xs
xsm
sm
md
lg

ในที่สุด “นายพลวังปาว” ก็ไม่ได้กลับลาวอีก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มวันที่ 11 พ.ค.2543 พล.ต.วังปาว (ซ้าย) กับอดีตทหารผ่านศึกแห่งกองทัพราชอาณาจักรลาว วางพวงหรีดที่อนุสรณ์สถานสงครามเวียดนามในกรุงวอชิงตันดีซี เพื่อรำลึกครบรอบปีที่ 25 การสิ้นสุดสงครามเวียดนามในลาว อดีตผู้นำกองทัพเข้มแข็งที่สุดในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ถึงแก่กรรมวันศุกร์ 6 ม.ค.2554 ในรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมอายุ 81 ปี ไม่มีโอกาสได้กลับไปยังแขวงเชียงขวางบ้านเกิดอีกครั้งตามที่ลั่นวาจาไว้.--AFP PHOTO/Files/Luke Fraza.</font>

โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เมื่อ พล.ต.วังปาว เดินทางออกจากล่องแจ้งในแขวงเวียงขวางอันเป็นฐานที่มั่นสุดท้าย ก่อนที่กองกำลังคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวจะบุกเข้ายึดในการรุกรบครั้งใหญ่ปี 2518 ผู้นำของชาวลาวเผ่าม้งบอกกับคนใกล้ชิดว่า “เราจะกลับมาอีก”

แต่แล้ว นายพลผู้กลายเป็นอีกตำนานหนึ่งในวงการทหารระดับโลก ก็ไม่มีโอกาสได้กลับไปที่นั่นอีก

นายพลวังปาว นายทหารชาวเผ่าม้งคนแรกที่ได้เป็นนายพลในกองทัพแห่งราชอาณาจักรลาว ถึงแก่กรรมลงในคืนวันพฤหัสบดี 6 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเฟรสโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ด้วยโรคนิวโมเนียและอาการเกี่ยวกับหัวใจ รวมอายุ 81 ปี

แม้ว่าในสายตาของรัฐบาลลาวปัจจุบัน นายพลวังปาวจะเป็นเพียงแค่ “สมุนรับใช้จักรพรรดินิยม” และ “ปฏิบัติการขายชาติ” ผู้สนับสนุนของเขาก็เป็นเพียง “พวกคนบ่ดี” ที่ปฏิบัติการบ่อนทำลายความสงบสุขของชาวลาว แต่ประวัติศาสตร์ได้เป็นประจักษ์พยานว่า วังปาวเป็นศัตรูที่น่าเกรงขามที่สุดคนหนึ่งของฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาว

กองทัพของนายพลวังปาว ได้ทำให้ “บั้นรบทุ่งไหหิน” แขวงเชียงขวางในช่วงปี 2515-2516 กลายเป็น 1 ใน 3 ยุทธภูมินองเลือดที่สุด ตามที่รัฐบาลลาวในปัจจุบันบันทึกเอาไว้

เชียงขวางเป็นแนวรบที่อยู่ใกล้กับฐานที่มั่นปฏิวัติของฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวมากที่สุด ซึ่งสหรัฐฯ เชื่อว่า หากสามารถยึดครองเขตที่ราบสูงได้ ก็จะกุมสภาพการศึกได้ทั้งหมด มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ในบันทึก ที่ พล.ท.สะหมาน วิยะเกต เสนอต่อการประชุมร่วมระหว่างลาวกับเวียดนาม เพื่อจัดทำบันทึกประวัติศาสตร์การรบที่ทุ่งไหหิน

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในเดือน ก.ย.2553 ในแขวงเชียงขวาง คณะจากเวียดนามนำโดย นายเจืองเติ่นซาง (Truong Tan Sang) สมาชิกกรมการเมือง เลขาธิการประจำ คณะเลขาธิการพรรค ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว

“เป็นยุทธภูมิที่ใช้เวลานานกว่าที่อื่น ใช้กำลังมากกว่าที่อื่น เป็นยุทธภูมิประกอบส่วนตัดสินใจ ที่นำไปสู่การเซ็นสัญญาเวียงจันทน์วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2516” พล.ท.สะหมาน กรรมการกรมการเมืองผู้ชี้นำงานวัฒนธรรมและทฤษฎีของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ระบุในเอกสาร

