ASTVผู้จัดการ—รัฐสภาพม่าเลือกผู้นำใหม่วันนี้ ( 3 ก.พ.) คาดสภาฯจะเลือก "เต็งเส่ง" นั่งตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ แทน "ตานฉ่วย" ที่กำลังจะพ้นสภาพจากการเป็นประธานสภาเพื่อสันติภาพฯหลังกุมอำนาจต่อเนื่องมายาวนาน แต่ก็ได้วางตัวผู้ใกล้ชิดสืบทอดอำนาจเอาไว้ในทุกองค์กรอำนาจ ตั้งแต่ประมุข ลงไปจนถึงกองทัพ
รัฐสภาพม่า “ปีดองซูลุ๊ตดอ” (Pyidaungsu Hluttaw) กำลังจะโหวตลงมติในวันพฤหัสบดี 3 ม.ค.นี้ เลือกผู้นำคนใหม่ของประเทศ แทน พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย วัย 78 ปี ที่เชื่อว่าได้ตัดสินใจก้าวลงจากอำนาจ โดยคาดว่าสมาชิกสภาฯ จะโหวตเลือก นายเต็งเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีวัย 65 ปี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่่งมีอำนาจล้นพ้นเหนือรัฐสภา รัฐบาล และกองทัพ
ในวันจันทร์ที่ 31 ม.ค. สภาผู้แทนราษฎร "ปีตูลุ๊ตดอ" (Pyithu Hluttaw) หรือสภาล่าง ที่มีอำนาจเหนือกว่าสภาสูงได้โหวตลงมติเลือก นายตูระฉ่วยมาน ขึ้นเป็นประธานคุมสภา 440 ที่นั่ง
ในวันเดียวกันสภาสูง "อำโยตาลุ๊ตดอ" (Amyotha Hluttaw) ที่มีสมาชิกเพียง 224 คน ได้ลงมติเลือกนายคินอองมี้น อดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลเต็งเส่งขึ้นเป็นประธาน และจะทำหน้าที่เป็นประธานเมื่อทั้งสองสภาประชุมร่วมกันในวาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรวมถึงการเลือกตั้งประมุขแห่งรัฐด้วย
สมาชิก 3 ใน 4 ในแต่ละสภาเป็นผู้แทนที่ได้รับเลือกจากทั่วประเทศในการเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
ในการประชุมวันอังคาร 1 ก.พ. แต่ละสภาได้พิจาณาคัดเลือกผู้แทนเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งทั้งสองสภาจะประชุมร่วมกันลงมติเลือกในวันพฤหัสบดีนี้ และ กำลังจะเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่คณะปกครองทหารใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการจัดร่าง
พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ไม่ได้รับการเสนอชื่อ จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐตามที่หลายฝ่ายคาดกันก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ในวันพุธ 2 ก.พ. การประชุมสภาได้หยุดพัก 1 วัน เพื่อให้บรรดาสมาชิกได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ก่อนการประชุมสำคัญวันพฤหัสบดีนี้ หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าว
สภาล่างได้เสนอชื่อผู้เข้าชิง "รองประธานาธิบดี" จำนวน 2 คน รวมทั้งนายเต็งเส่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ขณะที่สภาสูงเลือกอีก 2 คน คือ ดร.สายสีหมอกคำหม่องออน กับ ดร.เอหม่อง บุคคลทั้งสองเป็นสมาชิกอาวุโสจากรัฐชานกับรัฐระไค (ยะไข่) ตามลำดับ ขณะเดียวกันสมาชิกสภาจากฝ่ายทหารได้เลือก นายทินอ่องมิ้นอู อดีตนายพลเอกเลขาธิการที่ 1 สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาหรือคณะปกครองทหาร เป็นตัวแทน
ผู้เข้าชิงจำนวน 5 คนจาก 3 สาย ในนั้น 1 คน จะกลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ อีก 2 คนเป็นรอง
ในสายตาของนักวิเคราะห์ นายกรัฐมนตรีเต็งเส่งได้รับความนิยมมากกว่า และ ยังเคยอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการที่ 1 มาก่อนนายมิ้นอู นอกจากนั้นหลายปีมานี้ อดีต พล.อ.เต็งเส่ง ในฐานะผู้นำรัฐบาลยังออกปรากฎตัวไปทั่วโลก โดยมีภาพลักษณ์การเป็นผู้นำที่อ่อนโยน สงบเสงี่ยม และ รักสันติ
ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ประธานาธิบดีมีอำนาจล้นพ้น สามารถคว่ำมติของทั้งสองสภาได้ รวมทั้งอำนาจการแต่งตั้งถอดถอน รัฐมนตรีแม้กระทั่งผู้นำรัฐบาลในอนาคต
ขณะเดียวกันการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็จะทำให้คณะปกครองทหารหมดสภาพลงตามรัฐธรรมนูญ ซึ่ง พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ก็จะพ้นสภาพจากการเป็นประธานสภาเพื่อสันติภาพฯ เช่นกัน
ขบวนการเลือกตั้งผู้นำของพม่ายังมีความซับซ้อนตามรัฐธรรมนูญอีกประการหนึ่งคือ ผู้แทนจากฝ่ายทหาร (คือนายมิ้นอู) จะกลายเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 1 โดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นในวันพฤหัสบดีนี้สองสภากำลังจะเลือกผู้ที่ถูกเสนอชื่อเหลือเพียง 1 เมื่อรวมกับผู้แทนจากฝ่ายทหารจะรวมกันเป็น 3 คน ในนั้น 1 คนจะถูกเลือกอีกครั้งหนึ่งให้เป็นผู้นำสูงสุด โดยรวมคะแนนจาก 3 กลุ่ม อีก 1 คนจะได้เป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 2
ภายใต้ระบบดังกล่าว ผู้แทนจากส่วนอื่นในสังคม รวมทั้งผู้แทนของชนชาติส่วนน้อย จะไม่มีโอกาสได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของประเทศ
ยังไม่ทราบอนาคตของ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ที่จะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไปโดยอัตโนมัติทันทีที่ประธานาธิบดีคนใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ในพม่ากล่าวว่า ผู้นำอาวุโสจะอยู่อย่างปลอดภัยตลอด 5 ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากได้วางตัวผู้ใกล้ชิดสืบทอดอำนาจเอาไว้ในทุกองค์กรอำนาจ ตั้งแต่ประมุข ลงไปจนถึงกองทัพ และผู้นำทั้งสองสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาล่างคือ อดีต พล.อ.ฉ่วยมาน อดีตเสนาธิการกองทัพ ที่เคยเป็นผู้นำหมายเลข 3
ทั้ง พล.อ.ฉ่วยมาน พล.อ.เต็งเส่ง และ พล.อ.ทินอ่องมิ้นอู ลาออกจากกองทัพในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว พร้อมกับนายทหารระดับนายพลอีกอย่างน้อย 25 นาย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเต็มตัว
รัฐสภาพม่า “ปีดองซูลุ๊ตดอ” (Pyidaungsu Hluttaw) กำลังจะโหวตลงมติในวันพฤหัสบดี 3 ม.ค.นี้ เลือกผู้นำคนใหม่ของประเทศ แทน พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย วัย 78 ปี ที่เชื่อว่าได้ตัดสินใจก้าวลงจากอำนาจ โดยคาดว่าสมาชิกสภาฯ จะโหวตเลือก นายเต็งเส่ง (Thein Sein) นายกรัฐมนตรีวัย 65 ปี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ซึ่่งมีอำนาจล้นพ้นเหนือรัฐสภา รัฐบาล และกองทัพ
ในวันจันทร์ที่ 31 ม.ค. สภาผู้แทนราษฎร "ปีตูลุ๊ตดอ" (Pyithu Hluttaw) หรือสภาล่าง ที่มีอำนาจเหนือกว่าสภาสูงได้โหวตลงมติเลือก นายตูระฉ่วยมาน ขึ้นเป็นประธานคุมสภา 440 ที่นั่ง
ในวันเดียวกันสภาสูง "อำโยตาลุ๊ตดอ" (Amyotha Hluttaw) ที่มีสมาชิกเพียง 224 คน ได้ลงมติเลือกนายคินอองมี้น อดีตรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลเต็งเส่งขึ้นเป็นประธาน และจะทำหน้าที่เป็นประธานเมื่อทั้งสองสภาประชุมร่วมกันในวาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งรวมถึงการเลือกตั้งประมุขแห่งรัฐด้วย
สมาชิก 3 ใน 4 ในแต่ละสภาเป็นผู้แทนที่ได้รับเลือกจากทั่วประเทศในการเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย.ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
ในการประชุมวันอังคาร 1 ก.พ. แต่ละสภาได้พิจาณาคัดเลือกผู้แทนเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งทั้งสองสภาจะประชุมร่วมกันลงมติเลือกในวันพฤหัสบดีนี้ และ กำลังจะเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ที่คณะปกครองทหารใช้เวลานานกว่า 10 ปีในการจัดร่าง
พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ไม่ได้รับการเสนอชื่อ จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นเป็นประมุขแห่งรัฐตามที่หลายฝ่ายคาดกันก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ในวันพุธ 2 ก.พ. การประชุมสภาได้หยุดพัก 1 วัน เพื่อให้บรรดาสมาชิกได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ก่อนการประชุมสำคัญวันพฤหัสบดีนี้ หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์กล่าว
สภาล่างได้เสนอชื่อผู้เข้าชิง "รองประธานาธิบดี" จำนวน 2 คน รวมทั้งนายเต็งเส่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ขณะที่สภาสูงเลือกอีก 2 คน คือ ดร.สายสีหมอกคำหม่องออน กับ ดร.เอหม่อง บุคคลทั้งสองเป็นสมาชิกอาวุโสจากรัฐชานกับรัฐระไค (ยะไข่) ตามลำดับ ขณะเดียวกันสมาชิกสภาจากฝ่ายทหารได้เลือก นายทินอ่องมิ้นอู อดีตนายพลเอกเลขาธิการที่ 1 สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาหรือคณะปกครองทหาร เป็นตัวแทน
ผู้เข้าชิงจำนวน 5 คนจาก 3 สาย ในนั้น 1 คน จะกลายเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ อีก 2 คนเป็นรอง
ในสายตาของนักวิเคราะห์ นายกรัฐมนตรีเต็งเส่งได้รับความนิยมมากกว่า และ ยังเคยอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการที่ 1 มาก่อนนายมิ้นอู นอกจากนั้นหลายปีมานี้ อดีต พล.อ.เต็งเส่ง ในฐานะผู้นำรัฐบาลยังออกปรากฎตัวไปทั่วโลก โดยมีภาพลักษณ์การเป็นผู้นำที่อ่อนโยน สงบเสงี่ยม และ รักสันติ
ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ประธานาธิบดีมีอำนาจล้นพ้น สามารถคว่ำมติของทั้งสองสภาได้ รวมทั้งอำนาจการแต่งตั้งถอดถอน รัฐมนตรีแม้กระทั่งผู้นำรัฐบาลในอนาคต
ขณะเดียวกันการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็จะทำให้คณะปกครองทหารหมดสภาพลงตามรัฐธรรมนูญ ซึ่ง พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ก็จะพ้นสภาพจากการเป็นประธานสภาเพื่อสันติภาพฯ เช่นกัน
ขบวนการเลือกตั้งผู้นำของพม่ายังมีความซับซ้อนตามรัฐธรรมนูญอีกประการหนึ่งคือ ผู้แทนจากฝ่ายทหาร (คือนายมิ้นอู) จะกลายเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 1 โดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นในวันพฤหัสบดีนี้สองสภากำลังจะเลือกผู้ที่ถูกเสนอชื่อเหลือเพียง 1 เมื่อรวมกับผู้แทนจากฝ่ายทหารจะรวมกันเป็น 3 คน ในนั้น 1 คนจะถูกเลือกอีกครั้งหนึ่งให้เป็นผู้นำสูงสุด โดยรวมคะแนนจาก 3 กลุ่ม อีก 1 คนจะได้เป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 2
ภายใต้ระบบดังกล่าว ผู้แทนจากส่วนอื่นในสังคม รวมทั้งผู้แทนของชนชาติส่วนน้อย จะไม่มีโอกาสได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของประเทศ
ยังไม่ทราบอนาคตของ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ที่จะพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ไปโดยอัตโนมัติทันทีที่ประธานาธิบดีคนใหม่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ในพม่ากล่าวว่า ผู้นำอาวุโสจะอยู่อย่างปลอดภัยตลอด 5 ปีข้างหน้านี้ เนื่องจากได้วางตัวผู้ใกล้ชิดสืบทอดอำนาจเอาไว้ในทุกองค์กรอำนาจ ตั้งแต่ประมุข ลงไปจนถึงกองทัพ และผู้นำทั้งสองสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาล่างคือ อดีต พล.อ.ฉ่วยมาน อดีตเสนาธิการกองทัพ ที่เคยเป็นผู้นำหมายเลข 3
ทั้ง พล.อ.ฉ่วยมาน พล.อ.เต็งเส่ง และ พล.อ.ทินอ่องมิ้นอู ลาออกจากกองทัพในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว พร้อมกับนายทหารระดับนายพลอีกอย่างน้อย 25 นาย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเต็มตัว