วันนี้ (6 ก.พ.) นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าและโฆษกพรรคการเมืองใหม่ กล่าวถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ว่า พรรคการเมืองใหม่คาดว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าเมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลถูกกดดันเช่นนี้ ทำให้ภายหลังการลงมติร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 ในวันที่ 11 ก.พ.นี้ รวมทั้งการผ่านงบประมาณกลางปี 2554 แล้ว อาจจะตัดสินใจยุบสภา เพื่อเป็นทางออกให้แก่บ้านเมือง
อย่างไรก็ตาม ตนไม่แน่ใจว่าเมื่อมีการยุบสภาแล้ว การชุมนุมของกลุ่มต่างๆ จะยุติหรือไม่ เพราะธงที่พันธมิตรฯ เรียกร้องนั้นมี 3 ข้อ หากยังไม่บรรลุ หรือเหตุการณ์ต่างๆ จะยุติหรือไม่ จะมีการเลือกตั้งหรือเปล่า
นายสำราญ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันสถานการณ์ความร้อนแรง จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ล่าสุดประกาศเคลื่อนขบวนในวันที่ 11 ก.พ.นี้ และทางเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ก็ยังอยู่อีกมุมหนึ่งของทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ยังมีความเคลื่อนไหวในส่วนของคดีการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ต.ค.51 ของพันธมิตรฯ ซึ่งที่ผ่านมาค้างอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยยังไม่มีความชัดเจนว่า จะสั่งฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีหนังสือแจ้งว่า สตช. สั่งฟ้องคดีชุมนุมหน้ารัฐสภา โดยมีหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 21 คน อาทิ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายประพันธ์ คูณมี รวมทั้งตนเองด้วย ไปรายงานตัวในวันที่ 10 ก.พ. ที่ สน.ดุสิต อาจจะเป็นจุดเร่งให้สถานการณ์ร้อนแรงมากขึ้น เนื่องจากไม่น่าใช่จังหวะเวลาที่ดีนัก นอกจากนั้น การประกาศยังมีชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ศาลอาญา และศาลฎีกาในวันที่ 13 ก.พ. และ 19 ก.พ.อีกด้วย
" ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้คนในรัฐบาลบางคนออกมาอ้างว่า หากบ้านเมืองไม่สงบ จะไม่ยุบสภานั้น ถือเป็นการพูดตีปลาหน้าไซ หรือคำพูดขู่มากกว่า เพราะแท้จริงแล้วรัฐบาลกำลังสับสนอย่างหนักว่า จะหาทางออกอย่างไรให้กับตัวเอง" นายสำราญ กล่าว
ในส่วนกรณีการเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคเพื่อไทยนั้น นายสำราญ ได้แสดงความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ใช่วง 4-5 วันนี้ เพื่อตัดสินใจว่า จะยื่นญัตติในวันไหน ซึ่งจริงๆ แล้วการอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นมาตรการสูงสุดตามระบบสภาฯ แต่พรรคเพื่อไทยขณะนี้ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดพลัง ไม่น่าที่จะทำให้รัฐบาลเพลี้ยงพล้ำทางการเมืองได้ โดยลึกๆ แล้วพรรคเพื่อไทย ก็ต้องการให้มีการยุบสภา เพราะหากเนิ่นนานออกไป อาจทำให้ ส.ส.ของพรรคไหลออกไปเรื่อยๆ แต่ทราบดีว่า ถ้ายื่นอภิปรายแล้วนายกฯจะยุบสภาไม่ได้
** 8 ก.พ.ประชุมหาวันยื่นซักฟอก
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ทางพรรคเพื่อไทย จะมีการประชุมพรรค ซึ่งจะได้ข้อสรุปในประเด็นเรื่องวันที่จะขอยื่นอภิปรายอย่างชัดเจนว่าจะมีการยื่นก่อนวันที่ 11 ก.พ. หรือไม่ แต่ทั้งนี้ตนห่วงว่าการทำงานของรัฐบาลชุดนี้น่าจะไม่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจ หลังจากกลุ่มพันธมิตรฯ ยกระดับการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี ส่งผลให้คนในรัฐบาลได้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งมีอักษรย่อ บ.โดยมีการร่างแบบเพื่อทำการยุบสภาด้วย
" ขอให้รัฐบาลเร่งไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมพันธมิตรฯ เสียก่อน เพราะผมคิดว่าน่าจะมีการเจรจากันได้ ทั้งนี้ตนขอให้ฝ่ายค้านได้โชว์ผลงานในเวทีการอภิปรายในสภาเสียก่อน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า พรรคเพื่อไทย ได้พยายามติดตามการแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลทำได้แค่ จัดสรรงบประมาณทางด้านอาวุธเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงรัฐบาลควรที่จปรับปรุงปัญหาทางด้านการข่าวให้ดีกว่านี้ ตนคิดว่ารัฐบาลควรที่จะลงไปที่พื้นที่โดยตรง ไม่ใช่เป็นการปล่อยให้ทหารแก้ไขปัญหากันเองเช่นนี้ จนทำให้ประชาชนคนไทยเสียชีวิตทุกวัน
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย จะทำการตรวจสอบรัฐบาล โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า อยากให้อภิปรายด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และปฏิบัติตามกฎหมาย