(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)
<bR><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มวันที่ 29 ธ.ค.2549 นายบิล แลร์ (Bill Lair) อดีตเจ้าหน้าของซีไอเอ (ขวา) อดีตเพื่อนร่วมงาน ร่วมก่อตั้งในกองทัพลับๆ ในแขวงเชียงขวาง และ แอร์อเมริกา ไปร่วมกับ พล.ต.วังปาว ฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาวม้ง ที่เมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย นี่คือสองบุคคลที่เป็นศัตรูอันทรงพลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวในอดีต กองทัพลับๆ นี้ทำให้เชียงขวางกับทุ่งไหหินเป็นยุทธภูมิสู่รบนองเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในช่วงปี 2514-2516.--AFP PHOTO.</font>
2

ผู้นำอาวุโสซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตประธานสภาแห่งชาติลาว กล่าวอีกว่า ในการรบที่ทุ่งไหหิน ศัตรู “ได้นำใช้ยุทธศาสตร์และยุทธศิลป์ที่ทันสมัย ทั้งยังเป็นการเคลื่อนทัพขนาดใหญ่ที่สุดของจักรพรรดิอเมริกาและอำนาจหุ่นเวียงจันทน์” มีการใช้ยานพาหนะสงครามจำนวนมาก และใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดบี-52 ทิ้งแบบปูพรม...

จากครอบครัวชาวนายากจนแห่งเมืองหนองแฮด แขวงเชียงขวาง หนุ่มน้อยวังปาวสมัครเข้าเป็นทหารกองทัพเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ได้รับการฝึกเป็นนักรบเพื่อต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นที่เข้ายึดครองคาบสมุทรอินโดจีน

เมื่อติดยศเป็นพันโทแห่งกองทัพราชอาณาจักรลาว วังปาวได้ประจำการในแขวง บ้านเกิด เป็นนักรบที่ช่ำชอง เป็นผู้พิทักษ์ประเทศชาติ ปกป้องญาติพี่น้องร่วมชนเผ่า และในปี 2507 ได้กลายเป็นนายพลตรีชาวม้งคนแรก ในของกองทัพฝ่ายเวียงจันทน์ และ ไม่นานต่อมาก็เป็นบุคคลที่องค์การสืบราชการลับสหรัฐฯ เลือกให้เป็นผู้นำภารกิจลับ

ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 พล.ต.วังปาว ที่มีภาพลักษณ์ของนักรบผู้กล้าหาญ เก่งกาจ ตัดสินใจรวดเร็ว เด็ดขาด เข้าตีข้าศึกอย่างหนักหน่วงรุนแรงและอย่างไร้ความปรานี เป็นผู้บัญชาการกองทัพลับๆ ที่จัดตั้งโดยซีไอเอ ประกอบด้วยนักรบชาวม้ง ทหารรัฐบาลราชอาณาจักร กับ “ทหารอาสา” นักรบรับจ้างจากประเทศไทย เพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ประเทดลาวและกองทัพเวียดนาม

สื่อของทางการเคยบันทึกเอาไว้ว่า ถึงแม้สงครามปฏิวัติจะสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือน ธ.ค.2518 แต่การสู้รบกับกองกำลังของชนชาติส่วนน้อยในบางท้องที่ของแขวงเซียงขวางกับแขวงเวียงจันทน์ ยังดำเนินต่อมาอีกนานนับ 10 ปี..

“วังเปาเป็นคนที่ไม่มีคุณค่าใดๆ ไม่มีความหมายอะไรต่อประเทศและประชาชนลาว” นายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศลาว กล่าวกับผู้เขียนในวันที่ 7 มิ.ย.2550 ขณะไปร่วมการประชุมเอซีดีในกรุงโซล และเยือนเกาหลีอย่างเป็นทางการ

นั่นคือ 3 วัน หลังจากนายพลวังปาว ตกเป็นข่าว ถูกจับในสหรัฐฯ โดยเอฟบีไอตั้งข้อหาว่า ลักลอบส่งอาวุธร้ายแรงหลายชนิดรวมทั้งขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานและต่อสู้รถถัง เข้าประเทศไทย เตรียมการโค่นล้มรัฐบาลลาว ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมายสหรัฐฯ

(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)

3
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บไซต์นิตยสาร LIFE พ.ท.วังปาว นายทหารหนุ่มแห่งกองทัพราชอาณาจักรลาว กับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ประจำการในแขวงเชียงขวาง ในปี 2507 นายพันหนุ่มได้กลายเป็นชาวม้งคนแรกที่ติดยศนายพลตรีแห่งกองทัพรัฐบาล และ เวลาต่อมาได้เป็นผู้นำกองทัพลับที่เข้มแข็งที่สุดในการต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวกับกองทัพเวียดนามในลาว.</font
4

