คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. เลือกใช้ห้องแพลทตินั่ม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน เป็นสถานที่แถลงนำเสนอรายงานฉบับสุดท้าย หรือ รายงานฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด โดยเนื้อหาของรายงานนั้น จะเป็นผลการศึกษาและวิจัยมีประมาณ 300 หน้า พร้อมบทแนบท้ายที่เป็นข้อเสนอแนะอีก 50 หน้า กำหนดการที่จะเริ่มในเวลา 14.00 น.จะมีคณะกรรมการ คอป.ทั้ง 9 คน บนเวที แต่ผู้แถลงหลักจะมีประมาณ 3 คน ประกอบด้วย ศ.คณิต ณ นคร ประธาน คอป. นายสมชาย หอมลออ แถลงผลการตรวจสอบและค้นหาความจริง และนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ แถลงเนื้อหาข้อเสนอแนะ และแนวทางออกของปัญหา จากนั้นจะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม ก่อนจบการแถลงในเวลา 16.00 น.
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คอป.สรุปรายงานรวม 3 ฉบับ และข้อเสนอแนะ ซึ่งรายงาน 2 ฉบับแรกเสนอให้ในสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยฉบับแรกเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศ เสนอแนวทางไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม แต่ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยความเป็นกลาง เน้นการเสนอข่าวสารต้องเป็นไปเพื่อความปรองดอง พร้อมสนับสนุนให้รัฐเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ฉบับที่ 2 คอป.มุ่งเน้นเสนอแนะต่อรัฐบาล ที่จะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินคดีอาญา พร้อมกันนี้เสนอแนะให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา เรื่องการควบคุมและคุมขัง ขณะที่ท้ายรายงานระบุเหตุขัดแย้ง เกิดจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี 2553
รายงานครั้งที่ 3 เสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งของสังคมยังคงดำรงอยู่ ทุกฝ่ายควรสร้างบรรยากาศของความปรองดองในชาติ ขณะเดียวกันย้ำถึงการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา ต้องยกเลิกการใช้เครื่องพันธนาการ
ส่วนข้อเสนอแนะของ คอป.มีสาระสอดคล้องกับรายงาน ทั้งการเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเสนอเยียวยาคดีการเมือง ต้องไม่เน้นเพียงแค่เงิน และควรจ่ายเป็นรายเดือน
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คอป.สรุปรายงานรวม 3 ฉบับ และข้อเสนอแนะ ซึ่งรายงาน 2 ฉบับแรกเสนอให้ในสมัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยฉบับแรกเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศ เสนอแนวทางไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม แต่ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วยความเป็นกลาง เน้นการเสนอข่าวสารต้องเป็นไปเพื่อความปรองดอง พร้อมสนับสนุนให้รัฐเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ฉบับที่ 2 คอป.มุ่งเน้นเสนอแนะต่อรัฐบาล ที่จะให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินคดีอาญา พร้อมกันนี้เสนอแนะให้คำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา เรื่องการควบคุมและคุมขัง ขณะที่ท้ายรายงานระบุเหตุขัดแย้ง เกิดจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี 2553
รายงานครั้งที่ 3 เสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งของสังคมยังคงดำรงอยู่ ทุกฝ่ายควรสร้างบรรยากาศของความปรองดองในชาติ ขณะเดียวกันย้ำถึงการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา ต้องยกเลิกการใช้เครื่องพันธนาการ
ส่วนข้อเสนอแนะของ คอป.มีสาระสอดคล้องกับรายงาน ทั้งการเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเสนอเยียวยาคดีการเมือง ต้องไม่เน้นเพียงแค่เงิน และควรจ่ายเป็นรายเดือน