การให้ความเห็นของคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) ต่อโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด
กอสส.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบอนุมัติ/อนุญาตโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ในขณะนี้ และต้องมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยต้องเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิสูจน์และติดตามตรวจสอบ และต้องมีมาตรการในเรื่องต่างๆ ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ในมาตรา 67ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
เหตุผลประกอบ 12 ประเด็นหลัก ไม่เห็นชอบอนุมัติ อนุญาต โครงการ โรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด มีดังต่อไปนี้
1.เหตุผลทางด้านวิศวกรรม
เนื่องจาก ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวิศวกรรมการผลิตของ TOC ยังไม่ครบถ้วน เช่นการทำสมดุลมวล (Materials balance) รายละเอียดของ De-bottle Necking รวมถึงกระบวนการทางวิศวกรรม ความปลอดภัยยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้เกิดอุบัติภัยได้
2.มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิตของโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ ๖๐ แต่มาตรการในการป้องกันและบำบัดมลพิษ ทั้งส่วนของมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และกากของเสียอุตสาหกรรม ยังขาดความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมและป้องกันมลพิษจากการรั่วไหล (Fugitive emission) และมาตรการในการควบคุมหรือบำบัดเบื้องต้น (Pretreatment) ในกรณีที่น้ำเสียของโครงการฯ มีคุณสมบัติเกินค่ามาตรฐานที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
3.มาตรการในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ในส่วนของการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นกฎหมายหรือมาตรฐาน แต่เนื่องจากโครงการฯ มีระบบการจัดการสากลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการรายงานด้านสารเคมีที่เรียกว่า Global Report Initiative (GRI) อยู่ แต่ในรายงานการวิเคราะห์และจากการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโครงการฯ ยังขาดความชัดเจน เกี่ยวกับมาตรการหรือการจัดการในส่วนนี้
4.ขาดการประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงภายในโรงงาน
4.1 การประเมินภายในโรงงานไม่ครอบคลุม ไม่มีการประเมินจุดสำคัญที่อาจเกิดความเสี่ยง เช่น หอกลั่นเอทธิลีนออกไซด์บริสุทธิ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
4.2 ขาดการประเมินความเสี่ยงแบบต่อเนื่องบริเวณโรงงานข้างเคียง
4.3 ขาดการประเมินความเสี่ยงจากการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
4.4 ขาดการประเมินความเสี่ยงสำหรับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง
5.ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับอุบัติภัย
5.1แผนรับมืออุบัติภัยภายในโรงงานยังมีปัญหาในการแบ่งระดับของเหตุฉุกเฉินในทางปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดให้ใช้แนวโน้มการลุกลามของเหตุฉุกเฉินและผลกระทบต่อสารเคมีมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
5.2ขาดข้อมูลทิศทางการแพร่กระจายของสารเคมีหากเกิดอุบัติภัย
5.3ข้อมูลการแจ้งเหตุหรือการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินระดับที่ 1 และ 2
5.4ขาดการจัดทำแผนรับมืออุบัติเหตุในการขนส่งสารเคมีทั้งทางบกและทางน้ำ
5.5ไม่ปรากฏแผนของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่กำหนดการซ้อมแผนการรับมืออุบัติภัยอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุมทุกชุมชนที่มีความเสี่ยง
5.6ขาดการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS)
5.7 ขาดข้อมูลศักยภาพการรองรับและการเตรียมความพร้อมของระบบสาธารณสุขในการรับมือกับอุบัติภัยร้ายแรง (Mass Casualties)
5.8ขาดแผนการดูแล เยียวยา และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบและสิ่งแวดล้อมจากอุบัติภัย
6.ความปลอดภัย
6.1ขาดความชัดเจนของโครงการหรือแผนงานในเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบในระดับโรงงานและในระดับชุมชน
6.2ขาดการประเมินการให้น้ำหนักเรื่องของความเสี่ยง การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในระดับ โรงงานและในระดับชุมชน การจัดการความรุนแรงภายในโรงงาน
6.3ขาดการสำรวจในเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้น และทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Review) ทั้งในโรงงานและการขนส่งทางบกทางน้ำ
7.ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด
7.1 การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนของสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงจากสารเคมีบางชนิด เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ อะซิทัลดิไฮด์ ไวนิลคลอไรด์ เอทธิลีนไดออกไซด์ และไม่กำหนดมาตรการในการติดตามเฝ้าระวังสารเคมีและก๊าซพิษเหล่านี้
7.2 ไม่มีการศึกษาและกำหนดมาตรการป้องกันและติดตามตรวจสอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสารพิษที่อาจเกิดขึ้นจากเผากำจัดที่ West Heat Boiler เช่น สารไดออกซินและฟิวเรน
