ตามการอธิบายของพวกเขา “ลัทธิอัตวิสัย” ก็คือการปฏิบัติที่ยึดติดอยู่กับประสบการณ์เฉพาะส่วนเฉพาะตัวของตนเอง โดยหลุดลอยออกจากฐานความเป็นจริงในระดับองค์รวม ไม่เข้าใจว่าสิ่งหนึ่งๆ จักต้องขับเคลื่อนไปตามกฎเกณฑ์ของตนเอง โดยไม่ขึ้นต่อความต้องการทางอัตวิสัยของใครคนใด (กฎเกณฑ์ทางภววิสัย)
ลัทธิอัตวิสัย ที่ปรากฏอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน แสดงออกในหลายรูปแบบ เช่น ยึดติดในคำภีร์หรือตำรา อันเป็นการยึดติดในข้อสรุปหรือหลักการบางประการของปรมาจารย์แบบตายตัว หรือตามตัวอักษร ด้วยความสำคัญมั่นหมายว่า “ข้อสรุป” หรือ “หลักการ” ในคำภีร์หรือตำราเหล่านั้น คือ “คำตอบ” ของสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ จึงไม่ลังเลที่จะนำมาใช้ชี้นำการปฏิบัติของตนแบบทื่อๆโดยตรง
หรือยึดถือเอาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติของตนเองเป็นตัวตั้ง ทั้งๆ ที่เป็นเพียงองค์ความรู้เฉพาะส่วนที่ได้จากการปฏิบัติจริงในเพียงบางส่วนบางด้าน ยังไม่รอบด้าน แต่ก็สำคัญมั่นหมายว่า มันคือคำตอบที่ใช้ได้ทั่วไป
ในห้วงแรกๆ ของการเคลื่อนไหวปฏิวัติ ทั้งในห้วงที่วางยุทธศาสตร์หลักไว้ในการลุกขึ้นสู่ในเมือง (ระหว่าง ค.ศ. 1921-1927) และในห้วงของการดำเนินสงครามประชาชน สร้างฐานที่มั่นและขยายเขตปลดปล่อยในชนบท (ระหว่างปี ค.ศ. 1927-1935) พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตกเข้าไปอยู่ในวังวนของลัทธิอัตวิสัย ทั้งแบบ “เอียงซ้าย” และ “เอียงขวา”
หรือแม้กระทั่งภายหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว มีการดำเนินการสร้างสรรค์สังคมนิยมกันอย่างเต็มรูปแล้ว พรรคจีนก็ยังไม่วายถลำลงสู่ลัทธิอัตวิสัย “เอียงซ้าย” (ในระหว่างปี ค.ศ. 1957-1976 โดยเฉพาะในห้วง “การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม” )
“เอียงซ้าย” หมายถึงการแยกตนออกจากมวลชนหรือแนวร่วม ไม่ทำงานมวลชนหรือแนวร่วม ด้วยสำคัญว่าเป็นพวกล้าหลัง โง่ ปลุกไม่ขึ้นจึงโดดเดี่ยว
ถ้าพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว คือมุ่งโจมตีให้ร้ายผู้อื่นแบบไม่เลือกหน้าและไม่คำนึงถึงความเป็นจริง สำคัญว่าคนเหล่านั้นเป็นพวกปฏิกิริยาล้าหลัง จะต้องต่อสู้ให้ถึงที่สุด หรือการปฏิเสธมวลชนและแนวร่วมอย่างสิ้นเชิง ก็จะถูกเรียกว่า “พวกซ้ายจัด”
หรือกระทำการที่ล้ำเกินสภาวะและเงื่อนไขที่จะเป็นไปได้จริง หลุดลอยจากความเป็นจริง ขาดฐานรองรับที่เป็นจริง เช่น ความพยายามที่จะสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศจีนในยุคเหมาเจ๋อตง ซึ่งขาดฐานรองรับทางด้านเศรษฐกิจ พลังการผลิตยังล้าหลัง ประชาชนยังยากจนและขาดความรู้ในศาสตร์สมัยใหม่ อันเป็นการไม่เคารพความเป็นจริง ไม่ทำตามกฎเกณฑ์พัฒนาการของสังคมจีน
ในห้วงของ “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม” (ค.ศ. 1966-1976) ถึงกับมีคำขวัญว่า “ขอเป็นสังคมนิยมที่ยากจน ดีกว่าที่จะเป็นทุนนิยมที่มั่งคั่ง” ซึ่งด้วยนโยบาย “ซ้ายจัด” ของพรรคจีนในขณะนั้น ถึงกับทำให้คนจีนต้องอดตายไปมากกว่า 20 ล้านคน
“เอียงขวา” หมายถึงการทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นหรือแนวร่วม โดยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความโน้มเอียงที่จะเชื่อผู้อื่นหรือแนวร่วมไปเสียทุกเรื่อง จึงได้แต่เดินตามหลังคนอื่น
ถ้าพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว คือ เห็นดีเห็นชอบไปกับคนอื่นหรือแนวร่วมในทุกๆเรื่อง กระทั่งละทิ้งอุดมการณ์ ย้ายจุดยืนไปยืนอยู่ในฝ่ายที่ไม่เอาการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง หรือกระทั่งต่อต้านการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ก็จะถูกเรียกว่า “พวกขวาจัด”
หรือกระทำการที่ล้าหลังกว่าสภาวะที่เป็นไปได้จริง ยึดติดกับปรากฏการณ์ผิวเผินและสถานการณ์เฉพาะหน้า ขาดวิสัยทัศน์ ทำให้เสียโอกาสที่จะทำการเปลี่ยนแปลง หากพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว ก็อาจถึงขั้นยืนกราน “กอด” เอาสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ไว้ไม่ยอมปล่อย ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงใดๆ
สรุปคือ ลัทธิอัตวิสัย ไม่ว่าซ้ายหรือขวา มีจุดร่วมกันตรงที่ “สมองเป็นหิน” ถือเอาประสบการณ์เฉพาะของตนเป็นที่ตั้ง
ตลอดเวลาของการเคลื่อนไหว ทั้งในห้วงของการปฏิวัติและในห้วงของการสร้างชาติ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เผชิญกับปัญหา “ลัทธิอัตวิสัย” ทั้งแบบ “เอียงซ้าย” และ “เอียงขวา” เป็นระยะๆ ซึ่งในบางครั้ง พฤติกรรมเอียงซ้ายหรือเอียงขวาของผู้นำพรรคในแต่ละห้วง ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่พรรค ชนิดจวนเจียนจะ “สูญพันธุ์” และต่อประเทศชาติ ชนิดเกือบ “ล่มสลาย”
ลัทธิอัตวิสัย ที่ปรากฏอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน แสดงออกในหลายรูปแบบ เช่น ยึดติดในคำภีร์หรือตำรา อันเป็นการยึดติดในข้อสรุปหรือหลักการบางประการของปรมาจารย์แบบตายตัว หรือตามตัวอักษร ด้วยความสำคัญมั่นหมายว่า “ข้อสรุป” หรือ “หลักการ” ในคำภีร์หรือตำราเหล่านั้น คือ “คำตอบ” ของสิ่งที่ตนเองกระทำอยู่ จึงไม่ลังเลที่จะนำมาใช้ชี้นำการปฏิบัติของตนแบบทื่อๆโดยตรง
หรือยึดถือเอาประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติของตนเองเป็นตัวตั้ง ทั้งๆ ที่เป็นเพียงองค์ความรู้เฉพาะส่วนที่ได้จากการปฏิบัติจริงในเพียงบางส่วนบางด้าน ยังไม่รอบด้าน แต่ก็สำคัญมั่นหมายว่า มันคือคำตอบที่ใช้ได้ทั่วไป
ในห้วงแรกๆ ของการเคลื่อนไหวปฏิวัติ ทั้งในห้วงที่วางยุทธศาสตร์หลักไว้ในการลุกขึ้นสู่ในเมือง (ระหว่าง ค.ศ. 1921-1927) และในห้วงของการดำเนินสงครามประชาชน สร้างฐานที่มั่นและขยายเขตปลดปล่อยในชนบท (ระหว่างปี ค.ศ. 1927-1935) พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตกเข้าไปอยู่ในวังวนของลัทธิอัตวิสัย ทั้งแบบ “เอียงซ้าย” และ “เอียงขวา”