นายสาธิต ยังได้ทวงถามถึงความรับผิดชอบจากพรรคฝ่ายค้าน ช่วงที่ไม่มีผู้นำฝ่ายค้านตัวจริง ซึ่งอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบนั้นขาดประสิทธิภาพ พร้อมกับยืนยันว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาของประชาชน ไม่ได้ไร้ประสิทธิภาพ ตามที่พรรคฝ่ายค้านกล่าวหา
อย่างไรก็ตาม ตนไม่แน่ใจว่าเมื่อมีการยุบสภาแล้ว การชุมนุมของกลุ่มต่างๆ จะยุติหรือไม่ เพราะธงที่พันธมิตรฯ เรียกร้องนั้นมี 3 ข้อ หากยังไม่บรรลุ หรือเหตุการณ์ต่างๆ จะยุติหรือไม่ จะมีการเลือกตั้งหรือเปล่า
นายสำราญ กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันสถานการณ์ความร้อนแรง จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ล่าสุดประกาศเคลื่อนขบวนในวันที่ 11 ก.พ.นี้ และทางเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ก็ยังอยู่อีกมุมหนึ่งของทำเนียบรัฐบาล
ทั้งนี้ยังมีความเคลื่อนไหวในส่วนของคดีการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ต.ค.51 ของพันธมิตรฯ ซึ่งที่ผ่านมาค้างอยู่ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยยังไม่มีความชัดเจนว่า จะสั่งฟ้องหรือไม่ แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีหนังสือแจ้งว่า สตช. สั่งฟ้องคดีชุมนุมหน้ารัฐสภา โดยมีหมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 21 คน อาทิ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายประพันธ์ คูณมี รวมทั้งตนเองด้วย ไปรายงานตัวในวันที่ 10 ก.พ. ที่ สน.ดุสิต อาจจะเป็นจุดเร่งให้สถานการณ์ร้อนแรงมากขึ้น เนื่องจากไม่น่าใช่จังหวะเวลาที่ดีนัก นอกจากนั้น การประกาศยังมีชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ศาลอาญา และศาลฎีกาในวันที่ 13 ก.พ. และ 19 ก.พ.อีกด้วย
" ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้คนในรัฐบาลบางคนออกมาอ้างว่า หากบ้านเมืองไม่สงบ จะไม่ยุบสภานั้น ถือเป็นการพูดตีปลาหน้าไซ หรือคำพูดขู่มากกว่า เพราะแท้จริงแล้วรัฐบาลกำลังสับสนอย่างหนักว่า จะหาทางออกอย่างไรให้กับตัวเอง" นายสำราญ กล่าว
ในส่วนกรณีการเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคเพื่อไทยนั้น นายสำราญ ได้แสดงความเห็นว่า พรรคเพื่อไทยน่าจะอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ใช่วง 4-5 วันนี้ เพื่อตัดสินใจว่า จะยื่นญัตติในวันไหน ซึ่งจริงๆ แล้วการอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นมาตรการสูงสุดตามระบบสภาฯ แต่พรรคเพื่อไทยขณะนี้ขาดความเป็นเอกภาพ ขาดพลัง ไม่น่าที่จะทำให้รัฐบาลเพลี้ยงพล้ำทางการเมืองได้ โดยลึกๆ แล้วพรรคเพื่อไทย ก็ต้องการให้มีการยุบสภา เพราะหากเนิ่นนานออกไป อาจทำให้ ส.ส.ของพรรคไหลออกไปเรื่อยๆ แต่ทราบดีว่า ถ้ายื่นอภิปรายแล้วนายกฯจะยุบสภาไม่ได้
** 8 ก.พ.ประชุมหาวันยื่นซักฟอก
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ทางพรรคเพื่อไทย จะมีการประชุมพรรค ซึ่งจะได้ข้อสรุปในประเด็นเรื่องวันที่จะขอยื่นอภิปรายอย่างชัดเจนว่าจะมีการยื่นก่อนวันที่ 11 ก.พ. หรือไม่ แต่ทั้งนี้ตนห่วงว่าการทำงานของรัฐบาลชุดนี้น่าจะไม่ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจ หลังจากกลุ่มพันธมิตรฯ ยกระดับการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี ส่งผลให้คนในรัฐบาลได้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งมีอักษรย่อ บ.โดยมีการร่างแบบเพื่อทำการยุบสภาด้วย
" ขอให้รัฐบาลเร่งไปเจรจากับกลุ่มผู้ชุมพันธมิตรฯ เสียก่อน เพราะผมคิดว่าน่าจะมีการเจรจากันได้ ทั้งนี้ตนขอให้ฝ่ายค้านได้โชว์ผลงานในเวทีการอภิปรายในสภาเสียก่อน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า พรรคเพื่อไทย ได้พยายามติดตามการแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างต่อเนื่อง แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลทำได้แค่ จัดสรรงบประมาณทางด้านอาวุธเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงรัฐบาลควรที่จปรับปรุงปัญหาทางด้านการข่าวให้ดีกว่านี้ ตนคิดว่ารัฐบาลควรที่จะลงไปที่พื้นที่โดยตรง ไม่ใช่เป็นการปล่อยให้ทหารแก้ไขปัญหากันเองเช่นนี้ จนทำให้ประชาชนคนไทยเสียชีวิตทุกวัน
ด้านนายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทย จะทำการตรวจสอบรัฐบาล โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า อยากให้อภิปรายด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และปฏิบัติตามกฎหมาย
นายสาธิต ยังได้ทวงถามถึงความรับผิดชอบจากพรรคฝ่ายค้าน ช่วงที่ไม่มีผู้นำฝ่ายค้านตัวจริง ซึ่งอาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบนั้นขาดประสิทธิภาพ พร้อมกับยืนยันว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาของประชาชน ไม่ได้ไร้ประสิทธิภาพ ตามที่พรรคฝ่ายค้านกล่าวหา