7.3 ไม่มีการประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อหญิงตั้งครรภ์ ทั้งที่โครงการฯ มีการใช้สารเคมีอย่างน้อย 3 ชนิด ที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรืออาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม
8. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบสาธารณสุขในพื้นที่
8.1ไม่มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่แสดงถึงปัญหาและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมบางประเภท รวมทั้งฐานข้อมูลที่ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ข้อมูลทางสุขภาพที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดบริการทางสุขภาพตามระบบบริการสาธารณสุขตามปกติเท่านั้น
8.2 มาตรการตรวจสุขภาพของคนงานในโรงงานไม่แสดงถึงความเสี่ยงเฉพาะที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีของโครงการฯ ทั้งที่มีข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานกับสารเคมี (Exposure Risk) ที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
8.3ไม่ปรากฎว่าโครงการฯ มีการศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพของชุมชนที่มีการจำแนกกลุ่มเสี่ยงให้ชัดเจน และไม่มีมาตรการและแผนงานให้บริการสุขภาพแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ รวมทั้งแผนการเยียวยาทางด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษาแล้ว และประชากรกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบโครงการฯ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าระยะ 5 กิโลเมตร ตามข้อกำหนด
8.4หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ขาดข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหา และทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการประสานงานแก้ไขปัญหาทั้งในภาวะปกติและในภาวะฉุกเฉิน
8.5ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ เป็นระบบบริการสาธารณสุขปกติตามแนวทางของการให้บริการสาธารณสุขของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งไม่สามารถรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่หรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพเป็นการเฉพาะ
สำหรับประชากรในพื้นที่บริการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โครงการฯ กำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อภาระของระบบบริการสาธารณสุขที่ไม่ชัดเจน จึงเป็นการมอบภาระดังกล่าวนี้ให้กับหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในระบบบริการปกติ ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้
9.การมีส่วนร่วมของประชาชน
9.1 การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับพร้อมกัน โดยการจัดพร้อมกัน 8 โครงการในวัน เวลา และสถานที่เดียวกัน ทำให้มีระยะเวลาที่จำกัด และประชาชนไม่สามารถทำความเข้าใจและเข้าร่วมให้ความเห็นได้เท่าที่ควร
9.2 การให้ข้อมูลในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) และเวทีทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Review) ไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจนและยากแก่การทำความเข้าใจ และมีการเปลี่ยนแปลงทางเลือกของโครงการฯ ภายหลังรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ (Public Review)
9.3 ประชาชนในพื้นที่มีความห่วงกังวลในประเด็นที่สำคัญ คือ ไม่ต้องการให้มีการขยายอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ไม่มีศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และต้องการให้มีการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่อย่างจริงจัง มีระบบป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีอันตรายที่มีประสิทธิภาพ และมีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
10.ผังเมือง พื้นที่กันชนและแนวป้องกัน
ควรมีการกำหนดมาตรการการจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งเป็นแนวป้องกันของโครงการในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากมลพิษและอุบัติภัยสารเคมีต่อประชาชน
11.ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม
11.1ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่มาประเมินร่วมกับผลกระทบของโครงการฯ
11.2ขาดการประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับสารอินทรีย์ระเหยง่าย เนื่องจากพื้นที่นี้มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่ายบางตัวที่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่แล้วในพื้นที่ ซึ่งโครงการฯ นี้จะเพิ่มความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสุขภาพจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นสารก่อมะเร็งและความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
12.ขัอมูลบางส่วนในรายงานฉบับสมบูรณ์มีข้อคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงบางประการ
12.1ข้อมูลคุณสมบัติความไวไฟที่ผิดพลาดของของโมโนเอทธิลีนไกลคอล ไดเอทธิลีนไกลคอล และไตรเอทธิลีนไกลคอล
12.2 การขนส่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โมโนเอธิลีนไกลคอล และไดเอทธิลีนไกลคอล ชี้แจ้งว่า จะขนส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังท่าเรือของ บริษัท ท่าเรือระยอง จำกัด (RBT) ซึ่งท่าเรือนี้ไม่มีความสามารถในการรองรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว
กอสส.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบอนุมัติ/อนุญาตโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ในขณะนี้ และต้องมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยต้องเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิสูจน์และติดตามตรวจสอบ และต้องมีมาตรการในเรื่องต่างๆ ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ในมาตรา 67ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
เหตุผลประกอบ 12 ประเด็นหลัก ไม่เห็นชอบอนุมัติ อนุญาต โครงการ โรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด มีดังต่อไปนี้
1.เหตุผลทางด้านวิศวกรรม
เนื่องจาก ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวิศวกรรมการผลิตของ TOC ยังไม่ครบถ้วน เช่นการทำสมดุลมวล (Materials balance) รายละเอียดของ De-bottle Necking รวมถึงกระบวนการทางวิศวกรรม ความปลอดภัยยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้เกิดอุบัติภัยได้
2.มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ
เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิตของโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ ๖๐ แต่มาตรการในการป้องกันและบำบัดมลพิษ ทั้งส่วนของมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และกากของเสียอุตสาหกรรม ยังขาดความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมและป้องกันมลพิษจากการรั่วไหล (Fugitive emission) และมาตรการในการควบคุมหรือบำบัดเบื้องต้น (Pretreatment) ในกรณีที่น้ำเสียของโครงการฯ มีคุณสมบัติเกินค่ามาตรฐานที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
3.มาตรการในการจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ในส่วนของการจัดการคาร์บอนไดออกไซด์ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นกฎหมายหรือมาตรฐาน แต่เนื่องจากโครงการฯ มีระบบการจัดการสากลในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการรายงานด้านสารเคมีที่เรียกว่า Global Report Initiative (GRI) อยู่ แต่ในรายงานการวิเคราะห์และจากการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโครงการฯ ยังขาดความชัดเจน เกี่ยวกับมาตรการหรือการจัดการในส่วนนี้
4.ขาดการประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงภายในโรงงาน
4.1 การประเมินภายในโรงงานไม่ครอบคลุม ไม่มีการประเมินจุดสำคัญที่อาจเกิดความเสี่ยง เช่น หอกลั่นเอทธิลีนออกไซด์บริสุทธิ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
4.2 ขาดการประเมินความเสี่ยงแบบต่อเนื่องบริเวณโรงงานข้างเคียง
4.3 ขาดการประเมินความเสี่ยงจากการขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
4.4 ขาดการประเมินความเสี่ยงสำหรับชุมชนในบริเวณใกล้เคียง
5.ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับอุบัติภัย
5.1แผนรับมืออุบัติภัยภายในโรงงานยังมีปัญหาในการแบ่งระดับของเหตุฉุกเฉินในทางปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดให้ใช้แนวโน้มการลุกลามของเหตุฉุกเฉินและผลกระทบต่อสารเคมีมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
5.2ขาดข้อมูลทิศทางการแพร่กระจายของสารเคมีหากเกิดอุบัติภัย
5.3ข้อมูลการแจ้งเหตุหรือการสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินระดับที่ 1 และ 2
5.4ขาดการจัดทำแผนรับมืออุบัติเหตุในการขนส่งสารเคมีทั้งทางบกและทางน้ำ
5.5ไม่ปรากฏแผนของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และไม่กำหนดการซ้อมแผนการรับมืออุบัติภัยอย่างสม่ำเสมอและครอบคลุมทุกชุมชนที่มีความเสี่ยง
5.6ขาดการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS)
5.7 ขาดข้อมูลศักยภาพการรองรับและการเตรียมความพร้อมของระบบสาธารณสุขในการรับมือกับอุบัติภัยร้ายแรง (Mass Casualties)
5.8ขาดแผนการดูแล เยียวยา และฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบและสิ่งแวดล้อมจากอุบัติภัย
6.ความปลอดภัย
6.1ขาดความชัดเจนของโครงการหรือแผนงานในเรื่องความปลอดภัย รวมทั้งขอบเขตความรับผิดชอบในระดับโรงงานและในระดับชุมชน
6.2ขาดการประเมินการให้น้ำหนักเรื่องของความเสี่ยง การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงในระดับ โรงงานและในระดับชุมชน การจัดการความรุนแรงภายในโรงงาน
6.3ขาดการสำรวจในเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้น และทบทวนการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Review) ทั้งในโรงงานและการขนส่งทางบกทางน้ำ
7.ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด
7.1 การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนของสารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงจากสารเคมีบางชนิด เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ อะซิทัลดิไฮด์ ไวนิลคลอไรด์ เอทธิลีนไดออกไซด์ และไม่กำหนดมาตรการในการติดตามเฝ้าระวังสารเคมีและก๊าซพิษเหล่านี้
7.2 ไม่มีการศึกษาและกำหนดมาตรการป้องกันและติดตามตรวจสอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับสารพิษที่อาจเกิดขึ้นจากเผากำจัดที่ West Heat Boiler เช่น สารไดออกซินและฟิวเรน
7.3 ไม่มีการประเมินความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อหญิงตั้งครรภ์ ทั้งที่โครงการฯ มีการใช้สารเคมีอย่างน้อย 3 ชนิด ที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรืออาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม
8. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบสาธารณสุขในพื้นที่
8.1ไม่มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่แสดงถึงปัญหาและความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมบางประเภท รวมทั้งฐานข้อมูลที่ใช้ในการเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ข้อมูลทางสุขภาพที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นข้อมูลสำหรับการจัดบริการทางสุขภาพตามระบบบริการสาธารณสุขตามปกติเท่านั้น
8.2 มาตรการตรวจสุขภาพของคนงานในโรงงานไม่แสดงถึงความเสี่ยงเฉพาะที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีของโครงการฯ ทั้งที่มีข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานกับสารเคมี (Exposure Risk) ที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
8.3ไม่ปรากฎว่าโครงการฯ มีการศึกษาความเสี่ยงด้านสุขภาพของชุมชนที่มีการจำแนกกลุ่มเสี่ยงให้ชัดเจน และไม่มีมาตรการและแผนงานให้บริการสุขภาพแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ รวมทั้งแผนการเยียวยาทางด้านสุขภาพแก่ผู้ป่วยหลังจากได้รับการรักษาแล้ว และประชากรกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบโครงการฯ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าระยะ 5 กิโลเมตร ตามข้อกำหนด
8.4หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ขาดข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา การแก้ไขปัญหา และทักษะในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการประสานงานแก้ไขปัญหาทั้งในภาวะปกติและในภาวะฉุกเฉิน
8.5ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ เป็นระบบบริการสาธารณสุขปกติตามแนวทางของการให้บริการสาธารณสุขของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งไม่สามารถรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่หรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ การป้องกันโรค รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพเป็นการเฉพาะ
สำหรับประชากรในพื้นที่บริการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ โครงการฯ กำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อภาระของระบบบริการสาธารณสุขที่ไม่ชัดเจน จึงเป็นการมอบภาระดังกล่าวนี้ให้กับหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการในระบบบริการปกติ ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้
9.การมีส่วนร่วมของประชาชน
9.1 การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ไม่ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับพร้อมกัน โดยการจัดพร้อมกัน 8 โครงการในวัน เวลา และสถานที่เดียวกัน ทำให้มีระยะเวลาที่จำกัด และประชาชนไม่สามารถทำความเข้าใจและเข้าร่วมให้ความเห็นได้เท่าที่ควร
9.2 การให้ข้อมูลในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) และเวทีทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Review) ไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจนและยากแก่การทำความเข้าใจ และมีการเปลี่ยนแปลงทางเลือกของโครงการฯ ภายหลังรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ (Public Review)
9.3 ประชาชนในพื้นที่มีความห่วงกังวลในประเด็นที่สำคัญ คือ ไม่ต้องการให้มีการขยายอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ไม่มีศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น และต้องการให้มีการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่อย่างจริงจัง มีระบบป้องกันอุบัติภัยจากสารเคมีอันตรายที่มีประสิทธิภาพ และมีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
10.ผังเมือง พื้นที่กันชนและแนวป้องกัน
ควรมีการกำหนดมาตรการการจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นพื้นที่กันชนระหว่างเขตอุตสาหกรรมและชุมชน รวมทั้งเป็นแนวป้องกันของโครงการในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากมลพิษและอุบัติภัยสารเคมีต่อประชาชน
11.ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม
11.1ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่มาประเมินร่วมกับผลกระทบของโครงการฯ
11.2ขาดการประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับสารอินทรีย์ระเหยง่าย เนื่องจากพื้นที่นี้มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่ายบางตัวที่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และมีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่แล้วในพื้นที่ ซึ่งโครงการฯ นี้จะเพิ่มความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสุขภาพจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่เป็นสารก่อมะเร็งและความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
12.ขัอมูลบางส่วนในรายงานฉบับสมบูรณ์มีข้อคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงบางประการ
12.1ข้อมูลคุณสมบัติความไวไฟที่ผิดพลาดของของโมโนเอทธิลีนไกลคอล ไดเอทธิลีนไกลคอล และไตรเอทธิลีนไกลคอล
12.2 การขนส่งผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โมโนเอธิลีนไกลคอล และไดเอทธิลีนไกลคอล ชี้แจ้งว่า จะขนส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปยังท่าเรือของ บริษัท ท่าเรือระยอง จำกัด (RBT) ซึ่งท่าเรือนี้ไม่มีความสามารถในการรองรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว