xs
xsm
sm
md
lg

อาเซียนประสานเสียง ร้องตะวันตกยุติการคว่ำบาตรพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033O>ภาพวันที่ 4 ม.ค.2554 นางอองซานซูจี ผู้นำการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าปราศรัยต่อฝูงชนที่สำนักงานพรรคเอ็นแอลดีในกรุงย่างกุ้ง ในโอกาสครบรอบปีที่ 63 เอกราชแห่งชาติ ซึ่งนายพลอองซาน บิดาเป็นผู้นำการต่อสู้ นางซูจีเคยแสดงท่าทีคัดค้านการใช้มาตราการคว่ำบาตรของสหรัฐและยุโรป โดยกล่าวในการให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ไม่คิดว่าจะสามารถใช้ต่อรองอะไรได้ กับรัฐบาลทหาร ขณะที่ประชาชนพม่าเป็นผู้รับผลกระทบ.--REUTERS/Soe Zeya Tun.</font>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ออกเรียกร้องในวันอาทิตย์ 16 ม.ค.นี้ ให้สหรัฐฯและประเทศสหภาพยุโรป ยุติมาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหาร โดยระบุว่า ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของพม่า ซึ่งกำลังจะเปิดประชุมสภาแห่งชาติเป็นครั้งแรกในวันที่ 31 เดือนนี้ หลังจากการเลือกตั้งเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว


รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ออกเรียกร้องเรื่องนี้ หลังการประชุมนอกรอบ (retreat meeting) ที่เมืองลอมบ็อก (Lombok) อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการประสานเสียงกับพรรคการเมืองของชนชาติส่วนน้อย 5 กลุ่มที่ได้รับเลือกเข้าสู่สภาชุดใหม่ในพม่า ที่ได้ออกคำประกาศเรียกร้องเรื่องนี้ในวันเดียวกัน

คำแถลงของพรรคชนกลุ่มน้อยที่นำโดยพรรคประชาธิปไตยชนชาติชาน (Shan Nationalities Democratic Party) กับพรรคพัฒนาชนชาติระไค (Rakhine Nationalities Development Party) ระบุว่า การคว่ำบาตรได้ “ส่งผลกระทบต่อขอบเขตอันสำคัญทางการค้า การลงทุนและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอันจำเป็นต่อการพัฒนาในเขตแดนของชนชาติส่วนน้อยต่างๆ”

นายมาร์ตี นาตาเลกาวา (Marty Natalegawa) รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกล่าวในวันเดียวกันว่า บรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ “ขอเรียกร้องอีกครั้งหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังมีการปล่อยตัวนางอองซานซูจีและมีการเลือกตั้ง ให้มีการทบทวนการคว่ำบาตรต่อพม่า เนื่องจากได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพม่า”

ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งวันที่ 7 พ.ย.2553 ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี จะได้รับการวิจารณ์จากโลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง ว่า ไม่โปร่งใสและขาดการเข้าร่วมของทุกฝ่าย และมีขึ้นท่ามกลางเสียงกล่าวหามีการทุจริตก็ตาม กลุ่มอาเซียนยังมองว่า เป็นการเลือกตั้งที่ “มีคุณค่าและโปร่งใส”

รัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ทบทวนนโยบายต่างประเทศต่อรัฐบาลทหารพม่า แต่หลังการพบเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง รัฐบาลสหรัฐฯ ยีงมองว่าพม่ายังไม่ได้พัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากท่าที่ควร และจะยังไม่ยกเลิกมาตรการาคว่ำบาตรที่ใช้มานานกว่า 10 ปี
กำลังโหลดความคิดเห็น