นายสำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าและโฆษกพรรคการเมืองใหม่ แถลงถึงการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดินของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า ที่ผ่านมาอาจมีกรรมการบริหารพรรคบางคนไปร่วมปราศรัยในการชุมนุมบ้าง อาทิ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค รวมทั้งตนเองด้วยนั้น ขอยืนยันว่าเป็นเรื่องส่วนตัว
อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหม่ขอสนับสนุนและเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ คือ ให้ยกเลิก MOU ปี 2543 ถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก และผลักดันกองกำลังและชุมชนชาวกัมพูชาออกจากผืนแผ่นดินไทย
การยกระดับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ ที่ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะรัฐมนตรี ลาออกนั้น เป็นพัฒนาการของสถานการณ์ เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของประชาชน และเป็นผลพวงจากความล้มเหลวในการจัดการปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนการลาออกหรือไม่นั้น ถือเป็นดุลพินิจส่วนตัว ที่นายอภิสิทธิ์ จะตัดสินใจทางการเมืองต่อไป
อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหม่ ไม่เห็นด้วยที่นายอภิสิทธิ์ หรือคนใกล้ชิด กล่าวหาว่ากลุ่มผู้ชุมนุมนำเรื่องอธิปไตยของชาติมาเป็นวาระทางการเมือง เพราะเป็นการชุมนุมเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ระบุในเชิงท้าทายประชาชนว่า ใครอยากรบให้ไปที่เขาพระวิหารนั้น บางคำพูดบางประโยคถือว่าเป็นคำพูดที่ทำร้ายจิตใจประชาชนที่รักบ้านเมือง ควรจะได้ใคร่ครวญ ระมัดระวังในการให้สัมภาษณ์ และสร้างความเป็นเอกภาพของคนในชาติ ทั้นงี้ จากเหตุการณ์สู้รบที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดมั่นกฎกติกาตาม MOU ปี 2543 แม้แต่น้อย ทั้งยังมีการโจมตีทหารและราษฎรไทย
ส่วนที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจจะมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น อาจมีความเป็นไปได้ หากรัฐบาลต้องการยกระดับดูแลด้านความมั่นคง หรืออาจตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ขึ้นมาดูแลเหมือนที่เคยทำมาแล้วก็ได้
อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหม่ขอสนับสนุนและเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ คือ ให้ยกเลิก MOU ปี 2543 ถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก และผลักดันกองกำลังและชุมชนชาวกัมพูชาออกจากผืนแผ่นดินไทย
การยกระดับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ ที่ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคณะรัฐมนตรี ลาออกนั้น เป็นพัฒนาการของสถานการณ์ เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้ตอบสนองข้อเรียกร้องของประชาชน และเป็นผลพวงจากความล้มเหลวในการจัดการปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ส่วนการลาออกหรือไม่นั้น ถือเป็นดุลพินิจส่วนตัว ที่นายอภิสิทธิ์ จะตัดสินใจทางการเมืองต่อไป
อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองใหม่ ไม่เห็นด้วยที่นายอภิสิทธิ์ หรือคนใกล้ชิด กล่าวหาว่ากลุ่มผู้ชุมนุมนำเรื่องอธิปไตยของชาติมาเป็นวาระทางการเมือง เพราะเป็นการชุมนุมเรียกร้องที่อยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ระบุในเชิงท้าทายประชาชนว่า ใครอยากรบให้ไปที่เขาพระวิหารนั้น บางคำพูดบางประโยคถือว่าเป็นคำพูดที่ทำร้ายจิตใจประชาชนที่รักบ้านเมือง ควรจะได้ใคร่ครวญ ระมัดระวังในการให้สัมภาษณ์ และสร้างความเป็นเอกภาพของคนในชาติ ทั้นงี้ จากเหตุการณ์สู้รบที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดมั่นกฎกติกาตาม MOU ปี 2543 แม้แต่น้อย ทั้งยังมีการโจมตีทหารและราษฎรไทย
ส่วนที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจจะมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น อาจมีความเป็นไปได้ หากรัฐบาลต้องการยกระดับดูแลด้านความมั่นคง หรืออาจตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ขึ้นมาดูแลเหมือนที่เคยทำมาแล้วก็ได้