ASTVผู้จัดการรายวัน - คณะกรรมการ กอสส. มีมติเป็นเอกฉันท์ ไม่เห็นชอบอนุมัติ/อนุญาต โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีน ออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด ด้วยเหตุผล 12 ประการ โดยเฉพาะศักยภาพการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่
นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) เปิดเผยถึงผลการพิจารณาให้ความเห็นของคณะกรรมการ กอสส.ต่อโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัดว่า คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบอนุมัติ/อนุญาต โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัดในขณะนี้
“ต้องมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยต้องเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิสูจน์และติดตามตรวจสอบ และต้องมีมาตรการในเรื่องต่างๆ ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ในมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”
ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กล่าวต่อว่า โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด เป็นโครงการแรกที่คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชุดเฉพาะกาล) จะต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวถึงความเหมาะสมว่าควรดำเนินการต่อหรือไม่ หรือควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติ อนุญาต ภายในเวลา ๖๐ วันตามอำนาจและบทบาทหน้าที่
คณะกรรมการกอสส. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา โดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาโครงการในประเด็นต่างๆ ลงศึกษาพื้นที่และรับฟังข้อมูลต่างๆจากชุมชน และหน่วยงานราชการในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
สำหรับเหตุผลหลักๆ ที่คณะกรรมการไม่เห็นด้วย คือ ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม เนื่องจากโครงการ ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่นี้มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) บางตัวที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีค่าสูงเกินมาตรฐานอยู่แล้วในพื้นที่ จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสุขภาพ และต่อทารกในครรภ์ และที่สำคัญคือ ความห่วงกังวลที่เราได้รับฟังจากประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้มีการขยายอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมแล้ว
นายวีรวัธน์ กล่าวด้วยว่า ยังมีประเด็นในเรื่องของเหตุผลทางวิศวกรรม มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิตของโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ ๖๐ แต่มาตรการป้องกันและบำบัดมลพิษ ทั้งส่วนของมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และกากของเสียอุตสาหกรรมยังขาดความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมและป้องกันมลพิษจากการรั่วไหล (Fugitive emission) และมาตรการในการควบคุมหรือบำบัดเบื้องต้น (Pre-treatment) ในกรณีที่น้ำเสียของโครงการฯ มีคุณสมบัติเกินค่ามาตรฐานที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
สำหรับ 12 ประเด็นหลัก ที่ คณะกรรมการ กอสส. ไม่อนุมัติ/อนุญาตให้โครงการฯ นั้นดำเนินการได้ ประกอบด้วย 1. เหตุผลทางด้านวิศวกรรม 2. มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ 3. มาตรการในการจัดการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 4. การประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงของโครงการไม่ครอบคลุม
5. ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับอุบัติภัย 6. ความปลอดภัย 7. ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด 8. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 9. การมีส่วนร่วมของประชาชน 10. ผังเมือง พื้นที่กันชน และแนวป้องกัน 11. ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม และสุดท้าย 12. ข้อมูลบางส่วนในรายงานฉบับสมบูรณ์มีข้อคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงบางประการ
นายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) เปิดเผยถึงผลการพิจารณาให้ความเห็นของคณะกรรมการ กอสส.ต่อโครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัดว่า คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่เห็นชอบอนุมัติ/อนุญาต โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัดในขณะนี้
“ต้องมีการดำเนินการในเรื่องต่างๆ โดยต้องเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิสูจน์และติดตามตรวจสอบ และต้องมีมาตรการในเรื่องต่างๆ ตามที่ปรากฏในข้อเสนอแนะ ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ในมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550”
ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กล่าวต่อว่า โครงการโรงงานผลิตเอทธิลีนออกไซด์และเอทธิลีนไกลคอล (ส่วนขยาย) ของบริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด เป็นโครงการแรกที่คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ชุดเฉพาะกาล) จะต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวถึงความเหมาะสมว่าควรดำเนินการต่อหรือไม่ หรือควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุมัติ อนุญาต ภายในเวลา ๖๐ วันตามอำนาจและบทบาทหน้าที่
คณะกรรมการกอสส. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา โดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาโครงการในประเด็นต่างๆ ลงศึกษาพื้นที่และรับฟังข้อมูลต่างๆจากชุมชน และหน่วยงานราชการในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน
สำหรับเหตุผลหลักๆ ที่คณะกรรมการไม่เห็นด้วย คือ ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม เนื่องจากโครงการ ขาดการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นภาพรวม รวมทั้งศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่นี้มีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) บางตัวที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีค่าสูงเกินมาตรฐานอยู่แล้วในพื้นที่ จึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสุขภาพ และต่อทารกในครรภ์ และที่สำคัญคือ ความห่วงกังวลที่เราได้รับฟังจากประชาชนในพื้นที่ ที่ไม่ต้องการให้มีการขยายอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมแล้ว
นายวีรวัธน์ กล่าวด้วยว่า ยังมีประเด็นในเรื่องของเหตุผลทางวิศวกรรม มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ เนื่องจากมีการขยายกำลังการผลิตของโครงการเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ ๖๐ แต่มาตรการป้องกันและบำบัดมลพิษ ทั้งส่วนของมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และกากของเสียอุตสาหกรรมยังขาดความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมและป้องกันมลพิษจากการรั่วไหล (Fugitive emission) และมาตรการในการควบคุมหรือบำบัดเบื้องต้น (Pre-treatment) ในกรณีที่น้ำเสียของโครงการฯ มีคุณสมบัติเกินค่ามาตรฐานที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
สำหรับ 12 ประเด็นหลัก ที่ คณะกรรมการ กอสส. ไม่อนุมัติ/อนุญาตให้โครงการฯ นั้นดำเนินการได้ ประกอบด้วย 1. เหตุผลทางด้านวิศวกรรม 2. มาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ 3. มาตรการในการจัดการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 4. การประเมินความเสี่ยงอันตรายร้ายแรงของโครงการไม่ครอบคลุม
5. ไม่ระบุการประเมินความเสี่ยงและศักยภาพการรองรับอุบัติภัย 6. ความปลอดภัย 7. ขาดการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีอันตรายร้ายแรงบางชนิด 8. ความเสี่ยงต่อสุขภาพและขีดความสามารถที่จำกัดของระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 9. การมีส่วนร่วมของประชาชน 10. ผังเมือง พื้นที่กันชน และแนวป้องกัน 11. ศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับอุตสาหกรรม และสุดท้าย 12. ข้อมูลบางส่วนในรายงานฉบับสมบูรณ์มีข้อคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงบางประการ