ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เห็นคำขวัญประจำอำเภอ “บึงกาฬ” ที่กำลังจะยกระดับเป็นจังหวัดที่ 77
มีคำขวัญว่า “สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล” แล้วชื่นใจว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของประเทศไทยกำลังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
อ.บึงกาฬ ปัจจุบันมี 12 ตำบล ประกอบด้วย บึงกาฬ วิศิษฐ์ ไคสี หอคำ หนองเลิง หนองเข็ง นาสวรรค์ โนนสมบูรณ์ โคกก่อง ชัยพร คำนาดี และโป่งเปือย ก่อนหน้านั้นในสมัยที่ “พรรคเสรีธรรม” มีฐานเสียงที่ จ.หนองคาย เคยถูกเสนอยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด ตั้งแต่ปี 2537
ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.... เพิ่งผ่านที่ประชุมวุฒิสภาไปเมื่อไม่นานมานี้ กำลังจะประกาศลงราชกิกจนุเบกษา แต่งตัวเป็นจังหวัดที่ 77 ถึงขั้นเจ้ากระทวงมหาดไทย ที่แว่วๆว่าได้รายชื่อ “คนสิงห์แดง” จาก “ห้อย คอนเน็กชั่น” ไปนั่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นั่งปลัดจังหวัด ปกครองจังหัวด รวมถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ถึงขั้นวางแผนตั้ง “เทศบาลบึงกาฬ” แล้วด้วยซ้ำ !!!
แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา “นพ.อลงกต มณีกาศ” ส.ส.นครพนม ในฐานะโฆษกพรรคพรรคเพื่อแผ่นดิน โยนหินก้อนใหญ่ เบรกการตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” โดยทำหนังสือถึง “ชัย ชิดชอบ” ประธานรัฐสภา ขอให้ส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตีความ ตามมาตรา 154 (1) ในรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติบึงกาฬ พ.ศ.... ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน ยกข้ออ้างว่า มีสมาชิกรัฐสภากว่า 70 คน และนักวิชาการเห็นตรงกันว่า การตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก
1. หาก พ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาจจะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 94 เพราะการคำนวณจำนวนประชากร ต้องยึดปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้นหาก พ.ร.บ.บึงกาฬ ประกาศใช้ในปีนี้ ต้องนำหลักฐานทะเบียนราษฎรของ จ.หนองคาย ปี 2553 มาบังคับใช้
2. กรณีมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.บึงกาฬ กำหนดให้ ส.ส.เขต 2 จ.หนองคาย เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ใน จ.บึงกาฬ อาจจะขัดต่อมาตรา 94 ในรัฐธรรมนูญได้
3. กระทบต่อการการสรรหาส.ว. เนื่องจากหากพ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ก่อนการสรรหา จะเป็นปัญหาว่าต้องสรรหาสมาชิกกี่คน จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ก่อนหน้านั้น “คณะรัฐมนตรี” ได้ทำหนังสือเพื่อสอบถามความเห็นจาก “สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา” ตอบกลับ ลงเลขที่ 635/2553 โดย “วิษณุ เครืองาม” ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่สอง ก็ได้ท้วงติงปัญหาต่างๆ
“พรรคเพื่อแผ่นดิน” ฟันธงว่า เป็นพฤติกรรมที่ฉวยโอกาสผลักดัน พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อหาผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองบางพรรค
“คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2” ได้มีการตั้งข้อสังเกต โดย “วิษณุ เครืองาม” ชี้แจงในหนังสือตอบกลับว่า มีหลายประเด็นที่อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะ“ เรื่องสัดส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” มีข้อสังเกตว่า โดยที่ จ.หนองคาย แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต แต่ละเขตมี ส.ส.ได้ 3 คน ในการตั้ง จ.บึงกาฬ ร่างกฎหมายได้กำหนดให้ ส.ส. ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.หนองคาย และให้ ส.ส.ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 2 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับ เป็น ส.ส.ที่ได้รับเลือกจาก จ.บึงกาฬ
แต่ปัญหาก็คือ ในการแบ่งเขต จ.บึงกาฬ มีประเด็นเกี่ยวกับ อ.เฝ้าไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 และควรจะต้องอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ แต่ราษฎรในเขต อ.เฝ้าไร่ ไม่ประสงค์จะให้ย้ายอำเภอไปอยู่รวมใน จ.บึงกาฬ ดังนั้นจึงทำให้ราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.หนองคาย มีจำนวนมากกว่าราษฎร ในเขตเลือกตั้ง จ.บึงกาฬ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัดส่วนจำนวนราษฎรที่นำมาคำนวณเป็นเกณฑ์จำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตจังหวัด สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
“ ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.” ของ จ.บึงกาฬ ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1 และ 2 กำหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ ส.ว.ทั้งหมด หักด้วยจำนวน ส.ว.ที่มาจากเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในปัจจุบันมี ส.ว.จำนวน 150 คน แบ่งเป็น ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และจะครบวาระในเดือน ก.พ. 2554 และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 คน จาก 76 จังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี จะครบวาระในเดือน มี.ค.2557 ดังนั้น เมื่อร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับแล้ว จะส่งผลต่อการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว.ดังนี้
1. กรณีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับก่อนครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คน โดยต้องลดจำนวน ส.ว.ที่มาจากการสรรหาลง 1 คน ( เพราะจังหวัดเพิ่มเป็น 77 จังหวัด ) แต่กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬ ได้ทันที เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดังนั้น เมื่อดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คนแล้ว และนำมาคำนวณรวมกับ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 จังหวัด ก็จะประกอบด้วย ส.ว. 149 คน ซึ่งจะไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา 111 วรรค 1 และจะต้องคงจำนวน ส.ว.149 คน จนกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งต่อไป โดยกรณีนี้ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากการว่างของตำแหน่ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ไม่ได้มีเหตุมาจากมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญ
2. ในกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับหลังครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา โดย กกต.ได้จัดให้มีการสรรหาวุฒิสภาครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต่อมา ร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลใช้บังคับ และได้มีการจัดตั้ง จ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในระหว่างการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ โดย กกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เมื่อครบตามวาระของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง คือเดือน มี.ค.2557
ในกรณีนี้หากคำนวณตาม ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน จะได้จำนวนรวมของ ส.ว. 151 คน เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1
3.ในกรณีที่สมาชิกภาพของ ส.ว.หนองคายที่มาจากการเลือกตั้งต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญในระหว่างปี 2554-2557 ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร และจังหวัดใดจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ดังกล่าว เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิมมาจากพื้นที่ทั้ง จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ
ขณะที่อีกฝ่ายในชั้น “กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร” อ้างว่า เมื่อพิจารณาแล้วเกรงเช่นเดียวกันว่าจะมีปัญหากับรัฐธรรมนูญ หากพ.ร.บ.มีผล หลังสรรหาสว.ชุดใหม่ เขาจึงเร่งให้เสร็จทันก่อนสว.สรรหาชุดใหม่ อ้างว่า
1. “เพื่อแผ่นดิน” กลัวว่าจะสูญพันธ์ที่ “บึงกาฬ “อีก
2. “สว.สรรหา” เกรงว่าตัวเองจะเป็นคนที่ 74 ที่ต้องถูกลดลงหากบึงกาฬ เป็นจังหวัด
3. กฤษฎีกายังไม่ทราบเจตนาแอบแฝงที่ชัดเจน
นี่ยังไม่รวมถึง “เกมการเมือง” ที่ใครก็รู้ว่า หากมีจังหวัดบึงกาฬ พรรคที่ได้เปรียบ ก็คือ พรรคภูมิใจไทย โดยมีคู่แข่งคือ พรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่กำลังจะผสมพันธ์กับพรรคโคราช แข่งกันแย่งพื้นที่อีสานเหนือ มี 3 เก้าอี้ ส.ส. ในอนาคต
พื้นที่นี้ เดิมล้วนเป็นของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นหน้าใหม่ ที่เข้าสภามาได้เพราะกระแสทักษิณทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงแว่วมาว่า “เนวิน ชิดชอบ” มอบหมายให้ “ทรงศักดิ์ ทองศรี” ลงพื้นที่อีสานเหนือ มอบงานใหญ่ให้โอบเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทั้ง “ เลย สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย” ให้เป็นสีน้ำเงินทั้งหมดให้ได้ แถมมีชื่อ “แว่นฟ้า ทองศรี” ภรรยา ทรงศักดิ์ ที่เป็นชาวบึงกาฬ โดยกำเนิด ลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ขณะที่ “พินิจ จารุสมบัติ” ก็ยังไม่พร้อมจะถอยในเขตนี้
จึงเป็นที่มาที่ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ
มีคำขวัญว่า “สองนางศาลศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อใหญ่ แหล่งน้ำใสหนองกุดทิง สุดใหญ่ยิ่งแข่งเรือยาว หาดทรายขาวเป็นสง่า น่าทัศนาแก่งอาฮง งามน้ำโขงที่บึงกาฬ สุขสำราญที่ได้ยล” แล้วชื่นใจว่า การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของประเทศไทยกำลังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
อ.บึงกาฬ ปัจจุบันมี 12 ตำบล ประกอบด้วย บึงกาฬ วิศิษฐ์ ไคสี หอคำ หนองเลิง หนองเข็ง นาสวรรค์ โนนสมบูรณ์ โคกก่อง ชัยพร คำนาดี และโป่งเปือย ก่อนหน้านั้นในสมัยที่ “พรรคเสรีธรรม” มีฐานเสียงที่ จ.หนองคาย เคยถูกเสนอยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด ตั้งแต่ปี 2537
ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.... เพิ่งผ่านที่ประชุมวุฒิสภาไปเมื่อไม่นานมานี้ กำลังจะประกาศลงราชกิกจนุเบกษา แต่งตัวเป็นจังหวัดที่ 77 ถึงขั้นเจ้ากระทวงมหาดไทย ที่แว่วๆว่าได้รายชื่อ “คนสิงห์แดง” จาก “ห้อย คอนเน็กชั่น” ไปนั่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นั่งปลัดจังหวัด ปกครองจังหัวด รวมถึงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ถึงขั้นวางแผนตั้ง “เทศบาลบึงกาฬ” แล้วด้วยซ้ำ !!!
แต่สัปดาห์ที่ผ่านมา “นพ.อลงกต มณีกาศ” ส.ส.นครพนม ในฐานะโฆษกพรรคพรรคเพื่อแผ่นดิน โยนหินก้อนใหญ่ เบรกการตั้ง “จังหวัดบึงกาฬ” โดยทำหนังสือถึง “ชัย ชิดชอบ” ประธานรัฐสภา ขอให้ส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตีความ ตามมาตรา 154 (1) ในรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ พระราชบัญญัติบึงกาฬ พ.ศ.... ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน ยกข้ออ้างว่า มีสมาชิกรัฐสภากว่า 70 คน และนักวิชาการเห็นตรงกันว่า การตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้น อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก
1. หาก พ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาจจะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 94 เพราะการคำนวณจำนวนประชากร ต้องยึดปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้นหาก พ.ร.บ.บึงกาฬ ประกาศใช้ในปีนี้ ต้องนำหลักฐานทะเบียนราษฎรของ จ.หนองคาย ปี 2553 มาบังคับใช้
2. กรณีมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.บึงกาฬ กำหนดให้ ส.ส.เขต 2 จ.หนองคาย เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง ใน จ.บึงกาฬ อาจจะขัดต่อมาตรา 94 ในรัฐธรรมนูญได้
3. กระทบต่อการการสรรหาส.ว. เนื่องจากหากพ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ก่อนการสรรหา จะเป็นปัญหาว่าต้องสรรหาสมาชิกกี่คน จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ก่อนหน้านั้น “คณะรัฐมนตรี” ได้ทำหนังสือเพื่อสอบถามความเห็นจาก “สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา” ตอบกลับ ลงเลขที่ 635/2553 โดย “วิษณุ เครืองาม” ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่สอง ก็ได้ท้วงติงปัญหาต่างๆ
“พรรคเพื่อแผ่นดิน” ฟันธงว่า เป็นพฤติกรรมที่ฉวยโอกาสผลักดัน พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อหาผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองบางพรรค
“คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2” ได้มีการตั้งข้อสังเกต โดย “วิษณุ เครืองาม” ชี้แจงในหนังสือตอบกลับว่า มีหลายประเด็นที่อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะ“ เรื่องสัดส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง” มีข้อสังเกตว่า โดยที่ จ.หนองคาย แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 เขต แต่ละเขตมี ส.ส.ได้ 3 คน ในการตั้ง จ.บึงกาฬ ร่างกฎหมายได้กำหนดให้ ส.ส. ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.หนองคาย และให้ ส.ส.ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 2 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับ เป็น ส.ส.ที่ได้รับเลือกจาก จ.บึงกาฬ
แต่ปัญหาก็คือ ในการแบ่งเขต จ.บึงกาฬ มีประเด็นเกี่ยวกับ อ.เฝ้าไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 และควรจะต้องอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ แต่ราษฎรในเขต อ.เฝ้าไร่ ไม่ประสงค์จะให้ย้ายอำเภอไปอยู่รวมใน จ.บึงกาฬ ดังนั้นจึงทำให้ราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.หนองคาย มีจำนวนมากกว่าราษฎร ในเขตเลือกตั้ง จ.บึงกาฬ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัดส่วนจำนวนราษฎรที่นำมาคำนวณเป็นเกณฑ์จำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตจังหวัด สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
“ ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.” ของ จ.บึงกาฬ ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1 และ 2 กำหนดให้วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหา ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ ส.ว.ทั้งหมด หักด้วยจำนวน ส.ว.ที่มาจากเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในปัจจุบันมี ส.ว.จำนวน 150 คน แบ่งเป็น ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และจะครบวาระในเดือน ก.พ. 2554 และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 คน จาก 76 จังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี จะครบวาระในเดือน มี.ค.2557 ดังนั้น เมื่อร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับแล้ว จะส่งผลต่อการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว.ดังนี้
1. กรณีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับก่อนครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คน โดยต้องลดจำนวน ส.ว.ที่มาจากการสรรหาลง 1 คน ( เพราะจังหวัดเพิ่มเป็น 77 จังหวัด ) แต่กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬ ได้ทันที เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่มีการเพิ่ม หรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดังนั้น เมื่อดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คนแล้ว และนำมาคำนวณรวมกับ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 จังหวัด ก็จะประกอบด้วย ส.ว. 149 คน ซึ่งจะไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา 111 วรรค 1 และจะต้องคงจำนวน ส.ว.149 คน จนกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งต่อไป โดยกรณีนี้ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากการว่างของตำแหน่ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ไม่ได้มีเหตุมาจากมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญ
2. ในกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับหลังครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา โดย กกต.ได้จัดให้มีการสรรหาวุฒิสภาครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต่อมา ร่าง พ.ร.บ.นี้ มีผลใช้บังคับ และได้มีการจัดตั้ง จ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในระหว่างการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ โดย กกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เมื่อครบตามวาระของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง คือเดือน มี.ค.2557
ในกรณีนี้หากคำนวณตาม ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน จะได้จำนวนรวมของ ส.ว. 151 คน เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1
3.ในกรณีที่สมาชิกภาพของ ส.ว.หนองคายที่มาจากการเลือกตั้งต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญในระหว่างปี 2554-2557 ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร และจังหวัดใดจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ดังกล่าว เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิมมาจากพื้นที่ทั้ง จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ
ขณะที่อีกฝ่ายในชั้น “กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร” อ้างว่า เมื่อพิจารณาแล้วเกรงเช่นเดียวกันว่าจะมีปัญหากับรัฐธรรมนูญ หากพ.ร.บ.มีผล หลังสรรหาสว.ชุดใหม่ เขาจึงเร่งให้เสร็จทันก่อนสว.สรรหาชุดใหม่ อ้างว่า
1. “เพื่อแผ่นดิน” กลัวว่าจะสูญพันธ์ที่ “บึงกาฬ “อีก
2. “สว.สรรหา” เกรงว่าตัวเองจะเป็นคนที่ 74 ที่ต้องถูกลดลงหากบึงกาฬ เป็นจังหวัด
3. กฤษฎีกายังไม่ทราบเจตนาแอบแฝงที่ชัดเจน
นี่ยังไม่รวมถึง “เกมการเมือง” ที่ใครก็รู้ว่า หากมีจังหวัดบึงกาฬ พรรคที่ได้เปรียบ ก็คือ พรรคภูมิใจไทย โดยมีคู่แข่งคือ พรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่กำลังจะผสมพันธ์กับพรรคโคราช แข่งกันแย่งพื้นที่อีสานเหนือ มี 3 เก้าอี้ ส.ส. ในอนาคต
พื้นที่นี้ เดิมล้วนเป็นของ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นหน้าใหม่ ที่เข้าสภามาได้เพราะกระแสทักษิณทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงแว่วมาว่า “เนวิน ชิดชอบ” มอบหมายให้ “ทรงศักดิ์ ทองศรี” ลงพื้นที่อีสานเหนือ มอบงานใหญ่ให้โอบเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขง ทั้ง “ เลย สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองคาย” ให้เป็นสีน้ำเงินทั้งหมดให้ได้ แถมมีชื่อ “แว่นฟ้า ทองศรี” ภรรยา ทรงศักดิ์ ที่เป็นชาวบึงกาฬ โดยกำเนิด ลงสมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ขณะที่ “พินิจ จารุสมบัติ” ก็ยังไม่พร้อมจะถอยในเขตนี้
จึงเป็นที่มาที่ “พรรคเพื่อแผ่นดิน” ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