เช้าวานนี้(21 ก.พ.) ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ที่ประกอบด้วย สมัชชาคนจน เครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย สลัม 4 ภาค ประมาณ 2,000 คน เดินเท้าจากบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ไปยังกระทรวงทรัยพากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียกร้องให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการออกโฉนดชุมชน ที่รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และกำหนดพื้นที่นำร่อง เพื่อทำเป็นโฉนดชุมชนแล้ว 35 แห่ง โดย 17 แห่ง อยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีความคืบหน้า รวมถึงยุติการจับกุมชาวบ้านในคดีบุกรุกที่ดิน
ขณะที่ช่วงบ่ายนายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ ที่ปรึกษาขบวนการฯ เป็นตัวแทนเครือข่ายชาวบ้าน อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้เปิดเขื่อนปากมูลตลอดปี ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ 2 ชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นคือคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลงานวิจัยและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ที่ยอมรับว่า การสร้างเขื่อนปากมูล ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็น รวมทั้งไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เขื่อนในการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้า
ขณะที่การแก้ไขปัญหากำลังเดินหน้า แต่นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เคลื่อนไหวขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการรวบรวมรายชื่อชาวบ้านโดยผ่านกลไกของจ.อุบลราชธานี เพื่อที่จะสร้างภาพว่ามีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล เราจึงขอประณามการกระทำของนายอิสสระ ที่พยายามใช้หลักกู มาขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ขอให้นายกรัฐมนตรี ใช้ความเป็นผู้นำในการยืนยันหลักการที่ถูกต้อง อย่าค้อมหัวให้กับนายอิสสระ ที่จะใช้หลักกูเหนือหลักการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ชุมนุมจะรอฟังผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่22ก.พ. ที่มีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ 167 ล้านบาทสำหรับโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน พิจารณาเปิดเขื่อนปากมูล พิจารณางบประมาณ 52.7 ล้านบาทเพื่อสร้างบ้านมั่นคงของคนไร้บ้าน และพิจารณาอนุมัติโฉนดชุมชนอีก 34 แห่งที่รัฐบาลเคยรับปากไว้หลังจากที่มอบโฉนดชุมชนฉบับแรกที่อ.คลองโยง จ.นครปฐม
เวลา16.00น.ที่บ้านพิษณุโลก กลุ่มสมัชชาคน (สคจ.)ประมาณ100คน นำโดย นายปริวัฒน์ ปิ่นทอง รองประธานคณะกรรมการชาวบ้าน ฟื้นฟูวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล (ชชช.) เข้ายื่นหนังสือถึงนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กรณีการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยระบุว่าการแก้ไขปัญหาโดยการเปิดเขื่อน 4 เดือน และปิดเขื่อน 8 เดือน เป็นวิธีการดำเนินการที่ไม่วางอยู่บนฐานของความรู้ หรือหลักเหตุผล รวมถึงอัตราของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ทางสคจ.เห็นว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการรับฟังข้อเท็จจริงจากภาควิชาการและผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการเปิดเขื่อนตลอดปี จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ระบบนิเวศน์ วิถีชีวิต และสัตว์น้ำในแม่น้ำฟื้นคืนกลับมาอย่างยั่งยืน
“ขอให้คณะกรรมการปฏิรูปฯใช้โอกาสในการปฏิรูปโครงสร้างสังคม นำกระบวนการแก้ไขปัญหาปากน้ำมูลทั้งในอดีต และปัจจุบัน เป็นกรณีศึกษาการจัดการน้ำ และการจัดการสิทธิชุมชน พร้อมทั้งช่วยผลักดันการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล”.
ขณะที่ช่วงบ่ายนายพงษ์ศักดิ์ สายวรรณ ที่ปรึกษาขบวนการฯ เป็นตัวแทนเครือข่ายชาวบ้าน อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้เปิดเขื่อนปากมูลตลอดปี ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ 2 ชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นคือคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลงานวิจัยและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ที่ยอมรับว่า การสร้างเขื่อนปากมูล ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็น รวมทั้งไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เขื่อนในการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้า
ขณะที่การแก้ไขปัญหากำลังเดินหน้า แต่นายอิสสระ สมชัย รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เคลื่อนไหวขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการรวบรวมรายชื่อชาวบ้านโดยผ่านกลไกของจ.อุบลราชธานี เพื่อที่จะสร้างภาพว่ามีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล เราจึงขอประณามการกระทำของนายอิสสระ ที่พยายามใช้หลักกู มาขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ขอให้นายกรัฐมนตรี ใช้ความเป็นผู้นำในการยืนยันหลักการที่ถูกต้อง อย่าค้อมหัวให้กับนายอิสสระ ที่จะใช้หลักกูเหนือหลักการ
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ชุมนุมจะรอฟังผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่22ก.พ. ที่มีการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณ 167 ล้านบาทสำหรับโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน พิจารณาเปิดเขื่อนปากมูล พิจารณางบประมาณ 52.7 ล้านบาทเพื่อสร้างบ้านมั่นคงของคนไร้บ้าน และพิจารณาอนุมัติโฉนดชุมชนอีก 34 แห่งที่รัฐบาลเคยรับปากไว้หลังจากที่มอบโฉนดชุมชนฉบับแรกที่อ.คลองโยง จ.นครปฐม
เวลา16.00น.ที่บ้านพิษณุโลก กลุ่มสมัชชาคน (สคจ.)ประมาณ100คน นำโดย นายปริวัฒน์ ปิ่นทอง รองประธานคณะกรรมการชาวบ้าน ฟื้นฟูวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล (ชชช.) เข้ายื่นหนังสือถึงนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กรณีการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยระบุว่าการแก้ไขปัญหาโดยการเปิดเขื่อน 4 เดือน และปิดเขื่อน 8 เดือน เป็นวิธีการดำเนินการที่ไม่วางอยู่บนฐานของความรู้ หรือหลักเหตุผล รวมถึงอัตราของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ทางสคจ.เห็นว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการรับฟังข้อเท็จจริงจากภาควิชาการและผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการเปิดเขื่อนตลอดปี จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ระบบนิเวศน์ วิถีชีวิต และสัตว์น้ำในแม่น้ำฟื้นคืนกลับมาอย่างยั่งยืน
“ขอให้คณะกรรมการปฏิรูปฯใช้โอกาสในการปฏิรูปโครงสร้างสังคม นำกระบวนการแก้ไขปัญหาปากน้ำมูลทั้งในอดีต และปัจจุบัน เป็นกรณีศึกษาการจัดการน้ำ และการจัดการสิทธิชุมชน พร้อมทั้งช่วยผลักดันการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล”.