นายย้ง จันทะลังสี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพีจากนครเวียงจันทน์ในวันเดียวกันว่า ศาลลาวได้ตัดสินประหารชีวิตวังปาวตั้งแต่ปี 2518 เพราะ “ก่อกรรมทำเข็ญเอาไว้มาก”

“คุณจะต้องอ่านเรื่องนี้เป็นเล่มๆ เพื่อศึกษาอาชญากรรมที่พวกเขาก่อขึ้นกับชาวลาว-การทรยศต่อชาติ เกณฑ์เด็กๆ ไปเป็นทหาร สังหารผู้คนนับหมื่นๆ.. ค้ายาเสพติด”

โฆษกของลาวหมายถึงในช่วงหนึ่ง ที่นายพลวังปาวถูกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กับผู้นำชาวม้งฝ่ายตรงข้ามจำนวนหนึ่งกล่าวหาว่า ใช้เครื่องบินลับของ “แอร์อเมริกา” ขนฝิ่นจากแขวงเชียงขวางส่งขาย เพื่อนำเงินไปเลี้ยงดูกองทัพมหึมา นอกเหนือจากเงินช่วยเหลือจากซีไอเอ อันเป็นการกล่าวหาที่วังปาวกับผู้สนับสนุนปฏิเสธมาตลอด

อย่างไรก็ตาม นายพลวังปาวเป็นผู้นำเพียงคนเดียวของราชอาณาจักรลาวที่สามารถเจรจากับสหรัฐฯ จนสำเร็จ ในการนำชาวม้งราว 150,000 คนไปตั้งหลักแหล่ง ชาวม้งนับแสนยังให้ความเคารพอดีตผู้นำจนถึงวันสุดท้าย เพราะถ้าหากไม่มีคนชื่อวังปาวก็จะไม่มีวันนี้สำหรับพวกเขา

ผู้ใกล้ชิดกล่าวว่า อดีตนายพลอาวุโสเป็นเสมือนบิดา หากไม่ใช่พระเจ้าอีกองค์หนึ่งของชาวม้งในต่างแดน แม้ว่าชาวม้งรุ่นใหม่ในลาวปัจจุบันอาจจะไม่รู้จักชื่อนี้แล้วก็ตาม

นายชาร์ลี วอเตอร์ส เพื่อนสนิทชาวอเมริกันกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ว่า นายพลวังปาว ยังคงช่วยเหลือประชาคมชาวม้งในแคลิฟอร์เนียจนถึงวันสุดท้าย ในรัฐนี้มีชาวม้งอยู่ระหว่าง 30,000-40,000 คน กับ อีกกว่า 100,000 คน อาศัยทำกินอยู่ในรัฐมินนิโซตาทางตอนเหนือ

“เขาได้ผลักดันหลายสิ่งหลายอย่าง ได้ทำอย่างมากมายเหลือเกิน สำหรับประชาชนเหล่านี้ .. จนกระทั่งถึงวันที่ทุกคนนำเขาส่งโรงพยาบาล” นายวอเตอร์ส กล่าว

“ผู้คนรักเขามาก เป็นเสมือนพ่อของประชาชนของเขา.. ประชาชนชาวม้ง.. และจะถูกจดจำในฐานะนายพลผู้ยิ่งใหญ่ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ และนายทหารม้งที่ยิ่งใหญ่” นายวอเตอร์ส กล่าว

(โปรดเลื่อนลงเพื่ออ่านต่อ)
<bR><FONT color=#000033>ภาพจากอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถแสดงแหล่งที่มาได้ พล.ต.วังปาว นายพลชาวม้งคนแรกแห่งกองทัพราชอาณาจักรลาวในอดีต.</font>
5

ตลอดเวลา 35 ปีที่ลี้ภัยในสหรัฐฯ นายพลวังปาว ยังมีบทบาทสำคัญในการรวบรวมชาวม้งจากทั่วโลกให้เป็นกลุ่มก้อน ก่อตั้งเป็นขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติลาว หรือ “แนวโฮม” ขึ้นมา เพื่อภารกิจช่วยเหลือชาวม้ง ทั้งในลาวและในโพ้นทะเล

นายพลเคยถูกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ในยุคใหม่กล่าวหาว่า ระดมเงินจากชาวม้งในสหรัฐฯ เป็นหลายล้านดอลลาร์ ส่งผ่านช่องทางลับเข้าไปช่วยกองกำลังติอาวุธชาวม้งที่ยังคงต่อสู้กับรัฐบาลลาวจนถึงขณะนี้

อย่างไรก็ตาม ลาวปฏิเสธมาตลอดว่าไม่มีกองกำลังติดอาวุธใดในประเทศอีกแล้ว นอกจากทหารกองทัพประชาชนลาว แม้ว่าสื่อของทางการยังคงรายงานข่าว การปฏิบัติการก่อกวนความสงบสุขโดย “กลุ่มคนบ่ดี” อยู่เป็นระยะๆ

เจ้าหน้าที่ลาวในนครเวียงจันทน์ เคยยอมรับผู้เขียนว่า “กลุ่มคนบ่ดี” มีส่วนอย่างสำคัญในการล่อลวงและจูงใจให้ชาวม้งหลายพันคนจากลาวลักลอบข้ามแดนไปยังประเทศไทย โดยหวังว่าจะมีโอกาสได้อยู่กับเครือญาติหรือ ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ

ในเดือน ธ.ค.2552 และ ม.ค.2553 ทางการไทยได้จัดส่งชาวลาวม้งกว่า 4,000 คนจากศูนย์ผู้อพยพบ้านน้ำขาว จ.เพชรบูรณ์ กลับคืนไปให้ลาว ทั้งหมดกลับไปตั้งถิ่นฐานอีกครั้งหนึ่งในแขวงบอลิคำไซ เชียงขวาง กับแขวงเวียงจันทน์

เมื่อนายพลวังปาวถูกศาลแคลิฟอร์เนียออกหมายจับในวันที่ 4 มิ.ย.2550 พร้อมกับคนอื่นๆ อีก 9 คน ชาวม้งนับแสนในสหรัฐฯ ได้ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ กดดันให้ปล่อยตัวผู้นำของพวกเขา มีการระดมสรรพกำลัง กดดันนักการเมืองในระดับรัฐจนถึงระดับรัฐบาลกลาง

ชาวม้งในแคลิฟอร์เนียชุมนุมกดดันนายอาร์โนลด์ ชวาสเซเนกเกอร์ ผู้ว่าการมลรัฐให้แทรกแซงการออกหมายจับ และข้ามเดือนต่อมาศาลก็อนุญาตให้ประกันตัว นายพลวังปาวด้วยทรัพย์สินของครอบครัวเป็นเงินประมาณ 1.5 ล้านดอลลาร์

ในวันที่ 18 ก.ย.2552 ศาลแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ยกฟ้องนายพลวังปาวกับพวก ยกเลิกการกล่าวหาทั้งหมด หลังจากไต่สวนและพบว่าไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นเพียงพอ ผู้นำอาวุโสเป็นอิสระที่จะไปไหนมาไหนได้อีกครั้งหนึ่ง

แต่เวลาสำหรับการเดินทางกลับสู่บ้านเกิดแขวงเชียงขวางก็ได้หมดลงแล้ว
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถแสดงแหล่งที่มาได้ แสดงให้เห็นเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้กับเครื่องบินตรวจการ ปอร์ตเตอร์ ที่ไม่ติดเครื่องหมายใดๆ ของ แอร์อเมริกา จอดที่สนามบินล่องแจ้ง แขวงเชียงขวาง ในช่วงปีแห่งการขับเคี่ยวกันอย่างหนักระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวกับรัฐบาลราชอาณาจักรลาวในนครเวียงจันทน์. </font>
6

7
 <bR><FONT color=#000033>ภาพจากเว็บบล็อกส่วนตัวแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ชาวอเมริกันอดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาล 3 คนนี้ ร่วมกันถ่ายรูปที่สนามบินล่องแจ้งในเดือน ก.พ.2551 ทั้งหมดออกจาก จ.นครพนมของไทย ก่อนจะเดินทางเข้าลาวผ่านแขวงบอลิคำไซ ผ่านเส้นทางทุระกันการในแขวงเวียงจันทน์ ไปยังเชียงขวาง กลับคืนสู่ถิ่นที่พวกเขาเคยเข้าไปทำงานเมื่อ 40 ปีก่อน.</font>
8
กำลังโหลดความคิดเห็น