xs
xsm
sm
md
lg

พม่าได้ 3 แคนดิเดตผู้นำใหม่ “เต็งเส่ง” ยังเต็งหนึ่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้ม 27 ต.ค.2553 นายกรัฐมนตรีพม่าเต็งเส่ง เดินผ่านขบวนแถวทหารกองเกียรติยศ เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานโนยบ่าย กรุงฮานอย  เพื่อร่วมประชุมผู้นำกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ และ บรรดาผู้นำประเทศหุ้นส่วนต่างๆ ในวันพฤหัสบดี 3 ก.พ.นี้แทบจะไม่มีโอกาสพลิกผันเป็นอย่างอื่นอีก นี่คือผู้นำสูงสุดคนใหม่ของพม่า ที่จะมีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันศุกร์.--REUTERS/Kham </font>
ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- สภาล่าง “ปีตูลุ๊ตดอ” (Pyithu Hluttaw) กับสภาสูง “อำโยตาลุ๊ตดอ” (Amyotha Hluttaw) ได้เลือกตัวแทนของตนเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ที่จะมีการประกาศรายชื่อในวันศุกร์ 4 ก.พ.ศกนี้ ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตาม “สคริปต์” ไม่ต่างกับการเลือกตั้งปลายปีที่แล้ว

สภาล่างซึ่ง 3 ใน 4 ของสมาชิก 440 คน ประกอบด้วย ผู้แทนราษฎรที่เลือกตั้งในวันที่้ 7 พ.ย.2553 ได้เลือก (อดีต พล.อ.) นายเต็งเส่ง วัย 65 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนจากผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 2 คน

ขณะเดียวกัน สภาสูงที่มีสมาชิก 224 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากชนเผ่าต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ได้เลือก นพ.ดร.สายสีหมอกคำหม่องออน สมาชิกอาวุโสของพรรคทหารจากรัฐชาน โดยชนะผู้ที่ถูกเสนอชื่ออีกคนหนึ่ง ที่เป็นตัวแทนชนชาติส่วนน้อยจากรัฐระไค (Rakhine) หรือ ยะไข่

ส่วนนายทินอ่องมิ้นอู ซึ่งเป็นอดีตนายพลเอก เลขาธิการที่ 1 สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา หรือ สภาปกครองของกองทัพ ได้รับการเสนอชื่อจากบรรดาสมาชิกรัฐสภาสายทหารที่เปิดประชุมนัดพิเศษวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา จะได้เป็นรองประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ ตามรัฐธรรมนูญ โดยปราศจาคคู่ชิงเช่นในสภาบนและสภาล่าง

เพราะฉะนั้นผู้นำสูงสุดคนใหม่ของประเทศอาจจะเป็น อดีตนายพลเอก ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการที่ 1 คณะปกครองทหารมาก่อนนายมี้นอู

นักวิเคราะห์เคยมองว่า ตำแหน่งผู้นำสูงสุดนี้น่าจะเป็นของ อดีต พล.อ.ฉ่วยมาน แต่เมื่ออดีต "ผู้นำเบอร์ 3" ได้รับเลือกขึ้นเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่างเมื่อต้นสัปดาห์นี้ ทุกอย่างเกี่ยวกับการวางตัวบุคคลก็เปลี่ยนไป

ตามรายงานของโทรทัศน์ MRTV3 ของทางการ ซึ่งแพร่ภาพออกอากาศภาคภาษาอังกฤษ และรับชมผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ได้ในกรุงเทพฯ ปีตูลุ๊ตดอ กับ อำโยตาลุ๊ตดอ ได้เปิดประชุมเลือก และ คณะกรรมการคัดเลือกที่ตั้งขึ้นในตั้งแต่วันอังคาร ได้คัดเลือก "รองประธานาธิบดี" ผู้ชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุด ระหว่างการประชุมที่เปิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งวันพฤหัสบดีนี้ หลังหยุดพักไป 1 วัน

