ASTVผู้จัดการรายวัน – รมว.วัฒนธรรมรู้ดีกัมพูชายื่นแผนจัดการ “พระวิหาร” ให้ยูเนสโกตั้งแต่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมาแล้ว ยืนกรานเดินหน้าแผนคัดค้านต่อ เร่งรวบรวมข้อมูลส่งยูเนสโกตีคู่กับแผนของฝ่ายเขมร ด้านโฆษกสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชาออกแถลงการณ์ยันทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์จบหมดแล้ว
วานนี้ (15 ก.พ.) นายธีระ สลักเพชร รมว.กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากที่โฆษกสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ตอบโต้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เรื่อง กัมพูชาได้ส่งรายงานฉบับสุดท้าย ว่าด้วยแผนการจัดการมรดกโลกต่อ คณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ขององค์การศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ไปแล้วตั้งแต่ 28 ม.ค. 53ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และไทยก็รู้มาตลอดว่ากัมพูชาได้ส่งแผนการจัดการไปแล้ว เนื่องจากยูเนสโกได้กำหนดว่าต้องส่งแผนดังกล่าวภายในวันที่ 1 ก.พ. 53
นายธีระ กล่าวอีกว่า สำหรับการยื่นคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของไทยนั้น ในส่วนคณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ด้านวัฒนธรรมได้เร่งรวบรวมข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาสรุปแผนการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของไทย จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวหารือ ในที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย 3 ฝ่าย ก่อนที่จัดทำข้อสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดทำเอกสารคัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาควบคู่ไปกับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของทางการกัมพูชา โดยจะยื่นชี้แจงไปยังยูเนสโกต่อไป
รมว.กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ที่ประชุมอนุกรรมการฯ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรม ที่มีตนเป็นประธานดูแลกรณีที่ทางการกัมพูชาเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรม ด้านชายแดน มีนายก ษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เป็นประธาน ดูแลปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายสุวิทย์ เป็นประธานดูแลในประเด็นพื้นที่อุทยาน ทุกฝ่ายได้เตรียมการหารือกันเป็นการภายใน เพื่อจะได้นำข้อมูลเข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดวันที่แน่ชัด และเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะจัดทำข้อสรุปเสนอที่ประชุม ครม. เพื่อจัดทำเอกสารคัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาควบคู่ไปกับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของทางการกัมพูชา โดยจะยื่นชี้แจงไปยังคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ยูเนสโกต่อไป
“ในแถลงการณ์ที่ระบุว่ายูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก ไม่มีบทบาทจะพิจารณาเกี่ยวกับชายแดน เพราะอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 และบันทึกความเข้าใจในปีนั้นก็ได้ยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ.1907 แล้วนั้น เป็นเรื่องที่อนุกรรมการด้านชายแดนดูแล ไม่เกี่ยวกับงานวัฒนธรรม” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
เว็ปไซต์ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี (http://mekong.human.ubru.ac.th/index.php) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ตอบโต้คำให้สัมภาษณ์ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทส. เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ออกมาระบุว่า กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกยังไม่สมบูรณ์เพราะฝ่ายกัมพูชายังไม่ได้ส่งแผนจัดการฉบับสมบูรณ์ให้คณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกว่า ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริง เพราะปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนไปเรียบร้อยแล้วและกัมพูชาได้เสนอแผนจัดการฉบับสมบูรณ์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา
คำชี้แจงของโฆษกสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่า 1.คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับคำคัดค้านใดจากประเทศภาคีตามอนุสัญญา ปี 1972 หลังจากที่การขึ้นทะเบียนมรดกโลกในสถานที่หรือวัถตุใดๆได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ไม่มีกฎข้อใดที่กำหนดว่า องค์การยูเนสโกจะต้องแจกจ่ายรายงานของประเทศสมาชิกใดๆไปให้อีกประเทศหนึ่ง คณะกรรมการมรดกโลก ทำหน้าที่เป็นเพียงกองเลขานุการขององค์การยูเนสโกในการจดทะเบียนทรัพย์สินใดๆ เท่านั้น
