่ให้ยื่นญัตติถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรายบุคคลต่อประธานวุฒิสภาในวันที่ 25 ก.พ. เพราะประเมินว่ารัฐบาลอาจจะมีการยุบสภาภายในเร็วๆ นี้ ขณะที่มีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ และนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อยู่ในข่ายที่จะถูกยื่นถอดถอน 4 คน
รายงานแจ้งว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย ถกเถียงถึงวันที่จะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ บ้างเห็นว่า ควรใช้ช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องเผชิญมรสุม ปัญหาราคาน้ำมันปาล์ม ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา
“เป็นการ ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลได้ส่วนหนึ่ง แต่ ส.ส. กลุ่มนายมิ่งขวัญเห็นว่าควรอภิปรายหลังสงกรานต์ หรือปลายเดือนเมษายน เพราะคาดว่านายกฯจะยุบสภาในช่วงเดือนพ.ค. หรือมิ.ย.นี้
**ปชป.ท้ายื่นซักฟอกไม่เกี่ยงเรื่องวัน
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยื่นวันไหน ทั้งที่รัฐบาลเองเป็นผู้ที่จะถูกอภิปรายแต่กลับมีความพร้อมที่จะชี้แจงตอบคำถามของพรรคฝ่ายค้านอย่างเต็มที่ ถ้าจะเลื่อนวันยื่นออกไปเพื่อให้เกิดประเด็นใหม่ๆขึ้นมาเพื่อใช้ในการอภิปรายก็ต้องรอยื่นตอนปิดสมัยประชุมสภาเหมือนครั้งก่อนก็ได้ และรัฐบาลเองก็พร้อมที่จะอนุเคราะห์เปิดสภาสมัยวิสามัญให้ใช้เปิดอภิปรายฯด้วย และการที่ส.ส.ในพรรคเพื่อไทยเกิดความแตกแยกทางความคิดเป็น หลาย กลุ่ม คือกลุ่ม 1 ต้องการยื่นญัตติในวันที่25หรือ 28 ก.พ. และกลุ่มนายมิ่งขวัญต้องการยื่นหลังช่วงสงกรานต์หรือปลายเดือน เม.ย.นั้น ตนเห็นว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยมีความพร้อมจริงในทุกด้านก็ไม่ควรเกี่ยงวัน เวลา แต่ถ้าจะยื่นเพื่อใช้ฤกษ์ยามตามที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความเชื่อ ก็ต้องกลับไปให้หมอดูจับยามสามตาเสียก่อน ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมคณะกรรมการประสานภารกิจของพรรคเพื่อไทยได้มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าร่วมประชุมถกเถียงเกี่ยวกับวันที่จะยื่นญัตติในการอภิปรายไม่ไว้ว่างใจรัฐบาลด้วย ซึ่งแสดงเห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทโดยใช้อำนาจของตัวเองในพรรคผ่านน้องสาวให้มาบงการการเคลื่อนไหวทางการมืองในทุกช็อต
** โพลล์ส่วนใหญ่เชียร์ฝ่ายค้านถลกรบ.
วันเดียวกันศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า ประชาชน ร้อยละ 65.9 เห็นว่าฝ่ายค้านควรยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางรัฐบาลในช่วงเวลานี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และต้องการให้รัฐบาลชี้แจงในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน ในขณะที่ประชาชน ร้อยละ 34.1 เห็นว่าไม่ควรยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเวลานี้ โดยให้เหตุผลว่า บ้านเมืองในขณะนี้มีความวุ่นวายพออยู่แล้ว ไม่อยากให้รัฐบาลเสียเวลาในการทำงาน และการเลือกตั้งใหม่ใกล้ถึงแล้ว
ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าควรยื่นอภิปราย ฯ ในช่วงเวลานี้พบว่า เรื่องที่ต้องการให้มีการอภิปรายมากที่สุดคือ เรื่องเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน เช่น น้ำมันปาล์มขาดตลาด และค่าครองชีพที่สูงขึ้น (ร้อยละ 84.2) รองลงมาคือ เรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นโครงการต่างๆ เช่น บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด การประมูลสินค้าเกษตร การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (ร้อยละ 72.6) และเรื่องความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาพิพาทตามแนวชายแดน ไทย - กัมพูชา ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 71.6) ตามลำดับ
** รอดูถลกหนังหัวเทือก-มาร์ค-กษิต
ส่วนรัฐมนตรีที่เห็นว่าควรถูกอภิปรายมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (ร้อยละ 78.2) รองลงมา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 71.0) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ร้อยละ 51.3) นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ร้อยละ 43.4) และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ร้อยละ 34.9) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามประชาชนร้อยละ 54.1 ไม่เชื่อมั่นว่า ฝ่ายค้านจะสามารถอภิปรายซักฟอกรัฐบาลได้อย่างชัดเจนตรงประเด็นโดยมีข้อมูล หลักฐาน ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ ขณะที่ร้อยละ 45.9 ระบุว่าเชื่อมั่น
สำหรับความเชื่อมั่นต่อฝ่ายรัฐบาลนั้น ประชาชนถึงร้อยละ 72.6 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถชี้แจง และตอบกระทู้ของฝ่ายค้านได้อย่างชัดเจน โดยมีข้อมูลหลักฐานมาแก้ต่างได้อย่างมีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอ มีเพียงร้อยละ 27.4 เท่านั้น ที่ระบุว่าเชื่อมั่น
**ปชป.ตั้ง20 องค์รักษ์ เชิดชูรัฐมาร์ค
อีกด้านหนึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดส.ส.ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์โดยหนึ่งในนั้นมีการพิจารณารายงานแสดงผลการดำเนินการของครม.ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปีที่หนึ่ง (วันที่ 30 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2552) นโยบายเร่งด่วนและนโยบายพัฒนาที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จำนวน 9 นโยบาย และจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 จำนวน 116,700 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะเร่งด่วนของรัฐบาล และเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2552 จำนวน 1.835ล้านล้านบาทและอนุมัติพ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพ.ศ.2552 จำนวน 199,960.60 ล้านบาท ซึ่งเป็นแรงผลักดันในการเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 วงเงินกว่า 1.43 ล้านล้านบาท
ที่พรรประชาธิปัตย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การอภิปรายครั้งนี้ใช้เวลาในการอภิปราย 15 ชั่วโมงทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการจัดเตรียมคณะทำงานจำนวน 20 คน เพื่อรองรับการอภิปรายผลงานรัฐบาลของฝ่ายค้าน นอกจากนั้นจะมีทีมโซเชียลมีเดียพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะเสนอให้มีส.ส.ของพรรคทุกคนมีทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ค เป็นของตัวเอง โดยพรรคจะดำเนินการให้ และจะทำให้ประชาชนสมาติดต่อกับส.ส.ได้โดยตรง เชื่อมโยงระบบพรรค
ที่พรรคเพื่อไทย เวลา17.00น.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษพรรคเพื่อไทย แถลงว่า จะมีผู้อภิปรายทั้งสิ้น 20 คน ทั้งนี้ พรรคยังตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่เพิ่งพิจารณาการแถลงผลงานรัฐบาลปี 2552 แต่ก็จะถือให้เป็นการซ้อมใหญ่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล