ASTVผู้จัดการรายวัน-“พรทิวา”สั่งเร่งนำเข้าน้ำมันปาล์มล็อตสอง 1.2 แสนตัน ก่อนล็อตแรกระบายหมด 20 ก.พ.นี้ หวั่นขาดแคลนและตึงตัวไม่หยุด พร้อมสั่งทำแผนรับมือสินค้าขอขึ้นราคา ดูต้นทุนย้อนหลังทั้งปี สต๊อกสินค้า ไม่ใช่แค่ช่วงที่ผู้ผลิตยื่นขอ เน้นน้ำมันพืช นม ปุ๋ย วัสดุก่อสร้าง รับหากน้ำนมดิบขึ้นอีก 1 บาท กลุ่มนมเสี่ยงขึ้นราคา
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน และองค์การคลังสินค้า (อคส.) เร่งดำเนินการนำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ล็อตสองจำนวน 120,000 ตัน โดยให้เข้ามาก่อนวันที่ 20 ก.พ. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดช่วง และสินค้าขาดแคลน เพราะโควตานำเข้าน้ำมันปาล์มรอบแรก 30,000 ตัน คาดว่าจะกระจายหมดในวันที่ 20 ก.พ.นี้ โดยมั่นใจว่าน้ำมันปาล์มจะเข้ามาทัน ไม่เกิดขาดช่วง และปัญหาขาดแคลนแน่นอน
สำหรับน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ที่นำเข้าล็อตสอง เบิ้องต้นกำหนดให้นำมาบรรจุขวด บรรจุปี๊บและถุง รวมทั้งกระจายให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ ส่วนราคานำเข้าไม่มั่นใจว่าจะซื้อได้ในราคาเดิมหรือไม่ เพราะจากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ราคาในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นจากครั้งแรกที่นำเข้ามาตันละ 1,280 เหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็นเกินตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐแล้ว โดยได้ขอให้อคส.เจรจากับผู้ขายเพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไป เพราะอาจจะกระทบต่อราคาขายปลีกในประเทศ
ทางด้านสถานการณ์จำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ขณะนี้เริ่มคลี่คลายลง หลังจากโควตาน้ำมันปาล์มนำเข้ารอบแรกจากมาเลเซีย 30,000 ตัน เริ่มผลิตและออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้แล้ว ซึ่ง ณ วันที่ 7 ก.พ. สามารถผลิตน้ำมันได้แล้ว 7 ล้านขวด จำหน่ายไปแล้ว 4.8 ล้านขวด เหลืออีก 2.2 ล้านขวด ที่กำลังเร่งทยอยส่งไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ตลาดสดโดยคาดว่าหลังจากนี้จะกระจายออกวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่องจนครบ 22 ล้านขวด ได้ในวันที่ 20 ก.พ.นี้
นางพรทิวา กล่าวว่า การรับมือกับการปรับขึ้นราคาสินค้า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการสินค้าอุปโภคบริโภคเน้นรายการสำคัญที่มีความเสี่ยงจะขึ้นราคา ได้แก่ น้ำมันพืช นมสดพร้อมดื่ม ปุ๋ยเคมี และวัสดุก่อสร้าง เพื่อหาทางแก้ปัญหาสินค้าแพงอย่างเป็นระบบ โดยขอให้มีการติดตามสถานการณ์สินค้า ดูต้นทุนวัตถุดิบทั้งในและต่างประเทศ สต๊อกสินค้า โดยให้ดูทุกช่วงว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง ดูทั้งปี ไม่ใช่ดูแค่ตอนที่ผู้ผลิตยื่นรายละเอียดขอปรับราคาเข้ามา
“เมื่อก่อนจะขอปรับราคา เราก็ได้เท่าที่เขาอยากจะส่งมาให้ ส่งต้นทุนมาเฉพาะช่วงที่มันสูง ช่วงที่ต่ำไม่เคยให้ ตอนนี้ไม่ได้ ต้องดูทั้งระบบ ให้ได้ข้อมูลจริงๆ น่าจะโอเคกว่า ไม่เช่นนั้น ก็จะมีปัญหาตลอด”นางพรทิวากล่าว
นางพรทิวา กล่าวว่า สำหรับสินค้ากลุ่มนม เช่น นมสดพาสเจอร์ไรซ์ นมยูเอสที นมเปรี้ยว นมผงยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนนมได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก และล่าสุดเกษตรกรได้เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบอีกอีก 1 บาทต่อกก. จาก 17 บาท เป็น 18 บาท จะทำให้ต้นทุนสินค้านมปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ซึ่งได้ขอให้กรมการค้าภายในไปดูแผนการนำเข้านมผงจากต่างประเทศ ปริมาณน้ำนมดิบภายในประเทศ ปริมาณสินค้า และสต๊อกสินค้า ก่อนที่จะพิจารณาการปรับขึ้นราคา
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม เตรียมขอเข้าพบกรมการค้าภายใน เพื่อชี้แจงปัญหาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานปรับขึ้นเป็น 17 บาทต่อกก. หรือเพิ่มขึ้น 50 สตางค์ต่อกก. มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา แต่ราคาขายปลีกไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตาม ทำให้ปัจจุบันต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะที่ราคานมผงตลาดโลกขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 350 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ 380 เหรียญสหรัฐ/ตัน ตามผลผลิตโลกที่ลดลงจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น จำเป็นต้องขอให้กระทรวงพาณิชย์อนุมัติปรับขึ้นราคา
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน และองค์การคลังสินค้า (อคส.) เร่งดำเนินการนำเข้าน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ล็อตสองจำนวน 120,000 ตัน โดยให้เข้ามาก่อนวันที่ 20 ก.พ. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดช่วง และสินค้าขาดแคลน เพราะโควตานำเข้าน้ำมันปาล์มรอบแรก 30,000 ตัน คาดว่าจะกระจายหมดในวันที่ 20 ก.พ.นี้ โดยมั่นใจว่าน้ำมันปาล์มจะเข้ามาทัน ไม่เกิดขาดช่วง และปัญหาขาดแคลนแน่นอน
สำหรับน้ำมันปาล์มกึ่งบริสุทธิ์ที่นำเข้าล็อตสอง เบิ้องต้นกำหนดให้นำมาบรรจุขวด บรรจุปี๊บและถุง รวมทั้งกระจายให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ ส่วนราคานำเข้าไม่มั่นใจว่าจะซื้อได้ในราคาเดิมหรือไม่ เพราะจากการตรวจสอบพบว่า ขณะนี้ราคาในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นจากครั้งแรกที่นำเข้ามาตันละ 1,280 เหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็นเกินตันละ 1,300 เหรียญสหรัฐแล้ว โดยได้ขอให้อคส.เจรจากับผู้ขายเพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไป เพราะอาจจะกระทบต่อราคาขายปลีกในประเทศ
ทางด้านสถานการณ์จำหน่ายน้ำมันปาล์มบรรจุขวด ขณะนี้เริ่มคลี่คลายลง หลังจากโควตาน้ำมันปาล์มนำเข้ารอบแรกจากมาเลเซีย 30,000 ตัน เริ่มผลิตและออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้แล้ว ซึ่ง ณ วันที่ 7 ก.พ. สามารถผลิตน้ำมันได้แล้ว 7 ล้านขวด จำหน่ายไปแล้ว 4.8 ล้านขวด เหลืออีก 2.2 ล้านขวด ที่กำลังเร่งทยอยส่งไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ตลาดสดโดยคาดว่าหลังจากนี้จะกระจายออกวางจำหน่ายอย่างต่อเนื่องจนครบ 22 ล้านขวด ได้ในวันที่ 20 ก.พ.นี้
นางพรทิวา กล่าวว่า การรับมือกับการปรับขึ้นราคาสินค้า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการสินค้าอุปโภคบริโภคเน้นรายการสำคัญที่มีความเสี่ยงจะขึ้นราคา ได้แก่ น้ำมันพืช นมสดพร้อมดื่ม ปุ๋ยเคมี และวัสดุก่อสร้าง เพื่อหาทางแก้ปัญหาสินค้าแพงอย่างเป็นระบบ โดยขอให้มีการติดตามสถานการณ์สินค้า ดูต้นทุนวัตถุดิบทั้งในและต่างประเทศ สต๊อกสินค้า โดยให้ดูทุกช่วงว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง ดูทั้งปี ไม่ใช่ดูแค่ตอนที่ผู้ผลิตยื่นรายละเอียดขอปรับราคาเข้ามา
“เมื่อก่อนจะขอปรับราคา เราก็ได้เท่าที่เขาอยากจะส่งมาให้ ส่งต้นทุนมาเฉพาะช่วงที่มันสูง ช่วงที่ต่ำไม่เคยให้ ตอนนี้ไม่ได้ ต้องดูทั้งระบบ ให้ได้ข้อมูลจริงๆ น่าจะโอเคกว่า ไม่เช่นนั้น ก็จะมีปัญหาตลอด”นางพรทิวากล่าว
นางพรทิวา กล่าวว่า สำหรับสินค้ากลุ่มนม เช่น นมสดพาสเจอร์ไรซ์ นมยูเอสที นมเปรี้ยว นมผงยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนนมได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก และล่าสุดเกษตรกรได้เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบอีกอีก 1 บาทต่อกก. จาก 17 บาท เป็น 18 บาท จะทำให้ต้นทุนสินค้านมปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ซึ่งได้ขอให้กรมการค้าภายในไปดูแผนการนำเข้านมผงจากต่างประเทศ ปริมาณน้ำนมดิบภายในประเทศ ปริมาณสินค้า และสต๊อกสินค้า ก่อนที่จะพิจารณาการปรับขึ้นราคา
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม เตรียมขอเข้าพบกรมการค้าภายใน เพื่อชี้แจงปัญหาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดยราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานปรับขึ้นเป็น 17 บาทต่อกก. หรือเพิ่มขึ้น 50 สตางค์ต่อกก. มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา แต่ราคาขายปลีกไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตาม ทำให้ปัจจุบันต้องแบกรับภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะที่ราคานมผงตลาดโลกขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 350 เหรียญสหรัฐ/ตัน มาอยู่ที่ 380 เหรียญสหรัฐ/ตัน ตามผลผลิตโลกที่ลดลงจากภาวะโลกร้อน ดังนั้น จำเป็นต้องขอให้กระทรวงพาณิชย์อนุมัติปรับขึ้นราคา