ASTVผู้จัดการรายวัน-สนข.ตีกลับแผนสร้างสถานีขนส่งใหม่แทนหมอชิต ระบุ แผนขาดรายละเอียด โดยเฉพาะงบลงทุน และผลกระทบ ด้านขบส.รับทำรายละเอียดเพิ่มเติมเสร็จในเดือนก.พ.นี้ ก่อนเสนอไปอีกรอบ
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการการจัดจัดหาพื้นทีก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่ แทนที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ว่า บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)กลับไปจัดทำรายละเอียดมาเสนออีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ บขส. ได้ส่งผลการศึกษา มายังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่หลังจากพิจารณาแล้วพบว่า แผนยังมีรายละเอียดไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดหางบประมาณในการลงทุน ว่าจะใช้แนวทางใด เช่น งบของบขส. หรือกู้เงินมาลงทุน
“แผนที่บขส.เสนอมา เป็นเพียงผลการศึกษาไม่มีรายละเอียด เสนอมาเพื่อทราบ จึงให้กลับไปจัดทำข้อมูลมาใหม่ให้ครบถ้วน เช่น การลงทุน มูลค่าโครงการ ผลกระทบทีเกิดขึ้นจากการย้ายสถานี เนื่องจากจะต้องเสนอแผนดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ถ้าไม่มีรายละเอียดก็คงต้องถูกให้กลับมาทำใหม่แน่นอน”แหล่งข่าว กล่าว
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับทราบเบื้องต้นแล้วว่าสนข.ให้บขส.กลับมาจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าภายในเดือนก.พ. 2554 จะสามารถจัดทำรายละเอียดต่างๆได้เสร็จสิ้น ก่อนเสนอไปยังสนข.พิจารณาอีกครั้ง
สำหรับแผนการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีแห่งใหม่นั้น ที่ปรึกษาได้สรุปรายงานฉบับสุดท้ายเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ในย่านต่างๆ เสร็จสิ้นเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยเสนอพื้นที่จำนวน 4 แห่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ย่านเมืองทอง รังสิต และดอนเมืองให้บขส.พิจารณาความเหมาะสมส่วนของงบประมาณในการลงทุนนั้นเบื้องต้นอาจมาจากเงินทุนหมุนเวียนของบขส.บางส่วน และที่เหลือจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด เนื่องจากต้องมีการพิจารณาในส่วนของราคาที่จะประกาศหา โดยจะต้องมีผู้มานำเสนอราคาที่ดินและการก่อสร้างก่อน
สำหรับโครงการดังกล่าวนั้น ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่า อาจจะใช้วงเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ โดยบขส.จะเป็นผู้จัดซื้อทีดินเป็นของตัวเองแทนการขอเช่าพื้นที่จากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ โดยที่ก่อนหน้านี้บขส.ได้มีการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นไว้หลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณรังสิต ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่ได้มีการพิจารณาก่อนหน้านี้ เนื่องจากอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อในการเดินทางให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการการจัดจัดหาพื้นทีก่อสร้างสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายเหนือแห่งใหม่ แทนที่สถานีขนส่งกรุงเทพ (หมอชิต) ว่า บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)กลับไปจัดทำรายละเอียดมาเสนออีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ บขส. ได้ส่งผลการศึกษา มายังสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) แต่หลังจากพิจารณาแล้วพบว่า แผนยังมีรายละเอียดไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดหางบประมาณในการลงทุน ว่าจะใช้แนวทางใด เช่น งบของบขส. หรือกู้เงินมาลงทุน
“แผนที่บขส.เสนอมา เป็นเพียงผลการศึกษาไม่มีรายละเอียด เสนอมาเพื่อทราบ จึงให้กลับไปจัดทำข้อมูลมาใหม่ให้ครบถ้วน เช่น การลงทุน มูลค่าโครงการ ผลกระทบทีเกิดขึ้นจากการย้ายสถานี เนื่องจากจะต้องเสนอแผนดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ถ้าไม่มีรายละเอียดก็คงต้องถูกให้กลับมาทำใหม่แน่นอน”แหล่งข่าว กล่าว
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับทราบเบื้องต้นแล้วว่าสนข.ให้บขส.กลับมาจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าภายในเดือนก.พ. 2554 จะสามารถจัดทำรายละเอียดต่างๆได้เสร็จสิ้น ก่อนเสนอไปยังสนข.พิจารณาอีกครั้ง
สำหรับแผนการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีแห่งใหม่นั้น ที่ปรึกษาได้สรุปรายงานฉบับสุดท้ายเกี่ยวกับการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ในย่านต่างๆ เสร็จสิ้นเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา โดยเสนอพื้นที่จำนวน 4 แห่ง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ย่านเมืองทอง รังสิต และดอนเมืองให้บขส.พิจารณาความเหมาะสมส่วนของงบประมาณในการลงทุนนั้นเบื้องต้นอาจมาจากเงินทุนหมุนเวียนของบขส.บางส่วน และที่เหลือจะกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดได้ว่าจะใช้งบประมาณเท่าใด เนื่องจากต้องมีการพิจารณาในส่วนของราคาที่จะประกาศหา โดยจะต้องมีผู้มานำเสนอราคาที่ดินและการก่อสร้างก่อน
สำหรับโครงการดังกล่าวนั้น ก่อนหน้านี้ได้มีการคาดการณ์ว่า อาจจะใช้วงเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้พื้นที่ในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ โดยบขส.จะเป็นผู้จัดซื้อทีดินเป็นของตัวเองแทนการขอเช่าพื้นที่จากเอกชนหรือหน่วยงานราชการ โดยที่ก่อนหน้านี้บขส.ได้มีการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นไว้หลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณรังสิต ซึ่งถือว่ามีความเหมาะสมตามเกณฑ์ที่ได้มีการพิจารณาก่อนหน้านี้ เนื่องจากอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อในการเดินทางให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น