หรือแม้กระทั่งภายหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว มีการดำเนินการสร้างสรรค์สังคมนิยมกันอย่างเต็มรูปแล้ว พรรคจีนก็ยังไม่วายถลำลงสู่ลัทธิอัตวิสัย “เอียงซ้าย” (ในระหว่างปี ค.ศ. 1957-1976 โดยเฉพาะในห้วง “การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม” )
“เอียงซ้าย” หมายถึงการแยกตนออกจากมวลชนหรือแนวร่วม ไม่ทำงานมวลชนหรือแนวร่วม ด้วยสำคัญว่าเป็นพวกล้าหลัง โง่ ปลุกไม่ขึ้นจึงโดดเดี่ยว
ถ้าพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว คือมุ่งโจมตีให้ร้ายผู้อื่นแบบไม่เลือกหน้าและไม่คำนึงถึงความเป็นจริง สำคัญว่าคนเหล่านั้นเป็นพวกปฏิกิริยาล้าหลัง จะต้องต่อสู้ให้ถึงที่สุด หรือการปฏิเสธมวลชนและแนวร่วมอย่างสิ้นเชิง ก็จะถูกเรียกว่า “พวกซ้ายจัด”
หรือกระทำการที่ล้ำเกินสภาวะและเงื่อนไขที่จะเป็นไปได้จริง หลุดลอยจากความเป็นจริง ขาดฐานรองรับที่เป็นจริง เช่น ความพยายามที่จะสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ขึ้นในประเทศจีนในยุคเหมาเจ๋อตง ซึ่งขาดฐานรองรับทางด้านเศรษฐกิจ พลังการผลิตยังล้าหลัง ประชาชนยังยากจนและขาดความรู้ในศาสตร์สมัยใหม่ อันเป็นการไม่เคารพความเป็นจริง ไม่ทำตามกฎเกณฑ์พัฒนาการของสังคมจีน
ในห้วงของ “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม” (ค.ศ. 1966-1976) ถึงกับมีคำขวัญว่า “ขอเป็นสังคมนิยมที่ยากจน ดีกว่าที่จะเป็นทุนนิยมที่มั่งคั่ง” ซึ่งด้วยนโยบาย “ซ้ายจัด” ของพรรคจีนในขณะนั้น ถึงกับทำให้คนจีนต้องอดตายไปมากกว่า 20 ล้านคน
“เอียงขวา” หมายถึงการทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นหรือแนวร่วม โดยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความโน้มเอียงที่จะเชื่อผู้อื่นหรือแนวร่วมไปเสียทุกเรื่อง จึงได้แต่เดินตามหลังคนอื่น
ถ้าพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว คือ เห็นดีเห็นชอบไปกับคนอื่นหรือแนวร่วมในทุกๆเรื่อง กระทั่งละทิ้งอุดมการณ์ ย้ายจุดยืนไปยืนอยู่ในฝ่ายที่ไม่เอาการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง หรือกระทั่งต่อต้านการปฏิวัติเปลี่ยนแปลง ก็จะถูกเรียกว่า “พวกขวาจัด”
หรือกระทำการที่ล้าหลังกว่าสภาวะที่เป็นไปได้จริง ยึดติดกับปรากฏการณ์ผิวเผินและสถานการณ์เฉพาะหน้า ขาดวิสัยทัศน์ ทำให้เสียโอกาสที่จะทำการเปลี่ยนแปลง หากพัฒนาไปเป็นแบบสุดขั้ว ก็อาจถึงขั้นยืนกราน “กอด” เอาสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ไว้ไม่ยอมปล่อย ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงใดๆ
สรุปคือ ลัทธิอัตวิสัย ไม่ว่าซ้ายหรือขวา มีจุดร่วมกันตรงที่ “สมองเป็นหิน” ถือเอาประสบการณ์เฉพาะของตนเป็นที่ตั้ง
ตลอดเวลาของการเคลื่อนไหว ทั้งในห้วงของการปฏิวัติและในห้วงของการสร้างชาติ พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เผชิญกับปัญหา “ลัทธิอัตวิสัย” ทั้งแบบ “เอียงซ้าย” และ “เอียงขวา” เป็นระยะๆ ซึ่งในบางครั้ง พฤติกรรมเอียงซ้ายหรือเอียงขวาของผู้นำพรรคในแต่ละห้วง ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่พรรค ชนิดจวนเจียนจะ “สูญพันธุ์” และต่อประเทศชาติ ชนิดเกือบ “ล่มสลาย”