2.หลังจากประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในเดือนก.ค. 2551 แล้ว กัมพูชามีภาระผูกพันและหน้าที่ ที่จะจัดส่งรายงานตามกำหนดเวลา เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสถานการณ์ของปราสาทพระวิหาร รายงานฉบับสุดท้ายว่าด้วยแผนการจัดการตามที่มติคณะกรรมการมรดกโลกที่ 32COM 8B.102 ได้กำหนดนั้น ทางกัมพูชาได้จัดส่งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. 2553และรัฐมนตรีสุวิทย์ ก็เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทราบดีว่า คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก ไม่ได้มีบทบาทใดที่จะต้องมาพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับชายแดน ซึ่งนั่นอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา ที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 และบันทึกความเข้าใจในปีนั้นก็ได้ยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1907 แล้ว
3.คณะกรรมการมรดกโลก ได้จดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งข้อกำหนดบางประการที่มีตามมติของคณะกรรมการมรดกโลกก็ได้รับการปฏิบัติไปตามสมควรแล้ว ดังนั้น จึงไม่ปรากฏความไม่แน่นอนชัดเจนประการใดต่อฐานะการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารอีกแล้ว และการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเช่นว่านั้นไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
4.แผนจัดการฉบับสมบูรณ์ที่ทางกัมพูชาได้ยืนต่อศูนย์มรดกโลกเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2553 ทางกัมพูชาได้ตระหนักดีถึงขอบเขตอำนาจอธิปไตยของตนเอง และจะต้องรักษาไว้ซึ่งคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงสภาพธรรมชาติของภูมิทัศน์และการจัดวางสิ่งต่างๆ ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ให้แนวทางเอาไว้
นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือขององค์การยูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และองค์กรแห่งชาติว่าด้วยปราสาทพระวิหาร ทางกัมพูชาได้ดำเนินการพัฒนาปราสาทพระวิหารเพื่อให้มีทางเข้าถึงได้สะดวกขึ้น โดยการพัฒนาถนนเข้าสู่ปราสาททางทิศตะวันตกและบูรณซ่อมแซมบันใดทางทิศตะวันออก พร้อมทั้งเตรียมการสร้างบันใดไม้ความสูง 1450 เมตรด้วย อีกทั้งได้มีการส่งเสริมการพัฒนาเพื่อบูรณาการปราสาทและนิเวศชุมชน สำหรับประชาชน 319 ครอบครัว ที่เคยอาศัยอยู่ที่ตลาดที่ถูกไฟไหม้ก่อนหน้านี้ และอีก 473 ครอบครัว จากที่อื่น และยังได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ อีกด้วย
วานนี้ (15 ก.พ.) นายธีระ สลักเพชร รมว.กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากที่โฆษกสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ตอบโต้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เรื่อง กัมพูชาได้ส่งรายงานฉบับสุดท้าย ว่าด้วยแผนการจัดการมรดกโลกต่อ คณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ขององค์การศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ไปแล้วตั้งแต่ 28 ม.ค. 53ที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และไทยก็รู้มาตลอดว่ากัมพูชาได้ส่งแผนการจัดการไปแล้ว เนื่องจากยูเนสโกได้กำหนดว่าต้องส่งแผนดังกล่าวภายในวันที่ 1 ก.พ. 53
นายธีระ กล่าวอีกว่า สำหรับการยื่นคัดค้านการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของไทยนั้น ในส่วนคณะอนุกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ด้านวัฒนธรรมได้เร่งรวบรวมข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาสรุปแผนการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของไทย จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวหารือ ในที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย 3 ฝ่าย ก่อนที่จัดทำข้อสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดทำเอกสารคัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาควบคู่ไปกับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของทางการกัมพูชา โดยจะยื่นชี้แจงไปยังยูเนสโกต่อไป
รมว.กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ที่ประชุมอนุกรรมการฯ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรม ที่มีตนเป็นประธานดูแลกรณีที่ทางการกัมพูชาเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรม ด้านชายแดน มีนายก ษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เป็นประธาน ดูแลปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายสุวิทย์ เป็นประธานดูแลในประเด็นพื้นที่อุทยาน ทุกฝ่ายได้เตรียมการหารือกันเป็นการภายใน เพื่อจะได้นำข้อมูลเข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดวันที่แน่ชัด และเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะจัดทำข้อสรุปเสนอที่ประชุม ครม. เพื่อจัดทำเอกสารคัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาควบคู่ไปกับการเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ของทางการกัมพูชา โดยจะยื่นชี้แจงไปยังคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ยูเนสโกต่อไป
