วานนี้(14 ก.พ.)ที่พรรคเพื่อแผ่นดิน นพ.อลงกต มณีกาศ ส.ส.หนองคาย ในฐานะโฆษกพรรคพรรคเพื่อแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตนในฐานะตัวแทนส.ส. ได้ทำหนังสือถึงนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ขอให้ส่งเรื่องต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความ ตามมาตรา 154 (1) ในรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบึงกาฬ พ.ศ.... ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลังจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบผ่าน พ.ร.บ.ดังกล่าว ทั้งนี้มีสมาชิกรัฐสภากว่า 70 คนและนักวิชาการ ได้เห็นตรงกันว่าการตั้งจังหวัดบึงกาฬนั้นอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก 1.หาก พ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาอาจจะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 94 เพราะการคำนวณจำนวนประชากร ต้องยึดปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้นหาก พ.ร.บ.บึงกาฬ ประกาศใช้ในปีนี้ ต้องนำหลักฐานทะเบียนราษฎรของ จ.หนองคายปี 2553 มายังคับใช้
นพ.อลงกต กล่าวอีกว่า 2.กรณีมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.บึงกาฬ กำหนดให้ ส.ส.เขต 2 จ.หนองคาย เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งใน จ.บึงกาฬ อาจจะขัดต่อมาตรา 94 ในรัฐธรรมนูญได้ 3.กระทบต่อการการสรรหา ส.ว. เนื่องจากหาก พ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ก่อนการสรรหา จะเป็นปัญหาว่าต้องสรรหาสมาชิกกี่คน จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
“หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับจำนวน ส.ว. ที่ต้องเพิ่มขึ้นจาก พ.ร.บ.บึงกาฬ อาจทำให้เกิดปัญหาจนกลายเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญ และกระทบต่อสถานะภาพวุฒิสภาได้ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานเลขาธิการสภา ได้ลงเลขรับไว้แล้ว ดังนั้นขั้นตอนที่จะส่ง พ.ร.บ.บึงกาฬต้องระงับไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความ” นพ.อลงกต กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้าที่ทางคณะรัฐมนตรีจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.บึงกาฬ เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ได้ทำหนังสือเพื่อสอบถามความเห็นจากสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งทางคณะกรรมการกฤษฏีกา ตอบกลับ ลงเลขที่ 635/2553 โดยนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่สอง ท้วงติงปัญหาต่างๆ ตามที่ทางสมาชิกรัฐสภาได้ทำหนังสือถึงนายชัย เพื่อขอให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ปรากฎว่าในชั้นพิจารณาของกรรมาธิการฯ นั้นไม่ได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมา แต่กลับมีพฤติกรรมฉวยโอกาสผลักดัน พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือว่าเป็นการหาผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองบางพรรค.
รายงานข่าวแจ้งว่าด้วยว่า อ.บึงกาฬ ในอดีตถือว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคเพื่อไทยอยู่ ประกอบกับหากเปลี่ยนไปเป็นจ.บึงกาฬ พรรคภูมิใจไทย ที่กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทยจะได้เปรียบในพื้นที่นี้
นพ.อลงกต กล่าวอีกว่า 2.กรณีมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.บึงกาฬ กำหนดให้ ส.ส.เขต 2 จ.หนองคาย เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งใน จ.บึงกาฬ อาจจะขัดต่อมาตรา 94 ในรัฐธรรมนูญได้ 3.กระทบต่อการการสรรหา ส.ว. เนื่องจากหาก พ.ร.บ.บึงกาฬ มีผลบังคับใช้ก่อนการสรรหา จะเป็นปัญหาว่าต้องสรรหาสมาชิกกี่คน จะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
“หากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับจำนวน ส.ว. ที่ต้องเพิ่มขึ้นจาก พ.ร.บ.บึงกาฬ อาจทำให้เกิดปัญหาจนกลายเป็นวิกฤตรัฐธรรมนูญ และกระทบต่อสถานะภาพวุฒิสภาได้ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานเลขาธิการสภา ได้ลงเลขรับไว้แล้ว ดังนั้นขั้นตอนที่จะส่ง พ.ร.บ.บึงกาฬต้องระงับไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความ” นพ.อลงกต กล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้าที่ทางคณะรัฐมนตรีจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.บึงกาฬ เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา ได้ทำหนังสือเพื่อสอบถามความเห็นจากสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งทางคณะกรรมการกฤษฏีกา ตอบกลับ ลงเลขที่ 635/2553 โดยนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดที่สอง ท้วงติงปัญหาต่างๆ ตามที่ทางสมาชิกรัฐสภาได้ทำหนังสือถึงนายชัย เพื่อขอให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่ปรากฎว่าในชั้นพิจารณาของกรรมาธิการฯ นั้นไม่ได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมา แต่กลับมีพฤติกรรมฉวยโอกาสผลักดัน พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือว่าเป็นการหาผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองบางพรรค.
รายงานข่าวแจ้งว่าด้วยว่า อ.บึงกาฬ ในอดีตถือว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคเพื่อไทยอยู่ ประกอบกับหากเปลี่ยนไปเป็นจ.บึงกาฬ พรรคภูมิใจไทย ที่กำกับดูแลกระทรวงมหาดไทยจะได้เปรียบในพื้นที่นี้