ในวันที่ 31 ม.ค.ซึ่งเป็นวันแรกของการประชุม สภาล่างได้เลือกนายฉ่วยมาน อดีตนายพลเอก เสนาธิการกองทัพ ขึ้นเป็นประธานของสภา และ สภาสูงได้เลือกนายคินอ่องมี้น อดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน

ประธานสภาสูงจะทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม “ปีดองซูลุ๊ตดอ” (Pyidaungsu Hluttaw) หรือการประชุมร่วม 2 สภา ในสาระสำคัญตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ

เป็นที่เห็นได้ชัดว่า คณะปกครองทหารได้จัดวางกำลังคนสนิทของอดีตผู้นำไว้ในองค์กรสำคัญต่างๆ ในระบอบใหม่อย่างครบถ้วน ขณะที่ดูเหมือนว่า พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ผู้นำสูงสุดวัย 78 ปี ได้ตัดสินวางมือจากการเมือง

ในสายตาของนักวิเคราะห์ในพม่า นายกรัฐมนตรีเต็งเส่ง ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชนสูงมาก และ กว่า 3 ปีที่ผ่านมาในฐานะผู้นำรัฐบาลยังได้ออกปรากฏตัวต่อประชาคมโลก เป็นที่รู้จักและสนิทสนมกันดีกับบรรดาผู้นำกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ โดยมีภาพลักษณ์การเป็นผู้นำที่อ่อนโยน สงบเสงี่ยม และรักสันติ

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพลักษณ์ที่ตรงข้ามกันคือ นายมี้นอูซึ่งปัจจุบันอายุ 61 ปี กลับเป็นนายทหารที่มุทะลุ เป็นที่น่าสะพรึงกลัวของผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนั้่นยังมีเบื้องหลังที่คอร์รัปชั่น

ทั้งอดีต พล.อ.เต็งเส่ง อดีต พล.อ.มี้นท์อู มีที่มาคล้ายกันคือ เคยเป็นผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือควบคุมพื้นชายแดนแดนติดกับไทยและจีน และ ฝ่ายหลังขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการที่ 1 "ผู้นำเบอร์ 4" หลังจากฝ่ายแรกได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน พล.อ.โซวิน ที่ถึงแก่กรรมในปี 2550

นักวิเคราะห์มองว่า หากพม่าเลือกนายมี้นอูขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด จะทำให้ประเทศนี้อยู่ร่วมกับกลุ่มอาเซียนลำบากมากขึ้น เช่นเดียวกับประชาคมระหว่างประเทศ ในขณะที่ท่ั้งยุโรปละสหรัฐฯ ยังคงใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อพม่าทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ประธานาธิบดีจะเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพที่มีกำลังทหารราว 400,000 คน และ มีอำนาจล้นพ้น สามารถคว่ำมติของทั้งสองสภาได้ รวมทั้งอำนาจการแต่งตั้งถอดถอน รัฐมนตรีแม้กระทั่งผู้นำรัฐบาลในอนาคต

ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งประธานาธิบดีกำลังจะทำให้คณะปกครองทหารหมดสภาพลงตามรัฐธรรมนูญ ซึ่ง พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย ก็จะพ้นสภาพจากการเป็นประธานสภาปกครองของฝ่ายทหาร และสืบต่ออำนาจการบริหารประเทศของฝ่ายทหารผ่านระบอบรัฐสภา

พล.อ.เต็งเส่ง ได้ลาออกจากกองทัพในเดือน เม.ย.ปีที่แล้วเพื่อเป็นหัวหน้าพรรคสหภาพเพื่อสมานฉันท์และการพัฒนา ขณะที่ พล.อ.ฉ่วยมาน กับ พล.อ.ทินอ่องมิ้นอู ลาออกในเดือน ส.ค.พร้อมกับนายทหารระดับนายพลอีกอย่างน้อย 25 นาย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งอย่างเต็มตัว ร่วมกับรัฐมนตรีทั้งคณะ.
กำลังโหลดความคิดเห็น