“ในแถลงการณ์ที่ระบุว่ายูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลก ไม่มีบทบาทจะพิจารณาเกี่ยวกับชายแดน เพราะอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 และบันทึกความเข้าใจในปีนั้นก็ได้ยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ.1907 แล้วนั้น เป็นเรื่องที่อนุกรรมการด้านชายแดนดูแล ไม่เกี่ยวกับงานวัฒนธรรม” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
เว็ปไซต์ศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี (http://mekong.human.ubru.ac.th/index.php) ได้เผยแพร่แถลงการณ์ของสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ตอบโต้คำให้สัมภาษณ์ของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทส. เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ออกมาระบุว่า กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกยังไม่สมบูรณ์เพราะฝ่ายกัมพูชายังไม่ได้ส่งแผนจัดการฉบับสมบูรณ์ให้คณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกว่า ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริง เพราะปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนไปเรียบร้อยแล้วและกัมพูชาได้เสนอแผนจัดการฉบับสมบูรณ์ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา
คำชี้แจงของโฆษกสำนักงานสภารัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่า 1.คณะกรรมการมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับคำคัดค้านใดจากประเทศภาคีตามอนุสัญญา ปี 1972 หลังจากที่การขึ้นทะเบียนมรดกโลกในสถานที่หรือวัถตุใดๆได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ไม่มีกฎข้อใดที่กำหนดว่า องค์การยูเนสโกจะต้องแจกจ่ายรายงานของประเทศสมาชิกใดๆไปให้อีกประเทศหนึ่ง คณะกรรมการมรดกโลก ทำหน้าที่เป็นเพียงกองเลขานุการขององค์การยูเนสโกในการจดทะเบียนทรัพย์สินใดๆ เท่านั้น
2.หลังจากประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกในเดือนก.ค. 2551 แล้ว กัมพูชามีภาระผูกพันและหน้าที่ ที่จะจัดส่งรายงานตามกำหนดเวลา เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสถานการณ์ของปราสาทพระวิหาร รายงานฉบับสุดท้ายว่าด้วยแผนการจัดการตามที่มติคณะกรรมการมรดกโลกที่ 32COM 8B.102 ได้กำหนดนั้น ทางกัมพูชาได้จัดส่งไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. 2553และรัฐมนตรีสุวิทย์ ก็เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทราบดีว่า คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโก ไม่ได้มีบทบาทใดที่จะต้องมาพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับชายแดน ซึ่งนั่นอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมระหว่างไทยและกัมพูชา ที่ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2543 และบันทึกความเข้าใจในปีนั้นก็ได้ยอมรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1907 แล้ว
3.คณะกรรมการมรดกโลก ได้จดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไปเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งข้อกำหนดบางประการที่มีตามมติของคณะกรรมการมรดกโลกก็ได้รับการปฏิบัติไปตามสมควรแล้ว ดังนั้น จึงไม่ปรากฏความไม่แน่นอนชัดเจนประการใดต่อฐานะการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารอีกแล้ว และการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเช่นว่านั้นไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว
4.แผนจัดการฉบับสมบูรณ์ที่ทางกัมพูชาได้ยืนต่อศูนย์มรดกโลกเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2553 ทางกัมพูชาได้ตระหนักดีถึงขอบเขตอำนาจอธิปไตยของตนเอง และจะต้องรักษาไว้ซึ่งคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงสภาพธรรมชาติของภูมิทัศน์และการจัดวางสิ่งต่างๆ ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกได้ให้แนวทางเอาไว้
นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือขององค์การยูเนสโกและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศ และองค์กรแห่งชาติว่าด้วยปราสาทพระวิหาร ทางกัมพูชาได้ดำเนินการพัฒนาปราสาทพระวิหารเพื่อให้มีทางเข้าถึงได้สะดวกขึ้น โดยการพัฒนาถนนเข้าสู่ปราสาททางทิศตะวันตกและบูรณซ่อมแซมบันใดทางทิศตะวันออก พร้อมทั้งเตรียมการสร้างบันใดไม้ความสูง 1450 เมตรด้วย อีกทั้งได้มีการส่งเสริมการพัฒนาเพื่อบูรณาการปราสาทและนิเวศชุมชน สำหรับประชาชน 319 ครอบครัว ที่เคยอาศัยอยู่ที่ตลาดที่ถูกไฟไหม้ก่อนหน้านี้ และอีก 473 ครอบครัว จากที่อื่น และยังได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ อีกด้วย